ผู้จัดการรายวัน 360 - “อนุทิน”เล็งผ่อนปรนกิจกรรมและกิจกรรมเฟส 3 หากตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ไม่เพิ่มใน 2 สัปดาห์ ย้ำในระยะนี้ประชาชนต้องปฏิบัติตัวตามวิถีชีวิตใหม่ “นิวนอร์มัล” สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือ พร้อมสั่งการ สธ. สต๊อก Favipiravirกว่า 5 แสนเม็ด พร้อมจัดหาคลอโรควิล, Remdesivir รับมือหลังมีการคลายล็อก ลุ้น สมช.ถกต่อ-ไม่ต่อ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"วันนี้ ย้ำยึดแนวทางสธ.เป็นสำคัญ ศบค.เผย มีผู้ป่วยโควิดใหม่เพิ่มรายเดียว กลับบ้านเพิ่ม 31 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ผู้ป่วยรายใหม่เป็นเชฟร้านอาหารไทย กลับจากบาห์เรน อยู่ในสถานกักกันของรัฐ แต่ไม่มีอาการ ขณะที่ยอดป่วยสะสม 3,034 ราย หายรวม 2,888 ราย เสียชีวิตรวม 56 ราย ยังรักษาใน รพ. 90 ราย ต่ำกว่าร้อยแล้ว ไทยแชมป์ใส่หน้ากาก-ล้างมือมากสุดในอาเซียน
วานนี้ (20 พ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 “ไทยรู้ สู้วิกฤต”พร้อมเสวนาทางการไกลกับ ดร.อู่ จิ้ง กรรมาธิการสาธารณสุข มณฑลซานซี สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ดร.ฌอน วาซู ผู้อำนวยการศูนย์คลินิกโรคติดต่อแห่งชาติ สิงคโปร์ ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่า ต่อไปประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นปกติและมีความปลอดภัยจากเดิม หรือที่ทุกคนเรียก “นิวนอร์มัล” ทั้งการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือ
ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศไทยขณะนี้ถือว่าดีขึ้นมาก ทั้งจำนวนตัวเลขผู้ป่วยที่ลดลง อัตราการรักษาหาย จนเหลือผู้ป่วยครองเตียงไม่มาก ในสถานพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนเรื่องงบประมาณด้านการพัฒนาวัคซีน กว่า 5,000 ล้านบาท และมีการสำรองยาเรียบร้อยแล้ว
นายอนุทิน กล่าวว่า คาดว่าหากสถานการณ์ตัวเลขผู้ป่วยคงที่และไม่มีการติดเชื้อผู้ป่วยรายใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์หรือ 14 วันนี้ จะสามารถเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ได้ในเฟสต่างๆเพื่อให้การดำเนินชีวิตธุรกิจ กิจกรรมและกิจการกลับมาปกติ
ส่วนกรณีที่ทดลองใช้พลาสมารักษาอดีตผู้ป่วยโควิด-19 มารักษาผู้ป่วยโควิดรายใหม่ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนอาการหายดีนั้น ก็ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีความสำเร็จ แต่เรื่องนี้เป็นการทดลอง ต้องดูปัจจัยของการรักษาประกอบกัน เพราะที่ผ่านมาทางสถาบันบำราศนราดูรก็เคยใช้วิธีการนี้แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นย่อมหมายความว่าไม่ใช่ทุกราย ที่จะใช้วิธีการนี้ได้ ต้องมีการศึกษาเพิ่ม แต่ถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ในเรื่องของยาได้สั่งการให้กระะทรวงสาธารณสุข จัดหา Favipiravirสะสมไว้ทั้งสิ้นกว่า 5 แสนเม็ด แบ่งใช้ไปแล้วบ้าง แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการ ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นยังเก็บพลาสมาและยาชนิดต่างไว้ด้วย เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษา ขณะที่ Remdesivirและ คลอโรควิล สั่งให้นำมาสต๊อกไว้แล้วเช่นกัน แต่ไม่อยากให้ใครต้องใช้ยาเพราะไม่อยากเห็นการติดเชื้อเพิ่ม นอกจากนั้นถึงแม้ว่าผู้ติดเชื้อจะลงลง แต่ไม่ประมาท ได้ให้ทุกจังหวัดต้องมีโรงพยายาลโควิด19 เพื่อรับมือสถานการณ์ไม่คาดคิดหลังคลายล็อก
