ผู้จัดการรายวัน 360 – “นายกฯ” ลั่นจ่ายเงินเยียวยา 5 พันบาท ครบ 3 เดือนแน่นอน “สมคิด” ยันมีงบฯพอดูแลผู้ลงทะเบียน เตรียมแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน สร้างงานให้คนอยู่ในท้องถิ่น “คลัง” เปิดทบทวนสิทธิ ขยายเงื่อนไขครอบคลุม “นักเรียน-นักศึกษา” ที่ตกงานเพราะไวรัสระบาด เริ่มเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ออนไลน์ 20 เม.ย. ก่อนปิดลงทะเบียนเที่ยงคืน 22 เม.ย. ด้าน "ธนกร" ระบุจ่ายโอนเงินครบ 3.2 ล้านรายในสัปดาห์นี้ึ “เจ้าสัวซีพี” แนะรัฐเตรียมแผนเชิงรุกด้านท่องเที่ยว-ส่งออกหลังวิกฤต
วานนี้ (16 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ครั้งที่ 1/2563 โดยภายหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการประชุมเพื่อกำหนดวงเงินในการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่ามีการจ่ายเงินเยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน 5 พันบาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนแน่นอน หลังจากที่แถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 เม.ย.ว่ามีงบประมาณเพียงพอแค่ 1 เดือนเท่านั้น
“ต้องขอโทษด้วยที่ทำให้หลายคนไม่สบายใจ ยืนยันว่ารัฐบาลต้องดูแลใน 3 เดือนนี้ให้ได้ และถ้าสถานการณ์ดีขึ้นโดยเร็ว สามารถแก้ปัญหาได้ทุกระดับ ผ่าน 3 เดือนไปแล้วดีขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องหาเงินตรงนี้ แต่ถ้าเกิน 3 เดือนก็ต้องไปว่ากันอีกที ว่าจะหาเงินจากตรงไหน ต้องขอโทษด้วยไม่ได้มีเจตนา ที่จะพูดให้เข้าใจอย่างนั้น แต่ผมต้องการให้เข้าใจว่า กระบวนการใช้เงินเป็นอย่างไร ไม่ได้หมายความว่าไม่แน่นอน หรือจะไม่ให้เงิน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นายกฯเปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณามาตรการเยียวยาทุกภาคส่วน ทั้งแรงงาน ประกันสังคม ในระบบและนอกระบบ กลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงกำลังดูเรื่องเกษตรกร ที่วันนี้ลงรายละเอียดแล้ว และกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการอยู่ โดยต้องเข้าใจว่ารัฐบาลต้องคัดกรองเพื่อให้ถึงผู้เดือดร้อนจริงๆ และขอให้มั่นใจในตนเอง และมั่นใจกระทรวงการคลัง ว่าพยายามทำอย่างเต็มที่ บางครั้งอาจไม่ทันใจบ้าง ก็ต้องขอโทษด้วยแล้วกัน แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นการใช้เงินของภาครัฐ ต้องมีการตรวจสอบ ไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
“สมคิด”เตรียมแผนฟื้นฟู ศก.แล้ว
ด้าน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กล่าวว่า การดูแลเยียวยาผ่านการลงทะเบียนรับเงิน 5 พันบาท ต้องการช่วยเหลือทุกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน ยืนยันมีเงินเพียงพอรองรับผู้เดือดร้อน หลังร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ภายในเดือน พ.ค.จะมีเงินเยียวยามาเพิ่มเติมให้เพียงพอครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อนำมาเติมจากการใช้งบกลางฉุกเฉิน ซึ่งจ่ายไปแล้วก้อนแรก 4.5 หมื่นล้านบาท
นายสมคิด กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจไทยยังเข้มแข็ง แม้จะกู้เงินเพิ่ม แต่ภาระหนี้ต่อจีดีพีถือว่าไม่สูงมากนัก ขณะที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องกู้เงินมาใช้เยียวยาประเทศเช่นกัน หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 แล้ว จะใช้งบประมาณของรัฐที่มีอยู่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งการดูแลรายย่อยจากเงินเยียวยา การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และดูแลสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ จากนั้นจะเริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
“รัฐบาลเตรียมแผนร่วมกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชน แบงก์รัฐ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดูแลแรงงานซึ่งเดินทางกลับต่างจังหวัดในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้อยู่ในท้องถิ่น” นายสมคิด ระบุ
“อุตตม”ยันไม่ทอดทิ้งทุกกลุ่ม
ขณะที่ นายอุตตม กล่าวเสริมว่า การช่วยเหลือเยียวยากลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ มีอาชีพค้าขาย แม่ค้า แต่ถูกระบุว่าทำอาชีพเกษตรกร รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาทำงานพิเศษเพื่อหารายได้ หรือผู้มีปัญหาคุณสมบัติ ขอให้ยื่นทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่ 20 เม.ย.นี้ เพื่อให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน คลังจังหวัดลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบการประกอบอาชีพจริง เสริมกับการตรวจสอบจากระบบของธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ทุกคนได้รับเงินช่วยเหลือ ยืนยันว่าจะไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับผลกระทบถูกละทิ้ง โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้เดือดร้อนจริง
ให้ “นร.-นศ.” ลงทะเบียน 20 เม.ย.
