“รมว.คลัง” พอใจ “แบงค์รัฐ” ช่วยเยียวยาโควิด-19 คาดมาตรการช่วยเหลือ “เกษตรกร” เข้าครม.สัปดาห์หน้า โอนเงินเข้าบัญชีในเดือน พ.ค. "สมคิด- "สนธิรัตน์" ถกเคาะมาตรการช่วยเหลือค่าไฟผู้ประกอบการเพิ่มเติม มอบ "กกพ." ขยายเว้นอัตราค่าไฟฟ้า
วานนี้ (23 เม.ย.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้ามาตรการเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ นั้น เป็นไปได้ด้วยดีพอสมควร โดยธนาคารของรัฐยังดำเนินการมาตรการต่อเนื่องและเป็นที่น่าพอใจ ส่วนจะมีการขยายแต่ละมาตรการหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นอีกครั้ง นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงประเด็นในการสื่อสารมาตรการให้ความช่วยเหลือที่มีจำนวนมากของรัฐบาลกับผู้ประกอบการและประชาชน ที่ต้องการเข้าถึงมาตรการได้อย่างชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ง่าย จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับสภาสถาบันการเงินของรัฐให้ร่วมกันจัดระบบในการนำเสนอมาตรการทั้งหลายผ่านทางระบบเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกันของ สศค. ซึ่งจะยึดโยงไปถึงเว็บไซต์ของสถาบันการเงินต่างๆ
นายอุตตม กล่าวต่อว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จะพยายามให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดรับกับ พ.ร.ก. กู้เงินในส่วนของสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (ซอฟต์โลน) วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อช่วยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% นั้น ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) อยู่ระหว่างเตรียมเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งคาดจะเริ่มดำเนินการปล่อยสินเชื่อได้ในวันที่ 8 พ.ค. 62
”ออมสิน-ธ.ก.ส.” พร้อมโอน 7 พ.ค.
นายอุตตม ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงถึงความเป็นไปได้ในการขยายวงเงินกู้ฉุกเฉินของธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวม 4 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนครบจำนวนแล้ว และอยู่ระหว่างนัดหมาย ทำสัญญาเงินกู้กับผู้ที่ลงทะเบียน โดยจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.นี้เป็นต้นไป คาดจะโอนเงินได้ครบภายใน 20 วัน ทั้งนี้ธนาคารฯ และ สศค. จะต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งถึงความจำเป็นที่ต้องขยายวงเงิน เนื่องจากมาตรการใหม่ๆ ก็ยังมีออกมา เช่น สินเชื่อซอฟต์โลน แต่อย่างไรก็ตาม โดยแนวทางในการพิจารณายังจำเป็นต้องให้มีความสอดรับกับมาตรการที่จะมีออกมาต่อไปด้วย
ช่วยเหลือเกษตรจ่อเข้า ครม.
สำหรับความคืบหน้าของมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น รมว.คลัง กล่าวย้ำว่า โครงการที่จะดูแลกลุ่มเกษตกรซึ่งจะใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จึงต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการพิจารณาก่อน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ในสัปดาห์หน้า
ส่วนที่กระทรวงเกษตรฯ มีข้อเสนอให้แจกเกษตรกร 10 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 5 พันบาทเป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับกลุ่มอาชีพอิสระนั้น นายอุตตม กล่าวว่า ยังไม่เห็นข้อเสนอ เพราะกระทรวงเกษตรฯ เสนอตรงไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ถ้าผ่าน ครม.สัปดาห์หน้า กระทรวงการคลัง ก็พร้อมกู้เงินมาจ่ายให้ทันทีในเดือน พ.ค.