สมช.ถกต่อ-ไม่ต่อ"พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"
พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยว่าเวลา 11.00 น.วันนี้ ( 21 พ.ค.) สมช.มีกำหนดการประชุมเพื่อพิจารณาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และได้ขยายเวลาประกาศบังคับใช้ จะครบกำหนดวันที่ 31 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมจะมีการแถลงข่าวโดยการพิจารณาของสมช. ไม่ได้ใช้โพลใดๆมาเป็นตัวตัดสิน แต่ใช้สถานการณ์โควิด-19 ด้านสาธารณสุข เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้น ณ วันนี้ มีผลจากมาตรการต่างๆของเดือนที่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ดีขึ้นในวันนี้เป็นผลจากช่วงที่ผ่านมา ถ้าเราจะตัดสินใจทำอะไรเพื่อทำให้อนาคตดีขึ้น ต้องดูสถานการณ์ดีหรือไม่ดีวันนี้เป็นตัวตัดสิน รวมถึงมาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 2 ดูหลายอย่างด้วย ที่สำคัญต้องถามจากสาธารณาสุขเป็นหลัก ถ้าต้องการเครื่องมือนี้ต่อไปก็โอเค หรือถ้า พ.ร.บโรคติดต่อ ทำได้ก็โอเค โดยการประชุมได้เชิญตัวแทนจากสาธารณสุข และภาคเอกชน เข้าร่วม
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นแค่มติ สมช. ซึ่งจะต้องเข้าที่ประชุมศบค. ก่อนนำเข้าที่ประชุมครม. หาก ครม.เห็นเป็นอย่างอื่นก็แล้วแต่ สำหรับการประชุม ศบค. ปกติที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผอ.ศบค.จะประชุมทุกวันศุกร์ ซึ่งต้องรอหนังสือยืนยันการประชุม ศบค.อย่างเป็นทางการก่อน
ผู้ป่วยโควิดใหม่เพิ่มแค่รายเดียว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม หายกลับบ้าน 31 ราย โดยผู้ป่วยสะสมรวมเป็น 3,034 ราย กลับบ้านรวม 2,888 ราย เสียชีวิตรวม 56 รายเท่าเดิม ยังรักษาใน รพ. 90 ราย ถือว่าต่ำกว่าร้อยแล้ว โดยผู้ป่วยรายใหม่เป็นผู้ชายอายุ 45 ปี เป็นเชฟร้านอาหารไทย เดินทางกลับมาจากประเทศบาห์เรน และกักตัวอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ในโรงแรมแห่งหนึ่งในกทม.
ทั้งนี้ คนที่เดินทางมาจากบาห์เรน 238 คน มีติดเชื้อ 2 ราย ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมาย แต่ 5 ประเทศที่กลับมาแล้ว มีผู้ป่วยสูงสุดคือ อินโดนีเซีย ปากีสถาน คาซักสถาน มาเลเซีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อโควิดพบว่า ตรวจแล้ว 328,073 ตัวอย่าง โดยมี 167 แห่งทั่วประเทศ ที่สามารถตรวจได้ เมื่อคำนวณอัตราในการตรวจ ไทยตรวจอยู่ที่ 4,926 รายต่อ 1 ล้านประชากร ถือว่าสูงกว่าเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินเดีย แต่ประเทศที่มีการอัตราการตรวจมาก คือ อิตาลี สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดจำนวนการตรวจพบ 0.92% หรือเกือบ 1 คน ส่วนอิตาลีเจอ 7.63% ซึ่งตัวเลขน้อยดีกว่าเยอะ แปลว่า เรากวาดกลุ่มคนที่ไม่มีโอกาสติดเชื้อเข้ามาได้มากกว่า คือ ให้มีกลุ่มตรวจสอบได้กว้างๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องตรวจให้เพิ่มมากกว่านี้
