ผู้จัดการรายวัน- 360 ศบค.แถลงพบคนไทยในสถานกักตัวรัฐ ติดเชื้อ 4ราย เปิดร่าง 3 กิจการ-กิจกรรมสีแดง เตรียมผ่อนคลายเฟส 4 ปลดล็อกขายเหล้าร้านอาหาร นั่งดื่มได้ ส่วน ผับ บาร์ อาบ อบ นวด ยังต้องรอ รอง ผบ.ทบ.เผยจ่อทดลองยกเลิกเคอร์ฟิว 15 วันทั่วประเทศ แต่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไว้ "วิษณุ" ระบุยกเลิกเคอร์ฟิว ฟังกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังหมอด้วย ยกในบรรดากฎหมายพิเศษ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหมาะสุดกับป้องกันโควิด-19
วานนี้ (10มิ.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 4 ราย ทั้งหมดเดินทางมาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานกักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,125 ราย หายป่วยสะสม 2,981 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 58 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ รายที่ 1 เป็นชายไทย อายุ 44 ปี เดินทางมาจากมาดากัสการ์ เป็นพนักงานบริษัท พักอาศัยในแคมป์ที่มีหลายเชื้อชาติ รายที่ 2 เป็นหญิงอายุ 34 ปี เดินทางมาจากปากีสถาน ส่วนรายที่ 3-4 เป็นหญิงไทย อายุ 35 ปี เดินทางมาจากประเทศอินเดีย
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจการพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ได้มีการพิจารณากิจกรรม และกิจการ ในระยะที่ 4 ที่จะผ่อนคลายการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นฉบับร่าง เตรียมจะนำเสนอที่ประชุมศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ โดยประเภทกิจกรรมและกิจการประเภทกลุ่มสีแดง ที่มีความเสี่ยงสูง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ผ่อนผันการใช้อาคาร สถานที่ โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและหน่วยงานในกำกับของรัฐ สามารถเปิดให้โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชา เปิดการเรียนการสอนได้ แต่ให้มีมาตรการเสริมในการจัดระเบียบพื้นที่ ให้นักเรียนโดยเว้นระยะห่างกัน
2. กิจกรรมเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ให้ภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม และร้านอาหาร สามารถจำหน่ายสุรา และนั่งดื่มในร้านได้ ส่วนสถานบริการ ผับ บาร์ และคาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตเปิดบริการ และงดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น พนักงานเชียร์เบียร์ เนื่องจากผับ บาร์ คาราโอเกะ จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงมาก ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ถึงการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน เช่น กรณีผับที่ทองหล่อ ซึ่งกิจการประเภทนี้ การผลักดันเศรษฐกิจไม่สูงเหมือนกิจการประเภทอื่น ขณะที่ร้านอาหาร มีความสำคัญกับการดำเนินชิตประจำวัน และผู้มาใช้บริการนิยมไม่นั่งเป็นเวลานานเหมือน ผับ บาร์ ดังนั้น การอนุญาตให้จำหน่ายสุรา จึงต้องดูตามความเหมาะสม และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
สำหรับสถานพัฒนาเด็กประถมวัย ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กเล็กรายวัน ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กพิเศษ และสถานดูแลผู้สูงอายุรายวัน สามารถเปิดแบบไปเช้า-เย็นกลับได้
ส่วนห้องประชุมโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า สถานที่จัดนิทรรศการ โรงมหรสพ งานแสดงดนตรี คอนเสิร์ต สามารถเปิดได้ แต่ต้องลดความหนาแน่น ความไม่มีระเบียบ เช่น งานดนตรี การจัดคอนเสิร์ต เมื่อมีการร้องเพลงตามอาจมีการกระจายของสารคัดหลั่งในน้ำลาย ฉะนั้น ผู้จัดงานจะต้องดูแลและงดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ รวมถึงอาจจัดให้มีการเว้นที่นั่ง
