เปิดจม.มหาเศรษฐีถึงนายกฯ "กลุ่มคิง เพาเวอร์" ยันจ่ายเงินเดือนพนักงาน 1.2 หมื่นคนเต็ม แม้ท่องเที่ยวฟุบ-สาขาถูกปิด ยันไม่มีนโยบายเลิกจ้าง พร้อมทุ่มพันล้าน โครงการเพื่อสังคม เสนอ 7 ข้อเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย
กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าปลอดภาษีของไทยและถือเป็นบริษัทไทยที่ชื่อเสียงในระดับโลก เผยแพร่เนื้อหาเพื่อตอบจดหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้ขอความร่วมมือกันช่วยเหลือประเทศ และร่วมเป็นทีมประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ของครอบครัวศรีวัฒนประภา ซึ่งนายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนะประภา ซีอีโอของกลุ่ม ได้ตอบจดหมายนายกรัฐมนตรี ว่า บริษัทมีมาตรการสำหรับพนักงาน ด้วยการจ่ายเงินเดือนพนักงานจำนวน 12,000 คน เต็มจำนวนตั้งแต่เดือนม.ค.63 และไม่มีนโยบายเลิกจ้าง แม้ว่าสาขาทั้งหมดของกลุ่มบริษัทฯ จะถูกปิดทำการตามนโยบายความปลอดภัยของรัฐก็ตาม
นอกจากนี้ ยังมีการแจกหน้ากากอนามัย และมาตรการคัดกรองโรคให้กับพนักงานอย่างเคร่งครัด มีการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่พนักงาน นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.เป็นต้นมายังมีนโยบายทำงานที่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากการเดินทางอีกด้วย
ทุ่มพันล้านเพื่อสังคมปี 63-65
กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยังเปิดเผยถึงงบประมาณในโครงการเพื่อสังคม ที่จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ63-65 รวมมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านบาท ประกอบไปด้วย โครงการด้านเยาวชน , ด้านสาธารณสุข, พัฒนาสังคมในด้านชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน, เพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ และโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเทศไทย ทั้งนี้ 3 โครงการหลัง ถือเป็นโครงการใหม่ที่ใช้เงินประมาณ 719.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยังมีข้อเสนอด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ที่หยุดชะงักจากวิกฤตโควิด-19 จำนวน 7 ข้อ ดังนี้
1. ตั้งกองทุนเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว 2. จัดเตรียมประกันภัย Covid-19 สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย 3. การจัดคลัสเตอร์ กลุ่มจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว 4. การพัฒนาระบบ E-Visa on Arrivalการตรวจคนเข้าเมืองและการบริหารจัดการสลอตการบิน
5. การพัฒนาองค์ความรู้การท่องเที่ยวแนวใหม่ที่สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ 6. การพัฒนาซูเปอร์ แอปพลิเคชัน สำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ 7. แก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เพียงพอของมัคคุเทศก์ สำหรับนักท่องเที่ยวบางสัญชาติ
สำหรับมหาเศรษฐีที่ตอบจดหมายนายกฯ ก่อนหน้านี้ อาทิ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บอกพร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และ ขอเป็นกำลังใจให้นายกฯ และรัฐบาล ในการนำประเทศชาติก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท ส่วนในระยะต่อไปสิ่งที่ประเทศไทย ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่าง มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพอาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในยามที่ฟ้ามืด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือการเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทย ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และ ประเทศไทยกล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก”ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว
ส่วน "บิ๊กกระทิงแดง" เตรียมลุยโครงการ "พึ่งตน เพื่อชาติ" เพื่อการดูแลตัวเอง โดยนายเฉลิม อยู่วิทยา ระบุว่า ที่ผ่านมา ได้บริจาคเงินให้กับโรงพยาบาล ไว้ใช้จ่ายในการจัดเตรียมครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วย รวมมูลค่า กว่า 70 ล้านบาท นอกจากนี้ เตรียมให้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 300 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีแรก เพื่อทำโครงการ “พึ่งตน เพื่อชาติ”เป็นต้น โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา ในการสนับสนุน และเป็นพี่เลี้ยงให้กับคนที่มีเป้าหมายชีวิตเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการฝึกปฏิบัติวิธีการสร้างแหล่งอาหาร เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว จาก 100 คนแรก ที่ผ่านการบ่มเพาะจะออกไปแบ่งปันให้กับคนอื่นอีก 100 คน ก่อนที่จะขยายออกไปสู่อีก 100 ชุมชนใกล้เคียง ด้วยโมเดลการพึ่งพาตนเองแบบนี้จะนำพาคนไทย 1,000,000 คน ให้รอดพ้นจากความอดอยากที่เผชิญอยู่ได้
ขณะที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ อดีตประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ผู้ก่อตั้งสายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส เผยว่า ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือแก่แพทย์สภา และสธ. ในการนำเครื่องบินไปรับส่งบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนมาก เพื่อเดินทางไปรักษาคนไข้ติดเชื้อในจังหวัดต่างๆ และได้เข้าไปช่วยให้การศึกษาแก่ผู้คนในการระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสจนประสบความสำเร็จในหลายจังหวัด นอกจากนี้ยังเตรียมโครงการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้และน้ำในภาคการเกษตร
กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าปลอดภาษีของไทยและถือเป็นบริษัทไทยที่ชื่อเสียงในระดับโลก เผยแพร่เนื้อหาเพื่อตอบจดหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้ขอความร่วมมือกันช่วยเหลือประเทศ และร่วมเป็นทีมประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ของครอบครัวศรีวัฒนประภา ซึ่งนายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนะประภา ซีอีโอของกลุ่ม ได้ตอบจดหมายนายกรัฐมนตรี ว่า บริษัทมีมาตรการสำหรับพนักงาน ด้วยการจ่ายเงินเดือนพนักงานจำนวน 12,000 คน เต็มจำนวนตั้งแต่เดือนม.ค.63 และไม่มีนโยบายเลิกจ้าง แม้ว่าสาขาทั้งหมดของกลุ่มบริษัทฯ จะถูกปิดทำการตามนโยบายความปลอดภัยของรัฐก็ตาม
นอกจากนี้ ยังมีการแจกหน้ากากอนามัย และมาตรการคัดกรองโรคให้กับพนักงานอย่างเคร่งครัด มีการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่พนักงาน นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.เป็นต้นมายังมีนโยบายทำงานที่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากการเดินทางอีกด้วย
ทุ่มพันล้านเพื่อสังคมปี 63-65
กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยังเปิดเผยถึงงบประมาณในโครงการเพื่อสังคม ที่จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ63-65 รวมมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านบาท ประกอบไปด้วย โครงการด้านเยาวชน , ด้านสาธารณสุข, พัฒนาสังคมในด้านชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน, เพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ และโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเทศไทย ทั้งนี้ 3 โครงการหลัง ถือเป็นโครงการใหม่ที่ใช้เงินประมาณ 719.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ยังมีข้อเสนอด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ที่หยุดชะงักจากวิกฤตโควิด-19 จำนวน 7 ข้อ ดังนี้
1. ตั้งกองทุนเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว 2. จัดเตรียมประกันภัย Covid-19 สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย 3. การจัดคลัสเตอร์ กลุ่มจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว 4. การพัฒนาระบบ E-Visa on Arrivalการตรวจคนเข้าเมืองและการบริหารจัดการสลอตการบิน
5. การพัฒนาองค์ความรู้การท่องเที่ยวแนวใหม่ที่สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ 6. การพัฒนาซูเปอร์ แอปพลิเคชัน สำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ 7. แก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เพียงพอของมัคคุเทศก์ สำหรับนักท่องเที่ยวบางสัญชาติ
สำหรับมหาเศรษฐีที่ตอบจดหมายนายกฯ ก่อนหน้านี้ อาทิ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บอกพร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และ ขอเป็นกำลังใจให้นายกฯ และรัฐบาล ในการนำประเทศชาติก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท ส่วนในระยะต่อไปสิ่งที่ประเทศไทย ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่าง มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพอาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในยามที่ฟ้ามืด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือการเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทย ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และ ประเทศไทยกล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก”ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว
ส่วน "บิ๊กกระทิงแดง" เตรียมลุยโครงการ "พึ่งตน เพื่อชาติ" เพื่อการดูแลตัวเอง โดยนายเฉลิม อยู่วิทยา ระบุว่า ที่ผ่านมา ได้บริจาคเงินให้กับโรงพยาบาล ไว้ใช้จ่ายในการจัดเตรียมครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วย รวมมูลค่า กว่า 70 ล้านบาท นอกจากนี้ เตรียมให้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 300 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีแรก เพื่อทำโครงการ “พึ่งตน เพื่อชาติ”เป็นต้น โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา ในการสนับสนุน และเป็นพี่เลี้ยงให้กับคนที่มีเป้าหมายชีวิตเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการฝึกปฏิบัติวิธีการสร้างแหล่งอาหาร เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว จาก 100 คนแรก ที่ผ่านการบ่มเพาะจะออกไปแบ่งปันให้กับคนอื่นอีก 100 คน ก่อนที่จะขยายออกไปสู่อีก 100 ชุมชนใกล้เคียง ด้วยโมเดลการพึ่งพาตนเองแบบนี้จะนำพาคนไทย 1,000,000 คน ให้รอดพ้นจากความอดอยากที่เผชิญอยู่ได้
ขณะที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ อดีตประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ผู้ก่อตั้งสายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส เผยว่า ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือแก่แพทย์สภา และสธ. ในการนำเครื่องบินไปรับส่งบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนมาก เพื่อเดินทางไปรักษาคนไข้ติดเชื้อในจังหวัดต่างๆ และได้เข้าไปช่วยให้การศึกษาแก่ผู้คนในการระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสจนประสบความสำเร็จในหลายจังหวัด นอกจากนี้ยังเตรียมโครงการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้และน้ำในภาคการเกษตร