ผู้จัดการรายวัน 360 – “ธนินท์” เดินเครื่องโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีแล้ว ลอตแรก 1 แสนชิ้นประเดิมมอบ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ก่อนมอบเป็นศูนย์แจกจ่าย รพ.ทั่วประเทศ ตั้งเป้าเดือนละ 3 ล้านชิ้น เพื่อปกป้อง “แพทย์-พยาบาล” ด่านหน้าสนามรบโควิด เล็งเพิ่มกำลังผลิต-อัพเกรดมาตรฐาน N95 รับวัตถุดิบหายาก-ราคาแพง เหตุต้องการทั่วโลก คาดงบ 100 ล้านบาทอาจไม่พอ หากสถานการณ์ยืดเยื้อ
วานนี้ (16 เม.ย.) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมด้วย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือฯ และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือฯ พร้อมคณะแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ และผู้บริหารเครือซีพีเข้าเยี่ยมชม โรงงานซีพีหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย ที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเปิดสายการผลิตหน้ากากอนามัยเป็นวันแรก รวมทั้งเครือซีพีได้ทำการส่งมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 1 แสนชิ้นให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ
ภายหลังเปิดเดินเครื่องโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยวันแรกแล้ว นายธนินท์ เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีและมีความสุขมากที่เครือซีพีสามารถสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแจกฟรีให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนได้ภายในเวลา 5 สัปดาห์ ซีพีเห็นความสำคัญว่าสถานการณ์ขณะนี้ต้องเร่งปกป้องแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้มีพลังที่จะปกป้องประชาชน ดังนั้นจึงสำคัญมากที่ต้องผลิตหน้ากากอนามัยแจกจ่ายให้กับทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจะเป็นองค์กรดูแลแจกจ่ายหน้ากากอนามัยส่งต่อไปยังทุกโรงพยาบาลในประเทศและส่วนที่เหลือจึงแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปฟรี โดยกำลังการผลิตปัจจุบันตั้งเป้าคือวันละ 1 แสนชิ้น หรือ 3 ล้านชิ้นต่อเดือน โดยเป็นโรงงานอัตโนมัติใช้ผู้ควบคุมในโรงงานเพียง 3 คน เพื่อให้เป็นโรงงานที่ปลอดเชื้อโรคสูงสุดสามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมง
นายธนินท์ กล่าวต่อว่า เครือฯดำเนินการสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยบนพื้นฐานค่านิยม 3 ประโยชน์ที่ต้องทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในภาวะที่ประเทศเผชิญวิกฤตหากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้แพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ต้องรับภาระสูงสุด ดังนั้นซีพีเห็นว่าหน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ป้องกันสำคัญในวิกฤตนี้ไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดลุกลามจนโรงพยาบาลต้องรับภาระหนัก
“ซีพี ทำธุรกิจในแผ่นดินไทย ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่เครือฯจะได้รับใช้แผ่นดินไทยในยามวิกฤตช่วยผลิตหน้ากากอนามัยให้กับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงชีวิตไม่ต่างกับทหารที่อยู่หน้าสนามรบเหน็ดเหนื่อยทุ่มเทเอาชีวิตมาเสี่ยง ผมยกย่องและประทับใจมาก วันนี้ถือเป็นหน้าที่คนไทยที่ต้องช่วยกันอยู่บ้าน ไม่จำเป็นอย่าออกมาให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มภาระให้กับโรงพยาบาลและแพทย์ วิธีอยู่บ้านไม่ออกจากบ้านแพร่เชื้อเป็นวิธีที่จะทำให้ประเทศฟื้นเร็วที่สุด ในวิกฤตอย่างนี้ต้องช่วยกัน อย่าทำให้โรคนี้กระจายออกไปมากขึ้น เป็นการช่วยชาติรัฐบาลและโรงพยาบาล” นายธนินท์ กล่าว
ทั้งนี้นายธนินท์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าเพื่อนำมาผลิตหน้ากากอนามัย เพราะต่างประเทศก็มีความต้องการ ทำให้ราคาแพง และหายาก หากไม่มีวัตถุดิบ ถึงมีเครื่องจักร ก็ไม่มีประโยชน์ ก็พยายามติดต่อขอซื้อจากหลายประเทศ และกำลังติดต่อกระทรวงพาณิชย์ว่า สามารถแบ่งขายให้เราได้บ้างหรือไม่ เพื่อที่เราจะผลิตหน้ากากไปแจก ให้กับแพทย์กับนางพยาบาล ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อขยายกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 3 ล้านชิ้นต่อเดือน รวมทั้งการผลิตหน้ากากอนามัย N95 ที่จำเป็นต่อบุคลากรทางการแพทย์ด้วยหากเป็นไปได้ ส่วนงบประมาณที่ตั้งไว้ 100 ล้านบาทนั้น หากสถานการณ์ยืดเยื้อ หรือเลย 3 เดือนไปคงไม่พอแน่
ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขอขอบคุณเครือซีพีที่สร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแจกจ่ายฟรีให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้โรงพยาบาลจุฬาฯจะประสานความร่วมมือกับสภากาชาดไทยเพื่อเป็นเครือข่ายการกระจายหน้ากากอนามัยไปยังบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆอย่างครอบคลุม
