ข่าวปนคน คนปนข่าว
**แกร็บพอโดนจับโป๊ะแอบขึ้น "จีพี"ร้านอาหาร ฉวยโอกาส ก็ทำเป็นหล่อ บอกจะลดจีพี เพื่อให้ผ่านโควิด-19 ด้วยกัน อ้าวก็เท่ากับเงื่อนไขปกตินี่พี่ !!
เมื่อวันก่อนเตือนดีลิเวอรี่เจ้าใหญ่ เจ้าดัง เป็นเรื่องขึ้นมาเพราะถูกจับไต๋ได้ว่า ฉวยโอกาสช่วงวิกฤตโควิด-19 ร้านอาหารปิด คนอยู่บ้าน Work from home ต้องพึ่งพาดีลิเวอรี่ ดีมานด์พุ่งสูง เลยขึ้นราคาค่าส่ง ขึ้นค่าคอมมิชชั่นร้าน
สถานการณ์แบบนี้ใครคิดค้าหากำไรเกินควร หากินบนความทุกข์ของคน ของร้านค้า ที่เดือดร้อนหนักต้องถามว่าสมควรหรือไม่ เลยเขียนเตือนกันไว้ให้ระวังธุรกิจจะพัง ระวังจะถูกลูกค้าสอนบทเรียน
เมื่อวาน"แกร็บ" จึงต้องรีบออกมาโปรยสารสื่อความ ด้วยการเปิดโครงการ “แกร็บแคร์”(GrabCares)#เราจะผ่านมันไปด้วยกัน ด้วยการช่วยเหลือกับ 4 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ พาร์ตเนอร์ร้านอาหาร หน่วยงานราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ คนขับ-จัดส่งอาหาร-ผู้ใช้บริการ
สาระสำคัญที่คนสนใจพอดีกับที่ถูกโซเชียลฯ ถล่มก็ตรงที่บอกว่า จะ“ลดค่าคอมมิชชันร้านอาหารจาก 35% เป็น 30% , เร่งขั้นตอนเปิดร้านบนแกร็บฟู้ดใน 7-10 วัน , รับคนจัดส่ง 64,000 อัตรา , ให้พาร์ตเนอร์คนขับจัดส่งอาหารด้วยรถยนต์ได้
"แกร็บแคร์" ช่างพูดแล้วดูหล่อ ดูดีเหลือเกิน.... แต่เดี่ยวก่อน ! ถ้าลองดูจากไส้ในลึกๆ ก็จะเห็นว่า "แกร็บ" แทบไม่ต้องขยับปรับอะไร ยังเขี้ยวเหมือนเดิม
ดูจากสถานการณ์ก่อนที่การแพร่ระบาดโควิด-19 จะรุนแรง และเริ่มรุนแรงขึ้น มาตรการเข้มข้นปิดเมือง คนอยู่บ้าน ร้านรวงปิด ตัวเลขที่ "แกร็บ" มีในมือคือ ร้านอาหาร ผู้ประกอบการรายย่อย แห่มาสมัครเยอะมาก เฉลี่ย 2,000 ร้านค้าต่อวัน ซึ่งสูงขึ้นกว่าภาวะปกติถึง 3 เท่า
"แกร็บ" เห็นว่า จะต้องอัปราคาค่าคอมมิชชั่นร้านขึ้น จาก 30% เป็น 35% แต่ข่าวแพร่ออกไปถูกกระแสร้องขึ้นมาก่อนว่า "โหดไปมั้ย" ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นๆ เขาก็เก็บกัน 20-25%
โดนกดดันเลยพูดหล่อๆ "แกร็บแคร์" ลดให้จากราคาสูงสุด (ที่คิดจะเก็บอัตราใหม่จากร้านค้ารายใหม่ที่กำลังดิ้นรนหาทางรอด) 35% ให้แล้วนะ เก็บเท่ากันทั้งรายเก่า รายใหม่ 30% มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย.
