ส.อ.ท.ส่งสัญญาณรัฐเร่งแก้ไขเศรษฐกิจชะลอตัวจากพิษโควิด-19 วิตก SMEs ยังขาดสภาพคล่อง หวั่นแรงงานปีนี้ตกงาน 7-8 ล้านคน จี้รัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน ขณะที่กลุ่มยานยนต์ ลุ้นยอดผลิตปีนี้ 1.4 ล้านคัน หากไม่มีการระบาดรอบ 2
วานนี้ (23 ก.ค.) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.63 อยู่ที่ระดับ 80.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 78.4 ในเดือนพ.ค.63 ซึ่งเป็นการปรับตัวเป็นเดือนที่ 2 เพราะรัฐผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 สู่เฟส 3-4 ตามลำดับ และคาดว่าจะดีขึ้นเมื่อรัฐเปิดเฟส 6 อย่างไรก็ตาม เอกชนยังคงกังวลปัญหาการขาดสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) การติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกที่ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แรงงานของไทยประสบภาวะว่างงานในปี 63 มีโอกาสถึง 7-8 ล้านคน
"การคลายล็อกเฟส 6 ที่ให้ต่างชาติ 4 กลุ่มเข้ามา ถือเป็นเรื่องที่ดีแต่การปฏิบัติต้องเข้มงวดไม่ให้เกิดการระบาดรอบ 2 ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจจะลำบากทันที ขณะเดียวกัน อยากให้รัฐเร่งแก้ SMEs เข้าไม่ถึงแหล่งสินเชื่อ ซึ่งล่าสุดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ปล่อยได้เพียง 1 แสนล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 20% ขณะเดียวกันยังพบว่าแนวโน้มบาทยังคงแข็งค่า และต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน วัตถุดิบ ก็เริ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังคงกดดันการกลับมาดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 3-4 " นายสุพันธุ์ กล่าว
นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธาน และประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงานช่วงโควิด-19 ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การว่างงานและเลิกจ้างของไทย รวมอยู่ที่ 3,397,979 คน เป็นแรงงานที่อยู่ในระบบซึ่งถือว่าแรงงานดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่ว่างงานชั่วคราว แต่แนวโน้มความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการตกงานตามที่หลายสำนักงานคาดการณ์ไว้ในปีนี้ระดับเฉลี่ย 7,000,000 -8,000,000 คน ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงหากโควิด-19 ทั่วโลกยังคงไม่ดีขึ้น และเศรษฐกิจไทยยังคงมีทิศทางถดถอย
"โอกาสตกงานมันก็ยังมีอยู่ เพราะเหตุการณ์ก็เปลี่ยนทุกวัน ก็ต้องมาดูเศรษฐกิจภาพรวม และนักท่องเที่ยวจะเข้ามาได้เมื่อไร ซึ่งจากการสอบถามสมาชิก ส.อ.ท. 45 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่าการปรับตัวของธุรกิจหลังคลายล็อกดาวน์มากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจหันมาดำเนินการปกติ แต่การปรับตัวด้านแรงงานพบว่า 37.5% ยังคงจ้างแรงงานปกติ จำนวน 23.21% ลดเวลาทำงานลง ส่วนเลิกจ้าง อยู่ที่ 7.14% โดยแนวโน้มการลดเวลาทำงานลง เริ่มมีทิศทางที่สูงขึ้นต่อเนื่อง" นายสุชาติ กล่าว
ทั้งนี้ ส.อ.ท.ต้องการให้รัฐเร่งแก้ไขด้านแรงงาน อาทิ ลดเงินสมทบประกันสังคมทั้งฝั่งนายจ้าง และลูกจ้างเหลือ 1% โดยให้มีผลจนถึง 31 ธ.ค. 63 , เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน จากเหตุสุดวิสัย จาก 90 วัน เป็น 150 วัน และขยายระยะเวลาการขอรับสิทธิประโยชน์ จากเดิมวันที่ 31 ส.ค.63 เป็นจนถึง 31 ธ.ค. 63 เร่งอนุมัติปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างในอัตราชั่วโมงละ 40-41 บาท ระยะเวลาจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า เดือนม.ค.- มิ.ย.63 การผลิตรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 606,132 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.14% โดยคาดว่าทั้งปี หากไม่มีโควิด-19 ระบาดรอบ 2 การผลิตรถยนต์ในไทย จะอยู่ระดับ 1.4 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อส่งออก 700,000 คัน ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 700,000 คัน
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธาน ส.อ.ท.และประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 กล่าวว่า ขณะนี้ ส.อ.ท.มีความกังวลว่าอาจจะเกิดสงครามการค้ารอบ 2 คงจะต้องติดตามว่าสินค้าของไทยที่จีนใช้เป็นฐานการผลิต จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไปหรือไม่ โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังคงเปราะบาง ดังนั้น คณะทำงานฯจึงมุ่งเน้นที่ จะทำแผนฟื้นฟูระยะกลางและยาวของ 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ของส.อ.ท. ที่เน้นส่งเสริมสินค้าไทย การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ และส่งเสริมเทคโนโลยีภาคการเกษตรและอาหาร
