ผู้จัดการรายวัน360-“ส.อ.ท.” จับตาเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง แม้คลายล็อกดาวน์ ธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการได้ แต่กำลังซื้อลดลง สาหัสทั้งไทยและโลก หวั่นเอสเอ็มอีประคองตัวเองไม่รอด หากไม่รีบแก้ไข ส่อเป็นสึนามิเศรษฐกิจระดับรุนแรง จี้งบฟื้นฟูต้องคัดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้จริง นัดประชุมใหญ่สามัญ 29 ก.ค. เลือก “สุพันธุ์”ไปต่อ นั่งประธานขับเคลื่อนองค์กรให้ต่อเนื่องกู้ชีพเศรษฐกิจไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารส.อ.ท. นำโดยนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท. ได้ระดมสมองในการปรับยุทธศาสตร์ของ ส.อ.ท. เพื่อตอบโจทย์ให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับรู้ข่าวสารและแนวทางช่วยเหลือสมาชิกเพื่อรองรับผลกระทบหลังโควิด-19 ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ซึ่งจากการหารือขณะนี้ เอกชนยังคงกังวลเศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่ไทยและโลกยังเผชิญกำลังซื้อที่ลดต่ำลง และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ไม่อาจประคองตัวเองให้อยู่รอดได้ และจะนำไปสู่สึนามิเศรษฐกิจในที่สุด
“ระยะสั้นเรากังวลเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง เพราะแม้ว่าไทยและหลายประเทศเริ่มคลายล็อกดาวน์ ทำให้กิจการส่วนใหญ่กลับมาเปิดได้ แต่เศรษฐกิจที่ถดถอย ทั้งไทยและโลก ยังคงส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดต่ำ และโควิด-19 ยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด ไทยเองก็พึ่งพิงการส่งออกและท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจบางราย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีอาจต้องปิดกิจการ ก็จะกระทบต่อเนื่องเป็นสึนามิเศรษฐกิจ แต่จะรุนแรงระดับไหน 5 หรือ 9 ริกเตอร์ ส่วนหนึ่งจะมาจากมาตรการของรัฐในการดูแลและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ”นายเกรียงไกรกล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีทุนสำรองมากพอ และธุรกิจที่เป็นไฮเทคโนโลยี ดิจิทัล สุขภาพ การแพทย์ อาหาร จะมีโอกาสรอดสูง ที่เหลือจะต้องปรับตัวอย่างเร็ว เพื่อรับมือกับโลกที่จะเปลี่ยนหลังโควิด-19 ที่มีทั้งเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง (Disruptive Technology) และนโยบายของแต่ละประเทศที่จะเน้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ดังนั้น มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อพยุงธุรกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเห็นว่าจะต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีเร่งด่วน ทั้งการขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวเป็น 2 ปี การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ การตลาด เทคโนโลยี และที่สำคัญ คือ การกระตุ้นแรงซื้อในประเทศเพื่อประคองธุรกิจโดยรวม
สำหรับงบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 4 แสนล้านบาทที่พ่วงอยู่ในงบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท เดิมนับเป็นอีกหนึ่งความหวังของเอกชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้คงจะต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากมีโครงการมายื่นขอสนับสนุนงบดังกล่าวสูงถึง 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องติดตามว่ารัฐจะคัดเลือกโครงการอะไรมาดำเนินการบ้าง โดยเอกชนหวังว่าจะเป็นโครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลจริง และให้ลงสู่ท้องถิ่น ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการให้โปร่งใส โครงการที่ดำเนินการ ต้องต่อยอดความยั่งยืนให้ได้ เพราะหากที่สุด งบดังกล่าวกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลต่ำ ก็ย่อมไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป
นายเกรียงไกรกล่าวว่า ส.อ.ท.ได้กำหนดประชุมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 ขึ้นในวันที่ 29 ก.ค.2563 หลังจากที่ต้องเลื่อนออกมาจากเดิมกำหนดไว้ 30 มี.ค.2563 เพราะสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 เสียก่อน โดยที่ประชุมจะมีการเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท. เนื่องจากนายสุพันธุ์ ประธาน ส.อ.ท. คนที่ 16 ดำรงตำแหน่งครบวาระ 2 ปี ตั้งแต่ 2561-2563 โดยทุกส่วนจะสนับสนุนนายสุพันธุ์ให้เป็นต่ออีกสมัยหนึ่ง เพื่อให้งานทั้งหมดที่วางไว้ได้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งช่วง ซึ่งมีความสำคัญในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ โดยเน้น Next Step ที่จะทำให้อุตสาหกรรมมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารส.อ.ท. นำโดยนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท. ได้ระดมสมองในการปรับยุทธศาสตร์ของ ส.อ.ท. เพื่อตอบโจทย์ให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับรู้ข่าวสารและแนวทางช่วยเหลือสมาชิกเพื่อรองรับผลกระทบหลังโควิด-19 ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ซึ่งจากการหารือขณะนี้ เอกชนยังคงกังวลเศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่ไทยและโลกยังเผชิญกำลังซื้อที่ลดต่ำลง และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ไม่อาจประคองตัวเองให้อยู่รอดได้ และจะนำไปสู่สึนามิเศรษฐกิจในที่สุด
“ระยะสั้นเรากังวลเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง เพราะแม้ว่าไทยและหลายประเทศเริ่มคลายล็อกดาวน์ ทำให้กิจการส่วนใหญ่กลับมาเปิดได้ แต่เศรษฐกิจที่ถดถอย ทั้งไทยและโลก ยังคงส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดต่ำ และโควิด-19 ยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด ไทยเองก็พึ่งพิงการส่งออกและท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจบางราย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีอาจต้องปิดกิจการ ก็จะกระทบต่อเนื่องเป็นสึนามิเศรษฐกิจ แต่จะรุนแรงระดับไหน 5 หรือ 9 ริกเตอร์ ส่วนหนึ่งจะมาจากมาตรการของรัฐในการดูแลและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ”นายเกรียงไกรกล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีทุนสำรองมากพอ และธุรกิจที่เป็นไฮเทคโนโลยี ดิจิทัล สุขภาพ การแพทย์ อาหาร จะมีโอกาสรอดสูง ที่เหลือจะต้องปรับตัวอย่างเร็ว เพื่อรับมือกับโลกที่จะเปลี่ยนหลังโควิด-19 ที่มีทั้งเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง (Disruptive Technology) และนโยบายของแต่ละประเทศที่จะเน้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ดังนั้น มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อพยุงธุรกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเห็นว่าจะต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีเร่งด่วน ทั้งการขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวเป็น 2 ปี การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ การตลาด เทคโนโลยี และที่สำคัญ คือ การกระตุ้นแรงซื้อในประเทศเพื่อประคองธุรกิจโดยรวม
สำหรับงบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 4 แสนล้านบาทที่พ่วงอยู่ในงบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท เดิมนับเป็นอีกหนึ่งความหวังของเอกชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้คงจะต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากมีโครงการมายื่นขอสนับสนุนงบดังกล่าวสูงถึง 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องติดตามว่ารัฐจะคัดเลือกโครงการอะไรมาดำเนินการบ้าง โดยเอกชนหวังว่าจะเป็นโครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลจริง และให้ลงสู่ท้องถิ่น ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการให้โปร่งใส โครงการที่ดำเนินการ ต้องต่อยอดความยั่งยืนให้ได้ เพราะหากที่สุด งบดังกล่าวกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลต่ำ ก็ย่อมไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป
นายเกรียงไกรกล่าวว่า ส.อ.ท.ได้กำหนดประชุมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 ขึ้นในวันที่ 29 ก.ค.2563 หลังจากที่ต้องเลื่อนออกมาจากเดิมกำหนดไว้ 30 มี.ค.2563 เพราะสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 เสียก่อน โดยที่ประชุมจะมีการเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท. เนื่องจากนายสุพันธุ์ ประธาน ส.อ.ท. คนที่ 16 ดำรงตำแหน่งครบวาระ 2 ปี ตั้งแต่ 2561-2563 โดยทุกส่วนจะสนับสนุนนายสุพันธุ์ให้เป็นต่ออีกสมัยหนึ่ง เพื่อให้งานทั้งหมดที่วางไว้ได้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งช่วง ซึ่งมีความสำคัญในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ โดยเน้น Next Step ที่จะทำให้อุตสาหกรรมมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน