ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.เห็นชอบขยายความครอบคลุมผู้ประกันตนรับสิทธิว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย สามารถรับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน พร้อมมติรับทราบร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน ฟื้นวิกฤตโควิด-19 แล้ว นายกฯคาดมิ.ย.จะได้เริ่มใช้เงิน ยันไม่กู้รวดเดียวทั้งก้อน ยันเงินเยียวยา 5,000 ทั่วถึงแน่ แต่ยอมรับงบกลางที่มีอยู่พอจ่ายแค่เดือนเดียว ที่เหลือรอ พ.ร.ก.กู้เงิน เล็งหามาตรการช่วยเกษตรกร 17 ล้านคนต่อ "อุตตม" รับรอออก พ.ร.ก.กู้เงิน จ่ายเยียวยา 5 พันบาทช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. ศบค.เผยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 30 ราย เสียชีวิตอีก 2 ราย
วานนี้ (15 เม.ย.) ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีวาระพิจารณาสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั้งในส่วนของการควบคุมป้องกัน และมาตรการเยียวยาต่างๆ รวมทั้งรับทราบผลประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนอาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นกัน เมื่อวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมาด้วย
รับทราบคำสั่งตั้ง กก.เยียวยาฯ
โดยที่ประชุม ครม.ได้รับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อทำหน้าที่ติดตาม รวบรวม และบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิค-19 รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ตรวจสอบการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามมาตรการต่างๆของรัฐ โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการมี ปลัดกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องและผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 10 ราย และ ผู้อำนวยการสำนักงานงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ
ขยายความครอบคลุมผู้ประกันตน
พร้อมกันนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบให้ขยายความครอบคลุมผู้ประกันตนมาตรา 33 ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากผลกระทบโควิด-19 สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญครอบคลุม กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และเห็นชอบให้ขยายความครอบคลุม ในกรณีผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วันเช่นกัน โดยมอบหมายให้ กระทรวงแรงงาน จะได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป
เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.กู้เงินฯ
ที่ประชุม ครม.ยังได้มีมติรับทราบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 และนำเงินมาใช้จ่ายในมาตรการฟื้นฟูเยียวยาในอนาคต ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจแก้ไขร่างฯของกระทรวงการคลังที่ ครม.นัดพิเศษได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว แล้วนำมาเสนอใน ครม.วันนี้ เพื่อนำร่าง พ.ร.ก.ฯดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปแล้วด้วย
หั่นงบเดิมได้ไม่เกิน 1 แสนล้าน
ภายหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่า วันนี้เราจำเป็นต้องใช้เงินจากหลายส่วน ส่วนแรกคือเงินที่เราจะต้องเสนอเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การปรับโอนงบประมาณ 10% ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลามากพอสมควรเพราะต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ผ่านความคิดเห็นของ ส.ส.และ ส.ว.ซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณเดือน มิ.ย.ถึงจะได้เงินก้อนนี้ออกมาใช้ ประมาณวงเงินไม่เกินแสนล้านบาท ที่จะได้คืนมาจากทุกหน่วยงานซึ่งได้ขอความร่วมมือจากทุกกระทรวงไปแล้ว ในส่วนที่สองคือเงินที่จะได้จากการกู้เงิน เป็น พ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 1 ล้านล้านบาท โดยระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการการกู้เงินออกมาให้เป็นเม็ดเงินเพื่อที่จะได้นำมาเยียวยาได้ จึงต้องขอชี้แจงว่าถึงวันนี้ยังไม่มีเงินเลย มีเพียงตัวเลขเท่านั้น
