จากกรณีที่ ครม.เห็นชอบโครงการชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 เพื่อดูดซับปริมาณข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท โดยกำหนดเป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลาการทำสัญญาเงินกู้ ตั้งแต่วันที่1 พ.ย.62 –29ก.พ.63 ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ออกสินเชื่อ
จากผลการดำเนินโครงการ ณ วันที่ 24 ก.พ.63 มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ขอสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท และมีปริมาณข้าวเปลือกรวม 1.45 ล้านตัน ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง และมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว และราคาข้าวเปลือกเหนียว ยังคงมีความผันผวน ทางคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) จึงมีมติ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.63 อนุมัติการดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม ตามที่ธ.ก.ส.เสนอ เพื่อเป็นการชะลอการขายข้าวเปลือก และรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยเมื่อวานนี้ (7เม.ย.) ครม.เห็นชอบตามมติ นบข. ให้ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก เพิ่มวงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการทำสัญญาเงินกู้ ตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม โดยรับทราบ
1. เพิ่มเป้าหมายปริมาณการชะลอขายข้าวเปลือกเป็น 1.5 ล้านตัน จากเดิม 1 ล้านตัน
2. ปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อโครงการเป็น 15,000 ล้านบาท จากเดิม 10,000 ล้านบาท
3. ขยายระยะเวลาการทำสัญญาให้สิ้นสุด วันที่ 30 เม.ย.63 สำหรับภาคใต้ขยายถึงวันที่ 31 ก.ค.63 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 ก.พ.63
และเห็นชอบให้จัดสรรวงเงินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกปีการผลิต2562/63 วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท โดยให้ธ.ก.ส. ขอจัดสรรวงเงินงบประมาณประจำปี 2564 และปีถัดๆไป ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ชำระเงินชดเชยดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน ของธ.ก.ส. บวก 1 ต่อปี และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงินค่าขนย้ายข้าวเปลือก และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว
อีกทั้งยังเห็นชอบให้จัดสรรค่าฝากเก็บ และรักษาคุณภาพข้าวเปลือกโครงการฯ (เพิ่มเติม) วงเงินรวม 750 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกโครงการเป็น 1.5 ล้านตัน เพื่อจ่ายเป็นค่าฝากเก็บ รักษาคุณภาพข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกร ตันละ 1,500 บาท =และสถาบันเกษตรกรที่รับฝากไว้ ตันละ 1,500 บาท แบ่งออกเป็นสถาบันเกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ฝากข้าวได้รับตันละ 500 บาท ซึ่งต้องเก็บข้าวไว้อย่างน้อย 1 เดือน ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส.ขอจัดสรรงบประมาณ จากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพิจารณา ต่อไป
จากผลการดำเนินโครงการ ณ วันที่ 24 ก.พ.63 มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ขอสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท และมีปริมาณข้าวเปลือกรวม 1.45 ล้านตัน ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง และมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว และราคาข้าวเปลือกเหนียว ยังคงมีความผันผวน ทางคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) จึงมีมติ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.63 อนุมัติการดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม ตามที่ธ.ก.ส.เสนอ เพื่อเป็นการชะลอการขายข้าวเปลือก และรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยเมื่อวานนี้ (7เม.ย.) ครม.เห็นชอบตามมติ นบข. ให้ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก เพิ่มวงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการทำสัญญาเงินกู้ ตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม โดยรับทราบ
1. เพิ่มเป้าหมายปริมาณการชะลอขายข้าวเปลือกเป็น 1.5 ล้านตัน จากเดิม 1 ล้านตัน
2. ปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อโครงการเป็น 15,000 ล้านบาท จากเดิม 10,000 ล้านบาท
3. ขยายระยะเวลาการทำสัญญาให้สิ้นสุด วันที่ 30 เม.ย.63 สำหรับภาคใต้ขยายถึงวันที่ 31 ก.ค.63 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 ก.พ.63
และเห็นชอบให้จัดสรรวงเงินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกปีการผลิต2562/63 วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท โดยให้ธ.ก.ส. ขอจัดสรรวงเงินงบประมาณประจำปี 2564 และปีถัดๆไป ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ชำระเงินชดเชยดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน ของธ.ก.ส. บวก 1 ต่อปี และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงินค่าขนย้ายข้าวเปลือก และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว
อีกทั้งยังเห็นชอบให้จัดสรรค่าฝากเก็บ และรักษาคุณภาพข้าวเปลือกโครงการฯ (เพิ่มเติม) วงเงินรวม 750 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกโครงการเป็น 1.5 ล้านตัน เพื่อจ่ายเป็นค่าฝากเก็บ รักษาคุณภาพข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกร ตันละ 1,500 บาท =และสถาบันเกษตรกรที่รับฝากไว้ ตันละ 1,500 บาท แบ่งออกเป็นสถาบันเกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ฝากข้าวได้รับตันละ 500 บาท ซึ่งต้องเก็บข้าวไว้อย่างน้อย 1 เดือน ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส.ขอจัดสรรงบประมาณ จากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพิจารณา ต่อไป