ผู้จัดการรายวัน360- โควิด 0 ราย ต่อเนื่องอีกวัน ปลอดเชื้อในประเทศแล้ว 22 วัน เตือนเฟส 4 เพราะระยะหลังผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ เลขาฯสมช.เผย สัปดาห์หน้านัด สธ.-ฝ่ายความมั่นคงคุย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฎหมายที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาใช้แทน ยันไม่ห่วงม็อบการเมืองคืนชีพ ด้าน รมว.ต่างประเทศเตรียมร่วมประชุมทางไกล ถกความร่วมมือระหว่างประเทศสู้โควิด-19 ครม.อนุมัติโครงการเพื่อช่วยเหลือ "คนตกหล่น"
วานนี้ (16 มิ.ย.) พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า ไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ หรือเป็น 0 ราย ทั้งในสถานกักกันของรัฐ และการติดเชื้อในประเทศ หายกลับบ้านเพิ่ม 6 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,135 ราย หายกลับบ้านรวม 2,993 ราย ยังรักษาตัวใน 84 ราย และเสียชีวิตรวม 58 ราย
แม้ประเทศไทยจะไม่มีการติดเชื้อในประเทศมา 22 วัน หรือ 3 สัปดาห์แล้ว แต่ที่ต้องเน้นย้ำคือวันที่ 15 มิ.ย. มีการผ่อนคลายระยะที่ 4 มีกิจการและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการได้ ทั้งนี้ จากสถิติผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 20-39 ปี เป็นวัยทำงาน และช่วงหลังๆ มักพบว่าไม่มีอาการ
ส่วนทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยสะสมรวม 8.11 ล้านราย เป็นรายใหม่ 1.25 แสนราย เสียชีวิตเพิ่ม 3.6 พันราย เสียชีวิตรวม 4.4 แสนคน สหรัฐฯ ผู้ป่วยมากที่สุด 2.18 ล้านราย
นัดถกพ.ร.ก.ฉุกเฉินสัปดาห์หน้า
พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวภายหลังเข้าพบ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีว่า เป็นการหารือถึงการเตรียมการหากจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วจะมีกฎหมายฉบับใดมาใช้แทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือกันอีกครั้งว่าควรจะมีการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ หรือควรมีกฎหมายฉบับใดมีประสิทธิภาพมากเท่ากับพ.ร.ก.ฉุกเฉินบ้าง เพราะจะครบกำหนดวันที่ 30 มิ.ย.นี้
"ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยทางการเมืองเลย หรือถ้าจะต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะต้องไม่มีเรื่องทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะแม้จะมีการชุมนุม ก็มีกฎหมายฉบับอื่นที่บังคับใช้กับเรื่องนั้นๆ อยู่แล้ว"
รมว.ต่างประเทศเตรียมร่วมประชุมทางไกล สู้ภัยโควิด
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบให้ รมว.การต่างประเทศเข้าร่วมประชุมและรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระดับสูง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง : การต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะมีประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับสูง ในวันที่ 18 มิ.ย.63
ครม.อนุมัติเยียวยา "คนตกหล่น"
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมครม.ได้มีการอนุมัติ 4โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย แก่ประชาชกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในเรื่องของ 1.การจ่ายให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1,164,222 คน เดือนละ 1,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค.–ก.ค.63) วงเงิน 3.49 พันล้านบาท
2.ช่วยเหลือผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จตามโครงการเราไม่ทิ้งกัน จำนวน 302,160 คน รวมทั้งไม่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 กรอบวงเงินงบประมาณ ไม่เกิน 906 ล้านบาท
3. ช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ตามที่ พม.เสนอมารวม 6,781,881 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นของรัฐ ประกอบด้วย 1) เด็กจากครัวเรือนยากจน (ตั้งแต่แรกเกิด –6 ปี) จำนวน 1,394,756 คน 2) ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 4,056,596 คน 3) ผู้พิการ 1,330,529 คน โดยจ่ายเงินเยียวยา รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงเด็กแรกเกิด เพิ่มเติมจากเบี้ยความพิการ และเพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค.–ก.ค.63 กรอบวงเงิน 2.03 หมื่นล้านบาท 4) ช่วยเหลือเกษตรกร 137,093 ราย และการขยายเวลาการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรได้อย่างสมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 พ.ค.63 จำนวน 120,000 ราย โดยมอบหมายให้ ก.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการลงทะเบียนเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ค.63
