วานนี้ (19 มี.ค.)นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการบริหารพรรค กรณี นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม กล่าวหาว่า มีขบวนการทุจริตหน้ากากอนามัย เกี่ยวข้องกับนักการเมืองหญิง ที่เป็นที่ปรึกษาของรมว.พาณิชย์ ซึ่งในความหมายนั้นทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ ปรึกษารมว.พาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ) เป็นการสร้างความเสียหายแก่พรรค ซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อโซเชียลฯ และสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ นายเทพไท ระบุว่า ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุในลักษณะนี้ พรรคมีมาตรฐานในการปฎิบัติกับสมาชิกพรรค ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคน เมื่อถูกกล่าวหาว่ามีพฤฒิกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต ก็จะต้องพิจารณาตัวเอง ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบในทันที เช่น
1. กรณีนายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับปลากระป๋องเน่า ที่ จ.พัทลุง 2. กรณีนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ถูกข้อกล่าวหาว่ามีเรื่องไม่มีความโปร่งใสในการจัดทำงบประมาณ 3. กรณีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ในคดีจัดซื้อรถดับเพลิง ซึ่งสมาชิกพรรคทั้ง 3 คนนี้ ได้แสดงสปิริตทางการเมืองโดยยื่นหนังสือการลาออกจากตำแหน่งทันที นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สมาชิกพรรค เป็นการรักษามาตรฐานทางการเมืองของพรรค โดยไม่มีการบีบบังคับใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในภายหลังจะมีผลการสอบสวนว่าไม่พบการกระทำความผิดก็ตาม แต่บุคคลเหล่านั้น ก็ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองให้สังคมได้ประจักษ์มาแล้ว
สำหรับกรณีของนางมัลลิกา เมื่อถูกข้อกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหน้ากากอนามัย ซึ่งขัดต่อข้อบังคับพรรค ข้อที่115 พรรคต้องดำเนินการในมาตรฐานเดียวกับสมาชิกพรรคทุกคน จึงขอให้คณะกรรมการบริหารพรรค ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ตามข้อบังคับพรรค ข้อ 121 และมีมติให้ นางมัลลิกา ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ ไว้ก่อน ถ้าการสอบสวนได้ข้อยุติว่า ไม่มีความผิด ก็สามารถแต่งตั้งเข้าไปรับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีได้อีกครั้ง
**ตั้ง"องอาจ"นั่งหัวโต๊ะสอบปมหน้ากาก
วันเดียวกันนี้ นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เผยว่านายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 17 มี.ค.63 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการกล่าวหาสมาชิกพรรค มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกักตุนและส่งออกหน้ากากอนามัย เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย
1. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน 2. นายอิสสระ สมชัย กรรมการ 3. ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ กรรมการ 4. นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการ 5. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ เลขานุการ
โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และให้รายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าพรรคทราบโดยเร็ว
** "อัจฉริยะ"แจ้งความกลับ"มัลลิกา"
ด้านนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ ที่ สน.ทุ่งสองห้อง กรณี นางมัลลิกา ตั้งทีมทนายความ แจ้งความดำเนินคดีกับตนเอง ในข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ กรณีที่ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ก พาดพิงบุคคลที่มีลักษณะที่เหมือนกับนางมัลลิกา กรณีกักตุนหน้ากากอนามัย โดยฝ่ายนางมัลลิกา ได้ไปแจ้งความ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท.
นายอัจฉริยะ เปิดเผยว่า ได้แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ กับนางมัลลิกา กับพวกรวม 5 คน โดยยืนยันว่า ในขณะที่ไลฟ์สด ไม่ได้เอ่ยขื่อบุคคลใด และไม่ได้รับงานใครมา ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงอะไร แต่ข้องใจ เพราะเชื่อว่ามึกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเป็นสินค้าควบคุม อยากได้ความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลการส่งออก และจำหน่ายหน้ากากอนามัยภายในประเทศ เนื่องจากตนได้รับข้อมูลมาว่า มีบริษัทผลิตหน้ากากอนามัยทั้งหมด 242 แห่ง แต่มีเพียง 7 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกเท่านั้น แล้วหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากบริษัทที่เหลืออีก 235 บริษัท หายไปไหน ทำไมถึงไม่ส่งให้กรมการค้าภายในจัดสรรจำหน่าย เพราะเชื่อว่า หากนำหน้ากากที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกมากระจายในประเทศ ก็จะเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่ต้องขาดแคลนอย่างทุกวันนึ้ เพราะมีกระบวนการที่พยายามนำหน้ากากเหล่านั้นส่งออก
**แจ้งดำเนินคดีอธิบดีกรมการค้าภายใน
นอกจากนี้ นายอัจฉริยะ ยังได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบช.ก. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีอาญาต่อ นายวิชัย โภชนกิจ อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน กับพวก ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยได้มอบเอกสารหนังสืออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหน้ากากอนามัย