ถามว่า ลดยังไง ? ก็คงอัตราค่าคอมมิชชั่นนี้ไว้ที่ 30% แต่แรกหรือเปล่า... ไหนจะเงื่อนไขหยุมหยิม แอบซ่อนเก็บ ซ่อนชาร์จ คำสั่งซื้อเท่านั้นเท่านี้ ขอเก็บเพิ่มจากพาร์ตเนอร์ จากลูกค้า โดยที่เอาจริงๆ คนขับ คนตกงานที่เปลี่ยนอาชีพมาจับแกร็บ ก็แทบไม่ได้มีผลตอบแทนเพิ่ม เสี่ยงชีวิตด้วยการยังคงทำงานไปทุกที่ใน กทม. และข้างเคียง ประเด็นราคานี้ วานเอาให้กระจ่างกันหน่อย
ทุกวันนี้ ธุรกิดีลิเวอรี่ของ "แกร็บ" เกือบๆ จะเข้าข่ายผูกขาด เพราะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแผนจะขยายใฟ้ครอบคลุมต่างจังหวัดมากขึ้น ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นเริ่มแข่งขันลำบาก
เห็นได้จากงานนี้ ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นๆ เก็บค่าคอมมิชชั่น ก็พอสมควร แต่ยืนราคาเท่าเดิม ทั้งก่อน และหลังโควิด-19 ระบาดหนัก
งานนี้ ไม่พ้น "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้องสั่งการ ... จะนิ่งดูดายไม่ได้ ภาวะวิกฤตแบบนี้ ธุรกิจดีลิเวอรี่ จะทำอะไร กำหนดราคาบริการ ค่าคอมมิชชั่น อะไรตามอำเภอใจ จะได้อย่างไร ?
ประชาชน ผู้ประกอบการเดือดร้อนอยู่แล้วต้องมาทนกับความเห็นแก่ได้ของธุรกิจเหล่านี้อีก เจ็บ จน และ ต่อไปจะเจ๊ง หรือปล่าวไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พาณิชย์ รับผิดชอบเต็มๆ
โปรดติดตามต่อไป เรื่องนี้ "จุรินทร์" จะทำอย่างไร หรือ จะซ้ำรอย หน้ากากอนามัย ไข่ไก่ มะงุมมะหงาหรา หรือว่า เราจะหวังอะไรไม่ได้เลย !!
**“สุริยะ”จัดฟรี หน้ากากอนามัย 10 ล้านชิ้น ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน งานนี้ตบหน้า "จุรินทร์" อีกแล้วครับท่าน**
หน้ากากอนามัยสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโควิด--19 ประชาชนต้องการจะมีไว้ใช้ วันนี้ก็ยังหาซื้อไม่ได้ในตลาดหรือร้านขายยาทั่วไป
เพราะหาซื้อไม่ได้และจำเป็น งานนี้กระทรวงอุตสาหกรรม "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รัฐมนตรีว่าการ จึงได้ให้กระทรวงร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการผลิตและส่งมอบหน้ากากอนามัยผ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี ดำเนินการผลิตและแจกจ่ายแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลฟรี จำนวน 10 ล้านชิ้น
ส.อ.ท.และ เอกชนได้คัดเลือกโรงงานผลิต 5 ราย ดำเนินการผลิตแล้ว และจะเริ่มแจกจ่ายหน้ากากผ้าล็อตแรก จำนวน 1 ล้านชิ้น ให้ถึงมือประชาชนในกทม. ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะเริ่มส่ง วันที่ 8 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป โดยจะถึงแต่ละครัวเรือนภายในวันที่ 11 เม.ย.นี้
แจกกันฟรีๆ ประชาชนไม่ต้องลงทะเบียนอะไรให้ยุ่งยาก เพราะไปรษณีย์มีข้อมูลอยู่แล้ว จะจัดส่งตามทะเบียนบ้านของทุกครัวเรือนในเขต กทม. ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวนกว่า 3,050,000 ครัวเรือน คิดรวมกว่า 5,600,000 ชิ้น ตามบัญชีรายชื่อในทะเบียนบ้าน 1 คนต่อ 1 ชิ้น โดยครัวเรือนที่จะรับหน้ากากเป็นลำดับแรก จะเริ่มจากเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ รหัสไปรษณีย์ 10100 และจัดส่งจนครบทั้ง 50 เขตของกรุงเทพฯ ได้รับครบถ้วนภายในเดือนเม.ย.นี้
สำหรับในส่วนที่เหลือจำนวน 4,400,000 ชิ้นจะแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่เขตปริมณฑล ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวนประมาณ 2.5 ล้านชิ้น และพื้นที่อื่นที่มีความเสี่ยง เช่น จ.นนทบุรี สมุทรปราการ จังหวัดภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน เช่น จ.นราธิวาส และ ภูเก็ต เป็นต้น รวมถึงพนักงานบริการที่มีความเสี่ยง เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย 40,000 ชิ้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. 20,000 ชิ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 300,000 ชิ้น โรงพยาบาล 18 แห่ง 180,000 ชิ้น รถไฟฟ้าบีทีเอส และ เอ็มอาร์ที 5,000 ชิ้น เป็นต้น โดยทั้ง 10 ล้านชิ้น จะมีการแจกได้ครบภายในเดือนพ.ค.
วิธีดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ์อย่างทั่วถึง และไม่ต้องยุ่งยาก แต่หากพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับ ก็สามารถตรวจเช็กผ่านทางเว็บไซต์ www.หน้ากากไทยต้านโควิด.com โดยร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อสามารถแจ้งในกรณีไม่ได้รับพัสดุหรือพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับได้อีกด้วย
ไม่ได้แค่นี้ "กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่าสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตัดงบประมาณมาสมทบเพื่อเพิ่มเติมในโครงการผลิตหน้ากากผ้า แจกฟรีเพิ่มอีก 2 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขนส่ง รวมงบทั้งสิ้น 67 ล้านบาท โดยที่เหลือ 65 ล้านบาท ครม.ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 งบกลาง จำนวน 65 ล้านบาท ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ
พูดไปทำไมมี ถ้ากรณีหน้ากากอนามัยใช้วิธีนี้แต่แรก ป่านนี้ทุกครัวเรือนทั่วไทยก็มีหน้ากากอนามัยไว้ใช้ไปตั้งนานแล้ว
หมดหวังกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ก็ยังได้ กระทรวงอุตสาหกรรม มาบรรเทา
งานนี้ตบหน้า "จุรินทร์" อีกแล้วครับท่าน.
**พันล้านไม่พอ โรงพยาบาลต้องการอีกเยอะ 'ฐากร' กสทช. ดึงค่าปรับเติมกองทุนอีก 251 ล้าน ช่วยรพ. สู้โควิด-19
จัดว่า กสทช.เป็นหน่วยงานที่คิดนอกกรอบ ทลายข้อจำกัดเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่เกลี่ยงบฯ ที่ไม่จำเป็นในองค์กรมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อมอบให้โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สู้ศึก"สงครามโรค" ไวรัสโควิด-19
จากที่ได้เงินมา 1,000 ล้านบาท เปิดไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
ฟังว่า ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ที่ประชุมได้รับรายงานจาก กสทช. ถึงจำนวนรายชื่อโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าโครงการฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน ในการสนับสนุนเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดโอกาสให้โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ของรัฐ ขอรับการสนับสนุนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น
ล่าสุดโรงพยาบาลที่ส่งเอกสารมาครบถ้วน 50 แห่ง วงเงิน 831 ล้านบาท จากที่มีการขอรับการสนับสนุนแล้วกว่า 130 แห่ง วงเงินรวม 3,000-4,000 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือให้กลับไปทำเอกสารเพิ่มเติม ให้ครบถ้วนเพื่อเร่งพิจารณาต่อไป
นี่สะท้อนให้เห็นว่า บุคคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ของเรา ต้องการการสนับสนุนอีกเยอะมาก
"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. เลยปิ๊งไอเดีย รวบรวมเงินค่าปรับต่างๆ เช่น ค่าปรับโครงข่ายล่ม ค่าปรับนำเสนอเนื้อหาไม่เหมาะสมของทีวีดิจิทัล ซึ่งขณะนี้สามารถหาเงินมารวมกับเงิน 1,000 ล้านบาท ได้อีกจำนวน 251 ล้านบาท คาดว่าภายในสัปดาห์นี้คณะทำงานจะเร่งพิจารณาโรงพยาบาลที่ส่งเอกสารมาครบถ้วน จำนวน 50 แห่งให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอที่ประชุม กทปส. และที่ประชุม กสทช.ในการเดินหน้ามอบเงินให้โรงพยาบาลดังกล่าวภายในสัปดาห์หน้า
แต่ขนาดทำดี กสทช. มีความตั้งใจสูงที่จะช่วยสู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ ก็ยังอุตสาห์มี "กลุ่มมิจฉาชีพ" คิดแสวงหาประโยชน์กับโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ ไปเที่ยวแอบอ้างกับโรงพยาบาล ว่าสามารถรับลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินช่วยเหลือได้ โดยอ้างว่าต้องเสนอผ่านหน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้ หากยื่นให้ต้องเสียค่าหัวคิว 10% เพื่อให้ผ่านเงื่อนไข กสทช.
แหม !! ก็ช่างคิดกันได้ ร้อนถึง "ฐากร" ต้องออกมาย้ำว่า อย่าหลงเชื่อพวกนี้เด็ดขาด ขอให้โรงพยาบาลที่ต้องการขอเงินช่วยเหลือ ติดต่อมายังสำนักงาน กสทช.โดยตรงแห่งเดียวเท่านั้น กสทช. จะส่งเงินตรงถึงโรงพยาบาลเอง กสทช. ทำงานอย่างโปร่งใส ...
ไหนๆ ก็พูดถึง กสทช.แล้ว ก็ต้องพูดถึง อีกหนึ่งโครงการที่ช่วยประชาชนที่ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" หรือ "Work from home" กัน
แว่วว่า ในที่ประชุม กทปส. ยังมีมติเห็นชอบในการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (โมบาย บรอดแบนด์) เพิ่ม 10 GBต่อคน ต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นเวลา 1 เดือน โดยในวันที่ 10 เม.ย. 63 จะเริ่มให้ประชาชน กดรหัส USSDไปยังโอเปอเรเตอร์ ที่ต้องการ คือ 170 ตามด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก #โทร.ออก
หลังจากนั้นใช้เวลาไม่เกิน 3-5 นาที ในการตรวจสอบว่า ประชาชน จะไม่ใช้สิทธิ์เกิน 1 สิทธิ์ ก็จะสามารถใช้งานได้ทันที
ด้านโอเปอเรเตอร์มือถืองานนี้แม้จะเรียกได้ว่า กระอักเลือด โดน 2 เด้ง
คือ 1. การเพิ่มเน็ต 10 GB โดย กสทช. สนับสนุนด้วยเงิน 100 บาท ต่อเลขหมาย เป็นการขายต่ำกว่าทุนมาก เพราะในตลาดแพ็กเสริมสูงสุด 8 GB 30 วันราคา 599 บาท ยิ่งมีคนลงทะเบียนใช้มากเท่าไร โอเปอเรเตอร์ ก็ขาดทุนมากเท่านั้น เพราะทุก 1 เลขหมาย โอเปอเรเตอร์ ขาดทุน 500 บาท และ 2. ลูกค้าที่เคยซื้อแพ็กเสริมแต่ละเดือน ก็จะไม่ซื้อเพิ่ม เพราะได้จาก กสทช. แล้ว ซึ่งทั้ง 3 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ รวมกันแล้วคาดว่าเสียหายกว่า 5,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มเน็ต 10 GB ให้ประชาชน คาดว่า จะใช้เงินจาก กทปส. ประมาณ 3 พันล้านบาท และจะให้เฉพาะผู้ใช้บริการปัจจุบันเท่านั้น ไม่รวมคนที่ซื้อซิมการ์ดเบอร์ใหม่แต่อย่างใด โดยในวันที่ 10 เม.ย.63
สำหรับเน็ตบ้านนั้น ผู้ให้บริการจะอัปสปีดให้ เป็น 100 Mbps หรือความเร็วตามคาปาซิตี้ ที่สามารถทำได้ ทันที่ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.63 เป็นระยะเวลา 30 วัน โดย กทปส. จะอุดหนุนให้ครัวเรือน หรือพอร์ต ละ 50 บาท ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 150 ล้านบาท
พูดง่ายๆ ทุก 1 เลขหมายที่เพิ่มความเร็วเน็ต 10 GB ถือเป็นการกินเนื้อตัวเอง ใครที่คิดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์โอเปอเรเตอร์ ต้องคิดใหม่ เอาตัวเลขมากางพิสูจน์กัน ก็จะเห็นได้ชัดเจน แต่ที่โอเปอเรเตอร์ยอม ก็เพราะเป็นระยะสั้นแค่ 30 วัน และทุกโอเปอเรเตอร์ ต้องการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล "ให้คนอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน" ไม่ใช่เหมือนที่บางหน่วยงานคิด หรือ พยายามจับผิดว่า กสทช. เอื้อประโยชน์เอกชน
เคลียร์ๆ กันไป ดูว่า กสทช. จัดให้แบบนี้ ใครได้ประโยชน์ ถ้าไม่ใช่ประชาชน คิดอย่างนี้ดีกว่า .