ขณะที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เช่น ท้องฟ้าจำลอง สามารถเปิดบริการได้ ในส่วนการขนส่งสาธารณะ ให้นั่งติดกัน 2 ที่นั่งเว้น 1 ที่นั่ง หรือไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุรถ
3. กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ ในส่วนของกิจการถ่ายภาพยนตร์ วีดีทัศน์ และรายการโทรทัศน์ สามารถเพิ่มจำนวนทีมงานไม่เกิน 150 คน และผู้เช้าชมไม่เกิน 50 คน นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย เพราะที่ผ่านมารายการโทรทัศน์มักจะใส่แต่เฟซชิลด์ ซึ่งไม่สามารถป้องกันวิด-19 ได้เท่าหน้ากากอนามัย
สำหรับกิจการสปา ออนเซน อบตัว อบสมุนไฟ และอบไอน้ำ เปิดบริการได้ แต่จำกัดจำนวนผู้ใช้ต่อรอบ และเว้นระยะ 5 ตารางเมตรต่อคน ยกเว้นกิจการอาบ อบ นวด ที่ยังไม่อนุญาตให้เปิดบริการ
ส่วนสวนสนุก สนามเด็กเล่น สระน้ำ และ สระว่ายน้ำสาธารณะ สามารเปิดบริการได้ แต่ต้องมีการอบรมพนักงานดูแล เพื่อให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ส่วนบ้านบอล ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ยังไม่ให้เปิดบริการ เนื่องจากเกรงว่าสารคัดหลั่งจะไปอยู่ในอุปกรณ์เครื่องเล่น ทำให้ทำความสะอาดยาก และเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
ด้านสนามกีฬาประเภทกลางแจ้ง โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ โรงยิม และสถานที่ออกกำลังกาย หากจะมีการจัดการแข่งขัน จะต้องไม่มีผู้เข้าชม เช่นเดียวกับสวนสาธารณะ ลานกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ลักษณะเป็นการรวมกลุ่ม เช่น การเต้นแอโรบิก สามารถเปิดได้ แต่ต้องรวมกันไม่เกิน 50 คน และเว้นระยะห่าง 5 ตารางเมตร ต่อคน ทั้งนี้ ตู้เกมส์ เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และศูนย์คอมมูนิตี้มอลล์ สามารถเปิดบริการได้ เนื่องจากเด็กที่มาเล่นจะมีผู้ปกครองมาดูแล และจำกัดเวลา 2 ชั่วโมงต่อคน แต่นอกห้างสรรพสินค้า ยังไม่เปิดบริการ
อย่างไรก็ตามกิจกรรมและกิจการทั้งหมดเป็นฉบับร่าง ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน ยกเลิก หรือเพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ หากอนุญาตให้เปิด จะเริ่มผ่อนคลายระยะที่ 4 ในวันที่15 มิ.ย.นี้
เมื่อถามว่า มีการเสนอเตรียมทดลองยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ เป็นเวลา 15 วัน นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว สาระหลักของวันนี้ อยู่ที่การยกร่างมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 ขอให้รอติดตามที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 12 มิ.ย. ตนจะมาแจ้งให้ทราบ
ลอง"เลิกเคอร์ฟิว-คงพรก.ฉุกเฉิน"15 วัน
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผบ.ทบ. กล่าวก่อนการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ในส่วนของความมั่นคง เตรียมเสนอส่วนการทดลองยกเลิกการประกาศใช้เคอร์ฟิวทั่วประเทศ เป็นเวลา 15 วัน แต่ยังคงบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อยู่ เพื่อจะทดลองว่าประชาชนจะรับได้กับการมี พ.ร.ก ฉุกเฉิน แต่ยกเลิกเคอร์ฟิว และจะใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือไม่ ซึ่งจะไม่มีด่านความมั่นคง ไม่มีการกำหนดเวลาเข้าออกเคหสถาน เพราะเราต้องการให้ประชาชนให้เห็นว่า เมื่อมีมาตรการผ่อนคลายสูงสุด จะเป็นเช่นไร หลังจากนั้นก็จะฟังเสียงตอบรับจากประชาชนและสังคม
