xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ปรับบริหารหนี้สาธารณะปี63/1 รับแผนก่อหนี้ใหม่เพิ่ม6แสนล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สุดสัปดาห์ก่อน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 1 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับกรอบและวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการในการกู้เงินใหม่ การบริหารหนี้เดิม และการชำระหนี้ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งเป็น "การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 1"

พบว่า มีวงเงินเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

"แผนการก่อหนี้ใหม่" ปรับเพิ่มสุทธิ 603,492 ล้านบาท จากเดิม 894,005 ล้านบาท รวมเป็น 1,497,498 ล้านบาท ว่าด้วย "แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล" ปรับเพิ่มสุทธิ 582,798.64 ล้านบาท จากเดิม 748.879.11 ล้านบาท เป็น 1,331,677.35 ล้านบาท ประกอบด้วย รัฐบาลกู้มาเพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ปรับเพิ่ม 600,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ "กระทรวงการคลัง" ได้ปรับเพิ่มการกู้เงินเป็นเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศเพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ตลอดจนการเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ในระยะเร่งด่วน

รัฐบาลกู้มาให้กู้ต่อ (เงินกู้ในประเทศ) ปรับลดสุทธิ 17,201.76 ล้านบาท กระทรวงการคลังปรับลดวงเงินกู้ในประเทศมาให้รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง กู้ต่อสุทธิ 17,201.76 ล้านบาท จากเดิม 85,357.11 ล้านบาท เป็น 68,155.35 ล้านบาท ให้สอดคล้องกับ การดำเนินงานและแผนการเบิกจ่าย ดังนี้

"การรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย (รฟม.)" ปรับเพิ่ม 1,061.09 ล้านบาท "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต" วงเงินเดิม 4,716.28 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 5,777.37 ล้านบาท เพื่อรองรับการเบิกจ่ายงวดสุดท้าย ของค่าก่อสร้างงานโยธาและค่าจ้าง ที่ปรึกษาโครงการ และค่าควบคุม การก่อสร้างงานโยธาจนถึงสิ้นสุด โครงการ

"การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)" ปรับลดสุทธิ 18,262.85 ล้านบาท "โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซี่อ-รังสิต วงเงินเดิม 406.24 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 2,762,77 ล้านบาท เป็นเงินกู้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ป่น (JICA) ไม่เพียงพอ สำหรับจ่ายค่าจ้างตามกรอบวงเงินสัญญาจ้าง เนื่องจาก ความผับผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

"โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง วงเงินเดิม 4,139.89 ล้านบาท ไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ในปีงบประมาณ 2563 เนื่องจาก รฟท. อยู่ระหว่าง เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบการปรับรายละเอียดงบประมาณ และรูปแบบการก่อสร้าง จึงคาดว่า จะสามารถลงนามสัญญาและจ่ายเงินงวดแรกได้ในเดือนเมษายน 2564

"โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน" ในการพัฒนาระบบ รถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ -นครราชสีมา) วงเงินเดิม 31,654.82 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 27,000 ล้านบาท ปรับลด 4,654.82 ล้านบาท เนื่องจากมีหลายสัญญาที่ยังไม่ลงนาม ก่อสร้างเนื่องจากอยู่ระหว่าง พิจารณาทบทวนรายงาน E1A และมีการใช้จ่ายจากเงินกู้ คงเหลือของปีงบประมาณ 2562

"โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ" วงเงินเดิม 7,000 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 3,700 ล้านบาท ปรับลด 3,300 ล้านบาท เพราะมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง การขออนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และการจัดหาเครื่องจักรไม่เพียงพอสำหรับ ดำเนินงาน

"โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ" วงเงินเดิม 6,600 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 5,500 ล้านบาท ปรับลดลง 1,100 ล้านบาท ยังไม่ได้รับอนุมัติค่าเวนคืนในส่วนที่เพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการแก้ไขรูปแบบก่อสร้าง

"โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร" วงเงินเดิม 13,000 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 8,000 ล้านบาท ปรับลงลง 4,000 ล้านบาท ไม่สามารถเข้าพื้นที่หน้างานได้ และมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบทำให้การเบิกจ่ายตํ่ากว่าแผน

"โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย - กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี" วงเงินเดิม 1,660.40 ปรับลดลง 1,260.40 ล้านบาท

"โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต" วงเงินเดิม 671.84 ล้านบาท ปรับลดลง 671.84 ล้านบาท

"โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายลีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช" วงเงินเดิม 492.43 ล้านบาท ปรับลดลงทั้งหมด 492.43 ล้านบาท

โดย 3 โครงการหลัง ไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ในปีงบประมาณ 2563 เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดทำราคากลาง ซึ่งคาดวาจะแล้วเสร็จ ภายในเดือนเมษายน 2563 ก่อนจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป จึงคาดว่า จะสามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ในเดือน มกราคม 2564

สำหรับ"แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ" ปรับเพิ่มสุทธิ 18,702.49 ล้านบาท จากเดิม 145,126.54 ล้านบาท เป็น 163,829.03 ล้านบาท โดยส่วนที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ แผนเงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา (หนี้ในประเทศ) ปรับเพิ่มสุทธิ 7,462.49 ล้านบาท ประกอบด้วย

"โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)" ปรับลดการกู้เงินลง 4,000 ล้านบาท เนื่องจาก การดำเนินงานล่าช้าจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และต้องดำเนินการปรับโครงการตาม ผลการประชาพิจารณ์หลายประการ ทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า รวมถึง กทท. ยังมีเงินรายได้เพียงพอ สำหรับการดำเนินงานใน ปีงบประมาณ 2563

การปรับลดการกู้เงินของ "การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)" ลดลง 1,927.98 ล้านบาท จากโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ.ในแผนปี 2563 จำนวน 29 โครงการ วงเงินเดิม 3,021.96 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 499.17 ล้านบาท ปรับลด 2,122.79 ล้านบาท

มีปัญหา/อุปสรรคต่าง ๆ ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้า จึงเบิกจ่ายได้ตํ่ากว่าแผน มีการปรับวงเงินกู้ให้สอดคล้องกับวงเงินที่ลงนามสัญญาจริง และไม่ได้รับการจัดสรงบประมาณ 2563 มาสมทบ

"ปรับเพิ่มวงเงินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. ในแผนฯ 2563 จำนวน 6 โครงการ วงเงินเดิม 1,005.41 ล้านบาท วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 1,13.93 ล้านบาท ปรับลดลง 108.52 ล้านบาท และที่ไม่อยู่ในแผน 2563 จำนวน 3 โครงการ วงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 86.30 ล้านบาท โดยปรับลดลงทั้งหมด ทั้งสองโครงการนี้ โครงการมีความก้าวหน้า จึงคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้น

ส่วน "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรับเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อส่งเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า 2,000 ล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง และ กทม. 1,000 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่างเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า 1,000 ล้าานบาท ซึ่งทั้งสามโครงการ งานก่อสร้างสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผน จึงมีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเงินเพิ่มขึ้น

"การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)" ปรับเพิ่มขึ้น 8,300 ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 8 และ 9 โครงการเพิ่มความน่าเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า พัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ทำกินทางการเกษตร เป็นต้น

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับเพิ่มสุทธิ 140,47 ล้านบาท โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 50 คัน โดยมีวงเงินปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง 984.38 ล้านบาท ที่จะลงนาม สัญญาจ้างในเดือนกรกฎาคม 2563 ตามมติคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563

บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) ปรับเพิ่ม 950 ล้านบาท โครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็น สำหรับระบบปรับอากาศของ อาคาร SAT-1 และโครงการ ก่อสร้างสายส่ง 115 kv ไปยัง สวิตซ์เกียร์ (GIS) ของสถานี ไฟฟ้าย่อย (DCAPb) เพื่อจ่าย ไฟฟ้าให้กับโรงผลิตน้ำเย็น โดยการซื้อไฟฟ้ามาใช้เอง เนื่องจากมีเลื่อนแผนการดำเนินงาน จากปี 2562 เป็น 2563 ไม่สามารถจัดประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น

ส่วน "แผนเงินคู้เพื่อดำเนินโครงการ หรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนิน กิจการทั่วไป (หนี้ในประเทศ)" ปรับเพิ่ม 11,240 ล้านบาท ประกอบด้วย

การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ปรับเพิ่ม 2,000 ล้านบาท เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่อง หรือเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน ในการดำเนินกิจการทั่วไป (ขอให้กระทรวงการคลัง ค้ำประกัน) และเพื่อรองรับ/บรรเทาขาด สภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจาก กคช. ได้ออมาตรการ เร่งด่วนต่าง ๆ ในการช่วยเหลือ และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน ของลูกค้า กคช. ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงส่งผล กระทบต่อรายรับของ กคช.อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ กปภ. ปรับเพิ่ม 2,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้เพื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง รองรับผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 เนื่องจาก กปภ. ต้องดำเนิน "มาตรการเร่งด่วนด้านน้ำประปา" ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการหยุดประกอบกิจการ ของธุรกิจต่าง ๆ มีผลทำให้รายได้จากการจำหน่ายน้ำประปาลดลง ทั้งนี้ กปภ. อยู่ระหว่าง นำเสนอคณะกรรมการ กปภ. พิจารณาก่อนนำเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณา

กฟภ. ปรับเพิ่ม 2,500 ล้านบาท เป็นเงินกู้เพื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง รองรับผลกระทบของการระบาดของโควิด-19

บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) (อสมท.) ปรับเพิ่ม 1,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง ในรูป Credit Line เพื่อสำรองสภาพคล่องทาง การเงิน ตามมติคณะกรรมการ บมจ. อสมท. เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้น

สำนักงานธนานุเคราะห์ (สรค.) ปรับเพิ่ม 2,5000 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อดำเนินงานการกู้เงิน Soft Loan ของ สธค. จำนวน 2,000 ล้านบาท จาก ธนาคารออมสิน เพื่อเตรียมเงินนทุนหมุนเวียนรองรับธุรกรรม การให้บริการรับจำนำแก่ประชาชน

องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ปรับเพิ่ม 1,200 ล้านบาท องค์การสะพานปลา (อสป.) ปรับเพิ่ม 40 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีแผนการก่อหนี้ใหม่ของหน่วยงานอื่นของรัฐ (แผนเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการ หรือเพื่อใข้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไป : หนี้ในประเทศ) ปรับเพิ่ม 1,992.17 ล้านบาท ประกอบด้วย

สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (ลพพ.) ปรับเพิ่มในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน สำหรับโครงการพัฒนาถนน หมายเลข 11 (ท11) ช่วงครก ช้าวดอ-สานะคาม-บ้านวัง- บ้านนํ้าสัง สปป.ลาว 913.24 ล้านบาท

ปรับเพิ่มให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับโครงการ ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) 690.03 ล้านบาท

ขณะที่ยัง มีแผนบริหารหนี้เดิม ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 204,627 ล้านบาท จากเดิม 831,150 ล้านบาท รวมเป็น 1,035,777 ล้านบาท และ แผนการชำระหนี้ ปรับลดสุทธิ 8,999 ล้านบาท จากเดิม 398,372 ล้านบาท เป็น 389,373 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้ ถือเป็น การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 1 ที่รัฐบาลชุดนี้ปรับเพิ่มสุทธิ 603,492 ล้านบาท จากเดิม 894,005 ล้านบาท รวมเป็น 1,497,498 ล้านบาท.


กำลังโหลดความคิดเห็น