-------------------------
รูป- แกร็บ
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ - จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
-ฐากร ตัณฑสิทธิ์
**แกร็บพอโดนจับโป๊ะแอบขึ้น "จีพี"ร้านอาหาร ฉวยโอกาส ก็ทำเป็นหล่อ บอกจะลดจีพี เพื่อให้ผ่านโควิด-19 ด้วยกัน อ้าวก็เท่ากับเงื่อนไขปกตินี่พี่ !!
เมื่อวันก่อนเตือนดีลิเวอรี่เจ้าใหญ่ เจ้าดัง เป็นเรื่องขึ้นมาเพราะถูกจับไต๋ได้ว่า ฉวยโอกาสช่วงวิกฤตโควิด-19 ร้านอาหารปิด คนอยู่บ้าน Work from home ต้องพึ่งพาดีลิเวอรี่ ดีมานด์พุ่งสูง เลยขึ้นราคาค่าส่ง ขึ้นค่าคอมมิชชั่นร้าน
สถานการณ์แบบนี้ใครคิดค้าหากำไรเกินควร หากินบนความทุกข์ของคน ของร้านค้า ที่เดือดร้อนหนักต้องถามว่าสมควรหรือไม่ เลยเขียนเตือนกันไว้ให้ระวังธุรกิจจะพัง ระวังจะถูกลูกค้าสอนบทเรียน
เมื่อวาน"แกร็บ" จึงต้องรีบออกมาโปรยสารสื่อความ ด้วยการเปิดโครงการ “แกร็บแคร์”(GrabCares)#เราจะผ่านมันไปด้วยกัน ด้วยการช่วยเหลือกับ 4 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ พาร์ตเนอร์ร้านอาหาร หน่วยงานราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ คนขับ-จัดส่งอาหาร-ผู้ใช้บริการ
สาระสำคัญที่คนสนใจพอดีกับที่ถูกโซเชียลฯ ถล่มก็ตรงที่บอกว่า จะ“ลดค่าคอมมิชชันร้านอาหารจาก 35% เป็น 30% , เร่งขั้นตอนเปิดร้านบนแกร็บฟู้ดใน 7-10 วัน , รับคนจัดส่ง 64,000 อัตรา , ให้พาร์ตเนอร์คนขับจัดส่งอาหารด้วยรถยนต์ได้
"แกร็บแคร์" ช่างพูดแล้วดูหล่อ ดูดีเหลือเกิน.... แต่เดี่ยวก่อน ! ถ้าลองดูจากไส้ในลึกๆ ก็จะเห็นว่า "แกร็บ" แทบไม่ต้องขยับปรับอะไร ยังเขี้ยวเหมือนเดิม
ดูจากสถานการณ์ก่อนที่การแพร่ระบาดโควิด-19 จะรุนแรง และเริ่มรุนแรงขึ้น มาตรการเข้มข้นปิดเมือง คนอยู่บ้าน ร้านรวงปิด ตัวเลขที่ "แกร็บ" มีในมือคือ ร้านอาหาร ผู้ประกอบการรายย่อย แห่มาสมัครเยอะมาก เฉลี่ย 2,000 ร้านค้าต่อวัน ซึ่งสูงขึ้นกว่าภาวะปกติถึง 3 เท่า
"แกร็บ" เห็นว่า จะต้องอัปราคาค่าคอมมิชชั่นร้านขึ้น จาก 30% เป็น 35% แต่ข่าวแพร่ออกไปถูกกระแสร้องขึ้นมาก่อนว่า "โหดไปมั้ย" ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นๆ เขาก็เก็บกัน 20-25%
โดนกดดันเลยพูดหล่อๆ "แกร็บแคร์" ลดให้จากราคาสูงสุด (ที่คิดจะเก็บอัตราใหม่จากร้านค้ารายใหม่ที่กำลังดิ้นรนหาทางรอด) 35% ให้แล้วนะ เก็บเท่ากันทั้งรายเก่า รายใหม่ 30% มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย.