ส่วนวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ศูนย์วัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการทดลองในหนูแล้ว สัปดาห์นี้เตรียมทดสอบกับลิง คาดว่าจะได้ใช้ในปีหน้า นอกจากนี้คนไทยเป็นแชมป์ใส่หน้ากากและล้างมือในอาเซียน ซึ่งข้อมูลนี้มาจากการสำรวจของ บริษัท YouGov ประเทศอังกฤษ ที่สำรวจพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ใน 6 ประเทศ คือ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ ไทย จำนวน 12,999 ราย โดยคนไทย 95% บอกว่าใส่หน้ากากอนามัยในรอบ 7 วัน ล้างมือ 89% ถือว่าสูงสุดในอาเซียน
นพ.ทวีศิลฟ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอดสรุปการใช้งานแพลตฟอร์ม www.ไทยชนะ.com ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เวลา 21.00 น. พบภาพรวมการใช้งานยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ 1.จำนวนร้านค้าลงทะเบียนจำนวน 67,904 ร้าน 2.จำนวนผู้ใช้งาน 5,077,978 คน และ 3.จำนวนการเข้าใช้งาน การเช็กอิน 8,584,803 ครั้ง / เช็คเอาท์ 6,359,921 ครั้ง / ประเมินร้าน 3,984,691 ครั้ง
“ต้องกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ความร่วมมือร่วมใจของเราตรงนี้ที่จะทำให้เมื่อเวลามีการเกิดโรค ชุดข้อมูลของท่านมีความสำคัญยิ่งนัก ณ ตอนนี้ยังไม่เกิด แต่ขอภาวนาว่าอยากเกิดเลย แต่หากเกิดขึ้นมาแล้วข้อมูลสำคัญตรงนี้จะมีความสำคัญและจำเป็นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ผมยืนยันตรงนี้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผลการตรวจมาตรการผ่อนคลาย ข้อมูลเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมจำนวน 17,588 แห่ง พบว่า 1.ไม่ปฏิบัติตามมาตรการจำนวน 5 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย โดยจะต้องทำการตักเตือน แนะนำ ตรวจซ้ำ ไปจนถึงปิดกิจการ 2.ปฏิบัติไม่ครบจำนวน 1,863 แห่ง ได้แก่ 1.โทรทัศน์กองถ่าย ร้อยละ 20 2.สถานออกกำลังกาย ร้อยละ 16.5 3.ร้านตัดผม ร้อยละ 13.9 และ 4.ห้องสมุด ร้อยละ 12.9 พบว่าปฏิบัติไม่ครบ เช่น การเว้นระยะห่าง จำนวนร้อยละ 45.6 การจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ ร้อยละ 17.4 มีสบู่และเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ร้อยละ 15.2
วานนี้ (20 พ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 “ไทยรู้ สู้วิกฤต”พร้อมเสวนาทางการไกลกับ ดร.อู่ จิ้ง กรรมาธิการสาธารณสุข มณฑลซานซี สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ดร.ฌอน วาซู ผู้อำนวยการศูนย์คลินิกโรคติดต่อแห่งชาติ สิงคโปร์ ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่า ต่อไปประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นปกติและมีความปลอดภัยจากเดิม หรือที่ทุกคนเรียก “นิวนอร์มัล” ทั้งการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือ
ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศไทยขณะนี้ถือว่าดีขึ้นมาก ทั้งจำนวนตัวเลขผู้ป่วยที่ลดลง อัตราการรักษาหาย จนเหลือผู้ป่วยครองเตียงไม่มาก ในสถานพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนเรื่องงบประมาณด้านการพัฒนาวัคซีน กว่า 5,000 ล้านบาท และมีการสำรองยาเรียบร้อยแล้ว
นายอนุทิน กล่าวว่า คาดว่าหากสถานการณ์ตัวเลขผู้ป่วยคงที่และไม่มีการติดเชื้อผู้ป่วยรายใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์หรือ 14 วันนี้ จะสามารถเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ได้ในเฟสต่างๆเพื่อให้การดำเนินชีวิตธุรกิจ กิจกรรมและกิจการกลับมาปกติ
