ศบค.แถลงผู้ป่วยรายใหม่เหลือ 3 ราย ไม่พบเสียชีวิต รุกตรวจซ้ำพื้นที่ จ.ยะลา หลังมีรายงานติดเชื้อมากผิดปกติ 40 ราย แต่ยังไม่แสดงอาการ ปลัดมท. แจงคัดกรองเข้ม คนเดินทางข้ามจังหวัดกลับภูมิลำเนา คลังเผยจ่ายเยียวยา 5,000 บาทแล้ว 11 ล้าน
วานนี้ (3พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,969 ราย หายป่วยสะสม 2,739 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 54 ราย และอยู่ระหว่างรักษา 176 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ในจำนวนนี้ 2 ราย เป็นชายอายุ 45 ปี และหญิงอายุ 51 ปี มาจากสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ใน กทม. และอีก 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 24 ปี อยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ที่ จ.นราธิวาส ซึ่งเดินทางกลับมาจากทำงานที่มาเลเซีย
ส่วนกรณีที่มีรายงานว่า สาธารณสุขจังหวัดยะลา ค้นหาเชิงรุกใน 8 อำเภอ พบผู้ป่วยถึง 30-40 คนนั้น เป็นตัวเลขสองหลัก ถือเป็นตัวเลขที่มากผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่จะเจอ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ครั้งนี้มีถึง 30.7 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องนำมาวิเคราะห์โดยทางผู้บริหารระดับสูง สั่งให้ทบทวนชุดข้อมูลตรงนี้อีกครั้ง การตรวจพบกลุ่มก้อนใหญ่นั้นดี แต่ความถูกต้องต้องมาก่อน โดยวันเดียวกันนี้ จะเก็บตัวอย่างใหม่อีกรอบ ต้องตรวจซ้ำให้มีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้ และแยกคนเหล่านี้ไปกักตัวในสถานที่ที่ปลอดภัย อาจช้าสักนิด แต่ผลออกมาต้องแน่นอน ทางทีมแพทย์จะพยายามอย่างที่สุดเพื่อให้ได้ข้อมูลถูกต้อง และรายงานอย่างเร่งด่วน ยืนยันว่า วันนี้ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย และไม่มีการปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในรอบ 28 วันที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ป่วยรายใหม่ใน 36 จังหวัด และมี 32 จังหวัด ไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ รวมถึง 9 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนเลย
ส่วนสถานการณ์ผู้ป่วยทั่วโลกมี 3,484,176 ราย เสียชีวิต 244,778 ราย อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้เตือนประเทศต่างๆ ให้คลายล็อกอย่างช้าๆ และเตรียมรับมือการระบาดของโรค ที่อาจจะมีตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่พุ่งอีกรอบ พร้อมเตือนประชาชนให้เว้นระยะห่างทางสังคมไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งไทยทำมาตลอด จึงเกิดผลแบบนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นผลมาจากพฤติกรรมเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่วันนี้คนออกมาจากบ้านมากมาย ซึ่งจะแสดงผลในสัปดาห์ต่อไป ย้ำว่า ยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และข้อกำหนดของ ศบค. แล้วเราจะผ่านเดือนนี้ไปได้ด้วยดี
ยะลาติดเชื้อ 40 คน ยังไม่แสดงอาการ
เมื่อเวลา 15.00น. วานนี้ นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุข จ.ยะลา ระบุว่า ที่ จ.ยะลา มีติดเชื้อ 40 คน แต่ไม่แสดงอาการจึงขอส่งแล็บ ตรวจอีกครั้ง ก่อนรายงาน ศบค.