เชื่อเยียวยา ปชช. 6 แสนล้าน
นายอุตตม กล่าวยืนยันด้วยว่า ในส่วนเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ที่แบ่งเป็น 6 แสนล้านบาทใช้ในโครงการดูแลเยียวยาผู้ที่ได้รับผลระทบจากโควิด-19 ทั้งกลุ่มแรงงานอิสระ กลุ่มเกษตรกร รวมถึงโครงการด้านสาธารณสุขด้วยนั้น ตามหลักการของ พ.ร.ก. ได้กำหนดว่าหากมีความจำเป็นก็สามารถที่จะกันเงินบางส่วนจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก 4 แสนล้านบาทมาช่วยได้ แต่ในขณะนี้ตนยังคงเชื่อว่าเงินกู้ 6 แสนล้านบาทจะมีเพียงพอในการรองรับการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ยืดเก็บค่าไฟขั้นต่ำถึงสิ้นปี
วันเดียวกัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 เพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชนพร้อมด้วย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน โดยมีผู้แทนผู้ประกอบการจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), 3 การไฟฟ้าฯ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ภายหลังการประชุม นายสนธิรัตน์ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เสนอแนวทางการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบไวรัสโควิด -19 โดยที่ประชุมได้ข้อยุติมอบให้ กกพ.ไปพิจารณาผ่อนผันการยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ ( (Minimum Charge) จากเดิม 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.63 ) ออกไปเป็นถึงเดือน ธ.ค.63 โดยเอกชนเห็นว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การใช้ไฟฟ้าต่ำลงมากเมื่อใช้น้อยหากจ่าย 70% ก็จะลำบาก จึงขอผ่อนผันจ่ายตามการใช้จริงคือใช้เท่าใดก็จ่ายเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ กกพ.ได้ยกเว้นให้เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว แต่เอกชนเห็นว่าควรจะขยายเป็นสิ้นปีเพื่อลดภาระรายจ่าย เรื่องนี้ กกพ.จะนำไปดำเนินการให้เสร็จในเร็วๆ นี้ โดยธุรกิจกลางและใหญ่จะมี 114,453 ราย ส่วนกิจการอื่นๆยังไม่มีข้อมูลจำนวนที่ชัดเจน โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงคือห้างสรรพสินค้าและโรงแรม
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (กิจการขนาดกลาง)และประเภทที่ 4 (กิจการขนาดใหญ่) รวมทั่วประเทศประมาณ 114,453 รายนั้นได้มอบให้ กกพ.ไปเร่งพิจารณาดำเนินการศึกษาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วเช่นกัน
เผยเอกชนขอค่าประกันใช้ไฟคืน
ส่วนข้อเสนอเอกชนที่ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าไฟฟ้าออกไปก่อนสำหรับกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ภาคเอกชนไปจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือให้ชัดเจนและจำกัดความของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้ตรงเป้าหมาย โดยจะเห็นว่าในธุรกิจท่องเที่ยวนั้นได้รับผลกระทบชัดเจนแต่ภาคอุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร และเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เป็นต้น
"ที่ผ่านมานั้นการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ดำเนินการเฉพาะในส่วนของบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) เท่านั้น ทำให้กิจการขนาดใหญ่ได้เสนอขอความช่วยเหลือซึ่งค่าประกันการใช้ไฟฟ้าที่เอกชนรายกลางและใหญ่จะได้รับคืนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.2 -2.4 หมื่นบาทต่อราย" นายสนธิรัตน์กล่าว
หั่นงบ ก.อนุรักษ์ฯลง 4.4 พันล.
