“สุริยะ” นั่งหัวโต๊ะบอร์ดวัตถุอันตราย เสียงส่วนใหญ่ 17 เสียงจาก 24 เสียง โหวตยึดมติเดิม "สุริยะ"โหวตด้วยให้คงการแบน 2 สาร "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส" เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผล 1 มิ.ย.63 เมินคำขอ “สภาหอการค้า”
วานนี้ (30เม.ย.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอัตราย ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการ 28 ท่าน ได้มาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 24 ท่าน และได้ลงมติอย่างเปิดเผย ด้วยเสียงส่วนใหญ่ 17 ท่าน ให้ยึดมติเดิมเมื่อ 27 พ.ย.62 ที่กำหนดให้ 2 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามใช้ ห้ามครอบครอง) มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย.63
"เสียงส่วนใหญ่ 17 เสียงให้คงการแบน 2 สารตามมติเดิม ขณะที่กรรมการอีก 6 ท่าน ไม่เห็นด้วยที่จะคงมติเดิมและอีก 1 ท่าน ที่งดออกเสียงเพราะขอกลับก่อนเนื่องจากติดภารกิจ ส่วนตัวผมได้ลงมติเห็นด้วยกับการแบน 2 สารดังกล่าวตามมติเดิม" นายสุริยะ ระบุ
จี้ “กรมวิชาการฯ” หาสารทดแทน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปหาสารทดแทนเพื่อที่จะนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมในเดือน พ.ค. เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือก โดยให้ไปดูว่าประเทศอื่นๆ ที่ได้ยกเลิกไปแล้วใช้สารใดมาทดแทน ขณะเดียวกันที่ประชุมได้มอบให้กรมวิชาการเกษตร ไปจัดทำเว็บไซต์เพื่อป้อนข้อมูลเกี่ยวกับสารที่จะมาทดแทน และวิธีดำเนินงานต่างๆ ให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้ามาดูแนวทางดำเนินการต่อไป รวมไปถึงการมอบหมายให้หามาตรการดูแลเกษตรกร ที่จะได้รับผลกระทบ
สำหรับประเด็นการรับรองรายงานการประชุม และการรับรองมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.62 เกี่ยวกับการพิจารณายกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรนั้น ที่ประชุมได้ยืนยันว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่มีการรับรองโดยที่ประชุมถูกต้องแล้ว แต่สำหรับการรับรองรายงานการประชุมนั้น ในครั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณารับรองรายงานอีกครั้งหนึ่ง และมีมติโดยเสียงส่วนใหญ่รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว โดยมีกรรมการบางท่านแจ้งขอสงวนสิทธิไม่รับรองรายงานการประชุม
ปูดเกียร์ว่างหาสารทดแทน
แหล่งข่าวในที่ประชุมเปิดเผยด้วยว่า คณะกรรมการฯ ได้ยืนยันตั้งแต่ 27 พ.ย. ให้กรมวิชาการเกษตร เสนอแนวทางให้กำหนดสารทดแทนการแบน 2 สารอย่างเร่งด่วน และจัดทำมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่จนกระทั่งการประชุมล่าสุด ทางกรมวิชาการเกษตรได้ส่งเอกสารมา เมื่อวันที่ 29 เม.ย. แต่เนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งเน้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการออกประกาศ แต่ไม่ได้ระบุถึงสารที่จะมาทดแทนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมบอร์ดฯครั้งนี้ เป็นการพิจารณาตามข้อเสนอของ นายกลินทร์ สารสิน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ทำหนังสือถึง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเลื่อนการแบน 2 สาร จากวันที่ 1 มิ.ย. ออกไปจนถึงปลายปี 63 เพื่อให้ภาครัฐกำหนดมาตรการช่วยเหลือให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีทางออก สำรองทดแทนการใช้สารเคมีดังกล่าว และเพื่อหาทางออกสำหรับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ที่ยังจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น แป้งสาลีต่างๆ จากต่างประเทศ ก็ยังมีการใช้สารเคมีนี้
เผยยังค้างสต๊อก 10,000 ตัน
ด้าน นางอุมาพร พิมลบุตร รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสารเคมีพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส อยู่ในประเทศประมาณ 10,000 ตัน กระจายอยู่ในร้านค้า ผู้ผลิต เกษตรกร เมื่อถึงกำหนดการแบน ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ หากยังเหลือตามกฎหมายจะต้องส่งคืนสารดังกล่าวให้กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อนำไปทำลายอย่างถูกวิธีต่อไป
