“คมนาคม” สั่งศึกษาปรับแบบทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ ตอน N 1 ผุดอุโมงค์ลอดใต้ดินผ่าน ม.เกษตรฯ แก้ปัญหาคัดค้าน ขณะที่ N 2 เบรก รอสรุปรูปแบบ N1 ก่อน เพื่อชง คจร.พร้อมกัน ลุยเพิ่มโครงข่ายเชื่อมพื้นที่ กทม.ตะวันออก-ตะวันตก
วันนี้ (26 มี.ค.) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้นำเสนอรูปแบบโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ซึ่งมี 2 แนวทาง ตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งที่ประชุมให้ กทพ.กลับไปพิจารณาแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงปรับรูปแบบการก่อสร้างจากทางด่วนยกระดับเป็นอุโมงค์ทางด่วน ได้หรือไม่ เนื่องจากช่วงเข้าสู่แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนงามวงศ์วานจนถึงแยกบางเขน ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังไม่เห็นด้วย กับการก่อสร้างทางด่วนทุกรูปแบบ
โดยหลักการรูปแบบก่อสร้างนั้น จะต้องมีความเป็นไปได้ทางด้านวิศวกรรม, เปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่าย ,ระยะเวลาในการก่อสร้าง,ความยากในการดำเนินโครงการ เช่น ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการคัดค้านจากภาคส่วนต่างๆ โดยให้เร่งศึกษาและนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
ส่วนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 จากแยกเกษตรฯ-นวมินทร์ เชื่อต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงินลงทุน 14,3742 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ(บอร์ด) กทพ. เห็นชอบแล้วนั้น จะต้องรอความขัดเจนของช่วง N1 สรุปมารวมกันก่อน เพราะถือเป็นโครงการเดียวกัน การนำเสนอ คจร.จะต้องเป็นโครงการเดียวกัน และภาพรวมโครงข่ายในการเชื่อมการเดินทางโซนตะวันออก-ตะวันตก( East –West Corridor)ส่วนการก่อสร้างจะแยก ตอน N2 ซึ่งมีความพร้อมมาดำเนินการก่อนได้
“ประเด็นอยู่ที่แบบ หากปรับเป็นอุโมงค์ทุกฝ่ายยอมรับก็เดินหน้าโครงการได้ เพราะที่ผ่านมา ทางม.เกษตรฯ ไม่ยอมรับทางด่วนทุกรูปแบบ ซึ่งตอนนั้นออกแบบเป็นทางยกระดับ ดังนั้น หากปรับเป็นอุโมงค์ อยู่ใต้ดิน ลอดผ่านเกษตรไป ไม่มีผลกระทบฝุ่น หรือบดบังทัศนียภาพ จึงให้ที่ปรึกษาไปทำการบ้านเพิ่มเติม เพื่อหาทางเดินหน้าต่อไป”
สำหรับตอนทดแทน N1 มี 2 แนวทางได้แก่ 1. แนวเส้นทางไปตามแนวถนนเลียบคลองบางบัวและคลองบางเขน มาเชื่อมต่อกับตอน N2 เข้าสู่แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน จนถึงแยกบางเขน โดยเส้นทางที่มุ่งสู่ทิศตะวันตก (ขาเข้า) มีเส้นทางไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต ส่วนเส้นทางที่มุ่งสู่ทิศตะวันออก (ขาออก) มีเส้นทางไปตามแนวคลองเปรมประชากร เชื่อมกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก
2. แนวเส้นทางตามแนวถนนเลียบคลองบางบัวและคลองบางเขนมาต่อเชื่อมกับตอน N2 เข้าสู่แยกเกษตรไปตามแนวถนนงามวงศ์วานข้ามแยกบางเขนแล้วเลี้ยวไปตามแนวคลองเปรมประชากรทั้งสองทิศทาง ซึ่งติดปัญหาเรื่อง EIA
ส่วนกรณีที่โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ล่าช้า ซึ่งจะกระทบต่อแผนการใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(TFF)ให้กทพ. หารือกระทรวงการคลังถึงวิธีการบริหารเงิน จัดการ TFF ซึ่งขณะนี้กทพ.ได้นำเงินบางส่วนจาก TFF มาลงทุนกับทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก จำนวน 30,437 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานส่วนของฐานราก โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย–ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. ในส่วนที่ทับซ้อนกับโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 มีระยะทางประมาณ 5.7 กม. ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติให้ กทพ. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับโครงการระบบทางด่วน ตอน N2 และให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดย รฟม. อยู่ระหว่างนำเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