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ปรับลดกรอบยุทธศาสตร์การจัดสรรเงินกองทุนฯปีงบประมาณ 2563 จากเดิม 1 หมื่นล้านบาทเหลือ 5.6 พันล้านบาทเนื่องจากเหลือระยะเวลาดำเนินโครงการไม่มากประกอบกับการจัดเก็บรายได้เข้ากองทุนฯลดต่ำกว่าที่คาดไว้ 3.5 พันล้านบาทเพราะผลกระทบโควิด-19 ทำให้การใช้น้ำมันน้อยลงดังนั้นจะมีการเปิดให้ผู้สนใจเข้ายื่นเสนอโครงการภายในต้นพ.ค.นี้และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้เดือนก.ค. โดยจะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
"วงเงินที่ปรับลดลง 4.4 พันล้านบาทจะโยกไปรวมกับงบปี 2564 ระหว่างนี้ก็เตรียมพร้อมการดำเนินโครงการในปี 2564 ไปด้วยแล้วโดยงบ 3.6 พันล้านบาทจาก 5.6 พันล้านบาทจะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19 โดยจะเป็นงบที่ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ประสานงานกับพลังงานจังหวัดเสนอโครงการเข้ามา ทั้งโครงการโซลาร์สูบน้ำ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว การจ้างงาน การปลูกดอกไม้ การจัดทำห้องเย็นของแต่ละจังหวัด เพื่อรองรับการท่องเที่ยวการฟื้นตัวหลังโควิด-19" นายกุลิศกล่าว
แฉ กฟผ.ซื้อรถเข็นผักแพงระยับ
อีกด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการซื้อครุภัณฑ์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หลายประการ อาทิ การจัดซื้อรถเข็น ลักษณะเดียวกับรถเข็นผักทั่วไป ซึ่งมีราคาต่อ 1 คัน ถึง 1.5 แสนบาทเศษ ซึ่งหากไปหาซื้อแถวย่านวรจักร หรือย่านรังสิต ก็ไม่น่าจะเกินคันละ 1-2 พันบาทเท่านั้น แต่ กฟผ.กลับซื้อในราคาที่แพงลิบลิ่ว ปัญหาการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ กฟผ.ดังกล่าวเป็นเพียงฝุ่นใต้พรมที่ไม่มีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ปล่อยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวบริหารจัดการเงินแผ่นดินกันอย่างโจ่งครึ่ม ประหนึ่งเป็นบ่อน้ำมันของรัฐวิสาหกิจที่นำมาหล่อเลี้ยงพนักงานเจ้าหน้าที่ถึง 22,413 คน เพราะค่าใช้จ่ายทั้งหมดดังกล่าวจะถูกนำมาคิดเป็นต้นทุนในการบริหารจัดการไฟฟ้า และผลักภาระทั้งหมดมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกครัวเรือนผ่านค่า FT นั่นเอง
“ถึงเวลาแล้วที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะต้องตรวจสอบองค์กรการไฟฟ้าดังกล่าวอย่างจริงจังและรวดเร็ว ตั้งแต่ฝ่ายจัดซื้อเรื่อยไปจนถึงผู้ว่าการฯ ว่ามีส่วนรับรู้การจัดซื้อจัดหาพัสดุหรืออุปกรณ์ในราคาแพงกว่าปกติหรือไม่อย่างไร เพราะแต่ละแผนงานโครงการฯ มีการตั้งงบจัดซื้อนับพันล้านบาท เพื่อที่จะได้นำมาลงโทษและกำหนดมาตรการป้องกันที่เข้มงวดต่อไป” นายศรีสุวรรณ ระบุ
วานนี้ (23 เม.ย.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้ามาตรการเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ นั้น เป็นไปได้ด้วยดีพอสมควร โดยธนาคารของรัฐยังดำเนินการมาตรการต่อเนื่องและเป็นที่น่าพอใจ ส่วนจะมีการขยายแต่ละมาตรการหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นอีกครั้ง นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงประเด็นในการสื่อสารมาตรการให้ความช่วยเหลือที่มีจำนวนมากของรัฐบาลกับผู้ประกอบการและประชาชน ที่ต้องการเข้าถึงมาตรการได้อย่างชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ง่าย จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับสภาสถาบันการเงินของรัฐให้ร่วมกันจัดระบบในการนำเสนอมาตรการทั้งหลายผ่านทางระบบเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกันของ สศค. ซึ่งจะยึดโยงไปถึงเว็บไซต์ของสถาบันการเงินต่างๆ
นายอุตตม กล่าวต่อว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จะพยายามให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดรับกับ พ.ร.ก. กู้เงินในส่วนของสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (ซอฟต์โลน) วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อช่วยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% นั้น ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) อยู่ระหว่างเตรียมเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งคาดจะเริ่มดำเนินการปล่อยสินเชื่อได้ในวันที่ 8 พ.ค. 62
”ออมสิน-ธ.ก.ส.” พร้อมโอน 7 พ.ค.
นายอุตตม ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงถึงความเป็นไปได้ในการขยายวงเงินกู้ฉุกเฉินของธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวม 4 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนครบจำนวนแล้ว และอยู่ระหว่างนัดหมาย ทำสัญญาเงินกู้กับผู้ที่ลงทะเบียน โดยจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.นี้เป็นต้นไป คาดจะโอนเงินได้ครบภายใน 20 วัน ทั้งนี้ธนาคารฯ และ สศค. จะต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งถึงความจำเป็นที่ต้องขยายวงเงิน เนื่องจากมาตรการใหม่ๆ ก็ยังมีออกมา เช่น สินเชื่อซอฟต์โลน แต่อย่างไรก็ตาม โดยแนวทางในการพิจารณายังจำเป็นต้องให้มีความสอดรับกับมาตรการที่จะมีออกมาต่อไปด้วย
ช่วยเหลือเกษตรจ่อเข้า ครม.