ต่อมา 17.00 น. เพจศูนย์ข้อมูล COVID-19 โพสต์ ว่า “ติดเชื้อ 40 คน ยะลา รอตรวจใหม่ ตรวจ Active Case Finding มี 311 คน บางอำเภอมียอดติดเชื้อมากกว่า 30% ผิดข้อสังเกต 40 คน รอทบทวนผลการตรวจ เก็บตัวอย่างใหม่ แยกกักตัว ตรวจซ้ำ เน้นความถูกต้อง ใช้กระบวนการสอบสวนโรคอย่างเข้มงวด
ยันคนออกจากจ.ภูเก็ตผ่านคัดกรองแล้ว
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การเดินทางข้ามเขตจังหวัดว่า โดยทั่วไปเรายังงด หรือชะลอ เว้นแต่มีความจำเป็น ถ้าท่านใดมีความจำเป็นต้องมีหลักฐาน ปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมโรค เป็นการขอความร่วมมือประชาชนที่จะเดินทางเข้าไปในภูมิลำเนา เพื่อป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาด ถ้าเข้าไปแล้วต้องถูกกัก 14 วัน แต่หากประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทาง 2-3 วัน เพื่อเดินทางไปทำธุระ เช่น งานศพ งานบวช หรือไปติดต่อราชการ ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่เข้าใจข้อเท็จจริงในชีวิตจริง และปัญหาที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน เมื่อท่านมีความจำเป็น จึงต้องอธิบายให้ได้ถึงเหตุผลและหลักฐานประกอบ จะกักตัวตามวันและเวลาที่อยู่จริง และจะบันทึกเป็นหลักฐาน เพื่อสามารถสืบย้อนได้ เมื่อหากกลับออกไปแล้วมีประเด็นเกี่ยวกับการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม การคัดกรองโรคในจังหวัดปลายทางภูมิลำเนาเป้าหมายความหนักเบาขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่
ส่วนกรณีที่มีการผ่อนผันให้ประชาชนออกจาก จ.ภูเก็ต จำนวนมากนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีคนไทยที่ไม่มีภูมิลำเนาในจ.ภูเก็ต ประมาณ 1 แสนกกว่าคน และเมื่อเกิดสถานการณ์ในช่วงแรกๆ จังหวัดจึงประกาศห้ามเข้าและออก ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มี 5 หมื่นคน ที่แจ้งว่าไม่มีงานทำ ต้องการออกจากจังหวัด แต่ระหว่างนั้น ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากจังหวัด จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการขึ้นทะเบียนผู้ที่มีความประสงค์จะออกจาก จ.ภูเก็ตแล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะออกได้ทั้งหมด จ.ภูเก็ต มี 17 ตำบล ที่อนุญาตให้ออกมีแค่ 14 ตำบล ที่ผ่านกระบวนการคัดกรองตามมาตรฐาน อีก 3 ตำบล ยังไม่อนุญาต และเมื่อขออนุญาตออก จะต้องมีหนังสือจากผู้ว่าฯ รับรองว่าเป็นบุคคลที่ผ่านการคัดกรอง แล้วแจ้งไปยังจังหวัดปลายทาง รวมถึงด่านตรวจระหว่างทางให้ทราบ โดยในวันเดียวกันนี้ มีผู้เดินทางออกจากจ.ภูเก็ต ตามทะเบียนแล้ว 3,600 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 11 จังหวัดภาคใต้ ประมาณ 2,500 คน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นกระจายไปใน 50 จังหวัดทั่วประเทศ ทุกคนคือคนที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบคัดกรอง เมื่อไปถึงปลายทาง ผู้ว่าจังหวัดนั้นๆ และด่านระกว่างทางก็จะทราบด้วยว่าเดินทางมาจาก จ.ภูเก็ต เท่าไหร่ จึงขอให้มั่นใจว่ากระบวนการของราชการ คัดกรองตามมาตรฐานชัดเจนแล้วจึงส่งมา
คลังจ่ายเยียวยาแล้ว11ล้านคน
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง กล่าวถึงการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน ว่า ขณะนี้ ก.คลัง ได้จ่ายเงินให้กับประชาชนที่ผ่านเกณฑ์แล้วกว่า 11 ล้านคน จากผู้ที่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยาจำนวนกว่า 16 ล้านคน เหลืออีกราว 5 ล้านคน อยู่ระหว่างการขอข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นกลุ่มที่ยื่นทบทวนสิทธิ์
