“ศักดิ์สยาม” เผย “ก.คมนาคม” เสนอของบฟื้นฟูเยียวยาโควิด-19 วงเงินเกือบ 1.4 แสนล้านบาท วาง 3 กิจกรรม เยียวยาผู้ประกอบการขนส่งทางบก 7 พันล้าน หนุนซื้อยางพารา
วานนี้ (18 มิ.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้สรุปแผนงานเพื่อเสนอขอจัดสรรงบฯ ในส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท) ในส่วนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำหนดงบประมาณราว 1.4 แสนล้านบาท แล้ว
กาง 3 แผน 1.4 แสนล้านบาท
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในส่วนกระทรวงคมนาคมจะเสนอวงเงินดำเนินการ ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.การเยียวยาผู้ประกอบการคมนาคมขนส่งทางบก วงเงิน 7,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ลงนามเสนอไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) หรือสภาพัฒน์ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนแล้ว จากนั้นจะเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป เบื้องต้นจะเป็นการเยียวยา ผู้ประกอบการขนส่งทางบก เช่น รถโดยสาร อวค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.), บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และแท็กซี่สาธารณะ ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ขายตั๋วได้น้อยลง ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งการเยียวยานั้นไม่ใช่ทำเพื่อให้ผู้ประกอบการมีกำไร แต่เพื่อให้สามารถให้บริการกับประชาชนต่อไปได้ ภายใต้ต้นทุนที่สามารถดำเนินการได้ โดยจะเป็นการอุดหนุนรายได้ที่หายไปตั้งแต่มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยประเมินจากต้นทุน รายได้ จำนวนผู้โดยสารจริง ส่วนผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศ ทางราง และทางน้ำ ปลัดกระทรวงคมนาคม จะเร่งสรุปข้อมูล ก่อนนำเสนอสภาพัฒน์ต่อไป
2. แผนงานนำยางพารามาใช้ในด้านความปลอดภัยทางถนน ทำ Rubber Fender Barriers (แบริเออร์คอนกรีตหุ้มยางพารา) และเสาหลักนำทางยางพารา วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขอรับจัดสรรงบฯปี 64 ไม่ทัน ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามเอ็มโอยูกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ในการจัดซื้อยางพารา โดยเม็ดเงินจะถึงมือเกษตรกร กว่า 70% ขณะที่แผนงานยาพาราเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน กรมทางหลวง และถนนกรมทางหลวงชนบท จะดำเนินการบนถนนที่มีขนาด 4 ช่องจราจร กว่า 12,000 กม. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 63-65) วงเงินรวม 8.5 หมื่นล้านบาท
และ 3. แผนงานโครงการก่อสร้างถนน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท โดยอยู่ระหว่างสรุปข้อมูล โดยจะเป็นโครงการขนาดเล็กที่กระจายทั่วประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตไปยังตลาดได้อย่างรวดเร็ว และสะดวก
ยอมรับอาจไม่ได้ตามเป้า
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า วงเงินเยียวยาและฟื้นฟูในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่เสนอไปนั้น อาจจะไม่ได้รับตามวงเงินเสนอ โดยสภาพัฒน์ฯ จะพิจารณาตามความจำเป็น และความเหมาะสม โดยคาดว่าจะมีการนำเสนอ ครม.ได้ในเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อเร่งดำเนินการโครงการต่างๆ ขณะที่การใช้จ่ายงบฟื้นฟูใน พ.ร.ก. เงินก็ 1 ล้านล้านบาทนั้น นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานฯ โดยมีเลขาฯสภาพัฒน์ กลั่นกรอง และมีขั้นตอนในการอนุมัติ นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎร ยังมีคณะกรรมาธิการวิสามัญ ติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณ มั่นใจได้ว่าจะมีการใช้เงินอย่างโปร่งใส และยึดประโยชน์ประชาชนสูงสุด อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ซึ่งมีเม็ดเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจากที่รัฐบาลได้มีการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาได้ดี ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทยและต่างประเทศได้มาก อีกทั้งไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกที่มีแนวโน้มในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วอีกด้วย ดังนั้นเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวได้เร็วแน่นอน
“ไพบูลย์” หวิดวืดประธาน กมธ.