วานนี้ (16 มิ.ย.) พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า ไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ หรือเป็น 0 ราย ทั้งในสถานกักกันของรัฐ และการติดเชื้อในประเทศ หายกลับบ้านเพิ่ม 6 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,135 ราย หายกลับบ้านรวม 2,993 ราย ยังรักษาตัวใน 84 ราย และเสียชีวิตรวม 58 ราย
แม้ประเทศไทยจะไม่มีการติดเชื้อในประเทศมา 22 วัน หรือ 3 สัปดาห์แล้ว แต่ที่ต้องเน้นย้ำคือวันที่ 15 มิ.ย. มีการผ่อนคลายระยะที่ 4 มีกิจการและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการได้ ทั้งนี้ จากสถิติผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 20-39 ปี เป็นวัยทำงาน และช่วงหลังๆ มักพบว่าไม่มีอาการ
ส่วนทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยสะสมรวม 8.11 ล้านราย เป็นรายใหม่ 1.25 แสนราย เสียชีวิตเพิ่ม 3.6 พันราย เสียชีวิตรวม 4.4 แสนคน สหรัฐฯ ผู้ป่วยมากที่สุด 2.18 ล้านราย
นัดถกพ.ร.ก.ฉุกเฉินสัปดาห์หน้า
พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวภายหลังเข้าพบ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีว่า เป็นการหารือถึงการเตรียมการหากจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วจะมีกฎหมายฉบับใดมาใช้แทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือกันอีกครั้งว่าควรจะมีการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ หรือควรมีกฎหมายฉบับใดมีประสิทธิภาพมากเท่ากับพ.ร.ก.ฉุกเฉินบ้าง เพราะจะครบกำหนดวันที่ 30 มิ.ย.นี้
"ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยทางการเมืองเลย หรือถ้าจะต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะต้องไม่มีเรื่องทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะแม้จะมีการชุมนุม ก็มีกฎหมายฉบับอื่นที่บังคับใช้กับเรื่องนั้นๆ อยู่แล้ว"
รมว.ต่างประเทศเตรียมร่วมประชุมทางไกล สู้ภัยโควิด
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบให้ รมว.การต่างประเทศเข้าร่วมประชุมและรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระดับสูง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง : การต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะมีประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับสูง ในวันที่ 18 มิ.ย.63
ครม.อนุมัติเยียวยา "คนตกหล่น"
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมครม.ได้มีการอนุมัติ 4โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย แก่ประชาชกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในเรื่องของ 1.การจ่ายให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1,164,222 คน เดือนละ 1,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค.–ก.ค.63) วงเงิน 3.49 พันล้านบาท
2.ช่วยเหลือผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จตามโครงการเราไม่ทิ้งกัน จำนวน 302,160 คน รวมทั้งไม่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 กรอบวงเงินงบประมาณ ไม่เกิน 906 ล้านบาท
3. ช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ตามที่ พม.เสนอมารวม 6,781,881 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นของรัฐ ประกอบด้วย 1) เด็กจากครัวเรือนยากจน (ตั้งแต่แรกเกิด –6 ปี) จำนวน 1,394,756 คน 2) ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 4,056,596 คน 3) ผู้พิการ 1,330,529 คน โดยจ่ายเงินเยียวยา รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงเด็กแรกเกิด เพิ่มเติมจากเบี้ยความพิการ และเพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค.–ก.ค.63 กรอบวงเงิน 2.03 หมื่นล้านบาท 4) ช่วยเหลือเกษตรกร 137,093 ราย และการขยายเวลาการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรได้อย่างสมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 พ.ค.63 จำนวน 120,000 ราย โดยมอบหมายให้ ก.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการลงทะเบียนเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ค.63