เช่นเดียวกับ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้านในการพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5 พันบาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับนักเรียน-นักศึกษาที่ต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพว่า กระทรวงการคลังจะขยายสิทธิ์การรับเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย จากก่อนหน้าที่เคยจำกัดการให้สิทธิ์ในการรับเงินเยียวยากับคนกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ในวันที่ 20 เม.ย.63 กระทรวงการคลังจะเปิดให้ผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิ์รับเงินเยียวยา ซึ่งจะรวมถึงกลุ่มนักเรียน-นักศึกษาที่ต้องตกงานจากปัญหาโควิด-19 แพร่ระบาด สามารถยื่นอุทรณ์ขอทบทวนสิทธิ์ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้ โดยกระทรวงการคลังจะได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง และในกรณีผลตรวจสอบข้อมูลพบว่านักเรียน-นักศึกษารายนั้นๆ ทำงานจริงๆ แล้ว กระทรวงการคลังก็จะทำการจ่ายเงิน 5 พันบาทให้ด้วย
ปิดลงทะเบียน 22 เม.ย.นี้
นายลวรณ เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการคัดกรองผู้ลงทะเบียนเพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับความคืบหน้าในส่วนของการลงทะเบียนพบว่า มีผู้มาลงทะเบียนรวม 27.7 ล้านราย โดยจำนวนผู้มาลงทะเบียนในภาพรวมมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้มาลงทะเบียนใหม่เริ่มไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ได้มาลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือเยียวยาแล้ว จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมาตรการเยียวยา 5 พันบาท ที่ต้องการให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุมและทั่วถึงแล้ว
“กระทรวงการคลังจึงกำหนดวันปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 22 เม.ย.63 เวลา 24.00 น. ตามที่ได้เคยประกาศไว้ว่าจะแจ้งล่วงหน้าให้ทราบก่อนวันที่จะปิดการลงทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการเปิดรับการขอทบทวนสิทธิสำหรับประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรอง ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 20 เม.ย.63 เวลา 06.00 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com” โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าว
สัปดาห์นี้จ่ายครบ3.2ล้านราย
ส่วนความคืบหน้าในการจ่ายเงินเยียวยา 5 พันบาทนั้น นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังจะทยอยจ่ายเงินอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะสามารถจ่ายเงินเยียวยาฯ ให้ผู้ผ่านเกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติรอบที่ 1-3 รวม 3.2 ล้านราย จำนวนเงิน 1.6 หมื่นล้านบาทได้ครบถ้วน
“ธนินท์” แนะเตรียมแผน ศก.เชิงรุก
วันเดียวกัน นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ว่า ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้เป็นวิกฤตระดับโลกเกิดขึ้นกะทันหันทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง ผู้คนต้องกักตัวในที่อยู่อาศัยเพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อโรค สำหรับประเทศไทยส่งผลให้ธุรกิจสำคัญอย่างภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผลกระทบทั้งระบบ ซึ่งประเทศไทยพึ่งพารายได้ด้านการท่องเที่ยวมหาศาล ดังนั้นในช่วงวิกฤตจากโควิด-19 ที่ยังมีอยู่นี้จึงเสนอให้เตรียมแผนเชิงรุกด้านการท่องเที่ยวและส่งออกไว้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสะสมพลังไว้และขอให้ภาคเอกชนและธุรกิจต่างๆ เตรียมพร้อมด้านกำลังคนและภาคแรงงานไว้
“ถ้าสามารถช่วยเหลือไม่เลิกจ้างแรงงาน ทำให้ผู้คนยังมีกำลังจับจ่ายภายในประเทศได้จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะวันนี้เมื่อมืดที่สุดก็จะสว่าง ไม่มีวันที่จะมืดไปตลอดกาล ดังนั้นเมื่อสว่างแล้วจะต้องเตรียมตัวทำอย่างไรเช่นเดียวกับที่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้วจะเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมากเพราะหลังวิกฤตแล้วมีโอกาสแน่นอน” นายธนินท์ กล่าว