ส่วนกรณีที่ทดลองใช้พลาสมารักษาอดีตผู้ป่วยโควิด-19 มารักษาผู้ป่วยโควิดรายใหม่ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนอาการหายดีนั้น ก็ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีความสำเร็จ แต่เรื่องนี้เป็นการทดลอง ต้องดูปัจจัยของการรักษาประกอบกัน เพราะที่ผ่านมาทางสถาบันบำราศนราดูรก็เคยใช้วิธีการนี้แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นย่อมหมายความว่าไม่ใช่ทุกราย ที่จะใช้วิธีการนี้ได้ ต้องมีการศึกษาเพิ่ม แต่ถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ในเรื่องของยาได้สั่งการให้กระะทรวงสาธารณสุข จัดหา Favipiravirสะสมไว้ทั้งสิ้นกว่า 5 แสนเม็ด แบ่งใช้ไปแล้วบ้าง แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการ ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นยังเก็บพลาสมาและยาชนิดต่างไว้ด้วย เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษา ขณะที่ Remdesivirและ คลอโรควิล สั่งให้นำมาสต๊อกไว้แล้วเช่นกัน แต่ไม่อยากให้ใครต้องใช้ยาเพราะไม่อยากเห็นการติดเชื้อเพิ่ม นอกจากนั้นถึงแม้ว่าผู้ติดเชื้อจะลงลง แต่ไม่ประมาท ได้ให้ทุกจังหวัดต้องมีโรงพยายาลโควิด19 เพื่อรับมือสถานการณ์ไม่คาดคิดหลังคลายล็อก
สมช.ถกต่อ-ไม่ต่อ"พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"
พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยว่าเวลา 11.00 น.วันนี้ ( 21 พ.ค.) สมช.มีกำหนดการประชุมเพื่อพิจารณาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และได้ขยายเวลาประกาศบังคับใช้ จะครบกำหนดวันที่ 31 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมจะมีการแถลงข่าวโดยการพิจารณาของสมช. ไม่ได้ใช้โพลใดๆมาเป็นตัวตัดสิน แต่ใช้สถานการณ์โควิด-19 ด้านสาธารณสุข เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้น ณ วันนี้ มีผลจากมาตรการต่างๆของเดือนที่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ดีขึ้นในวันนี้เป็นผลจากช่วงที่ผ่านมา ถ้าเราจะตัดสินใจทำอะไรเพื่อทำให้อนาคตดีขึ้น ต้องดูสถานการณ์ดีหรือไม่ดีวันนี้เป็นตัวตัดสิน รวมถึงมาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 2 ดูหลายอย่างด้วย ที่สำคัญต้องถามจากสาธารณาสุขเป็นหลัก ถ้าต้องการเครื่องมือนี้ต่อไปก็โอเค หรือถ้า พ.ร.บโรคติดต่อ ทำได้ก็โอเค โดยการประชุมได้เชิญตัวแทนจากสาธารณสุข และภาคเอกชน เข้าร่วม
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นแค่มติ สมช. ซึ่งจะต้องเข้าที่ประชุมศบค. ก่อนนำเข้าที่ประชุมครม. หาก ครม.เห็นเป็นอย่างอื่นก็แล้วแต่ สำหรับการประชุม ศบค. ปกติที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผอ.ศบค.จะประชุมทุกวันศุกร์ ซึ่งต้องรอหนังสือยืนยันการประชุม ศบค.อย่างเป็นทางการก่อน
ผู้ป่วยโควิดใหม่เพิ่มแค่รายเดียว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม หายกลับบ้าน 31 ราย โดยผู้ป่วยสะสมรวมเป็น 3,034 ราย กลับบ้านรวม 2,888 ราย เสียชีวิตรวม 56 รายเท่าเดิม ยังรักษาใน รพ. 90 ราย ถือว่าต่ำกว่าร้อยแล้ว โดยผู้ป่วยรายใหม่เป็นผู้ชายอายุ 45 ปี เป็นเชฟร้านอาหารไทย เดินทางกลับมาจากประเทศบาห์เรน และกักตัวอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ในโรงแรมแห่งหนึ่งในกทม.