“ส่วนของ พ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 1 ล้านล้านบาท จะมีขั้นตอนและรอการประกาศใช้ก็จะอยู่ในช่วงปลายเดือน เม.ย.หรือ พ.ค. ซึ่งในการเดินหน้าเพื่อใช้เงินตรงนี้จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ ตามกฎหมาย ตามขั้นตอนของร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน เพราะฉะนั้นน่าจะเงินส่วนนี้ได้ประมาณเดือน พ.ค.ถึง มิ.ย.นี้” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
แจงไม่ได้กู้ก้อนเดียว 1 ล้านล้าน
นายกฯกล่าวต่อว่า วันนี้เราใช้เงินรายจ่ายจากงบกลางปี 2563 และบางโครงการก็เอาคืนมา เพราะยังไม่ได้ดำเนินการก็นำมาช่วยในช่วงนี้ก่อนมีวงเงินอยู่ประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ได้แค่เดือนเดียว เพราะฉะนั้นในเดือนที่ 2 และ 3 ก็ต้องรอเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ ถือเป็นความยากง่ายของรัฐบาล เพราะเงินเหล่านี้ถือเป็นภาระผูกพันของรัฐบาลเพราะเราต้องหาเม็ดเงินมาชำระหนี้ ดังนั้นการกู้เงินจะทยอยกูเป็นก้อนๆ ไม่ได้หมายความว่า เราจะมีเงิน 1 ล้านล้านบาท อยู่ในมือทั้งหมดครั้งเดียว
“ย้ำอีกครั้งว่าวันนี้เราจ่ายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือต้องรอ พ.ร.ก.เงินกู้ และ พ.ร.บ.ที่จะออกมา ในส่วนที่ยังขาดเหลือก็กำลังพิจารณาตรวจสอบคัดกรองอยู่ว่าขาดเหลือตรงไหนและควรจะให้ตรงไหนเพิ่ม หรือมีปัญหาที่ระบบตรวจสอบและคัดกรอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ย้ำไม่ทอดทิ้ง-เยียวยาทุกกลุ่ม
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะที่เม็ดเงินยังไม่ออกมานั้นในการรองรับช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ก่อนที่ พ.ร.ก.เงินกู้จะมีผลบังคับใช้ทั้งอาชีพอิสระ รับจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว กิจการส่วนตัว ค้าขาย รวมทั้งอาชีพอิสระประกันสังคมตามมาตรา 39 และ 40 ประมาณ 9 ล้านคน ซึ่งตอนแรกเรามีเม็ดเงินในการช่วยเหลือคนเพียง 3 ล้านคน ซึ่งไม่ได้เป็นโควตาเพียงแต่นำเม็ดเงินที่มีอยู่มาพิจารณาว่าจะจ่ายได้เท่าไร เฉลี่ยแล้วได้ 5 พันบาทต่อเดือน แต่เมื่อจำเป็นต้องขยายความช่วยเหลือไปเป็น 9,000,000 คนก็ต้องดูว่าจะหาเงินมาจากตรงไหน ซึ่งหลายคนก็เกรงว่าจะไม่ได้รับ แต่ช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าช่วงนี้ก็มีปัญหาไม่รู้จะเอาเงินจากส่วนไหนไปโอนให้ ซึ่งก็คงต้องรอสักระยะหนึ่ง แต่ก็เข้าใจความเดือดร้อนของทุกคน รับรองว่าจะดูแลให้ครบทุกคน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงส่วนของแรงงานในระบบประกันสังคมว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มีอยู่จำนวน 11 ล้านคน วันนี้ได้ใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมประมาณ 2.3 แสนล้านบาท ก็ได้มีการปลดล็อคต่างๆผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ ส่วนต่อไปที่กำลังหารือ คือ เกษตรกร 17 ล้านคน กำลังจะพิจารณาหาเงินจากแหล่งอื่นตามกฎหมายงบประมาณ กฎหมายทางวินัยการเงินการคลัง มาให้เกษตรกรในเดือนแรก และเดือนถัดไปต้องรอเงินกู้เช่นเดียวกัน
“ช่วงนี้ลำบากกันทุกคน ถ้าเรามีเงินเยอะๆ เราก็สามารถให้ท่านได้ทุกคนในเวลาเดียวกัน แต่มันไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจ แต่ขอว่าถ้าท่านดูแลตัวเอง มีการใช้จ่ายอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในครอบครัว” นายกฯกล่าว
"อุตตม" รับรอออก พ.ร.ก.กู้เงิน จ่าย 5 พัน
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่นายกฯ ระบุมีเงินจ่ายเยียวยา 5 พันบาท แค่เดือนเม.ย.เดือนเดียวนั้น เข้าใจว่าเป็นงบประมาณในส่วนที่กันไว้จากปีงบประมาณ 2563 แต่เมื่อมีการกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จะมีการใช้เงินเข้ามาใช้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแผนงานของรัฐบาล ดังนั้นเงินที่จะจ่าย 5,000 บาท/เดือนในอีก 2 เดือนที่เหลือ (พ.ค.-มิ.ย.) ขึ้นอยู่กับ พ.ร.ก.กู้เงินฯ จะมีผลบังคับใช้ได้เมื่อใด เพราะหลังจากนั้นจึงจะสามารถกู้เงินได้