วานนี้ (16 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ครั้งที่ 1/2563 โดยภายหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการประชุมเพื่อกำหนดวงเงินในการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่ามีการจ่ายเงินเยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน 5 พันบาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนแน่นอน หลังจากที่แถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 เม.ย.ว่ามีงบประมาณเพียงพอแค่ 1 เดือนเท่านั้น
“ต้องขอโทษด้วยที่ทำให้หลายคนไม่สบายใจ ยืนยันว่ารัฐบาลต้องดูแลใน 3 เดือนนี้ให้ได้ และถ้าสถานการณ์ดีขึ้นโดยเร็ว สามารถแก้ปัญหาได้ทุกระดับ ผ่าน 3 เดือนไปแล้วดีขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องหาเงินตรงนี้ แต่ถ้าเกิน 3 เดือนก็ต้องไปว่ากันอีกที ว่าจะหาเงินจากตรงไหน ต้องขอโทษด้วยไม่ได้มีเจตนา ที่จะพูดให้เข้าใจอย่างนั้น แต่ผมต้องการให้เข้าใจว่า กระบวนการใช้เงินเป็นอย่างไร ไม่ได้หมายความว่าไม่แน่นอน หรือจะไม่ให้เงิน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นายกฯเปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณามาตรการเยียวยาทุกภาคส่วน ทั้งแรงงาน ประกันสังคม ในระบบและนอกระบบ กลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงกำลังดูเรื่องเกษตรกร ที่วันนี้ลงรายละเอียดแล้ว และกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการอยู่ โดยต้องเข้าใจว่ารัฐบาลต้องคัดกรองเพื่อให้ถึงผู้เดือดร้อนจริงๆ และขอให้มั่นใจในตนเอง และมั่นใจกระทรวงการคลัง ว่าพยายามทำอย่างเต็มที่ บางครั้งอาจไม่ทันใจบ้าง ก็ต้องขอโทษด้วยแล้วกัน แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นการใช้เงินของภาครัฐ ต้องมีการตรวจสอบ ไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
“สมคิด”เตรียมแผนฟื้นฟู ศก.แล้ว
ด้าน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กล่าวว่า การดูแลเยียวยาผ่านการลงทะเบียนรับเงิน 5 พันบาท ต้องการช่วยเหลือทุกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน ยืนยันมีเงินเพียงพอรองรับผู้เดือดร้อน หลังร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ภายในเดือน พ.ค.จะมีเงินเยียวยามาเพิ่มเติมให้เพียงพอครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อนำมาเติมจากการใช้งบกลางฉุกเฉิน ซึ่งจ่ายไปแล้วก้อนแรก 4.5 หมื่นล้านบาท
นายสมคิด กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจไทยยังเข้มแข็ง แม้จะกู้เงินเพิ่ม แต่ภาระหนี้ต่อจีดีพีถือว่าไม่สูงมากนัก ขณะที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องกู้เงินมาใช้เยียวยาประเทศเช่นกัน หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 แล้ว จะใช้งบประมาณของรัฐที่มีอยู่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งการดูแลรายย่อยจากเงินเยียวยา การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และดูแลสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ จากนั้นจะเริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
“รัฐบาลเตรียมแผนร่วมกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชน แบงก์รัฐ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดูแลแรงงานซึ่งเดินทางกลับต่างจังหวัดในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้อยู่ในท้องถิ่น” นายสมคิด ระบุ
“อุตตม”ยันไม่ทอดทิ้งทุกกลุ่ม
ขณะที่ นายอุตตม กล่าวเสริมว่า การช่วยเหลือเยียวยากลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ มีอาชีพค้าขาย แม่ค้า แต่ถูกระบุว่าทำอาชีพเกษตรกร รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาทำงานพิเศษเพื่อหารายได้ หรือผู้มีปัญหาคุณสมบัติ ขอให้ยื่นทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่ 20 เม.ย.นี้ เพื่อให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน คลังจังหวัดลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบการประกอบอาชีพจริง เสริมกับการตรวจสอบจากระบบของธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ทุกคนได้รับเงินช่วยเหลือ ยืนยันว่าจะไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับผลกระทบถูกละทิ้ง โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้เดือดร้อนจริง
ให้ “นร.-นศ.” ลงทะเบียน 20 เม.ย.
