ผู้จัดการรายวัน360 - นายกฯ แจงกรอบวงเงินกู้ 1 ล้านล้าน เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดโควิด-19 ใช้เยียวยา-รักษาเสถียรภาพศก. มั่นใจชำระหนี้ได้ ไม่ขัดกรอบวินัยการเงินการคลัง และพร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่าย ด้าน"ผู้นำฝ่ายค้าน" ห่วงรัฐบาลบริหารงบไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ทั่วถึง อุ้มคนรวย แนะให้ส.ส.มีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้งบฯ ชี้ผลวัดความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ใครหยุดโควิดบนซากปรักหักพังประเทศ แต่อยู่ที่ควบคุมโควิดและประคองศก.ให้ยืนอยู่ได้ "อนุดิษฐ์" เสนอตั้ง กมธ. ตรวจสอบการใช้เงินกู้และปรับปรุงพ.ร.ก.ให้ทันเหตุการณ์
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (27พ.ค.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานที่ประชุม มีวาระสำคัญเรื่องด่วน การพิจารณาพ.ร.ก.3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 2.พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ 3. พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 โดยคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โฮชา นายกรัฐมนตรี ได้เสนอหลักการและเหตุผล ในการตรา พ.ร.ก. 3 ฉบับนี้ ว่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคืนกลับมาสู่ประเทศ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ และหยุดยั้งการระบาดของโรคระบาดโควิด-19 เพื่อสร้างความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อเยียวยาเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพจากมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินในการดำเนินการดังกล่าว จำนวน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งไม่อาจดำเนินการได้ตามปกติ หรือใช้การกู้เงินของรัฐบาลที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันได้ จึงต้องมีการออกพ.ร.ก.เพื่อดูแล และฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
"การตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลตัดสินใจดำเนินการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความห่วงใยในประเด็นในการรักษาวินัยการเงิน การคลังของประเทศ และความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน จึงได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเป็นกรอบการกู้เงินไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยลงนามในสัญญากู้ไม่เกิน วันที่ 30 ก.ย.64"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าเพื่อเป็นการรักษาวินัยในการใช้เงิน รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการใช้เงินตามพ.ร.ก.ได้แก่ 1. กำหนดวงเงิน 450,000 ล้านบาท ที่ต้องนำเงินไปใช้ในแผนงานเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส-19 2.กำหนดวงเงิน 555,000 ล้านบาท ที่ต้องนำไปใช้ตามแผนเพื่อชดเชยเยียวยาให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และ 3. กำหนดวงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ตามแผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอํานาจอนุมัติปรับเปลี่ยนกรอบวงเงินได้ตามความจำเป็น และเพื่อให้การใช้จ่ายสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงาน หรือโครงการก่อนเสนอครม. และจำกัดการดำเนินโครงการพร้อมทั้งรายงานต่อ ครม. รวมถึงต้องมีการจัดทำรายงานผลการใช้เงินให้รัฐสภาทราบ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งเป็นรายงานที่ครอบคลุมรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินกู้ และผลที่ได้รับจากการใช้จ่ายเงิน
"ขอยืนยันว่าการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.ไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะ และกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งเมื่อรวมการก่อหนี้ในครั้งนี้แล้ว มีอัตราการก่อหนี้ สาธารณะต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ หรือ จีดีพี อยู่ที่ 57.6% ซึ่งถือว่าไม่เกินกรอบการก่อหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ที่กำหนดไว้ว่า หนี้สาธารณะต้องไม่เกินกรอบ 60% ของจีดีพี ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลสามารถบริหารจัดการในการชำระหนี้ได้ และยืนยันว่าการตราพ.ร.ก.ครั้งนี้ เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงต้องมีการตราพ.ร.ก.ดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาตามหลักการและเหตุผลดังที่กล่าวมา และขอขอบคุณสมาชิกทุกคน ที่มีความห่วงใยต่อการใช้เงินจำนวนดังกล่าว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
รัฐบาลแก้ปัญหาผิดพลาด ล่าช้า จนต้องกู้