สำหรับความคืบหน้าของมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น รมว.คลัง กล่าวย้ำว่า โครงการที่จะดูแลกลุ่มเกษตกรซึ่งจะใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จึงต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการพิจารณาก่อน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ในสัปดาห์หน้า
ส่วนที่กระทรวงเกษตรฯ มีข้อเสนอให้แจกเกษตรกร 10 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 5 พันบาทเป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับกลุ่มอาชีพอิสระนั้น นายอุตตม กล่าวว่า ยังไม่เห็นข้อเสนอ เพราะกระทรวงเกษตรฯ เสนอตรงไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ถ้าผ่าน ครม.สัปดาห์หน้า กระทรวงการคลัง ก็พร้อมกู้เงินมาจ่ายให้ทันทีในเดือน พ.ค.
เชื่อเยียวยา ปชช. 6 แสนล้าน
นายอุตตม กล่าวยืนยันด้วยว่า ในส่วนเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ที่แบ่งเป็น 6 แสนล้านบาทใช้ในโครงการดูแลเยียวยาผู้ที่ได้รับผลระทบจากโควิด-19 ทั้งกลุ่มแรงงานอิสระ กลุ่มเกษตรกร รวมถึงโครงการด้านสาธารณสุขด้วยนั้น ตามหลักการของ พ.ร.ก. ได้กำหนดว่าหากมีความจำเป็นก็สามารถที่จะกันเงินบางส่วนจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก 4 แสนล้านบาทมาช่วยได้ แต่ในขณะนี้ตนยังคงเชื่อว่าเงินกู้ 6 แสนล้านบาทจะมีเพียงพอในการรองรับการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ยืดเก็บค่าไฟขั้นต่ำถึงสิ้นปี
วันเดียวกัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 เพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชนพร้อมด้วย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน โดยมีผู้แทนผู้ประกอบการจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), 3 การไฟฟ้าฯ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ภายหลังการประชุม นายสนธิรัตน์ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เสนอแนวทางการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบไวรัสโควิด -19 โดยที่ประชุมได้ข้อยุติมอบให้ กกพ.ไปพิจารณาผ่อนผันการยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ ( (Minimum Charge) จากเดิม 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.63 ) ออกไปเป็นถึงเดือน ธ.ค.63 โดยเอกชนเห็นว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การใช้ไฟฟ้าต่ำลงมากเมื่อใช้น้อยหากจ่าย 70% ก็จะลำบาก จึงขอผ่อนผันจ่ายตามการใช้จริงคือใช้เท่าใดก็จ่ายเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ กกพ.ได้ยกเว้นให้เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว แต่เอกชนเห็นว่าควรจะขยายเป็นสิ้นปีเพื่อลดภาระรายจ่าย เรื่องนี้ กกพ.จะนำไปดำเนินการให้เสร็จในเร็วๆ นี้ โดยธุรกิจกลางและใหญ่จะมี 114,453 ราย ส่วนกิจการอื่นๆยังไม่มีข้อมูลจำนวนที่ชัดเจน โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงคือห้างสรรพสินค้าและโรงแรม
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (กิจการขนาดกลาง)และประเภทที่ 4 (กิจการขนาดใหญ่) รวมทั่วประเทศประมาณ 114,453 รายนั้นได้มอบให้ กกพ.ไปเร่งพิจารณาดำเนินการศึกษาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วเช่นกัน
เผยเอกชนขอค่าประกันใช้ไฟคืน
ส่วนข้อเสนอเอกชนที่ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าไฟฟ้าออกไปก่อนสำหรับกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ภาคเอกชนไปจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือให้ชัดเจนและจำกัดความของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้ตรงเป้าหมาย โดยจะเห็นว่าในธุรกิจท่องเที่ยวนั้นได้รับผลกระทบชัดเจนแต่ภาคอุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร และเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เป็นต้น
"ที่ผ่านมานั้นการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ดำเนินการเฉพาะในส่วนของบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) เท่านั้น ทำให้กิจการขนาดใหญ่ได้เสนอขอความช่วยเหลือซึ่งค่าประกันการใช้ไฟฟ้าที่เอกชนรายกลางและใหญ่จะได้รับคืนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.2 -2.4 หมื่นบาทต่อราย" นายสนธิรัตน์กล่าว
หั่นงบ ก.อนุรักษ์ฯลง 4.4 พันล.
