ผู้จัดการรายวัน360-“อุตตม” ในฐานะประธาน กบอ. เห็นชอบเสนอ กพอ. เคาะผลคัดเลือก การเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุน หลังกองทัพเรือเลือกกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS เป็นผู้พัฒนาโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คาดลงนามได้ภายในพ.ค.นี้ ยอมรับโควิด-19 ทำให้แอร์บัสถอนตัวร่วมการบินไทยพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา แต่ยังมี 3 ทางเลือกให้เดินต่อได้ ไม่สะดุดแน่นอน
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และมีมติเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกเป็นประธาน พิจารณาผลการคัดเลือก การเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุนที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อที่จะลงนามสัญญาร่วมทุนกับเอกชนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ภายในเดือนพ.ค.นี้
สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออกพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภาจะประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก อาทิ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 , ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน , ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน , เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เป็นต้น มูลค่า 290,000 ล้านบาท รัฐจะได้ประโยชน์จากภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 60,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก) เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,640 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก และที่สำคัญ คือ อีอีซีวางยุทธศาสตร์ให้เมืองการบินภาคตะวันออกทำภารกิจสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมายของอีอีซี และเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออก ที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 ก.ม. โดยรอบสนามบิน (เมืองพัทยา ถึงตัวเมืองระยอง) ซึ่งทั้งหมดยังคงเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
พลเรือตรีเกริกชัย วจนาภรณ์ เลขานุการและคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ และดำเนินการเจรจาสัญญาเสร็จสิ้น รวมเวลาทำงานประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกทั้งหมด 17 ครั้ง และการประชุมคณะทำงานเจรจาสัญญาทั้งหมด 19 ครั้ง ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) (กลุ่มบีบีเอส) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) , บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เสนอ Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบินเป็นผู้ชนะการคัดเลือกให้ร่วมทุน เพราะเสนอเงินประกันรายได้ขั้นต่ำตลอดสัญญาสูงสุด
“หลังจากนี้ จะเสนอให้กองทัพเรือ ในฐานะเจ้าของโครงการเห็นชอบ และจะเสนอร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และจากนั้นจะเสนอ กพอ. และ ครม. ต่อไป โดยโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2567 แต่สิ่งสำคัญในการพัฒนาเมือง คือ เมืองที่อยู่รายรอบจะต้องเป็นกรีน และสิ่งที่เป็นอุปสรรค เช่น สายไฟฟ้า ก็ควรจะต้องมุดท่อด้วย” พลเรือตรีกล่าว
นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ซึ่งทาง บมจ.การบินไทย จะเข้ามาพัฒนา และได้รับข้อเสนอจาก บริษัท Airbus S.A.S (แอร์บัส) ที่จะเข้ามาร่วมมือด้วยนั้น ล่าสุดยอมรับว่าทางแอร์บัสเองติดปัญหาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอากาศยานได้รับผลกระทบหนัก จึงขอที่จะยังไม่ร่วมลงทุน แต่พร้อมที่จะร่วมมือด้านเทคโนโลยีหรือโนฮาวให้กับการบินไทย ดังนั้น เรื่องดังกล่าว การบินไทยเองยังมีทางเลือก 2-3 ทาง ได้แก่ 1.การบินไทยยังสามารถเปิดรับเอกชนอื่นๆ ที่สนใจจะร่วมทุนกับการบินไทยได้อยู่ 2.ผู้บริหารการบินไทยแจ้งว่ากิจการนี้มีประโยชน์ต่อการบินไทยที่จะต้องเดินต่อ ไม่ว่าจะต้องลงเองก็ตาม แต่เป้าหมายแรกจะเน้นร่วมมือกับเอกชนก่อน และ 3.การก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาต่างๆ ยังมีเวลา 3-4 ปี ถึงตอนนั้น โควิด-19 คลี่คลาย ก็ยังมีโอกาสที่แอร์บัสหรือโบอิ้งจะเข้ามาร่วมมือก็ยังเป็นไปได้อีก
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และมีมติเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกเป็นประธาน พิจารณาผลการคัดเลือก การเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุนที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อที่จะลงนามสัญญาร่วมทุนกับเอกชนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ภายในเดือนพ.ค.นี้
สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออกพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภาจะประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก อาทิ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 , ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน , ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน , เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เป็นต้น มูลค่า 290,000 ล้านบาท รัฐจะได้ประโยชน์จากภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 60,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก) เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,640 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก และที่สำคัญ คือ อีอีซีวางยุทธศาสตร์ให้เมืองการบินภาคตะวันออกทำภารกิจสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมายของอีอีซี และเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออก ที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 ก.ม. โดยรอบสนามบิน (เมืองพัทยา ถึงตัวเมืองระยอง) ซึ่งทั้งหมดยังคงเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
พลเรือตรีเกริกชัย วจนาภรณ์ เลขานุการและคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ และดำเนินการเจรจาสัญญาเสร็จสิ้น รวมเวลาทำงานประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกทั้งหมด 17 ครั้ง และการประชุมคณะทำงานเจรจาสัญญาทั้งหมด 19 ครั้ง ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) (กลุ่มบีบีเอส) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) , บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เสนอ Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบินเป็นผู้ชนะการคัดเลือกให้ร่วมทุน เพราะเสนอเงินประกันรายได้ขั้นต่ำตลอดสัญญาสูงสุด
“หลังจากนี้ จะเสนอให้กองทัพเรือ ในฐานะเจ้าของโครงการเห็นชอบ และจะเสนอร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และจากนั้นจะเสนอ กพอ. และ ครม. ต่อไป โดยโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2567 แต่สิ่งสำคัญในการพัฒนาเมือง คือ เมืองที่อยู่รายรอบจะต้องเป็นกรีน และสิ่งที่เป็นอุปสรรค เช่น สายไฟฟ้า ก็ควรจะต้องมุดท่อด้วย” พลเรือตรีกล่าว
นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ซึ่งทาง บมจ.การบินไทย จะเข้ามาพัฒนา และได้รับข้อเสนอจาก บริษัท Airbus S.A.S (แอร์บัส) ที่จะเข้ามาร่วมมือด้วยนั้น ล่าสุดยอมรับว่าทางแอร์บัสเองติดปัญหาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอากาศยานได้รับผลกระทบหนัก จึงขอที่จะยังไม่ร่วมลงทุน แต่พร้อมที่จะร่วมมือด้านเทคโนโลยีหรือโนฮาวให้กับการบินไทย ดังนั้น เรื่องดังกล่าว การบินไทยเองยังมีทางเลือก 2-3 ทาง ได้แก่ 1.การบินไทยยังสามารถเปิดรับเอกชนอื่นๆ ที่สนใจจะร่วมทุนกับการบินไทยได้อยู่ 2.ผู้บริหารการบินไทยแจ้งว่ากิจการนี้มีประโยชน์ต่อการบินไทยที่จะต้องเดินต่อ ไม่ว่าจะต้องลงเองก็ตาม แต่เป้าหมายแรกจะเน้นร่วมมือกับเอกชนก่อน และ 3.การก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาต่างๆ ยังมีเวลา 3-4 ปี ถึงตอนนั้น โควิด-19 คลี่คลาย ก็ยังมีโอกาสที่แอร์บัสหรือโบอิ้งจะเข้ามาร่วมมือก็ยังเป็นไปได้อีก