จากนั้น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน และส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขอชื่นชมและแสดงความยินดีต่อความสำเร็จต่อการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือและการเสียสละของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนที่ช่วยกันปฏิบัติตามการแนะนำด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และขอชื่นชมบุคลากรสาธารณสุข และระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งของไทย แต่ในความสำเร็จนั้น ก็แฝงด้วยความผิดพลาดของการบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตในหลายๆครั้งของรัฐบาล ได้แก่ ความไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาหน้ากากอนามัย และการขาดแคลนชุดป้องกันการติดเชื้อ(PPE)สำหรับบุคลากรทางการแพทย์, ความสับสนในมาตรการกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ , การสั่งปิดกิจการในพื้นที่กทม. ก่อนประกาศมาตรการเยียวยาให้ชัดเจน , ความล่าช้าและการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและรวดเร็ว , ความล่าช้าในการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และความล่าช้าในการคลายล็อกให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
"ประเทศที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริงไม่ใช่ประเทศที่หยุดการระบาดได้บนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจประเทศ และไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยการระบาดรุนแรงจนยืดเยื้อ กระทบต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ แต่เป็นประเทศที่สามารถสร้างความสมดุลให้การระบาดอยู่ในภาวะควบคุมได้ และประคองเศรษฐกิจให้ยืนอยู่ได้ในวันที่โลกมีวัคซีน"
การบริหารงานที่ผิดพลาดดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศที่ได้รับความชื่นชมการควบคุมด้านระบาดวิทยา แต่สร้างความล้มเหลวในการเยียวยา และกอบกู้วิกฤติทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าประชาชนเดือดร้อนในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต้องปิดการดำเนินธุรกิจจากการประกาศ Lock down ของรัฐบาล ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กับตัวเลขของผู้ที่ฆ่าตัวตาย เนื่องจากภาวะกดดันทางเศรษกิจ เกือบจะไม่แตกต่างกัน ปัจจุบันประเทศอยู่ในภาวะที่จำเป็นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เข้ากอบกู้เศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนักจนเกินเยียวยา จึงนำไปสู่การกู้เงินจำนวนมหาศาล ตาม พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งรัฐบาลต้องระลึกไว้เสมอว่า เงินกู้จำนวนมหาศาลนี้ ประชาชนทั้งประเทศต้องร่วมกันชดใช้ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องถูกนำไปใช้ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยแท้จริง ไม่ใช่การแบ่งเค้กชิงผลประโยชน์ การใช้เพื่อสร้างฐานคะแนนเสียง การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องผ่านโครงการต่างๆ
ห่วงรัฐบาลใช้จ่ายงบอุ้มคนรวย
พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้สูงมาก แต่การตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน มีเพียงการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เพียงไม่กี่คน ตรวจสอบเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ต้องรายงานการใช้จ่ายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ จึงมีความจำเป็นที่ ส.ส.จะต้องร่วมกันตรวจสอบให้การใช้เงินก้อนนี้เป็นไปอย่างสุจริตและมีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันไม่ให้เป็นการตีเช็คเปล่า ให้รัฐบาลใช้เงินโดยตามอำเภอใจ จนอาจส่งผลเสียต่อประเทศ
ส่วน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท แยกพิจารณาเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. แก้ไขการระบาดโควิด-19(45,000 ล้านบาท) รัฐบาลต้องสามารถชี้แจงต่อสังคมให้ได้ว่า มีรายละเอียดการใช้จ่ายอย่างไร ใครได้ประโยชน์บ้าง เพราะที่รัฐบาลชี้แจงว่าใช้ในการรักษาผู้ป่วยคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งคิดแล้วเป็นเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาทเท่านั้น เรื่องการจัดสรรอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็มีข้อกังขามากมาย 2. การช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ (555,000 ล้านบาท) เป็นสิ่งจำเป็น แต่การเยี่ยวยาในแบบของรัฐบาลมีปัญหาในการคัดกรองไม่ครอบคลุม ซึ่งตนเห็นว่าควรใช้ระบบถ้วนหน้า 3. งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ (400,000 ล้านบาท) ทิศทางการใช้เงินก้อนนี้ ไม่ตอบโจทย์ และไม่คิดถึงโอกาสของประเทศในภาพใหญ่