ถามว่า ลดยังไง ? ก็คงอัตราค่าคอมมิชชั่นนี้ไว้ที่ 30% แต่แรกหรือเปล่า... ไหนจะเงื่อนไขหยุมหยิม แอบซ่อนเก็บ ซ่อนชาร์จ คำสั่งซื้อเท่านั้นเท่านี้ ขอเก็บเพิ่มจากพาร์ตเนอร์ จากลูกค้า โดยที่เอาจริงๆ คนขับ คนตกงานที่เปลี่ยนอาชีพมาจับแกร็บ ก็แทบไม่ได้มีผลตอบแทนเพิ่ม เสี่ยงชีวิตด้วยการยังคงทำงานไปทุกที่ใน กทม. และข้างเคียง ประเด็นราคานี้ วานเอาให้กระจ่างกันหน่อย
ทุกวันนี้ ธุรกิดีลิเวอรี่ของ "แกร็บ" เกือบๆ จะเข้าข่ายผูกขาด เพราะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแผนจะขยายใฟ้ครอบคลุมต่างจังหวัดมากขึ้น ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นเริ่มแข่งขันลำบาก
เห็นได้จากงานนี้ ดีลิเวอรี่เจ้าอื่นๆ เก็บค่าคอมมิชชั่น ก็พอสมควร แต่ยืนราคาเท่าเดิม ทั้งก่อน และหลังโควิด-19 ระบาดหนัก
งานนี้ ไม่พ้น "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้องสั่งการ ... จะนิ่งดูดายไม่ได้ ภาวะวิกฤตแบบนี้ ธุรกิจดีลิเวอรี่ จะทำอะไร กำหนดราคาบริการ ค่าคอมมิชชั่น อะไรตามอำเภอใจ จะได้อย่างไร ?
ประชาชน ผู้ประกอบการเดือดร้อนอยู่แล้วต้องมาทนกับความเห็นแก่ได้ของธุรกิจเหล่านี้อีก เจ็บ จน และ ต่อไปจะเจ๊ง หรือปล่าวไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พาณิชย์ รับผิดชอบเต็มๆ
โปรดติดตามต่อไป เรื่องนี้ "จุรินทร์" จะทำอย่างไร หรือ จะซ้ำรอย หน้ากากอนามัย ไข่ไก่ มะงุมมะหงาหรา หรือว่า เราจะหวังอะไรไม่ได้เลย !!
**“สุริยะ”จัดฟรี หน้ากากอนามัย 10 ล้านชิ้น ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน งานนี้ตบหน้า "จุรินทร์" อีกแล้วครับท่าน**
หน้ากากอนามัยสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโควิด--19 ประชาชนต้องการจะมีไว้ใช้ วันนี้ก็ยังหาซื้อไม่ได้ในตลาดหรือร้านขายยาทั่วไป
เพราะหาซื้อไม่ได้และจำเป็น งานนี้กระทรวงอุตสาหกรรม "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รัฐมนตรีว่าการ จึงได้ให้กระทรวงร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการผลิตและส่งมอบหน้ากากอนามัยผ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี ดำเนินการผลิตและแจกจ่ายแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลฟรี จำนวน 10 ล้านชิ้น
ส.อ.ท.และ เอกชนได้คัดเลือกโรงงานผลิต 5 ราย ดำเนินการผลิตแล้ว และจะเริ่มแจกจ่ายหน้ากากผ้าล็อตแรก จำนวน 1 ล้านชิ้น ให้ถึงมือประชาชนในกทม. ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะเริ่มส่ง วันที่ 8 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป โดยจะถึงแต่ละครัวเรือนภายในวันที่ 11 เม.ย.นี้
แจกกันฟรีๆ ประชาชนไม่ต้องลงทะเบียนอะไรให้ยุ่งยาก เพราะไปรษณีย์มีข้อมูลอยู่แล้ว จะจัดส่งตามทะเบียนบ้านของทุกครัวเรือนในเขต กทม. ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวนกว่า 3,050,000 ครัวเรือน คิดรวมกว่า 5,600,000 ชิ้น ตามบัญชีรายชื่อในทะเบียนบ้าน 1 คนต่อ 1 ชิ้น โดยครัวเรือนที่จะรับหน้ากากเป็นลำดับแรก จะเริ่มจากเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ รหัสไปรษณีย์ 10100 และจัดส่งจนครบทั้ง 50 เขตของกรุงเทพฯ ได้รับครบถ้วนภายในเดือนเม.ย.นี้
สำหรับในส่วนที่เหลือจำนวน 4,400,000 ชิ้นจะแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่เขตปริมณฑล ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวนประมาณ 2.5 ล้านชิ้น และพื้นที่อื่นที่มีความเสี่ยง เช่น จ.นนทบุรี สมุทรปราการ จังหวัดภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน เช่น จ.นราธิวาส และ ภูเก็ต เป็นต้น รวมถึงพนักงานบริการที่มีความเสี่ยง เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย 40,000 ชิ้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. 20,000 ชิ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 300,000 ชิ้น โรงพยาบาล 18 แห่ง 180,000 ชิ้น รถไฟฟ้าบีทีเอส และ เอ็มอาร์ที 5,000 ชิ้น เป็นต้น โดยทั้ง 10 ล้านชิ้น จะมีการแจกได้ครบภายในเดือนพ.ค.
วิธีดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ์อย่างทั่วถึง และไม่ต้องยุ่งยาก แต่หากพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับ ก็สามารถตรวจเช็กผ่านทางเว็บไซต์ www.หน้ากากไทยต้านโควิด.com โดยร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อสามารถแจ้งในกรณีไม่ได้รับพัสดุหรือพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับได้อีกด้วย
ไม่ได้แค่นี้ "กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่าสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตัดงบประมาณมาสมทบเพื่อเพิ่มเติมในโครงการผลิตหน้ากากผ้า แจกฟรีเพิ่มอีก 2 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขนส่ง รวมงบทั้งสิ้น 67 ล้านบาท โดยที่เหลือ 65 ล้านบาท ครม.ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 งบกลาง จำนวน 65 ล้านบาท ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ
พูดไปทำไมมี ถ้ากรณีหน้ากากอนามัยใช้วิธีนี้แต่แรก ป่านนี้ทุกครัวเรือนทั่วไทยก็มีหน้ากากอนามัยไว้ใช้ไปตั้งนานแล้ว
หมดหวังกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ก็ยังได้ กระทรวงอุตสาหกรรม มาบรรเทา
งานนี้ตบหน้า "จุรินทร์" อีกแล้วครับท่าน.
**พันล้านไม่พอ โรงพยาบาลต้องการอีกเยอะ 'ฐากร' กสทช. ดึงค่าปรับเติมกองทุนอีก 251 ล้าน ช่วยรพ. สู้โควิด-19
จัดว่า กสทช.เป็นหน่วยงานที่คิดนอกกรอบ ทลายข้อจำกัดเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่เกลี่ยงบฯ ที่ไม่จำเป็นในองค์กรมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อมอบให้โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สู้ศึก"สงครามโรค" ไวรัสโควิด-19
จากที่ได้เงินมา 1,000 ล้านบาท เปิดไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
ฟังว่า ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ที่ประชุมได้รับรายงานจาก กสทช. ถึงจำนวนรายชื่อโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าโครงการฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน ในการสนับสนุนเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดโอกาสให้โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ของรัฐ ขอรับการสนับสนุนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น
ล่าสุดโรงพยาบาลที่ส่งเอกสารมาครบถ้วน 50 แห่ง วงเงิน 831 ล้านบาท จากที่มีการขอรับการสนับสนุนแล้วกว่า 130 แห่ง วงเงินรวม 3,000-4,000 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือให้กลับไปทำเอกสารเพิ่มเติม ให้ครบถ้วนเพื่อเร่งพิจารณาต่อไป
นี่สะท้อนให้เห็นว่า บุคคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ของเรา ต้องการการสนับสนุนอีกเยอะมาก
"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. เลยปิ๊งไอเดีย รวบรวมเงินค่าปรับต่างๆ เช่น ค่าปรับโครงข่ายล่ม ค่าปรับนำเสนอเนื้อหาไม่เหมาะสมของทีวีดิจิทัล ซึ่งขณะนี้สามารถหาเงินมารวมกับเงิน 1,000 ล้านบาท ได้อีกจำนวน 251 ล้านบาท คาดว่าภายในสัปดาห์นี้คณะทำงานจะเร่งพิจารณาโรงพยาบาลที่ส่งเอกสารมาครบถ้วน จำนวน 50 แห่งให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอที่ประชุม กทปส. และที่ประชุม กสทช.ในการเดินหน้ามอบเงินให้โรงพยาบาลดังกล่าวภายในสัปดาห์หน้า
แต่ขนาดทำดี กสทช. มีความตั้งใจสูงที่จะช่วยสู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ ก็ยังอุตสาห์มี "กลุ่มมิจฉาชีพ" คิดแสวงหาประโยชน์กับโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ ไปเที่ยวแอบอ้างกับโรงพยาบาล ว่าสามารถรับลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินช่วยเหลือได้ โดยอ้างว่าต้องเสนอผ่านหน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้ หากยื่นให้ต้องเสียค่าหัวคิว 10% เพื่อให้ผ่านเงื่อนไข กสทช.