สำหรับการรับเรื่องร้องทุกข์ ที่หน้า ก.คลังนั้น ในวันที่ 5 พ.ค. นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้สั่งให้ย้ายพื้นที่รับเรื่องร้องทุกข์ จากบริเวณประตู 4 ไปอยู่บริเวณใต้ทางด่วนริมคลองประปา ข้าง ก.คลัง แทน เนื่องจากบริเวณดังกล่าว พื้นที่ไม่แออัด ร่มรื่น และสามารถอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยจะมีการคัดกรอง และจัดระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด
"เข้าใจว่าประชาชนร้อนใจ จึงอยากเดินทางมาที่กระทรวงการคลัง แต่มาแล้วก็ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาททันที เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลังแต่อย่างใด และขอยืนยันว่า ทุกคนที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับเงินเยียวยาอย่างแน่นอน" นายธนกร ระบุ
รุมซื้อเหล้า-เบียร์ ไม่สนเรื่องเว้นระยะห่าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก ศบค. มีมาตรการผ่อนปรนเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โโยห้ามดื่มในร้าน แต่ซื้อกลับไปดื่มที่บ้านได้ ทำให้มีประชาชน แห่ไปยังห้างค้าปลีกและค้าส่ง เพื่อรอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กันเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ในโซเชียลฯ มีผู้โพสต์ภาพ และวิดีโอคลิป ที่ประชาชนจำนวนมาก ทั้งที่ผู้บริโภคโดยตรง และร้านค้าปลีก แห่รอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้างค้าส่งแห่งหนึ่ง อย่างคึกคัก เมื่อพนักงานนำสินค้ามาลง ก็พบว่ามีประชาชนเข้าแย่งชิง ลังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันอย่างชุลมุน จนเป็นที่วิจารณ์ว่า คนเหล่านี้ไม่สนใจหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)ที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตร เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการไอ จาม และสารคัดหลั่ง พร้อมเรียกร้องให้ทางห้าง ออกมาจัดระเบียบการซื้อให้เป็นระเบียบ และเข้มงวด มากกว่านี้
ชู "ทัวร์ลี้ภัยโควิด-19" ขับเคลื่อนศก.
พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ หนึ่งในทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแก้ผลกระทบโควิด-19 นำเสนอแนวคิดเรื่อง "ทัวร์ลี้ภัยโควิด-19" ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีแนวทางคร่าวๆ ดังนี้
1. โรงแรมต่างๆ ร่วมกับรพ.เอกชน จัดรูปแบบเพื่อให้โรงแรมบริการชาวต่างชาติในรูปแบบเนอร์สซิ่งโฮม หรือสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ เพื่อการพำนักยาว(Long stay)ระยะเวลา 1 ปี สามารถขยายระยะเวลาได้ เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจโรงแรม
2. ให้บริษัททัวร์ ร่วมกับบริษัทประกันสุขภาพ จัดแพกเกจกรุ๊ปทัวร์สุขภาพ สำหรับชาวต่างชาติผู้สูงอายุ เพื่อลี้ภัยโควิด-19 ซึ่งจะทำให้สามารถคัดกรองชาวต่างชาติที่ปลอดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการลี้ภัยเข้ามาพำนักในไทย โดยมีระบบประกันสุขภาพรองรับค่าใช้จ่าย เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจการท่องเที่ยว