ส่วนของ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น SMEs ส่วนมากยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ผู้ประกอบการขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ได้ประโยชน์มากกว่าขนาดเล็ก นอกจากนั้นยังเปิดช่องทางที่เอกชนรายที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ เอาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปปล่อยต่อให้เอกชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในราคาสูง มีลักษณะเหมือนสินเชื่อนอกระบบ รายใหญ่ได้ประโยชน์ รายเล็กโดนเอาเปรียบ
ในส่วนของพ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนนี้ ตนเห็นถึงความจำเป็นของการรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเป็นอีกแหล่งทุนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน แต่มีผลเสียที่จะตามมาหลายประการ เช่น การเลือกปฏิบัติใช้เงินรัฐอุ้มคนรวย
นายสมพงษ์ เสนอให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณารับซื้อตราสารหนี้เอกชนตามความเสี่ยง จากนั้นธนาคารพาณิชย์ สามารถนำตราสารหนี้เหล่านี้ มาค้ำประกันเพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่องจากธนาคารแห่งชาติ หากบริษัทใดผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้รับความเสี่ยง ธนาคารชาติเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของระบบตลาดการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ซึ่งการใช้เงินกู้จำนวนนี้ ต้องลงสู่การช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงและกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบริหารจัดการที่โปร่งใส มิใช่เป็นแหล่งทุนที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซัดเศรษฐกิจพังเพราะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคไทย และส.ส.กทม. อภิปราย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯว่า ขอเรียกชื่อว่า พ.ร.ก. เราไม่ทิ้งกัน 2020 แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พ.ร.ก. เราเป็นหนี้ด้วยกัน 2020" ซึ่งมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท และขอตั้งข้อสังเกตว่า การออกพ.ร.ก.ครั้งนี้รัฐบาลข้ามขั้นตอนสำคัญไปหลายประการ โดยเฉพาะการสำรวจงบประมาณที่มีอยู่เดิม จนสังคมตั้งข้อครหาว่ารัฐบาลตั้งใจกู้เงินมากเกินไปเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่ เพราะไม่มีรายละเอียดโครงการเลยว่าจะเอาไปใช้อะไรบ้าง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินครั้งนี้ เกิดจากการออกคำสั่งล็อกดาวน์ ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สั่งระงับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จนเกิดกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องเยียวยาประชาชนและภาคเศรษฐกิจ จึงได้ตราพ.ร.ก. 3 ฉบับนี้ แต่สิ่งตนห่วงคือ เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่รัฐบาลยังคงประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินต่อไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. อันจะทำให้เศรษฐกิจไทยที่เสียหายอยู่แล้ว พังพินาศมากขึ้น ตอนนี้ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ 3 ป. แต่มี 3 จ. คือ เจ็บ จน เจ๊ง ของเศรษฐกิจไทย
พ.ร.ก. ฉบับนี้ รัฐบาลกู้มา 1 ล้านล้านบาท จึงเหลือเพดานที่จะก่อหนี้ได้อีกไม่เกิน 1.5 ล้านล้านบาท ดังนั้นเงินกู้ครั้งนี้อาจจะถือเป็นเงินหน้าตักก้อนสุดท้ายที่รัฐบาลจะต้องใช้เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะจะต้องเผื่อไว้เพื่อกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 64 อีก 523,000 ล้านบาท อันจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะสูงถึงเกือบถึงร้อยละ 55 ตั้งแต่ยึดอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อหนี้รวมกับพ.ร.ก. ฉบับนี้ รวมเป็นเงิน 4.185 ล้านล้านบาท ต้องใช้เวลาเกือบ 90 ปี หรือสองชั่วชีวิตของพล.อ.ประยุทธ์ ถึงจะชำระหนี้หมด
เสนอตั้งกมธ.ตรวจสอบการใช้เงินกู้
น.อ.อนุดิษฐ์ เสนอว่า รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ตัวแทนพี่น้องประชาชนมีโอกาสได้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โดยผ่านทางกรรมาธิการวิสามัญของสภา, ต้องรายงานให้สภาได้รับทราบ และตรวจสอบร่วมกันทุก 3 เดือน , และควรเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุง พ.ร.ก.ให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ด้วยการออก พ.ร.บ.แก้ไขสาระสำคัญของการกู้เงิน และการใช้เงินที่ไม่เป็นประโยชน์และขาดประสิทธิภาพ
"บิ๊กตู่"ยันรับฟังความเห็นทุกฝ่าย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมรับฟังการอภิปราย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ว่า ขอขอบคุณในข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ มีอะไรก็รับฟังซึ่งกันและกัน โดยหลายเรื่องนายกฯก็ต้องรับไปดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดความสบายใจ และยืนยันว่ารัฐบาลพยายามทำอย่างเต็มที่ ซึ่งมีหลายกติกาอยู่แล้ว และมีกฎหมายมีหลายตัว จึงไม่ต้องห่วง ขณะที่ในส่วนของงบประมาณต่างๆ ก็ให้มีการแบ่งกลุ่มว่างบประมาณตรงนั้นจะมาใช้กับใคร อะไร ยังไรบ้าง และข้อสำคัญเอสเอ็มอีขนาดเล็ก จะสามารถเข้าถึงได้