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ปรับลดกรอบยุทธศาสตร์การจัดสรรเงินกองทุนฯปีงบประมาณ 2563 จากเดิม 1 หมื่นล้านบาทเหลือ 5.6 พันล้านบาทเนื่องจากเหลือระยะเวลาดำเนินโครงการไม่มากประกอบกับการจัดเก็บรายได้เข้ากองทุนฯลดต่ำกว่าที่คาดไว้ 3.5 พันล้านบาทเพราะผลกระทบโควิด-19 ทำให้การใช้น้ำมันน้อยลงดังนั้นจะมีการเปิดให้ผู้สนใจเข้ายื่นเสนอโครงการภายในต้นพ.ค.นี้และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้เดือนก.ค. โดยจะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
"วงเงินที่ปรับลดลง 4.4 พันล้านบาทจะโยกไปรวมกับงบปี 2564 ระหว่างนี้ก็เตรียมพร้อมการดำเนินโครงการในปี 2564 ไปด้วยแล้วโดยงบ 3.6 พันล้านบาทจาก 5.6 พันล้านบาทจะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19 โดยจะเป็นงบที่ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ประสานงานกับพลังงานจังหวัดเสนอโครงการเข้ามา ทั้งโครงการโซลาร์สูบน้ำ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว การจ้างงาน การปลูกดอกไม้ การจัดทำห้องเย็นของแต่ละจังหวัด เพื่อรองรับการท่องเที่ยวการฟื้นตัวหลังโควิด-19" นายกุลิศกล่าว
แฉ กฟผ.ซื้อรถเข็นผักแพงระยับ
อีกด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการซื้อครุภัณฑ์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หลายประการ อาทิ การจัดซื้อรถเข็น ลักษณะเดียวกับรถเข็นผักทั่วไป ซึ่งมีราคาต่อ 1 คัน ถึง 1.5 แสนบาทเศษ ซึ่งหากไปหาซื้อแถวย่านวรจักร หรือย่านรังสิต ก็ไม่น่าจะเกินคันละ 1-2 พันบาทเท่านั้น แต่ กฟผ.กลับซื้อในราคาที่แพงลิบลิ่ว ปัญหาการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ กฟผ.ดังกล่าวเป็นเพียงฝุ่นใต้พรมที่ไม่มีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ปล่อยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวบริหารจัดการเงินแผ่นดินกันอย่างโจ่งครึ่ม ประหนึ่งเป็นบ่อน้ำมันของรัฐวิสาหกิจที่นำมาหล่อเลี้ยงพนักงานเจ้าหน้าที่ถึง 22,413 คน เพราะค่าใช้จ่ายทั้งหมดดังกล่าวจะถูกนำมาคิดเป็นต้นทุนในการบริหารจัดการไฟฟ้า และผลักภาระทั้งหมดมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกครัวเรือนผ่านค่า FT นั่นเอง
“ถึงเวลาแล้วที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะต้องตรวจสอบองค์กรการไฟฟ้าดังกล่าวอย่างจริงจังและรวดเร็ว ตั้งแต่ฝ่ายจัดซื้อเรื่อยไปจนถึงผู้ว่าการฯ ว่ามีส่วนรับรู้การจัดซื้อจัดหาพัสดุหรืออุปกรณ์ในราคาแพงกว่าปกติหรือไม่อย่างไร เพราะแต่ละแผนงานโครงการฯ มีการตั้งงบจัดซื้อนับพันล้านบาท เพื่อที่จะได้นำมาลงโทษและกำหนดมาตรการป้องกันที่เข้มงวดต่อไป” นายศรีสุวรรณ ระบุ