วานนี้ (23 ก.ค.) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.63 อยู่ที่ระดับ 80.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 78.4 ในเดือนพ.ค.63 ซึ่งเป็นการปรับตัวเป็นเดือนที่ 2 เพราะรัฐผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 สู่เฟส 3-4 ตามลำดับ และคาดว่าจะดีขึ้นเมื่อรัฐเปิดเฟส 6 อย่างไรก็ตาม เอกชนยังคงกังวลปัญหาการขาดสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) การติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกที่ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แรงงานของไทยประสบภาวะว่างงานในปี 63 มีโอกาสถึง 7-8 ล้านคน
"การคลายล็อกเฟส 6 ที่ให้ต่างชาติ 4 กลุ่มเข้ามา ถือเป็นเรื่องที่ดีแต่การปฏิบัติต้องเข้มงวดไม่ให้เกิดการระบาดรอบ 2 ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจจะลำบากทันที ขณะเดียวกัน อยากให้รัฐเร่งแก้ SMEs เข้าไม่ถึงแหล่งสินเชื่อ ซึ่งล่าสุดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ปล่อยได้เพียง 1 แสนล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 20% ขณะเดียวกันยังพบว่าแนวโน้มบาทยังคงแข็งค่า และต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน วัตถุดิบ ก็เริ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังคงกดดันการกลับมาดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 3-4 " นายสุพันธุ์ กล่าว
นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธาน และประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงานช่วงโควิด-19 ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การว่างงานและเลิกจ้างของไทย รวมอยู่ที่ 3,397,979 คน เป็นแรงงานที่อยู่ในระบบซึ่งถือว่าแรงงานดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่ว่างงานชั่วคราว แต่แนวโน้มความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการตกงานตามที่หลายสำนักงานคาดการณ์ไว้ในปีนี้ระดับเฉลี่ย 7,000,000 -8,000,000 คน ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงหากโควิด-19 ทั่วโลกยังคงไม่ดีขึ้น และเศรษฐกิจไทยยังคงมีทิศทางถดถอย
"โอกาสตกงานมันก็ยังมีอยู่ เพราะเหตุการณ์ก็เปลี่ยนทุกวัน ก็ต้องมาดูเศรษฐกิจภาพรวม และนักท่องเที่ยวจะเข้ามาได้เมื่อไร ซึ่งจากการสอบถามสมาชิก ส.อ.ท. 45 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่าการปรับตัวของธุรกิจหลังคลายล็อกดาวน์มากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจหันมาดำเนินการปกติ แต่การปรับตัวด้านแรงงานพบว่า 37.5% ยังคงจ้างแรงงานปกติ จำนวน 23.21% ลดเวลาทำงานลง ส่วนเลิกจ้าง อยู่ที่ 7.14% โดยแนวโน้มการลดเวลาทำงานลง เริ่มมีทิศทางที่สูงขึ้นต่อเนื่อง" นายสุชาติ กล่าว
ทั้งนี้ ส.อ.ท.ต้องการให้รัฐเร่งแก้ไขด้านแรงงาน อาทิ ลดเงินสมทบประกันสังคมทั้งฝั่งนายจ้าง และลูกจ้างเหลือ 1% โดยให้มีผลจนถึง 31 ธ.ค. 63 , เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน จากเหตุสุดวิสัย จาก 90 วัน เป็น 150 วัน และขยายระยะเวลาการขอรับสิทธิประโยชน์ จากเดิมวันที่ 31 ส.ค.63 เป็นจนถึง 31 ธ.ค. 63 เร่งอนุมัติปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างในอัตราชั่วโมงละ 40-41 บาท ระยะเวลาจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า เดือนม.ค.- มิ.ย.63 การผลิตรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 606,132 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.14% โดยคาดว่าทั้งปี หากไม่มีโควิด-19 ระบาดรอบ 2 การผลิตรถยนต์ในไทย จะอยู่ระดับ 1.4 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อส่งออก 700,000 คัน ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 700,000 คัน
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธาน ส.อ.ท.และประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 กล่าวว่า ขณะนี้ ส.อ.ท.มีความกังวลว่าอาจจะเกิดสงครามการค้ารอบ 2 คงจะต้องติดตามว่าสินค้าของไทยที่จีนใช้เป็นฐานการผลิต จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไปหรือไม่ โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังคงเปราะบาง ดังนั้น คณะทำงานฯจึงมุ่งเน้นที่ จะทำแผนฟื้นฟูระยะกลางและยาวของ 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ของส.อ.ท. ที่เน้นส่งเสริมสินค้าไทย การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ และส่งเสริมเทคโนโลยีภาคการเกษตรและอาหาร