ทั้งนี้ สาเหตุที่คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะกฎหมายปกติไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องที่ฉุกเฉิน หากมีการแพร่ระบาดของโรคได้ ซึ่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าไปดำเนินการได้อย่างบูรณาการ มาตรการบางอย่างจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปก่อน แต่ทั้งนี้ หลัง15 วัน ของการทดลองก็ต้องฟังเสียงประชาชนว่ายังอยากให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่
ยกเลิกเคอร์ฟิว ต้องฟังทั้งกม.-หมอ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รอง ผบ.ทบ. เสนอที่ประชุมคณะกก.เฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียด ส่วนจะได้หรือไม่นั้น ด้านที่พิจารณาอยู่ขณะนี้คือ ทางกฎหมาย แต่ต้องฟังทางด้านสาธารณสุขและแพทย์ด้วย
สำหรับข้อเสนอที่จะให้เปิดสนามมวยนั้น อาจจะเป็นรูปแบบการจัดชกแล้วให้มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งไม่เป็นไร หากคิดว่ามันเหมาะสมสามารถเสนอได้
ส่วนคำถามที่สื่อถามอยู่ทุกวันคือ การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติและเหมือนที่ตนเคยบอกมาตลอดว่า เรามี พ.ร.บ.โรคติดต่อเป็นหลักอยู่ และยังมี พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นกฎหมายปกติที่เราใช้ก่อนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็กลับมาใช้กฎหมายปกติ หากมีช่องโหว่และช่องว่างก็ต้องเรียนรู้และแก้ปัญหา ส่วนการใช้มติครม. ก็ปิดช่องโหว่ได้แค่บางส่วน เช่น การบูรณาการระหว่างจังหวัดที่ติดกัน แต่จะไปถึงขนาดกำหนดเคอร์ฟิวไม่ได้ ที่สุดแล้วเรื่องนี้คงออกได้ 3 แนวทางคือ คง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้, ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ผ่อนคลายมาตรการหลายอย่างออกไป อย่างไรก็ตาม หากเราเลิก พ.ร.ก.ไป แล้วสถานการณ์รุนแรงก็ประกาศใหม่ ไม่ได้ยากอะไร
เมื่อถามว่า ไม่มีกฎหมายพิเศษอื่นที่สามารถรองรับสถานการณ์เช่นนี้ ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มี แต่หนักกว่าคือ กฎอัยการศึก ซึ่งประกาศไม่ได้ และพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่เหตุที่จะประกาศ ไม่ใช่โรคระบาด ต้องเป็นเรื่องสู้รบปรบมือ ส่วนกฎหมายพิเศษที่เบากว่านี้ ไม่มี จะก็มีแต่กฎหมายปกติ คือ พ.ร.บ.โรคติดต่อ
วานนี้ (10มิ.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 4 ราย ทั้งหมดเดินทางมาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานกักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,125 ราย หายป่วยสะสม 2,981 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 58 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ รายที่ 1 เป็นชายไทย อายุ 44 ปี เดินทางมาจากมาดากัสการ์ เป็นพนักงานบริษัท พักอาศัยในแคมป์ที่มีหลายเชื้อชาติ รายที่ 2 เป็นหญิงอายุ 34 ปี เดินทางมาจากปากีสถาน ส่วนรายที่ 3-4 เป็นหญิงไทย อายุ 35 ปี เดินทางมาจากประเทศอินเดีย
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจการพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ได้มีการพิจารณากิจกรรม และกิจการ ในระยะที่ 4 ที่จะผ่อนคลายการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นฉบับร่าง เตรียมจะนำเสนอที่ประชุมศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ โดยประเภทกิจกรรมและกิจการประเภทกลุ่มสีแดง ที่มีความเสี่ยงสูง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ผ่อนผันการใช้อาคาร สถานที่ โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและหน่วยงานในกำกับของรัฐ สามารถเปิดให้โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชา เปิดการเรียนการสอนได้ แต่ให้มีมาตรการเสริมในการจัดระเบียบพื้นที่ ให้นักเรียนโดยเว้นระยะห่างกัน
2. กิจกรรมเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ให้ภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม และร้านอาหาร สามารถจำหน่ายสุรา และนั่งดื่มในร้านได้ ส่วนสถานบริการ ผับ บาร์ และคาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตเปิดบริการ และงดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น พนักงานเชียร์เบียร์ เนื่องจากผับ บาร์ คาราโอเกะ จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงมาก ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ถึงการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน เช่น กรณีผับที่ทองหล่อ ซึ่งกิจการประเภทนี้ การผลักดันเศรษฐกิจไม่สูงเหมือนกิจการประเภทอื่น ขณะที่ร้านอาหาร มีความสำคัญกับการดำเนินชิตประจำวัน และผู้มาใช้บริการนิยมไม่นั่งเป็นเวลานานเหมือน ผับ บาร์ ดังนั้น การอนุญาตให้จำหน่ายสุรา จึงต้องดูตามความเหมาะสม และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
สำหรับสถานพัฒนาเด็กประถมวัย ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กเล็กรายวัน ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กพิเศษ และสถานดูแลผู้สูงอายุรายวัน สามารถเปิดแบบไปเช้า-เย็นกลับได้
ส่วนห้องประชุมโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า สถานที่จัดนิทรรศการ โรงมหรสพ งานแสดงดนตรี คอนเสิร์ต สามารถเปิดได้ แต่ต้องลดความหนาแน่น ความไม่มีระเบียบ เช่น งานดนตรี การจัดคอนเสิร์ต เมื่อมีการร้องเพลงตามอาจมีการกระจายของสารคัดหลั่งในน้ำลาย ฉะนั้น ผู้จัดงานจะต้องดูแลและงดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ รวมถึงอาจจัดให้มีการเว้นที่นั่ง
ขณะที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เช่น ท้องฟ้าจำลอง สามารถเปิดบริการได้ ในส่วนการขนส่งสาธารณะ ให้นั่งติดกัน 2 ที่นั่งเว้น 1 ที่นั่ง หรือไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุรถ
3. กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ ในส่วนของกิจการถ่ายภาพยนตร์ วีดีทัศน์ และรายการโทรทัศน์ สามารถเพิ่มจำนวนทีมงานไม่เกิน 150 คน และผู้เช้าชมไม่เกิน 50 คน นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย เพราะที่ผ่านมารายการโทรทัศน์มักจะใส่แต่เฟซชิลด์ ซึ่งไม่สามารถป้องกันวิด-19 ได้เท่าหน้ากากอนามัย
สำหรับกิจการสปา ออนเซน อบตัว อบสมุนไฟ และอบไอน้ำ เปิดบริการได้ แต่จำกัดจำนวนผู้ใช้ต่อรอบ และเว้นระยะ 5 ตารางเมตรต่อคน ยกเว้นกิจการอาบ อบ นวด ที่ยังไม่อนุญาตให้เปิดบริการ
ส่วนสวนสนุก สนามเด็กเล่น สระน้ำ และ สระว่ายน้ำสาธารณะ สามารเปิดบริการได้ แต่ต้องมีการอบรมพนักงานดูแล เพื่อให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ส่วนบ้านบอล ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ยังไม่ให้เปิดบริการ เนื่องจากเกรงว่าสารคัดหลั่งจะไปอยู่ในอุปกรณ์เครื่องเล่น ทำให้ทำความสะอาดยาก และเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
ด้านสนามกีฬาประเภทกลางแจ้ง โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ โรงยิม และสถานที่ออกกำลังกาย หากจะมีการจัดการแข่งขัน จะต้องไม่มีผู้เข้าชม เช่นเดียวกับสวนสาธารณะ ลานกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ลักษณะเป็นการรวมกลุ่ม เช่น การเต้นแอโรบิก สามารถเปิดได้ แต่ต้องรวมกันไม่เกิน 50 คน และเว้นระยะห่าง 5 ตารางเมตร ต่อคน ทั้งนี้ ตู้เกมส์ เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และศูนย์คอมมูนิตี้มอลล์ สามารถเปิดบริการได้ เนื่องจากเด็กที่มาเล่นจะมีผู้ปกครองมาดูแล และจำกัดเวลา 2 ชั่วโมงต่อคน แต่นอกห้างสรรพสินค้า ยังไม่เปิดบริการ