3.ใช้การบินไทย และสายการบินสัญชาติไทย หรือเครือพันธมิตรทำการบินแบบเช่าเหมาลำ สำหรับกรุ๊ปทัวร์ ที่ได้คัดกรองล่วงหน้าจากประเทศต้นทางแล้วว่าปลอดเชื้อโควิด-19 โดยกำหนดที่หมายสนามบินเฉพาะกิจ ที่มี รพ.ประจำสนามบินเพื่อการกักกัน 14 วัน เพื่อให้เกิดความแน่ชัดว่าปลอดเชื้อจริง แล้วจึงระบายเข้าสู่โรงแรมต่างๆ ตามข้อ 1. เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจสายการบิน
4. หากพบว่าเที่ยวบินใดที่มีผู้โดยสารซึ่งถูกกักกัน ณ รพ.สนามบิน 14 วัน แล้วมีการติดเชื้อโควิด-19 ก็ให้ทำการรักษาอย่างเบ็ดเสร็จ ณ รพ.สนามบิน เพื่อควบคุมป้องกันการระบาดสู่เมือง
5. สนามบินเฉพาะกิจ สำหรับเที่ยวบินสำหรับชาวต่างชาติ ตามข้อ 3. จะเป็นสนามบินที่เป็นสนามบินร้างว่างเปล่า ที่นำมาพัฒนาให้เป็น "เมืองสนามบิน" ที่มีทั้ง รพ.สนามบิน สำหรับกักกัน และรักษาโรคได้อย่างเบ็ดเสร็จ (เป็น รพ.ในรูปแบบเดียวกับอู่ฮั่น ของจีน) นอกจากมี รพ.สนามบินแล้ว เมืองสนามบิน ซึ่งมีเนื้อที่นับพันไร่ ยังจะมีเขตบังกะโลที่พักอาศัย ในกรณีที่ชาวต่างชาติไม่ประสงค์พักโรงแรม , มีเขตร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ...เมืองสนามบินนี้จะมีลักษณะเหมือนค่ายทหารสหรัฐฯ ในสมัยสงครามเวียดนาม ที่มีความพร้อมสมบูรณ์ในตัว แต่จะพัฒนาให้มีภูมิทัศน์สวยงามน่าอยู่ เพื่อใช้ทรัพยากรภายในประเทศที่ทิ้งร้างว่างเปล่า นำมาสร้างรายได้ เกิดการจ้างงา
ด้วยแนวทางที่กล่าวคร่าวๆ ข้างต้น จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และลดผลกระทบด้านการท่องเที่ยว-โรงแรม-บริการ กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานได้ในช่วงหลายปีนับจากนี้ ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19
วานนี้ (3พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,969 ราย หายป่วยสะสม 2,739 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 54 ราย และอยู่ระหว่างรักษา 176 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ในจำนวนนี้ 2 ราย เป็นชายอายุ 45 ปี และหญิงอายุ 51 ปี มาจากสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ใน กทม. และอีก 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 24 ปี อยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ที่ จ.นราธิวาส ซึ่งเดินทางกลับมาจากทำงานที่มาเลเซีย
ส่วนกรณีที่มีรายงานว่า สาธารณสุขจังหวัดยะลา ค้นหาเชิงรุกใน 8 อำเภอ พบผู้ป่วยถึง 30-40 คนนั้น เป็นตัวเลขสองหลัก ถือเป็นตัวเลขที่มากผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่จะเจอ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ครั้งนี้มีถึง 30.7 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องนำมาวิเคราะห์โดยทางผู้บริหารระดับสูง สั่งให้ทบทวนชุดข้อมูลตรงนี้อีกครั้ง การตรวจพบกลุ่มก้อนใหญ่นั้นดี แต่ความถูกต้องต้องมาก่อน โดยวันเดียวกันนี้ จะเก็บตัวอย่างใหม่อีกรอบ ต้องตรวจซ้ำให้มีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้ และแยกคนเหล่านี้ไปกักตัวในสถานที่ที่ปลอดภัย อาจช้าสักนิด แต่ผลออกมาต้องแน่นอน ทางทีมแพทย์จะพยายามอย่างที่สุดเพื่อให้ได้ข้อมูลถูกต้อง และรายงานอย่างเร่งด่วน ยืนยันว่า วันนี้ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย และไม่มีการปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในรอบ 28 วันที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ป่วยรายใหม่ใน 36 จังหวัด และมี 32 จังหวัด ไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ รวมถึง 9 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนเลย
ส่วนสถานการณ์ผู้ป่วยทั่วโลกมี 3,484,176 ราย เสียชีวิต 244,778 ราย อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้เตือนประเทศต่างๆ ให้คลายล็อกอย่างช้าๆ และเตรียมรับมือการระบาดของโรค ที่อาจจะมีตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่พุ่งอีกรอบ พร้อมเตือนประชาชนให้เว้นระยะห่างทางสังคมไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งไทยทำมาตลอด จึงเกิดผลแบบนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นผลมาจากพฤติกรรมเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่วันนี้คนออกมาจากบ้านมากมาย ซึ่งจะแสดงผลในสัปดาห์ต่อไป ย้ำว่า ยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และข้อกำหนดของ ศบค. แล้วเราจะผ่านเดือนนี้ไปได้ด้วยดี
ยะลาติดเชื้อ 40 คน ยังไม่แสดงอาการ
เมื่อเวลา 15.00น. วานนี้ นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุข จ.ยะลา ระบุว่า ที่ จ.ยะลา มีติดเชื้อ 40 คน แต่ไม่แสดงอาการจึงขอส่งแล็บ ตรวจอีกครั้ง ก่อนรายงาน ศบค.
ต่อมา 17.00 น. เพจศูนย์ข้อมูล COVID-19 โพสต์ ว่า “ติดเชื้อ 40 คน ยะลา รอตรวจใหม่ ตรวจ Active Case Finding มี 311 คน บางอำเภอมียอดติดเชื้อมากกว่า 30% ผิดข้อสังเกต 40 คน รอทบทวนผลการตรวจ เก็บตัวอย่างใหม่ แยกกักตัว ตรวจซ้ำ เน้นความถูกต้อง ใช้กระบวนการสอบสวนโรคอย่างเข้มงวด
ยันคนออกจากจ.ภูเก็ตผ่านคัดกรองแล้ว
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การเดินทางข้ามเขตจังหวัดว่า โดยทั่วไปเรายังงด หรือชะลอ เว้นแต่มีความจำเป็น ถ้าท่านใดมีความจำเป็นต้องมีหลักฐาน ปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมโรค เป็นการขอความร่วมมือประชาชนที่จะเดินทางเข้าไปในภูมิลำเนา เพื่อป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาด ถ้าเข้าไปแล้วต้องถูกกัก 14 วัน แต่หากประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทาง 2-3 วัน เพื่อเดินทางไปทำธุระ เช่น งานศพ งานบวช หรือไปติดต่อราชการ ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่เข้าใจข้อเท็จจริงในชีวิตจริง และปัญหาที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน เมื่อท่านมีความจำเป็น จึงต้องอธิบายให้ได้ถึงเหตุผลและหลักฐานประกอบ จะกักตัวตามวันและเวลาที่อยู่จริง และจะบันทึกเป็นหลักฐาน เพื่อสามารถสืบย้อนได้ เมื่อหากกลับออกไปแล้วมีประเด็นเกี่ยวกับการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม การคัดกรองโรคในจังหวัดปลายทางภูมิลำเนาเป้าหมายความหนักเบาขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่
ส่วนกรณีที่มีการผ่อนผันให้ประชาชนออกจาก จ.ภูเก็ต จำนวนมากนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีคนไทยที่ไม่มีภูมิลำเนาในจ.ภูเก็ต ประมาณ 1 แสนกกว่าคน และเมื่อเกิดสถานการณ์ในช่วงแรกๆ จังหวัดจึงประกาศห้ามเข้าและออก ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มี 5 หมื่นคน ที่แจ้งว่าไม่มีงานทำ ต้องการออกจากจังหวัด แต่ระหว่างนั้น ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากจังหวัด จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการขึ้นทะเบียนผู้ที่มีความประสงค์จะออกจาก จ.ภูเก็ตแล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะออกได้ทั้งหมด จ.