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (27พ.ค.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานที่ประชุม มีวาระสำคัญเรื่องด่วน การพิจารณาพ.ร.ก.3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 2.พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ 3. พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 โดยคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โฮชา นายกรัฐมนตรี ได้เสนอหลักการและเหตุผล ในการตรา พ.ร.ก. 3 ฉบับนี้ ว่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคืนกลับมาสู่ประเทศ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ และหยุดยั้งการระบาดของโรคระบาดโควิด-19 เพื่อสร้างความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อเยียวยาเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพจากมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินในการดำเนินการดังกล่าว จำนวน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งไม่อาจดำเนินการได้ตามปกติ หรือใช้การกู้เงินของรัฐบาลที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันได้ จึงต้องมีการออกพ.ร.ก.เพื่อดูแล และฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
"การตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลตัดสินใจดำเนินการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความห่วงใยในประเด็นในการรักษาวินัยการเงิน การคลังของประเทศ และความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน จึงได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเป็นกรอบการกู้เงินไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยลงนามในสัญญากู้ไม่เกิน วันที่ 30 ก.ย.64"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าเพื่อเป็นการรักษาวินัยในการใช้เงิน รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการใช้เงินตามพ.ร.ก.ได้แก่ 1. กำหนดวงเงิน 450,000 ล้านบาท ที่ต้องนำเงินไปใช้ในแผนงานเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส-19 2.กำหนดวงเงิน 555,000 ล้านบาท ที่ต้องนำไปใช้ตามแผนเพื่อชดเชยเยียวยาให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และ 3. กำหนดวงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ตามแผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอํานาจอนุมัติปรับเปลี่ยนกรอบวงเงินได้ตามความจำเป็น และเพื่อให้การใช้จ่ายสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงาน หรือโครงการก่อนเสนอครม. และจำกัดการดำเนินโครงการพร้อมทั้งรายงานต่อ ครม. รวมถึงต้องมีการจัดทำรายงานผลการใช้เงินให้รัฐสภาทราบ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งเป็นรายงานที่ครอบคลุมรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินกู้ และผลที่ได้รับจากการใช้จ่ายเงิน
"ขอยืนยันว่าการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก.ไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะ และกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งเมื่อรวมการก่อหนี้ในครั้งนี้แล้ว มีอัตราการก่อหนี้ สาธารณะต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ หรือ จีดีพี อยู่ที่ 57.6% ซึ่งถือว่าไม่เกินกรอบการก่อหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ที่กำหนดไว้ว่า หนี้สาธารณะต้องไม่เกินกรอบ 60% ของจีดีพี ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลสามารถบริหารจัดการในการชำระหนี้ได้ และยืนยันว่าการตราพ.ร.ก.ครั้งนี้ เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงต้องมีการตราพ.ร.ก.ดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาตามหลักการและเหตุผลดังที่กล่าวมา และขอขอบคุณสมาชิกทุกคน ที่มีความห่วงใยต่อการใช้เงินจำนวนดังกล่าว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
รัฐบาลแก้ปัญหาผิดพลาด ล่าช้า จนต้องกู้