อย่างไรก็ตามกิจกรรมและกิจการทั้งหมดเป็นฉบับร่าง ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน ยกเลิก หรือเพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ หากอนุญาตให้เปิด จะเริ่มผ่อนคลายระยะที่ 4 ในวันที่15 มิ.ย.นี้
เมื่อถามว่า มีการเสนอเตรียมทดลองยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ เป็นเวลา 15 วัน นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว สาระหลักของวันนี้ อยู่ที่การยกร่างมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 ขอให้รอติดตามที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 12 มิ.ย. ตนจะมาแจ้งให้ทราบ
ลอง"เลิกเคอร์ฟิว-คงพรก.ฉุกเฉิน"15 วัน
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผบ.ทบ. กล่าวก่อนการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ในส่วนของความมั่นคง เตรียมเสนอส่วนการทดลองยกเลิกการประกาศใช้เคอร์ฟิวทั่วประเทศ เป็นเวลา 15 วัน แต่ยังคงบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อยู่ เพื่อจะทดลองว่าประชาชนจะรับได้กับการมี พ.ร.ก ฉุกเฉิน แต่ยกเลิกเคอร์ฟิว และจะใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือไม่ ซึ่งจะไม่มีด่านความมั่นคง ไม่มีการกำหนดเวลาเข้าออกเคหสถาน เพราะเราต้องการให้ประชาชนให้เห็นว่า เมื่อมีมาตรการผ่อนคลายสูงสุด จะเป็นเช่นไร หลังจากนั้นก็จะฟังเสียงตอบรับจากประชาชนและสังคม
ทั้งนี้ สาเหตุที่คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะกฎหมายปกติไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องที่ฉุกเฉิน หากมีการแพร่ระบาดของโรคได้ ซึ่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าไปดำเนินการได้อย่างบูรณาการ มาตรการบางอย่างจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปก่อน แต่ทั้งนี้ หลัง15 วัน ของการทดลองก็ต้องฟังเสียงประชาชนว่ายังอยากให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่
ยกเลิกเคอร์ฟิว ต้องฟังทั้งกม.-หมอ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รอง ผบ.ทบ. เสนอที่ประชุมคณะกก.เฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียด ส่วนจะได้หรือไม่นั้น ด้านที่พิจารณาอยู่ขณะนี้คือ ทางกฎหมาย แต่ต้องฟังทางด้านสาธารณสุขและแพทย์ด้วย
สำหรับข้อเสนอที่จะให้เปิดสนามมวยนั้น อาจจะเป็นรูปแบบการจัดชกแล้วให้มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งไม่เป็นไร หากคิดว่ามันเหมาะสมสามารถเสนอได้
ส่วนคำถามที่สื่อถามอยู่ทุกวันคือ การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติและเหมือนที่ตนเคยบอกมาตลอดว่า เรามี พ.ร.บ.โรคติดต่อเป็นหลักอยู่ และยังมี พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นกฎหมายปกติที่เราใช้ก่อนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็กลับมาใช้กฎหมายปกติ หากมีช่องโหว่และช่องว่างก็ต้องเรียนรู้และแก้ปัญหา ส่วนการใช้มติครม. ก็ปิดช่องโหว่ได้แค่บางส่วน เช่น การบูรณาการระหว่างจังหวัดที่ติดกัน แต่จะไปถึงขนาดกำหนดเคอร์ฟิวไม่ได้ ที่สุดแล้วเรื่องนี้คงออกได้ 3 แนวทางคือ คง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้, ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ผ่อนคลายมาตรการหลายอย่างออกไป อย่างไรก็ตาม หากเราเลิก พ.ร.ก.ไป แล้วสถานการณ์รุนแรงก็ประกาศใหม่ ไม่ได้ยากอะไร
เมื่อถามว่า ไม่มีกฎหมายพิเศษอื่นที่สามารถรองรับสถานการณ์เช่นนี้ ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มี แต่หนักกว่าคือ กฎอัยการศึก ซึ่งประกาศไม่ได้ และพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่เหตุที่จะประกาศ ไม่ใช่โรคระบาด ต้องเป็นเรื่องสู้รบปรบมือ ส่วนกฎหมายพิเศษที่เบากว่านี้ ไม่มี จะก็มีแต่กฎหมายปกติ คือ พ.ร.บ.โรคติดต่อ