เช่นเดียวกับ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้านในการพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5 พันบาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับนักเรียน-นักศึกษาที่ต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพว่า กระทรวงการคลังจะขยายสิทธิ์การรับเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย จากก่อนหน้าที่เคยจำกัดการให้สิทธิ์ในการรับเงินเยียวยากับคนกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ในวันที่ 20 เม.ย.63 กระทรวงการคลังจะเปิดให้ผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิ์รับเงินเยียวยา ซึ่งจะรวมถึงกลุ่มนักเรียน-นักศึกษาที่ต้องตกงานจากปัญหาโควิด-19 แพร่ระบาด สามารถยื่นอุทรณ์ขอทบทวนสิทธิ์ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้ โดยกระทรวงการคลังจะได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง และในกรณีผลตรวจสอบข้อมูลพบว่านักเรียน-นักศึกษารายนั้นๆ ทำงานจริงๆ แล้ว กระทรวงการคลังก็จะทำการจ่ายเงิน 5 พันบาทให้ด้วย
ปิดลงทะเบียน 22 เม.ย.นี้
นายลวรณ เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการคัดกรองผู้ลงทะเบียนเพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับความคืบหน้าในส่วนของการลงทะเบียนพบว่า มีผู้มาลงทะเบียนรวม 27.7 ล้านราย โดยจำนวนผู้มาลงทะเบียนในภาพรวมมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้มาลงทะเบียนใหม่เริ่มไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ได้มาลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือเยียวยาแล้ว จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมาตรการเยียวยา 5 พันบาท ที่ต้องการให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุมและทั่วถึงแล้ว
“กระทรวงการคลังจึงกำหนดวันปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 22 เม.ย.63 เวลา 24.00 น. ตามที่ได้เคยประกาศไว้ว่าจะแจ้งล่วงหน้าให้ทราบก่อนวันที่จะปิดการลงทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการเปิดรับการขอทบทวนสิทธิสำหรับประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรอง ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 20 เม.ย.63 เวลา 06.00 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com” โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าว
สัปดาห์นี้จ่ายครบ3.2ล้านราย
ส่วนความคืบหน้าในการจ่ายเงินเยียวยา 5 พันบาทนั้น นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังจะทยอยจ่ายเงินอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะสามารถจ่ายเงินเยียวยาฯ ให้ผู้ผ่านเกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติรอบที่ 1-3 รวม 3.2 ล้านราย จำนวนเงิน 1.6 หมื่นล้านบาทได้ครบถ้วน
“ธนินท์” แนะเตรียมแผน ศก.เชิงรุก
วันเดียวกัน นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ว่า ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้เป็นวิกฤตระดับโลกเกิดขึ้นกะทันหันทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง ผู้คนต้องกักตัวในที่อยู่อาศัยเพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อโรค สำหรับประเทศไทยส่งผลให้ธุรกิจสำคัญอย่างภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผลกระทบทั้งระบบ ซึ่งประเทศไทยพึ่งพารายได้ด้านการท่องเที่ยวมหาศาล ดังนั้นในช่วงวิกฤตจากโควิด-19 ที่ยังมีอยู่นี้จึงเสนอให้เตรียมแผนเชิงรุกด้านการท่องเที่ยวและส่งออกไว้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสะสมพลังไว้และขอให้ภาคเอกชนและธุรกิจต่างๆ เตรียมพร้อมด้านกำลังคนและภาคแรงงานไว้
“ถ้าสามารถช่วยเหลือไม่เลิกจ้างแรงงาน ทำให้ผู้คนยังมีกำลังจับจ่ายภายในประเทศได้จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะวันนี้เมื่อมืดที่สุดก็จะสว่าง ไม่มีวันที่จะมืดไปตลอดกาล ดังนั้นเมื่อสว่างแล้วจะต้องเตรียมตัวทำอย่างไรเช่นเดียวกับที่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้วจะเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมากเพราะหลังวิกฤตแล้วมีโอกาสแน่นอน” นายธนินท์ กล่าว