สำหรับขั้นตอนการเปิดให้ยื่นอุทธรณ์สิทธิรับเงิน 5 พันบาท เป็นไปตามที่ตกลงไว้คือวันที่ 20 เม.ย.63 จะเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์สามารถแจ้งทบทวนสิทธิได้ ซึ่งก็จะทำควบคู่กันไป โดยไม่จำเป็นต้องรอให้การตรวจคุณสมบัติผู้ที่มาลงทะเบียนครบทั้ง 27 ล้านคน ประชาชนที่ต้องการยื่นขอทบทวนสิทธิก็สามารถยื่นเข้ามาได้เรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่อุทธรณ์สิทธิจะได้ทุกคน เพราะต้องตรวจสอบคุณสมบัติกันอีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนด้วยระบบ AI นั้น นายอุตตม กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ AI เป็นผู้ตัดสินว่าใครได้รับหรือไม่ได้รับเงิน AI เป็นเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการดูแลข้อมูลจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบด้วย แต่เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมากจึงต้องใช้ AI เข้ามาช่วย
แห่กู้ออมสินวันแรกกว่า4ล้านรายทำระบบล่ม
หลังจากที่ธนาคารออมสินได้เปิดให้ผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าลงทะเบียนแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้มีรายได้ประจำ โดยกำหนดขอวงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% ผ่อนชำระนาน 24 เดือน ปลอดชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน และโครงการสินเชื่อพิเศษวงเงินสูงสุด 5 หมื่นบาทสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ สามารถเข้าลงทะเบียนผ่าน www.gsb.or.th ได้เป็นวันแรก วานนี้ (15 เม.ย.) โดยการลงทะเบียนในวันแรกนั้น พบประชาชนสนใจเข้ามาลงทะเบียนจำนวนมากกว่า 4 ล้านราย จนทำให้ระบบเกิดความขัดข้อง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า มีจำนวนผู้เข้ามาลงทะเบียนขอสินเชื่อทั้ง 2 โครงการจำนวนมากอย่างพร้อมเพรียงกัน ส่งผลให้ระบบเครือข่ายการสื่อสารของเว็บไซต์ธนาคารฯ และระบบลงทะเบียนเกิดความขัดข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพและทำการทดสอบระบบใหม่ จึงขอปิดระบบเพื่อปรับปรุง และจะเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้งในวันนี้ (16 เมษายน 2563) เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป
พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30 ราย-เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวว่า ในวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่มขึ้น 30 คน ทำให้มีผู้ป่วยสะสมรวม 2,643 คน จำนวนผู้ป่วยที่กลับบ้านได้แล้วรวมทั้งสิ้น 1,497 คน รักษาตัวอยู่ใน รพ.1,103 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 คน รวมเป็นผู้เสียชีวิตสะสม 43 คน
ผู้เสียชีวิตรายแรก เป็นหญิงไทยวัย 65 ปี อาชีพขายอาหารที่ถนนคนเดิน มีโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โดยวันที่ 7 มี.ค.มีไข้สูงและไอ จึงซื้อยามากินเอง ต่อมาวันที่ 12 มี.ค.อาการไม่ดีขึ้นจึงไปตรวจที่ รพ.เอกชนใน จ.เชียงใหม่ มีประวัติสัมผัสผู้ปวยยืนยันซึ่งเป็นสมาชิกในบ้าน ต่อมาวันที่ 15 มี.ค.มีอาการหน้ามืดจึงไป รพ.เดิมและกลับมารักษาตัวที่บ้าน จากนั้นวันที่ 17 มี.ค.ส่งตรวจพบเชื้อโควิด-19 จึงเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐ, ในวันที่ 18 มี.ค.ยังรู้สึกตัวดีแต่มีอาการหอบเหนื่อย, วันที่ 19 มี.ค.แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์, วันที่ 22 มี.ค.หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้นเอ็กซ์เรย์พบปอดอักเสบรุนแรง, 6 เม.ย.ไม่รู้สึกตัว ความดันโลหิตตก และได้รับยากระตุ้นหัวใจ แต่ไม่ดีขึ้น จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 13 เม.ย.