จากนั้น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน และส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขอชื่นชมและแสดงความยินดีต่อความสำเร็จต่อการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือและการเสียสละของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนที่ช่วยกันปฏิบัติตามการแนะนำด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และขอชื่นชมบุคลากรสาธารณสุข และระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งของไทย แต่ในความสำเร็จนั้น ก็แฝงด้วยความผิดพลาดของการบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตในหลายๆครั้งของรัฐบาล ได้แก่ ความไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาหน้ากากอนามัย และการขาดแคลนชุดป้องกันการติดเชื้อ(PPE)สำหรับบุคลากรทางการแพทย์, ความสับสนในมาตรการกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ , การสั่งปิดกิจการในพื้นที่กทม. ก่อนประกาศมาตรการเยียวยาให้ชัดเจน , ความล่าช้าและการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและรวดเร็ว , ความล่าช้าในการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และความล่าช้าในการคลายล็อกให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
"ประเทศที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริงไม่ใช่ประเทศที่หยุดการระบาดได้บนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจประเทศ และไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยการระบาดรุนแรงจนยืดเยื้อ กระทบต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ แต่เป็นประเทศที่สามารถสร้างความสมดุลให้การระบาดอยู่ในภาวะควบคุมได้ และประคองเศรษฐกิจให้ยืนอยู่ได้ในวันที่โลกมีวัคซีน"
การบริหารงานที่ผิดพลาดดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศที่ได้รับความชื่นชมการควบคุมด้านระบาดวิทยา แต่สร้างความล้มเหลวในการเยียวยา และกอบกู้วิกฤติทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าประชาชนเดือดร้อนในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต้องปิดการดำเนินธุรกิจจากการประกาศ Lock down ของรัฐบาล ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กับตัวเลขของผู้ที่ฆ่าตัวตาย เนื่องจากภาวะกดดันทางเศรษกิจ เกือบจะไม่แตกต่างกัน ปัจจุบันประเทศอยู่ในภาวะที่จำเป็นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เข้ากอบกู้เศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนักจนเกินเยียวยา จึงนำไปสู่การกู้เงินจำนวนมหาศาล ตาม พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งรัฐบาลต้องระลึกไว้เสมอว่า เงินกู้จำนวนมหาศาลนี้ ประชาชนทั้งประเทศต้องร่วมกันชดใช้ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องถูกนำไปใช้ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยแท้จริง ไม่ใช่การแบ่งเค้กชิงผลประโยชน์ การใช้เพื่อสร้างฐานคะแนนเสียง การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องผ่านโครงการต่างๆ
ห่วงรัฐบาลใช้จ่ายงบอุ้มคนรวย
พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้สูงมาก แต่การตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน มีเพียงการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เพียงไม่กี่คน ตรวจสอบเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ต้องรายงานการใช้จ่ายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ จึงมีความจำเป็นที่ ส.ส.จะต้องร่วมกันตรวจสอบให้การใช้เงินก้อนนี้เป็นไปอย่างสุจริตและมีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันไม่ให้เป็นการตีเช็คเปล่า ให้รัฐบาลใช้เงินโดยตามอำเภอใจ จนอาจส่งผลเสียต่อประเทศ
ส่วน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท แยกพิจารณาเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. แก้ไขการระบาดโควิด-19(45,000 ล้านบาท) รัฐบาลต้องสามารถชี้แจงต่อสังคมให้ได้ว่า มีรายละเอียดการใช้จ่ายอย่างไร ใครได้ประโยชน์บ้าง เพราะที่รัฐบาลชี้แจงว่าใช้ในการรักษาผู้ป่วยคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งคิดแล้วเป็นเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาทเท่านั้น เรื่องการจัดสรรอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็มีข้อกังขามากมาย 2. การช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ (555,000 ล้านบาท) เป็นสิ่งจำเป็น แต่การเยี่ยวยาในแบบของรัฐบาลมีปัญหาในการคัดกรองไม่ครอบคลุม ซึ่งตนเห็นว่าควรใช้ระบบถ้วนหน้า 3. งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ (400,000 ล้านบาท) ทิศทางการใช้เงินก้อนนี้ ไม่ตอบโจทย์ และไม่คิดถึงโอกาสของประเทศในภาพใหญ่
ส่วนของ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น SMEs ส่วนมากยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ผู้ประกอบการขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ได้ประโยชน์มากกว่าขนาดเล็ก นอกจากนั้นยังเปิดช่องทางที่เอกชนรายที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ เอาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปปล่อยต่อให้เอกชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในราคาสูง มีลักษณะเหมือนสินเชื่อนอกระบบ รายใหญ่ได้ประโยชน์ รายเล็กโดนเอาเปรียบ
