ผู้จัดการรายวัน360-“จุรินทร์”สั่งถอนเรื่องเสนอ ครม. ไฟเขียวไทยเจรจาเข้าร่วม CPTPP ออกไปก่อน ยกเหตุผลยังมีความเห็นไม่ตรงกันของหลายภาคส่วน “อนุทิน”ร่วมด้วย ลั่นไม่สนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก ชี้กระทบอุตสาหกรรมยา การคุ้มครองพันธุ์พืช “พาณิชย์”แจงเป็นแค่การขออนุมัติเคาะประตูเข้าไปพูดคุย ยันมีสิทธิต่อรอง ขอข้อยกเว้น ระยะเวลาปรับตัว ย้ำประเด็นสิทธิบัตรยา ไม่มีแล้ว ใช้ CL ได้เหมือนเดิม ส่วนเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มีมูลค่าขั้นต่ำและยอมให้ยืดเวลาปรับตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ถอนวาระเรื่องการเสนอผลการศึกษาและผลการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย ที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันนี้ (28 เม.ย.) ออกไปก่อน พร้อมกับยืนยันว่าจะไม่เสนอเรื่องนี้กลับเข้าสู่ที่ประชุมอีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังไม่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ เห็นว่า ยังมีข้อกังวลบางประเด็นของ CPTPP และสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจไม่เหมาะสม แม้ว่าการเสนอ ครม. จะเป็นเพียงแค่การขอเข้าไปเจรจา ไม่ใช่การเข้าไปเป็นสมาชิกก็ตาม แต่ภาคประชาสังคมก็ไม่เข้าใจ และเห็นว่า การเข้าร่วม CPTPP อาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพราะปลูกต่อ การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ และกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อนโยบายปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ จึงเป็นเหตุผลให้ชะลอการนำเรื่องเสนอ ครม. ออกไปก่อน
ก่อนหน้านี้ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ได้ออกมาคัดค้านการเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เพราะมีความกังวลว่า จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในเรื่องพันธุ์พืชใหม่ และมีผลกระทบในเรื่องการเข้าถึงยา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมยา และกระทบต่ออุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ต่อ ครม. หากไทยตัดสินใจเป็นสมาชิกของ CPTPP โดยให้มีการระบุให้ชัดว่ากระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP
วันเดียวกันนี้ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ชี้แจงเรื่องการเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติให้ไทยเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ว่า เป็นการขออนุมัติจาก ครม. เพื่อให้ไทยเจรจาเข้าร่วม CPTPP ซึ่งเป็นเพียงก๊อกแรก หรือขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น หาก ครม. เห็นชอบ ก็ยังมีอีกหลายขั้นตอน คือ ไทยจะต้องมีหนังสือถึงนิวซีแลนด์ ในฐานะประเทศผู้รักษาความตกลงฯ เพื่อขอเจรจาเข้าร่วม หลังจากนั้น จะมีการตั้งคณะเจรจาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เจรจาต่อรองเงื่อนไข ข้อยกเว้น และระยะเวลาในการปรับตัวของไทย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด และในระหว่างการเจรจาจะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้าร่วมหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็น และความคืบหน้าต่างๆ ซึ่งในท้ายที่สุด การตัดสินใจว่าไทยจะยอมรับผลการเจรจา และเข้าร่วมความตกลง CPTPP หรือไม่ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อน
ส่วนประเด็นที่มีผู้กังวล เช่น เรื่องการเข้าถึงยา ความตกลง CPTPP ได้ถอดเรื่องการขยายขอบเขตและอายุคุ้มครองสิทธิบัตรยา ตลอดจนการผูกขาดข้อมูลผลการทดสอบยาออกไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเจรจา และสมาชิกยังสามารถบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) ได้ เพื่อดูแลเรื่องสาธารณสุขและการเข้าถึงยาของประชาชน เรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกของตนได้ อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของพันธุ์หากซื้อมาถูกกฎหมาย ส่วนเมล็ดพันธุ์พืชในกลุ่มพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์ป่าของพืชทุกชนิดรวมทั้งสมุนไพร และพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครองยังปลูกต่อได้เหมือนเดิม ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ให้สมาชิกกำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่จะไม่เปิดให้แข่งขันได้ และยังมีระยะเวลาปรับตัวได้สูงสุดถึง 25 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ถอนวาระเรื่องการเสนอผลการศึกษาและผลการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย ที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันนี้ (28 เม.ย.) ออกไปก่อน พร้อมกับยืนยันว่าจะไม่เสนอเรื่องนี้กลับเข้าสู่ที่ประชุมอีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังไม่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ เห็นว่า ยังมีข้อกังวลบางประเด็นของ CPTPP และสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจไม่เหมาะสม แม้ว่าการเสนอ ครม. จะเป็นเพียงแค่การขอเข้าไปเจรจา ไม่ใช่การเข้าไปเป็นสมาชิกก็ตาม แต่ภาคประชาสังคมก็ไม่เข้าใจ และเห็นว่า การเข้าร่วม CPTPP อาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพราะปลูกต่อ การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ และกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อนโยบายปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ จึงเป็นเหตุผลให้ชะลอการนำเรื่องเสนอ ครม. ออกไปก่อน
ก่อนหน้านี้ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ได้ออกมาคัดค้านการเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เพราะมีความกังวลว่า จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในเรื่องพันธุ์พืชใหม่ และมีผลกระทบในเรื่องการเข้าถึงยา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมยา และกระทบต่ออุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ต่อ ครม. หากไทยตัดสินใจเป็นสมาชิกของ CPTPP โดยให้มีการระบุให้ชัดว่ากระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP
วันเดียวกันนี้ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ชี้แจงเรื่องการเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติให้ไทยเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ว่า เป็นการขออนุมัติจาก ครม. เพื่อให้ไทยเจรจาเข้าร่วม CPTPP ซึ่งเป็นเพียงก๊อกแรก หรือขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น หาก ครม. เห็นชอบ ก็ยังมีอีกหลายขั้นตอน คือ ไทยจะต้องมีหนังสือถึงนิวซีแลนด์ ในฐานะประเทศผู้รักษาความตกลงฯ เพื่อขอเจรจาเข้าร่วม หลังจากนั้น จะมีการตั้งคณะเจรจาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เจรจาต่อรองเงื่อนไข ข้อยกเว้น และระยะเวลาในการปรับตัวของไทย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด และในระหว่างการเจรจาจะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้าร่วมหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็น และความคืบหน้าต่างๆ ซึ่งในท้ายที่สุด การตัดสินใจว่าไทยจะยอมรับผลการเจรจา และเข้าร่วมความตกลง CPTPP หรือไม่ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อน
ส่วนประเด็นที่มีผู้กังวล เช่น เรื่องการเข้าถึงยา ความตกลง CPTPP ได้ถอดเรื่องการขยายขอบเขตและอายุคุ้มครองสิทธิบัตรยา ตลอดจนการผูกขาดข้อมูลผลการทดสอบยาออกไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเจรจา และสมาชิกยังสามารถบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) ได้ เพื่อดูแลเรื่องสาธารณสุขและการเข้าถึงยาของประชาชน เรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกของตนได้ อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของพันธุ์หากซื้อมาถูกกฎหมาย ส่วนเมล็ดพันธุ์พืชในกลุ่มพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์ป่าของพืชทุกชนิดรวมทั้งสมุนไพร และพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครองยังปลูกต่อได้เหมือนเดิม ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ให้สมาชิกกำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่จะไม่เปิดให้แข่งขันได้ และยังมีระยะเวลาปรับตัวได้สูงสุดถึง 25 ปี