ส่วนอีกรายเป็นชายไทยวัย 60 ปี มีประวัติเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย กลับมาถึงประเทศไทยวันที่ 24 มี.ค. จากนั้นวันที่ 2 เม.ย.เริ่มมีไข้สูง 38.4 องศาฯ ปวดเมื่อยกล้ามจึงเข้ารักษาที่ รพ.ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับส่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และ อาการแย่ลง จนกระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 14 เม.ย.
วานนี้ (15 เม.ย.) ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีวาระพิจารณาสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั้งในส่วนของการควบคุมป้องกัน และมาตรการเยียวยาต่างๆ รวมทั้งรับทราบผลประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนอาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นกัน เมื่อวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมาด้วย
รับทราบคำสั่งตั้ง กก.เยียวยาฯ
โดยที่ประชุม ครม.ได้รับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อทำหน้าที่ติดตาม รวบรวม และบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิค-19 รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ตรวจสอบการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามมาตรการต่างๆของรัฐ โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการมี ปลัดกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องและผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 10 ราย และ ผู้อำนวยการสำนักงานงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ
ขยายความครอบคลุมผู้ประกันตน
พร้อมกันนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบให้ขยายความครอบคลุมผู้ประกันตนมาตรา 33 ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากผลกระทบโควิด-19 สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญครอบคลุม กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และเห็นชอบให้ขยายความครอบคลุม ในกรณีผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วันเช่นกัน โดยมอบหมายให้ กระทรวงแรงงาน จะได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป
เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.กู้เงินฯ
ที่ประชุม ครม.ยังได้มีมติรับทราบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 และนำเงินมาใช้จ่ายในมาตรการฟื้นฟูเยียวยาในอนาคต ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจแก้ไขร่างฯของกระทรวงการคลังที่ ครม.นัดพิเศษได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว แล้วนำมาเสนอใน ครม.วันนี้ เพื่อนำร่าง พ.ร.ก.ฯดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปแล้วด้วย
หั่นงบเดิมได้ไม่เกิน 1 แสนล้าน
ภายหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่า วันนี้เราจำเป็นต้องใช้เงินจากหลายส่วน ส่วนแรกคือเงินที่เราจะต้องเสนอเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การปรับโอนงบประมาณ 10% ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลามากพอสมควรเพราะต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ผ่านความคิดเห็นของ ส.ส.และ ส.ว.ซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณเดือน มิ.ย.ถึงจะได้เงินก้อนนี้ออกมาใช้ ประมาณวงเงินไม่เกินแสนล้านบาท ที่จะได้คืนมาจากทุกหน่วยงานซึ่งได้ขอความร่วมมือจากทุกกระทรวงไปแล้ว ในส่วนที่สองคือเงินที่จะได้จากการกู้เงิน เป็น พ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 1 ล้านล้านบาท โดยระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการการกู้เงินออกมาให้เป็นเม็ดเงินเพื่อที่จะได้นำมาเยียวยาได้ จึงต้องขอชี้แจงว่าถึงวันนี้ยังไม่มีเงินเลย มีเพียงตัวเลขเท่านั้น