วันนี้ (26 มี.ค.) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้นำเสนอรูปแบบโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ซึ่งมี 2 แนวทาง ตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งที่ประชุมให้ กทพ.กลับไปพิจารณาแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงปรับรูปแบบการก่อสร้างจากทางด่วนยกระดับเป็นอุโมงค์ทางด่วน ได้หรือไม่ เนื่องจากช่วงเข้าสู่แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนงามวงศ์วานจนถึงแยกบางเขน ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังไม่เห็นด้วย กับการก่อสร้างทางด่วนทุกรูปแบบ
โดยหลักการรูปแบบก่อสร้างนั้น จะต้องมีความเป็นไปได้ทางด้านวิศวกรรม, เปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่าย ,ระยะเวลาในการก่อสร้าง,ความยากในการดำเนินโครงการ เช่น ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการคัดค้านจากภาคส่วนต่างๆ โดยให้เร่งศึกษาและนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
ส่วนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 จากแยกเกษตรฯ-นวมินทร์ เชื่อต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงินลงทุน 14,3742 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ(บอร์ด) กทพ. เห็นชอบแล้วนั้น จะต้องรอความขัดเจนของช่วง N1 สรุปมารวมกันก่อน เพราะถือเป็นโครงการเดียวกัน การนำเสนอ คจร.จะต้องเป็นโครงการเดียวกัน และภาพรวมโครงข่ายในการเชื่อมการเดินทางโซนตะวันออก-ตะวันตก( East –West Corridor)ส่วนการก่อสร้างจะแยก ตอน N2 ซึ่งมีความพร้อมมาดำเนินการก่อนได้
“ประเด็นอยู่ที่แบบ หากปรับเป็นอุโมงค์ทุกฝ่ายยอมรับก็เดินหน้าโครงการได้ เพราะที่ผ่านมา ทางม.เกษตรฯ ไม่ยอมรับทางด่วนทุกรูปแบบ ซึ่งตอนนั้นออกแบบเป็นทางยกระดับ ดังนั้น หากปรับเป็นอุโมงค์ อยู่ใต้ดิน ลอดผ่านเกษตรไป ไม่มีผลกระทบฝุ่น หรือบดบังทัศนียภาพ จึงให้ที่ปรึกษาไปทำการบ้านเพิ่มเติม เพื่อหาทางเดินหน้าต่อไป”
สำหรับตอนทดแทน N1 มี 2 แนวทางได้แก่ 1. แนวเส้นทางไปตามแนวถนนเลียบคลองบางบัวและคลองบางเขน มาเชื่อมต่อกับตอน N2 เข้าสู่แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน จนถึงแยกบางเขน โดยเส้นทางที่มุ่งสู่ทิศตะวันตก (ขาเข้า) มีเส้นทางไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต ส่วนเส้นทางที่มุ่งสู่ทิศตะวันออก (ขาออก) มีเส้นทางไปตามแนวคลองเปรมประชากร เชื่อมกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก
2. แนวเส้นทางตามแนวถนนเลียบคลองบางบัวและคลองบางเขนมาต่อเชื่อมกับตอน N2 เข้าสู่แยกเกษตรไปตามแนวถนนงามวงศ์วานข้ามแยกบางเขนแล้วเลี้ยวไปตามแนวคลองเปรมประชากรทั้งสองทิศทาง ซึ่งติดปัญหาเรื่อง EIA
ส่วนกรณีที่โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ล่าช้า ซึ่งจะกระทบต่อแผนการใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(TFF)ให้กทพ. หารือกระทรวงการคลังถึงวิธีการบริหารเงิน จัดการ TFF ซึ่งขณะนี้กทพ.ได้นำเงินบางส่วนจาก TFF มาลงทุนกับทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก จำนวน 30,437 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานส่วนของฐานราก โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย–ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. ในส่วนที่ทับซ้อนกับโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 มีระยะทางประมาณ 5.7 กม. ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติให้ กทพ. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับโครงการระบบทางด่วน ตอน N2 และให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดย รฟม. อยู่ระหว่างนำเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)