ผู้จัดการรายวัน360-ศบค.แถลงพบผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยอีก 3 ราย เผย 2 รายเป็นเจ้าหน้าที่ กกต. ติดเชื้อในที่ทำงาน อีกรายเป็นชาวภูเก็ต กรมควบคุมโรคเร่งติดตามและขยายผลผู้ใกล้ชิดแล้ว ระบุหลังประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้เวลาแค่เดือนกว่าพื้นที่สีแดงพลิกกลับเป็นเขียวเกือบทั้งประเทศ ปลื้มแอปฯ ไทยชนะเวิร์ก ร้านค้าแห่ลงทะเบียนกว่า 4.4 หมื่นร้าน คนเช็กอินทะลุ 2.6 ล้านราย ห่วงตลาด ยังแออัด ไม่มีระยะห่าง สธ.เตือนเดินห้าง เหตุเป็นที่แออัด ไม่รู้ใครมีเชื้อบ้าง
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า วานนี้ (18 พ.ค.) มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 3 ราย หายเพิ่ม 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้ป่วยสะสม 3,031 ราย หายกลับบ้านรวม 2,857 ราย เสียชีวิตเท่าเดิม 56 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 118 ราย โดยผู้ป่วยใหม่ 3 ราย มาจากการสัมผัสผู้ป่วยรายก่อนหน้า โดย 2 รายแรกเกี่ยวข้องกับกรณีการติดเชื้อในส่วนราชการในกรุงเทพฯ เป็นหญิง 1 คน ชาย 1 คน ซึ่งรวมแล้วกลุ่มนี้ มีผู้ติดในที่ทำงานเดียวกันรวม 6 ราย ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้เข้าไปติดตามและขยายผลผู้ที่ใกล้ชิดต่อไป และรายที่ 3 เป็นผู้หญิงที่จ.ภูเก็ต มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า ผู้ติดเชื้อใหม่ 2 ราย เป็นเจ้าหน้าที่สำนักวินิจฉัยและคดี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในส่วนงานเดียวกับที่พบการติดเชื้อก่อนหน้านี้ 4 ราย
สำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 นับจากวันที่ 1 มี.ค.2563 ใช้เวลา 1 เดือน ติดเชื้อเป็นสีแดงแทบทั้งประเทศ แต่จากวันที่ 26 มี.ค.2563 ที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ใช้เวลาเดือนกว่าๆ พื้นที่สีแดงลดลงกลับมาเขียวเกือบทั้งประเทศ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคระยะที่ 2 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.2563 เป็นวันแรก พบว่า การปฏิบัติตามมาตรการของผู้ประกอบการและประชาชน โดยเฉพาะการใช้งานแอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" มีผู้ประกอบการเข้ามาลงทะเบียนและนำคิวอาร์โค้ดไปแสดงให้ลูกค้า "เช็คอิน-เช็คเอาท์" เพื่อบันทึกความหนาแน่นของคนในร้าน และสำหรับการติดตามตัวผู้มาใช้บริการ หากพบว่ามีการติดเชื้อ พบว่า มีร้านค้ามาลงทะเบียน 44,386 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ เช่น ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และขอนแก่น เป็นต้น มีผู้เข้าใช้บริการรวมกว่า 2,002,897 คน มีการเช็กอินกว่า 2,658,754 ครั้ง และเช็กเอาท์ 1,845,191 ครั้ง ประเมินร้าน 1,258,261 ครั้ง
“ขอให้ประชาชนเช็กอินเมื่อเข้าร้านและเช็กเอาท์เมื่อออกจากร้านด้วย เพื่อที่ระบบจะได้บันทึกข้อมูลว่ามีคนอยู่ในร้านนั้นๆ มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้คนอื่นๆ ประเมินความแออัดของสถานที่และเลือกได้ว่าควรเข้าไปใช้บริการที่ร้านนั้นหรือไม่”
ส่วนการติดตามเฝ้าระวังมาตรการป้องกันโรค ใน 6 กลุ่มกิจการ พบว่า ตลาด ปฏิบัติตามได้ดีเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย แต่ที่ต้องเพิ่ม คือ ในพื้นที่ตลาด ยังมีความแออัด ไม่เว้นระยะห่าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต มีการเว้นระยะห่างดี และสวมหน้ากากอนามัย แต่ยังต้องเพิ่มการทำความสะอาดพื้นผิว สวนสาธารณะและสนามกีฬา มีการสวมหน้ากากและเว้นระยะห่างดี แต่ต้องทำความสะอาดวัสดุปกรณ์กีฬา ม้านั่งถังขยะ ให้สะอาดและต้องมีจุดล้างมือให้เพิ่มขึ้น ร้านเสริมสวย มีการเว้นระยะห่างของบุคคล และทำความสะอาดดี แต่ต้องเน้นย้ำเรื่องสวมหน้ากากอนามัย และจัดภาชนะรองรับขยะ ส่วนร้านตัดคนสัตว์ มีการล้างทำความสะอาด จำกัดจำนวนคนเข้ารับบริการดี แต่ต้องเพิ่มการทำความสะอาดพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยมากขึ้น
นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า คนออกมานอกบ้าน ถือว่ามีความเสี่ยง หลังจากเปิดห้างสรรพสินค้าวันแรก จะเห็นคนเดินห้างกันจำนวนมาก บางห้างมีความแออัดสูงมาก ย้ำว่า การ์ดต้องไม่ตก ยังต้องสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หากเห็นว่าแออัดไม่ควรเข้าไป ช่วงหลังจะพบว่า คนที่ติดเชื้อหลายคนเป็นผลบวกทั้งที่มีอาการน้อยถึงไม่มีอาการ ถึงบอกว่าคนทั่วไปเดินอยู่อาจไม่รู้ การไปเบียดเสียดในห้าง เราไม่รู้ว่าใครมีเชื้อ จึงอาจติดเชื้อกันได้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวประจำวันว่า วานนี้ (18 พ.ค.) มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 3 ราย หายเพิ่ม 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้ป่วยสะสม 3,031 ราย หายกลับบ้านรวม 2,857 ราย เสียชีวิตเท่าเดิม 56 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 118 ราย โดยผู้ป่วยใหม่ 3 ราย มาจากการสัมผัสผู้ป่วยรายก่อนหน้า โดย 2 รายแรกเกี่ยวข้องกับกรณีการติดเชื้อในส่วนราชการในกรุงเทพฯ เป็นหญิง 1 คน ชาย 1 คน ซึ่งรวมแล้วกลุ่มนี้ มีผู้ติดในที่ทำงานเดียวกันรวม 6 ราย ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้เข้าไปติดตามและขยายผลผู้ที่ใกล้ชิดต่อไป และรายที่ 3 เป็นผู้หญิงที่จ.ภูเก็ต มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า ผู้ติดเชื้อใหม่ 2 ราย เป็นเจ้าหน้าที่สำนักวินิจฉัยและคดี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในส่วนงานเดียวกับที่พบการติดเชื้อก่อนหน้านี้ 4 ราย
สำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 นับจากวันที่ 1 มี.ค.2563 ใช้เวลา 1 เดือน ติดเชื้อเป็นสีแดงแทบทั้งประเทศ แต่จากวันที่ 26 มี.ค.2563 ที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ใช้เวลาเดือนกว่าๆ พื้นที่สีแดงลดลงกลับมาเขียวเกือบทั้งประเทศ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคระยะที่ 2 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.2563 เป็นวันแรก พบว่า การปฏิบัติตามมาตรการของผู้ประกอบการและประชาชน โดยเฉพาะการใช้งานแอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" มีผู้ประกอบการเข้ามาลงทะเบียนและนำคิวอาร์โค้ดไปแสดงให้ลูกค้า "เช็คอิน-เช็คเอาท์" เพื่อบันทึกความหนาแน่นของคนในร้าน และสำหรับการติดตามตัวผู้มาใช้บริการ หากพบว่ามีการติดเชื้อ พบว่า มีร้านค้ามาลงทะเบียน 44,386 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ เช่น ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และขอนแก่น เป็นต้น มีผู้เข้าใช้บริการรวมกว่า 2,002,897 คน มีการเช็กอินกว่า 2,658,754 ครั้ง และเช็กเอาท์ 1,845,191 ครั้ง ประเมินร้าน 1,258,261 ครั้ง
“ขอให้ประชาชนเช็กอินเมื่อเข้าร้านและเช็กเอาท์เมื่อออกจากร้านด้วย เพื่อที่ระบบจะได้บันทึกข้อมูลว่ามีคนอยู่ในร้านนั้นๆ มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้คนอื่นๆ ประเมินความแออัดของสถานที่และเลือกได้ว่าควรเข้าไปใช้บริการที่ร้านนั้นหรือไม่”
ส่วนการติดตามเฝ้าระวังมาตรการป้องกันโรค ใน 6 กลุ่มกิจการ พบว่า ตลาด ปฏิบัติตามได้ดีเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย แต่ที่ต้องเพิ่ม คือ ในพื้นที่ตลาด ยังมีความแออัด ไม่เว้นระยะห่าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต มีการเว้นระยะห่างดี และสวมหน้ากากอนามัย แต่ยังต้องเพิ่มการทำความสะอาดพื้นผิว สวนสาธารณะและสนามกีฬา มีการสวมหน้ากากและเว้นระยะห่างดี แต่ต้องทำความสะอาดวัสดุปกรณ์กีฬา ม้านั่งถังขยะ ให้สะอาดและต้องมีจุดล้างมือให้เพิ่มขึ้น ร้านเสริมสวย มีการเว้นระยะห่างของบุคคล และทำความสะอาดดี แต่ต้องเน้นย้ำเรื่องสวมหน้ากากอนามัย และจัดภาชนะรองรับขยะ ส่วนร้านตัดคนสัตว์ มีการล้างทำความสะอาด จำกัดจำนวนคนเข้ารับบริการดี แต่ต้องเพิ่มการทำความสะอาดพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยมากขึ้น
นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า คนออกมานอกบ้าน ถือว่ามีความเสี่ยง หลังจากเปิดห้างสรรพสินค้าวันแรก จะเห็นคนเดินห้างกันจำนวนมาก บางห้างมีความแออัดสูงมาก ย้ำว่า การ์ดต้องไม่ตก ยังต้องสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หากเห็นว่าแออัดไม่ควรเข้าไป ช่วงหลังจะพบว่า คนที่ติดเชื้อหลายคนเป็นผลบวกทั้งที่มีอาการน้อยถึงไม่มีอาการ ถึงบอกว่าคนทั่วไปเดินอยู่อาจไม่รู้ การไปเบียดเสียดในห้าง เราไม่รู้ว่าใครมีเชื้อ จึงอาจติดเชื้อกันได้