"กรมวิชาการเกษตรได้ระบุว่า สารที่จะมาทดแทนการใช้ 2 สาร ที่จะถูกแบนนั้นก็มีอยู่ 2-3 ตัว แต่ละพืชที่จะใช้สารทดแทนก็จะต่างกันไป แต่ยอมรับว่ามีหลายราคา แต่ภาพรวมจะมีราคาสูงกว่า" นางอุมาพร กล่าว
วานนี้ (30เม.ย.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอัตราย ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการ 28 ท่าน ได้มาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 24 ท่าน และได้ลงมติอย่างเปิดเผย ด้วยเสียงส่วนใหญ่ 17 ท่าน ให้ยึดมติเดิมเมื่อ 27 พ.ย.62 ที่กำหนดให้ 2 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามใช้ ห้ามครอบครอง) มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย.63
"เสียงส่วนใหญ่ 17 เสียงให้คงการแบน 2 สารตามมติเดิม ขณะที่กรรมการอีก 6 ท่าน ไม่เห็นด้วยที่จะคงมติเดิมและอีก 1 ท่าน ที่งดออกเสียงเพราะขอกลับก่อนเนื่องจากติดภารกิจ ส่วนตัวผมได้ลงมติเห็นด้วยกับการแบน 2 สารดังกล่าวตามมติเดิม" นายสุริยะ ระบุ
จี้ “กรมวิชาการฯ” หาสารทดแทน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปหาสารทดแทนเพื่อที่จะนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมในเดือน พ.ค. เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือก โดยให้ไปดูว่าประเทศอื่นๆ ที่ได้ยกเลิกไปแล้วใช้สารใดมาทดแทน ขณะเดียวกันที่ประชุมได้มอบให้กรมวิชาการเกษตร ไปจัดทำเว็บไซต์เพื่อป้อนข้อมูลเกี่ยวกับสารที่จะมาทดแทน และวิธีดำเนินงานต่างๆ ให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้ามาดูแนวทางดำเนินการต่อไป รวมไปถึงการมอบหมายให้หามาตรการดูแลเกษตรกร ที่จะได้รับผลกระทบ
สำหรับประเด็นการรับรองรายงานการประชุม และการรับรองมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.62 เกี่ยวกับการพิจารณายกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรนั้น ที่ประชุมได้ยืนยันว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่มีการรับรองโดยที่ประชุมถูกต้องแล้ว แต่สำหรับการรับรองรายงานการประชุมนั้น ในครั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณารับรองรายงานอีกครั้งหนึ่ง และมีมติโดยเสียงส่วนใหญ่รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว โดยมีกรรมการบางท่านแจ้งขอสงวนสิทธิไม่รับรองรายงานการประชุม
ปูดเกียร์ว่างหาสารทดแทน
แหล่งข่าวในที่ประชุมเปิดเผยด้วยว่า คณะกรรมการฯ ได้ยืนยันตั้งแต่ 27 พ.ย. ให้กรมวิชาการเกษตร เสนอแนวทางให้กำหนดสารทดแทนการแบน 2 สารอย่างเร่งด่วน และจัดทำมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่จนกระทั่งการประชุมล่าสุด ทางกรมวิชาการเกษตรได้ส่งเอกสารมา เมื่อวันที่ 29 เม.ย. แต่เนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งเน้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการออกประกาศ แต่ไม่ได้ระบุถึงสารที่จะมาทดแทนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมบอร์ดฯครั้งนี้ เป็นการพิจารณาตามข้อเสนอของ นายกลินทร์ สารสิน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ทำหนังสือถึง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเลื่อนการแบน 2 สาร จากวันที่ 1 มิ.ย. ออกไปจนถึงปลายปี 63 เพื่อให้ภาครัฐกำหนดมาตรการช่วยเหลือให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีทางออก สำรองทดแทนการใช้สารเคมีดังกล่าว และเพื่อหาทางออกสำหรับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ที่ยังจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น แป้งสาลีต่างๆ จากต่างประเทศ ก็ยังมีการใช้สารเคมีนี้
เผยยังค้างสต๊อก 10,000 ตัน
ด้าน นางอุมาพร พิมลบุตร รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสารเคมีพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส อยู่ในประเทศประมาณ 10,000 ตัน กระจายอยู่ในร้านค้า ผู้ผลิต เกษตรกร เมื่อถึงกำหนดการแบน ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ หากยังเหลือตามกฎหมายจะต้องส่งคืนสารดังกล่าวให้กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อนำไปทำลายอย่างถูกวิธีต่อไป
"กรมวิชาการเกษตรได้ระบุว่า สารที่จะมาทดแทนการใช้ 2 สาร ที่จะถูกแบนนั้นก็มีอยู่ 2-3 ตัว แต่ละพืชที่จะใช้สารทดแทนก็จะต่างกันไป แต่ยอมรับว่ามีหลายราคา แต่ภาพรวมจะมีราคาสูงกว่า" นางอุมาพร กล่าว