“ส่วนของ พ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 1 ล้านล้านบาท จะมีขั้นตอนและรอการประกาศใช้ก็จะอยู่ในช่วงปลายเดือน เม.ย.หรือ พ.ค. ซึ่งในการเดินหน้าเพื่อใช้เงินตรงนี้จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ ตามกฎหมาย ตามขั้นตอนของร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน เพราะฉะนั้นน่าจะเงินส่วนนี้ได้ประมาณเดือน พ.ค.ถึง มิ.ย.นี้” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
แจงไม่ได้กู้ก้อนเดียว 1 ล้านล้าน
นายกฯกล่าวต่อว่า วันนี้เราใช้เงินรายจ่ายจากงบกลางปี 2563 และบางโครงการก็เอาคืนมา เพราะยังไม่ได้ดำเนินการก็นำมาช่วยในช่วงนี้ก่อนมีวงเงินอยู่ประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ได้แค่เดือนเดียว เพราะฉะนั้นในเดือนที่ 2 และ 3 ก็ต้องรอเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ ถือเป็นความยากง่ายของรัฐบาล เพราะเงินเหล่านี้ถือเป็นภาระผูกพันของรัฐบาลเพราะเราต้องหาเม็ดเงินมาชำระหนี้ ดังนั้นการกู้เงินจะทยอยกูเป็นก้อนๆ ไม่ได้หมายความว่า เราจะมีเงิน 1 ล้านล้านบาท อยู่ในมือทั้งหมดครั้งเดียว
“ย้ำอีกครั้งว่าวันนี้เราจ่ายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือต้องรอ พ.ร.ก.เงินกู้ และ พ.ร.บ.ที่จะออกมา ในส่วนที่ยังขาดเหลือก็กำลังพิจารณาตรวจสอบคัดกรองอยู่ว่าขาดเหลือตรงไหนและควรจะให้ตรงไหนเพิ่ม หรือมีปัญหาที่ระบบตรวจสอบและคัดกรอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ย้ำไม่ทอดทิ้ง-เยียวยาทุกกลุ่ม
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะที่เม็ดเงินยังไม่ออกมานั้นในการรองรับช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ก่อนที่ พ.ร.ก.เงินกู้จะมีผลบังคับใช้ทั้งอาชีพอิสระ รับจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว กิจการส่วนตัว ค้าขาย รวมทั้งอาชีพอิสระประกันสังคมตามมาตรา 39 และ 40 ประมาณ 9 ล้านคน ซึ่งตอนแรกเรามีเม็ดเงินในการช่วยเหลือคนเพียง 3 ล้านคน ซึ่งไม่ได้เป็นโควตาเพียงแต่นำเม็ดเงินที่มีอยู่มาพิจารณาว่าจะจ่ายได้เท่าไร เฉลี่ยแล้วได้ 5 พันบาทต่อเดือน แต่เมื่อจำเป็นต้องขยายความช่วยเหลือไปเป็น 9,000,000 คนก็ต้องดูว่าจะหาเงินมาจากตรงไหน ซึ่งหลายคนก็เกรงว่าจะไม่ได้รับ แต่ช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าช่วงนี้ก็มีปัญหาไม่รู้จะเอาเงินจากส่วนไหนไปโอนให้ ซึ่งก็คงต้องรอสักระยะหนึ่ง แต่ก็เข้าใจความเดือดร้อนของทุกคน รับรองว่าจะดูแลให้ครบทุกคน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงส่วนของแรงงานในระบบประกันสังคมว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มีอยู่จำนวน 11 ล้านคน วันนี้ได้ใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมประมาณ 2.3 แสนล้านบาท ก็ได้มีการปลดล็อคต่างๆผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ ส่วนต่อไปที่กำลังหารือ คือ เกษตรกร 17 ล้านคน กำลังจะพิจารณาหาเงินจากแหล่งอื่นตามกฎหมายงบประมาณ กฎหมายทางวินัยการเงินการคลัง มาให้เกษตรกรในเดือนแรก และเดือนถัดไปต้องรอเงินกู้เช่นเดียวกัน
“ช่วงนี้ลำบากกันทุกคน ถ้าเรามีเงินเยอะๆ เราก็สามารถให้ท่านได้ทุกคนในเวลาเดียวกัน แต่มันไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจ แต่ขอว่าถ้าท่านดูแลตัวเอง มีการใช้จ่ายอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในครอบครัว” นายกฯกล่าว
"อุตตม" รับรอออก พ.ร.ก.กู้เงิน จ่าย 5 พัน
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่นายกฯ ระบุมีเงินจ่ายเยียวยา 5 พันบาท แค่เดือนเม.ย.เดือนเดียวนั้น เข้าใจว่าเป็นงบประมาณในส่วนที่กันไว้จากปีงบประมาณ 2563 แต่เมื่อมีการกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จะมีการใช้เงินเข้ามาใช้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแผนงานของรัฐบาล ดังนั้นเงินที่จะจ่าย 5,000 บาท/เดือนในอีก 2 เดือนที่เหลือ (พ.ค.-มิ.ย.) ขึ้นอยู่กับ พ.ร.ก.กู้เงินฯ จะมีผลบังคับใช้ได้เมื่อใด เพราะหลังจากนั้นจึงจะสามารถกู้เงินได้