ในส่วนของพ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนนี้ ตนเห็นถึงความจำเป็นของการรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเป็นอีกแหล่งทุนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน แต่มีผลเสียที่จะตามมาหลายประการ เช่น การเลือกปฏิบัติใช้เงินรัฐอุ้มคนรวย
นายสมพงษ์ เสนอให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณารับซื้อตราสารหนี้เอกชนตามความเสี่ยง จากนั้นธนาคารพาณิชย์ สามารถนำตราสารหนี้เหล่านี้ มาค้ำประกันเพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่องจากธนาคารแห่งชาติ หากบริษัทใดผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้รับความเสี่ยง ธนาคารชาติเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของระบบตลาดการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ซึ่งการใช้เงินกู้จำนวนนี้ ต้องลงสู่การช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงและกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบริหารจัดการที่โปร่งใส มิใช่เป็นแหล่งทุนที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซัดเศรษฐกิจพังเพราะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคไทย และส.ส.กทม. อภิปราย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯว่า ขอเรียกชื่อว่า พ.ร.ก. เราไม่ทิ้งกัน 2020 แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พ.ร.ก. เราเป็นหนี้ด้วยกัน 2020" ซึ่งมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท และขอตั้งข้อสังเกตว่า การออกพ.ร.ก.ครั้งนี้รัฐบาลข้ามขั้นตอนสำคัญไปหลายประการ โดยเฉพาะการสำรวจงบประมาณที่มีอยู่เดิม จนสังคมตั้งข้อครหาว่ารัฐบาลตั้งใจกู้เงินมากเกินไปเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่ เพราะไม่มีรายละเอียดโครงการเลยว่าจะเอาไปใช้อะไรบ้าง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าเหตุผลและความจำเป็นที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินครั้งนี้ เกิดจากการออกคำสั่งล็อกดาวน์ ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สั่งระงับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จนเกิดกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องเยียวยาประชาชนและภาคเศรษฐกิจ จึงได้ตราพ.ร.ก. 3 ฉบับนี้ แต่สิ่งตนห่วงคือ เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่รัฐบาลยังคงประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินต่อไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. อันจะทำให้เศรษฐกิจไทยที่เสียหายอยู่แล้ว พังพินาศมากขึ้น ตอนนี้ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ 3 ป. แต่มี 3 จ. คือ เจ็บ จน เจ๊ง ของเศรษฐกิจไทย
พ.ร.ก. ฉบับนี้ รัฐบาลกู้มา 1 ล้านล้านบาท จึงเหลือเพดานที่จะก่อหนี้ได้อีกไม่เกิน 1.5 ล้านล้านบาท ดังนั้นเงินกู้ครั้งนี้อาจจะถือเป็นเงินหน้าตักก้อนสุดท้ายที่รัฐบาลจะต้องใช้เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะจะต้องเผื่อไว้เพื่อกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 64 อีก 523,000 ล้านบาท อันจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะสูงถึงเกือบถึงร้อยละ 55 ตั้งแต่ยึดอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อหนี้รวมกับพ.ร.ก. ฉบับนี้ รวมเป็นเงิน 4.185 ล้านล้านบาท ต้องใช้เวลาเกือบ 90 ปี หรือสองชั่วชีวิตของพล.อ.ประยุทธ์ ถึงจะชำระหนี้หมด
เสนอตั้งกมธ.ตรวจสอบการใช้เงินกู้
น.อ.อนุดิษฐ์ เสนอว่า รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ตัวแทนพี่น้องประชาชนมีโอกาสได้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โดยผ่านทางกรรมาธิการวิสามัญของสภา, ต้องรายงานให้สภาได้รับทราบ และตรวจสอบร่วมกันทุก 3 เดือน , และควรเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุง พ.ร.ก.ให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ด้วยการออก พ.ร.บ.แก้ไขสาระสำคัญของการกู้เงิน และการใช้เงินที่ไม่เป็นประโยชน์และขาดประสิทธิภาพ
"บิ๊กตู่"ยันรับฟังความเห็นทุกฝ่าย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมรับฟังการอภิปราย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ว่า ขอขอบคุณในข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ มีอะไรก็รับฟังซึ่งกันและกัน โดยหลายเรื่องนายกฯก็ต้องรับไปดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดความสบายใจ และยืนยันว่ารัฐบาลพยายามทำอย่างเต็มที่ ซึ่งมีหลายกติกาอยู่แล้ว และมีกฎหมายมีหลายตัว จึงไม่ต้องห่วง ขณะที่ในส่วนของงบประมาณต่างๆ ก็ให้มีการแบ่งกลุ่มว่างบประมาณตรงนั้นจะมาใช้กับใคร อะไร ยังไรบ้าง และข้อสำคัญเอสเอ็มอีขนาดเล็ก จะสามารถเข้าถึงได้