วันเดียวกัน ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตาม พ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบการระบาดโควิด-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทเป็นนัดแรก โดยมี นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เป็นประธานชั่วคราว ในฐานะผู้อาวุโสสูงสุด เพื่อทำหน้าที่เลือกผู้ทำหน้าที่ ประธาน กมธ.อย่างเป็นทางการ โดยฝ่ายค้านพยายามเสนอให้ซีกรัฐบาลเสียสละให้ตัวแทนจากฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ประธาน กมธ. เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ก่อนที่ฝ่ายค้านรวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนสนับสนุน นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมมากกว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ที่รัฐบาลเสนอให้เป็นประธาน กมธ.ก่อนที่จะมีการลงคะแนนลับปรากฏว่า นายไพบูลย์ ได้ 28 คะแนน ส่วนนายกนก ได้ 19 คะแนน ส่งผลให้นายไพบูลย์ ได้เป็นประธาน กมธ.วิสามัญคณะนี้ ในที่สุด
วานนี้ (18 มิ.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้สรุปแผนงานเพื่อเสนอขอจัดสรรงบฯ ในส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท) ในส่วนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำหนดงบประมาณราว 1.4 แสนล้านบาท แล้ว
กาง 3 แผน 1.4 แสนล้านบาท
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในส่วนกระทรวงคมนาคมจะเสนอวงเงินดำเนินการ ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.การเยียวยาผู้ประกอบการคมนาคมขนส่งทางบก วงเงิน 7,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ลงนามเสนอไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) หรือสภาพัฒน์ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนแล้ว จากนั้นจะเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป เบื้องต้นจะเป็นการเยียวยา ผู้ประกอบการขนส่งทางบก เช่น รถโดยสาร อวค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.), บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และแท็กซี่สาธารณะ ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ขายตั๋วได้น้อยลง ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งการเยียวยานั้นไม่ใช่ทำเพื่อให้ผู้ประกอบการมีกำไร แต่เพื่อให้สามารถให้บริการกับประชาชนต่อไปได้ ภายใต้ต้นทุนที่สามารถดำเนินการได้ โดยจะเป็นการอุดหนุนรายได้ที่หายไปตั้งแต่มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยประเมินจากต้นทุน รายได้ จำนวนผู้โดยสารจริง ส่วนผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศ ทางราง และทางน้ำ ปลัดกระทรวงคมนาคม จะเร่งสรุปข้อมูล ก่อนนำเสนอสภาพัฒน์ต่อไป
2. แผนงานนำยางพารามาใช้ในด้านความปลอดภัยทางถนน ทำ Rubber Fender Barriers (แบริเออร์คอนกรีตหุ้มยางพารา) และเสาหลักนำทางยางพารา วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขอรับจัดสรรงบฯปี 64 ไม่ทัน ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามเอ็มโอยูกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ในการจัดซื้อยางพารา โดยเม็ดเงินจะถึงมือเกษตรกร กว่า 70% ขณะที่แผนงานยาพาราเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน กรมทางหลวง และถนนกรมทางหลวงชนบท จะดำเนินการบนถนนที่มีขนาด 4 ช่องจราจร กว่า 12,000 กม. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 63-65) วงเงินรวม 8.5 หมื่นล้านบาท
และ 3. แผนงานโครงการก่อสร้างถนน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท โดยอยู่ระหว่างสรุปข้อมูล โดยจะเป็นโครงการขนาดเล็กที่กระจายทั่วประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตไปยังตลาดได้อย่างรวดเร็ว และสะดวก
ยอมรับอาจไม่ได้ตามเป้า
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า วงเงินเยียวยาและฟื้นฟูในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่เสนอไปนั้น อาจจะไม่ได้รับตามวงเงินเสนอ โดยสภาพัฒน์ฯ จะพิจารณาตามความจำเป็น และความเหมาะสม โดยคาดว่าจะมีการนำเสนอ ครม.ได้ในเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อเร่งดำเนินการโครงการต่างๆ ขณะที่การใช้จ่ายงบฟื้นฟูใน พ.ร.ก. เงินก็ 1 ล้านล้านบาทนั้น นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานฯ โดยมีเลขาฯสภาพัฒน์ กลั่นกรอง และมีขั้นตอนในการอนุมัติ นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎร ยังมีคณะกรรมาธิการวิสามัญ ติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณ มั่นใจได้ว่าจะมีการใช้เงินอย่างโปร่งใส และยึดประโยชน์ประชาชนสูงสุด อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ซึ่งมีเม็ดเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจากที่รัฐบาลได้มีการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาได้ดี ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทยและต่างประเทศได้มาก อีกทั้งไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกที่มีแนวโน้มในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วอีกด้วย ดังนั้นเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวได้เร็วแน่นอน
“ไพบูลย์” หวิดวืดประธาน กมธ.
วันเดียวกัน ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตาม พ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบการระบาดโควิด-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทเป็นนัดแรก โดยมี นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เป็นประธานชั่วคราว ในฐานะผู้อาวุโสสูงสุด เพื่อทำหน้าที่เลือกผู้ทำหน้าที่ ประธาน กมธ.อย่างเป็นทางการ โดยฝ่ายค้านพยายามเสนอให้ซีกรัฐบาลเสียสละให้ตัวแทนจากฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ประธาน กมธ. เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ก่อนที่ฝ่ายค้านรวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนสนับสนุน นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมมากกว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ที่รัฐบาลเสนอให้เป็นประธาน กมธ.ก่อนที่จะมีการลงคะแนนลับปรากฏว่า นายไพบูลย์ ได้ 28 คะแนน ส่วนนายกนก ได้ 19 คะแนน ส่งผลให้นายไพบูลย์ ได้เป็นประธาน กมธ.วิสามัญคณะนี้ ในที่สุด