ทั้งนี้ คนที่เดินทางมาจากบาห์เรน 238 คน มีติดเชื้อ 2 ราย ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมาย แต่ 5 ประเทศที่กลับมาแล้ว มีผู้ป่วยสูงสุดคือ อินโดนีเซีย ปากีสถาน คาซักสถาน มาเลเซีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อโควิดพบว่า ตรวจแล้ว 328,073 ตัวอย่าง โดยมี 167 แห่งทั่วประเทศ ที่สามารถตรวจได้ เมื่อคำนวณอัตราในการตรวจ ไทยตรวจอยู่ที่ 4,926 รายต่อ 1 ล้านประชากร ถือว่าสูงกว่าเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินเดีย แต่ประเทศที่มีการอัตราการตรวจมาก คือ อิตาลี สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดจำนวนการตรวจพบ 0.92% หรือเกือบ 1 คน ส่วนอิตาลีเจอ 7.63% ซึ่งตัวเลขน้อยดีกว่าเยอะ แปลว่า เรากวาดกลุ่มคนที่ไม่มีโอกาสติดเชื้อเข้ามาได้มากกว่า คือ ให้มีกลุ่มตรวจสอบได้กว้างๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องตรวจให้เพิ่มมากกว่านี้
ส่วนวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ศูนย์วัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการทดลองในหนูแล้ว สัปดาห์นี้เตรียมทดสอบกับลิง คาดว่าจะได้ใช้ในปีหน้า นอกจากนี้คนไทยเป็นแชมป์ใส่หน้ากากและล้างมือในอาเซียน ซึ่งข้อมูลนี้มาจากการสำรวจของ บริษัท YouGov ประเทศอังกฤษ ที่สำรวจพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ใน 6 ประเทศ คือ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ ไทย จำนวน 12,999 ราย โดยคนไทย 95% บอกว่าใส่หน้ากากอนามัยในรอบ 7 วัน ล้างมือ 89% ถือว่าสูงสุดในอาเซียน
นพ.ทวีศิลฟ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอดสรุปการใช้งานแพลตฟอร์ม www.ไทยชนะ.com ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เวลา 21.00 น. พบภาพรวมการใช้งานยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ 1.จำนวนร้านค้าลงทะเบียนจำนวน 67,904 ร้าน 2.จำนวนผู้ใช้งาน 5,077,978 คน และ 3.จำนวนการเข้าใช้งาน การเช็กอิน 8,584,803 ครั้ง / เช็คเอาท์ 6,359,921 ครั้ง / ประเมินร้าน 3,984,691 ครั้ง
“ต้องกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ความร่วมมือร่วมใจของเราตรงนี้ที่จะทำให้เมื่อเวลามีการเกิดโรค ชุดข้อมูลของท่านมีความสำคัญยิ่งนัก ณ ตอนนี้ยังไม่เกิด แต่ขอภาวนาว่าอยากเกิดเลย แต่หากเกิดขึ้นมาแล้วข้อมูลสำคัญตรงนี้จะมีความสำคัญและจำเป็นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ผมยืนยันตรงนี้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผลการตรวจมาตรการผ่อนคลาย ข้อมูลเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมจำนวน 17,588 แห่ง พบว่า 1.ไม่ปฏิบัติตามมาตรการจำนวน 5 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย โดยจะต้องทำการตักเตือน แนะนำ ตรวจซ้ำ ไปจนถึงปิดกิจการ 2.ปฏิบัติไม่ครบจำนวน 1,863 แห่ง ได้แก่ 1.โทรทัศน์กองถ่าย ร้อยละ 20 2.สถานออกกำลังกาย ร้อยละ 16.5 3.ร้านตัดผม ร้อยละ 13.9 และ 4.ห้องสมุด ร้อยละ 12.9 พบว่าปฏิบัติไม่ครบ เช่น การเว้นระยะห่าง จำนวนร้อยละ 45.6 การจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ ร้อยละ 17.4 มีสบู่และเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ร้อยละ 15.2