“โรงงานหน้ากากอนามัยนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยประเทศไทยรอดพ้นภาวะวิกฤตเป็นการสร้างอาวุธเกราะในการป้องกันให้กับแพทย์และบุคลากร” ศ.นพ.สุทธิพงศ์ ระบุ
วานนี้ (16 เม.ย.) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมด้วย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือฯ และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือฯ พร้อมคณะแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ และผู้บริหารเครือซีพีเข้าเยี่ยมชม โรงงานซีพีหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย ที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเปิดสายการผลิตหน้ากากอนามัยเป็นวันแรก รวมทั้งเครือซีพีได้ทำการส่งมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 1 แสนชิ้นให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ
ภายหลังเปิดเดินเครื่องโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยวันแรกแล้ว นายธนินท์ เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีและมีความสุขมากที่เครือซีพีสามารถสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแจกฟรีให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนได้ภายในเวลา 5 สัปดาห์ ซีพีเห็นความสำคัญว่าสถานการณ์ขณะนี้ต้องเร่งปกป้องแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้มีพลังที่จะปกป้องประชาชน ดังนั้นจึงสำคัญมากที่ต้องผลิตหน้ากากอนามัยแจกจ่ายให้กับทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจะเป็นองค์กรดูแลแจกจ่ายหน้ากากอนามัยส่งต่อไปยังทุกโรงพยาบาลในประเทศและส่วนที่เหลือจึงแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปฟรี โดยกำลังการผลิตปัจจุบันตั้งเป้าคือวันละ 1 แสนชิ้น หรือ 3 ล้านชิ้นต่อเดือน โดยเป็นโรงงานอัตโนมัติใช้ผู้ควบคุมในโรงงานเพียง 3 คน เพื่อให้เป็นโรงงานที่ปลอดเชื้อโรคสูงสุดสามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมง
นายธนินท์ กล่าวต่อว่า เครือฯดำเนินการสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยบนพื้นฐานค่านิยม 3 ประโยชน์ที่ต้องทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในภาวะที่ประเทศเผชิญวิกฤตหากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้แพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ต้องรับภาระสูงสุด ดังนั้นซีพีเห็นว่าหน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ป้องกันสำคัญในวิกฤตนี้ไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดลุกลามจนโรงพยาบาลต้องรับภาระหนัก
“ซีพี ทำธุรกิจในแผ่นดินไทย ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่เครือฯจะได้รับใช้แผ่นดินไทยในยามวิกฤตช่วยผลิตหน้ากากอนามัยให้กับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงชีวิตไม่ต่างกับทหารที่อยู่หน้าสนามรบเหน็ดเหนื่อยทุ่มเทเอาชีวิตมาเสี่ยง ผมยกย่องและประทับใจมาก วันนี้ถือเป็นหน้าที่คนไทยที่ต้องช่วยกันอยู่บ้าน ไม่จำเป็นอย่าออกมาให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มภาระให้กับโรงพยาบาลและแพทย์ วิธีอยู่บ้านไม่ออกจากบ้านแพร่เชื้อเป็นวิธีที่จะทำให้ประเทศฟื้นเร็วที่สุด ในวิกฤตอย่างนี้ต้องช่วยกัน อย่าทำให้โรคนี้กระจายออกไปมากขึ้น เป็นการช่วยชาติรัฐบาลและโรงพยาบาล” นายธนินท์ กล่าว
ทั้งนี้นายธนินท์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าเพื่อนำมาผลิตหน้ากากอนามัย เพราะต่างประเทศก็มีความต้องการ ทำให้ราคาแพง และหายาก หากไม่มีวัตถุดิบ ถึงมีเครื่องจักร ก็ไม่มีประโยชน์ ก็พยายามติดต่อขอซื้อจากหลายประเทศ และกำลังติดต่อกระทรวงพาณิชย์ว่า สามารถแบ่งขายให้เราได้บ้างหรือไม่ เพื่อที่เราจะผลิตหน้ากากไปแจก ให้กับแพทย์กับนางพยาบาล ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อขยายกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 3 ล้านชิ้นต่อเดือน รวมทั้งการผลิตหน้ากากอนามัย N95 ที่จำเป็นต่อบุคลากรทางการแพทย์ด้วยหากเป็นไปได้ ส่วนงบประมาณที่ตั้งไว้ 100 ล้านบาทนั้น หากสถานการณ์ยืดเยื้อ หรือเลย 3 เดือนไปคงไม่พอแน่
ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขอขอบคุณเครือซีพีที่สร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแจกจ่ายฟรีให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้โรงพยาบาลจุฬาฯจะประสานความร่วมมือกับสภากาชาดไทยเพื่อเป็นเครือข่ายการกระจายหน้ากากอนามัยไปยังบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆอย่างครอบคลุม
“โรงงานหน้ากากอนามัยนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยประเทศไทยรอดพ้นภาวะวิกฤตเป็นการสร้างอาวุธเกราะในการป้องกันให้กับแพทย์และบุคลากร” ศ.นพ.สุทธิพงศ์ ระบุ