สำหรับขั้นตอนการเปิดให้ยื่นอุทธรณ์สิทธิรับเงิน 5 พันบาท เป็นไปตามที่ตกลงไว้คือวันที่ 20 เม.ย.63 จะเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์สามารถแจ้งทบทวนสิทธิได้ ซึ่งก็จะทำควบคู่กันไป โดยไม่จำเป็นต้องรอให้การตรวจคุณสมบัติผู้ที่มาลงทะเบียนครบทั้ง 27 ล้านคน ประชาชนที่ต้องการยื่นขอทบทวนสิทธิก็สามารถยื่นเข้ามาได้เรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่อุทธรณ์สิทธิจะได้ทุกคน เพราะต้องตรวจสอบคุณสมบัติกันอีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนด้วยระบบ AI นั้น นายอุตตม กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ AI เป็นผู้ตัดสินว่าใครได้รับหรือไม่ได้รับเงิน AI เป็นเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการดูแลข้อมูลจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบด้วย แต่เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมากจึงต้องใช้ AI เข้ามาช่วย
แห่กู้ออมสินวันแรกกว่า4ล้านรายทำระบบล่ม
หลังจากที่ธนาคารออมสินได้เปิดให้ผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าลงทะเบียนแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้มีรายได้ประจำ โดยกำหนดขอวงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% ผ่อนชำระนาน 24 เดือน ปลอดชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน และโครงการสินเชื่อพิเศษวงเงินสูงสุด 5 หมื่นบาทสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ สามารถเข้าลงทะเบียนผ่าน www.gsb.or.th ได้เป็นวันแรก วานนี้ (15 เม.ย.) โดยการลงทะเบียนในวันแรกนั้น พบประชาชนสนใจเข้ามาลงทะเบียนจำนวนมากกว่า 4 ล้านราย จนทำให้ระบบเกิดความขัดข้อง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า มีจำนวนผู้เข้ามาลงทะเบียนขอสินเชื่อทั้ง 2 โครงการจำนวนมากอย่างพร้อมเพรียงกัน ส่งผลให้ระบบเครือข่ายการสื่อสารของเว็บไซต์ธนาคารฯ และระบบลงทะเบียนเกิดความขัดข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพและทำการทดสอบระบบใหม่ จึงขอปิดระบบเพื่อปรับปรุง และจะเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้งในวันนี้ (16 เมษายน 2563) เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป
พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30 ราย-เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวว่า ในวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่มขึ้น 30 คน ทำให้มีผู้ป่วยสะสมรวม 2,643 คน จำนวนผู้ป่วยที่กลับบ้านได้แล้วรวมทั้งสิ้น 1,497 คน รักษาตัวอยู่ใน รพ.1,103 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 คน รวมเป็นผู้เสียชีวิตสะสม 43 คน
ผู้เสียชีวิตรายแรก เป็นหญิงไทยวัย 65 ปี อาชีพขายอาหารที่ถนนคนเดิน มีโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โดยวันที่ 7 มี.ค.มีไข้สูงและไอ จึงซื้อยามากินเอง ต่อมาวันที่ 12 มี.ค.อาการไม่ดีขึ้นจึงไปตรวจที่ รพ.เอกชนใน จ.เชียงใหม่ มีประวัติสัมผัสผู้ปวยยืนยันซึ่งเป็นสมาชิกในบ้าน ต่อมาวันที่ 15 มี.ค.มีอาการหน้ามืดจึงไป รพ.เดิมและกลับมารักษาตัวที่บ้าน จากนั้นวันที่ 17 มี.ค.ส่งตรวจพบเชื้อโควิด-19 จึงเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐ, ในวันที่ 18 มี.ค.ยังรู้สึกตัวดีแต่มีอาการหอบเหนื่อย, วันที่ 19 มี.ค.แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์, วันที่ 22 มี.ค.หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้นเอ็กซ์เรย์พบปอดอักเสบรุนแรง, 6 เม.ย.ไม่รู้สึกตัว ความดันโลหิตตก และได้รับยากระตุ้นหัวใจ แต่ไม่ดีขึ้น จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 13 เม.ย.
ส่วนอีกรายเป็นชายไทยวัย 60 ปี มีประวัติเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย กลับมาถึงประเทศไทยวันที่ 24 มี.ค. จากนั้นวันที่ 2 เม.ย.เริ่มมีไข้สูง 38.4 องศาฯ ปวดเมื่อยกล้ามจึงเข้ารักษาที่ รพ.ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับส่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และ อาการแย่ลง จนกระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 14 เม.ย.