แหม !! ก็ช่างคิดกันได้ ร้อนถึง "ฐากร" ต้องออกมาย้ำว่า อย่าหลงเชื่อพวกนี้เด็ดขาด ขอให้โรงพยาบาลที่ต้องการขอเงินช่วยเหลือ ติดต่อมายังสำนักงาน กสทช.โดยตรงแห่งเดียวเท่านั้น กสทช. จะส่งเงินตรงถึงโรงพยาบาลเอง กสทช. ทำงานอย่างโปร่งใส ...
ไหนๆ ก็พูดถึง กสทช.แล้ว ก็ต้องพูดถึง อีกหนึ่งโครงการที่ช่วยประชาชนที่ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" หรือ "Work from home" กัน
แว่วว่า ในที่ประชุม กทปส. ยังมีมติเห็นชอบในการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (โมบาย บรอดแบนด์) เพิ่ม 10 GBต่อคน ต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นเวลา 1 เดือน โดยในวันที่ 10 เม.ย. 63 จะเริ่มให้ประชาชน กดรหัส USSDไปยังโอเปอเรเตอร์ ที่ต้องการ คือ 170 ตามด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก #โทร.ออก
หลังจากนั้นใช้เวลาไม่เกิน 3-5 นาที ในการตรวจสอบว่า ประชาชน จะไม่ใช้สิทธิ์เกิน 1 สิทธิ์ ก็จะสามารถใช้งานได้ทันที
ด้านโอเปอเรเตอร์มือถืองานนี้แม้จะเรียกได้ว่า กระอักเลือด โดน 2 เด้ง
คือ 1. การเพิ่มเน็ต 10 GB โดย กสทช. สนับสนุนด้วยเงิน 100 บาท ต่อเลขหมาย เป็นการขายต่ำกว่าทุนมาก เพราะในตลาดแพ็กเสริมสูงสุด 8 GB 30 วันราคา 599 บาท ยิ่งมีคนลงทะเบียนใช้มากเท่าไร โอเปอเรเตอร์ ก็ขาดทุนมากเท่านั้น เพราะทุก 1 เลขหมาย โอเปอเรเตอร์ ขาดทุน 500 บาท และ 2. ลูกค้าที่เคยซื้อแพ็กเสริมแต่ละเดือน ก็จะไม่ซื้อเพิ่ม เพราะได้จาก กสทช. แล้ว ซึ่งทั้ง 3 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ รวมกันแล้วคาดว่าเสียหายกว่า 5,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มเน็ต 10 GB ให้ประชาชน คาดว่า จะใช้เงินจาก กทปส. ประมาณ 3 พันล้านบาท และจะให้เฉพาะผู้ใช้บริการปัจจุบันเท่านั้น ไม่รวมคนที่ซื้อซิมการ์ดเบอร์ใหม่แต่อย่างใด โดยในวันที่ 10 เม.ย.63
สำหรับเน็ตบ้านนั้น ผู้ให้บริการจะอัปสปีดให้ เป็น 100 Mbps หรือความเร็วตามคาปาซิตี้ ที่สามารถทำได้ ทันที่ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.63 เป็นระยะเวลา 30 วัน โดย กทปส. จะอุดหนุนให้ครัวเรือน หรือพอร์ต ละ 50 บาท ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 150 ล้านบาท
พูดง่ายๆ ทุก 1 เลขหมายที่เพิ่มความเร็วเน็ต 10 GB ถือเป็นการกินเนื้อตัวเอง ใครที่คิดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์โอเปอเรเตอร์ ต้องคิดใหม่ เอาตัวเลขมากางพิสูจน์กัน ก็จะเห็นได้ชัดเจน แต่ที่โอเปอเรเตอร์ยอม ก็เพราะเป็นระยะสั้นแค่ 30 วัน และทุกโอเปอเรเตอร์ ต้องการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล "ให้คนอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน" ไม่ใช่เหมือนที่บางหน่วยงานคิด หรือ พยายามจับผิดว่า กสทช. เอื้อประโยชน์เอกชน
เคลียร์ๆ กันไป ดูว่า กสทช. จัดให้แบบนี้ ใครได้ประโยชน์ ถ้าไม่ใช่ประชาชน คิดอย่างนี้ดีกว่า .
-------------------------
รูป- แกร็บ
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ - จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
-ฐากร ตัณฑสิทธิ์