ภูเก็ต มี 17 ตำบล ที่อนุญาตให้ออกมีแค่ 14 ตำบล ที่ผ่านกระบวนการคัดกรองตามมาตรฐาน อีก 3 ตำบล ยังไม่อนุญาต และเมื่อขออนุญาตออก จะต้องมีหนังสือจากผู้ว่าฯ รับรองว่าเป็นบุคคลที่ผ่านการคัดกรอง แล้วแจ้งไปยังจังหวัดปลายทาง รวมถึงด่านตรวจระหว่างทางให้ทราบ โดยในวันเดียวกันนี้ มีผู้เดินทางออกจากจ.ภูเก็ต ตามทะเบียนแล้ว 3,600 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 11 จังหวัดภาคใต้ ประมาณ 2,500 คน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นกระจายไปใน 50 จังหวัดทั่วประเทศ ทุกคนคือคนที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบคัดกรอง เมื่อไปถึงปลายทาง ผู้ว่าจังหวัดนั้นๆ และด่านระกว่างทางก็จะทราบด้วยว่าเดินทางมาจาก จ.ภูเก็ต เท่าไหร่ จึงขอให้มั่นใจว่ากระบวนการของราชการ คัดกรองตามมาตรฐานชัดเจนแล้วจึงส่งมา
คลังจ่ายเยียวยาแล้ว11ล้านคน
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง กล่าวถึงการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน ว่า ขณะนี้ ก.คลัง ได้จ่ายเงินให้กับประชาชนที่ผ่านเกณฑ์แล้วกว่า 11 ล้านคน จากผู้ที่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยาจำนวนกว่า 16 ล้านคน เหลืออีกราว 5 ล้านคน อยู่ระหว่างการขอข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นกลุ่มที่ยื่นทบทวนสิทธิ์
สำหรับการรับเรื่องร้องทุกข์ ที่หน้า ก.คลังนั้น ในวันที่ 5 พ.ค. นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้สั่งให้ย้ายพื้นที่รับเรื่องร้องทุกข์ จากบริเวณประตู 4 ไปอยู่บริเวณใต้ทางด่วนริมคลองประปา ข้าง ก.คลัง แทน เนื่องจากบริเวณดังกล่าว พื้นที่ไม่แออัด ร่มรื่น และสามารถอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยจะมีการคัดกรอง และจัดระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด
"เข้าใจว่าประชาชนร้อนใจ จึงอยากเดินทางมาที่กระทรวงการคลัง แต่มาแล้วก็ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาททันที เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลังแต่อย่างใด และขอยืนยันว่า ทุกคนที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับเงินเยียวยาอย่างแน่นอน" นายธนกร ระบุ
รุมซื้อเหล้า-เบียร์ ไม่สนเรื่องเว้นระยะห่าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก ศบค. มีมาตรการผ่อนปรนเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โโยห้ามดื่มในร้าน แต่ซื้อกลับไปดื่มที่บ้านได้ ทำให้มีประชาชน แห่ไปยังห้างค้าปลีกและค้าส่ง เพื่อรอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กันเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ในโซเชียลฯ มีผู้โพสต์ภาพ และวิดีโอคลิป ที่ประชาชนจำนวนมาก ทั้งที่ผู้บริโภคโดยตรง และร้านค้าปลีก แห่รอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้างค้าส่งแห่งหนึ่ง อย่างคึกคัก เมื่อพนักงานนำสินค้ามาลง ก็พบว่ามีประชาชนเข้าแย่งชิง ลังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันอย่างชุลมุน จนเป็นที่วิจารณ์ว่า คนเหล่านี้ไม่สนใจหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)ที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตร เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการไอ จาม และสารคัดหลั่ง พร้อมเรียกร้องให้ทางห้าง ออกมาจัดระเบียบการซื้อให้เป็นระเบียบ และเข้มงวด มากกว่านี้
ชู "ทัวร์ลี้ภัยโควิด-19" ขับเคลื่อนศก.
พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ หนึ่งในทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแก้ผลกระทบโควิด-19 นำเสนอแนวคิดเรื่อง "ทัวร์ลี้ภัยโควิด-19" ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีแนวทางคร่าวๆ ดังนี้
1. โรงแรมต่างๆ ร่วมกับรพ.เอกชน จัดรูปแบบเพื่อให้โรงแรมบริการชาวต่างชาติในรูปแบบเนอร์สซิ่งโฮม หรือสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ เพื่อการพำนักยาว(Long stay)ระยะเวลา 1 ปี สามารถขยายระยะเวลาได้ เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจโรงแรม
2. ให้บริษัททัวร์ ร่วมกับบริษัทประกันสุขภาพ จัดแพกเกจกรุ๊ปทัวร์สุขภาพ สำหรับชาวต่างชาติผู้สูงอายุ เพื่อลี้ภัยโควิด-19 ซึ่งจะทำให้สามารถคัดกรองชาวต่างชาติที่ปลอดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการลี้ภัยเข้ามาพำนักในไทย โดยมีระบบประกันสุขภาพรองรับค่าใช้จ่าย เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจการท่องเที่ยว
3.ใช้การบินไทย และสายการบินสัญชาติไทย หรือเครือพันธมิตรทำการบินแบบเช่าเหมาลำ สำหรับกรุ๊ปทัวร์ ที่ได้คัดกรองล่วงหน้าจากประเทศต้นทางแล้วว่าปลอดเชื้อโควิด-19 โดยกำหนดที่หมายสนามบินเฉพาะกิจ ที่มี รพ.ประจำสนามบินเพื่อการกักกัน 14 วัน เพื่อให้เกิดความแน่ชัดว่าปลอดเชื้อจริง แล้วจึงระบายเข้าสู่โรงแรมต่างๆ ตามข้อ 1. เพื่อประคับประคองผลกระทบธุรกิจสายการบิน
4. หากพบว่าเที่ยวบินใดที่มีผู้โดยสารซึ่งถูกกักกัน ณ รพ.สนามบิน 14 วัน แล้วมีการติดเชื้อโควิด-19 ก็ให้ทำการรักษาอย่างเบ็ดเสร็จ ณ รพ.สนามบิน เพื่อควบคุมป้องกันการระบาดสู่เมือง
5. สนามบินเฉพาะกิจ สำหรับเที่ยวบินสำหรับชาวต่างชาติ ตามข้อ 3. จะเป็นสนามบินที่เป็นสนามบินร้างว่างเปล่า ที่นำมาพัฒนาให้เป็น "เมืองสนามบิน" ที่มีทั้ง รพ.สนามบิน สำหรับกักกัน และรักษาโรคได้อย่างเบ็ดเสร็จ (เป็น รพ.ในรูปแบบเดียวกับอู่ฮั่น ของจีน) นอกจากมี รพ.สนามบินแล้ว เมืองสนามบิน ซึ่งมีเนื้อที่นับพันไร่ ยังจะมีเขตบังกะโลที่พักอาศัย ในกรณีที่ชาวต่างชาติไม่ประสงค์พักโรงแรม , มีเขตร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ...เมืองสนามบินนี้จะมีลักษณะเหมือนค่ายทหารสหรัฐฯ ในสมัยสงครามเวียดนาม ที่มีความพร้อมสมบูรณ์ในตัว แต่จะพัฒนาให้มีภูมิทัศน์สวยงามน่าอยู่ เพื่อใช้ทรัพยากรภายในประเทศที่ทิ้งร้างว่างเปล่า นำมาสร้างรายได้ เกิดการจ้างงา
ด้วยแนวทางที่กล่าวคร่าวๆ ข้างต้น จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และลดผลกระทบด้านการท่องเที่ยว-โรงแรม-บริการ กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานได้ในช่วงหลายปีนับจากนี้ ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19