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ที่ตนมาร้องทุกข์ เนื่องจากพบความผิดปกติในการพิจารณาอนุญาตส่งออกหน้ากากอนามัย ตามหลักฐานเอกสารหนังสืออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะช่วงเวลาการส่งออกที่ปรากฏในหนังสืออนุญาตดังกล่าว ที่มีการลงนามตั้งแต่ วันที่ 28 ก.พ. แต่กลับมีการส่งสินค้าในช่วงวันที่ 17 มี.ค. วันเดียวกับที่หนังสืออนุญาตจะหมดอายุ จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นวิธีเร่งระบายสินค้า หรือเลี่ยงการตรวจสอบหรือไม่
"ผมได้ทำหนังสือสอบถามข้อเท็จไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ วันนี้จึงจะเดินทางไปสอบถามขอข้อมูลการส่งออกหน้ากากกับอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผมมีว่าตรงกันหรือไม่" นายอัจฉริยะ กล่าว
1. กรณีนายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับปลากระป๋องเน่า ที่ จ.พัทลุง 2. กรณีนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ถูกข้อกล่าวหาว่ามีเรื่องไม่มีความโปร่งใสในการจัดทำงบประมาณ 3. กรณีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ในคดีจัดซื้อรถดับเพลิง ซึ่งสมาชิกพรรคทั้ง 3 คนนี้ ได้แสดงสปิริตทางการเมืองโดยยื่นหนังสือการลาออกจากตำแหน่งทันที นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สมาชิกพรรค เป็นการรักษามาตรฐานทางการเมืองของพรรค โดยไม่มีการบีบบังคับใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในภายหลังจะมีผลการสอบสวนว่าไม่พบการกระทำความผิดก็ตาม แต่บุคคลเหล่านั้น ก็ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองให้สังคมได้ประจักษ์มาแล้ว
สำหรับกรณีของนางมัลลิกา เมื่อถูกข้อกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหน้ากากอนามัย ซึ่งขัดต่อข้อบังคับพรรค ข้อที่115 พรรคต้องดำเนินการในมาตรฐานเดียวกับสมาชิกพรรคทุกคน จึงขอให้คณะกรรมการบริหารพรรค ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ตามข้อบังคับพรรค ข้อ 121 และมีมติให้ นางมัลลิกา ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ ไว้ก่อน ถ้าการสอบสวนได้ข้อยุติว่า ไม่มีความผิด ก็สามารถแต่งตั้งเข้าไปรับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีได้อีกครั้ง
**ตั้ง"องอาจ"นั่งหัวโต๊ะสอบปมหน้ากาก
วันเดียวกันนี้ นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เผยว่านายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 17 มี.ค.63 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการกล่าวหาสมาชิกพรรค มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกักตุนและส่งออกหน้ากากอนามัย เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย
1. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน 2. นายอิสสระ สมชัย กรรมการ 3. ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ กรรมการ 4. นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการ 5. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ เลขานุการ
โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และให้รายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าพรรคทราบโดยเร็ว
** "อัจฉริยะ"แจ้งความกลับ"มัลลิกา"
ด้านนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ ที่ สน.ทุ่งสองห้อง กรณี นางมัลลิกา ตั้งทีมทนายความ แจ้งความดำเนินคดีกับตนเอง ในข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ กรณีที่ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ก พาดพิงบุคคลที่มีลักษณะที่เหมือนกับนางมัลลิกา กรณีกักตุนหน้ากากอนามัย โดยฝ่ายนางมัลลิกา ได้ไปแจ้งความ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท.
นายอัจฉริยะ เปิดเผยว่า ได้แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ กับนางมัลลิกา กับพวกรวม 5 คน โดยยืนยันว่า ในขณะที่ไลฟ์สด ไม่ได้เอ่ยขื่อบุคคลใด และไม่ได้รับงานใครมา ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงอะไร แต่ข้องใจ เพราะเชื่อว่ามึกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเป็นสินค้าควบคุม อยากได้ความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลการส่งออก และจำหน่ายหน้ากากอนามัยภายในประเทศ เนื่องจากตนได้รับข้อมูลมาว่า มีบริษัทผลิตหน้ากากอนามัยทั้งหมด 242 แห่ง แต่มีเพียง 7 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกเท่านั้น แล้วหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากบริษัทที่เหลืออีก 235 บริษัท หายไปไหน ทำไมถึงไม่ส่งให้กรมการค้าภายในจัดสรรจำหน่าย เพราะเชื่อว่า หากนำหน้ากากที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกมากระจายในประเทศ ก็จะเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่ต้องขาดแคลนอย่างทุกวันนึ้ เพราะมีกระบวนการที่พยายามนำหน้ากากเหล่านั้นส่งออก
**แจ้งดำเนินคดีอธิบดีกรมการค้าภายใน
นอกจากนี้ นายอัจฉริยะ ยังได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบช.ก. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีอาญาต่อ นายวิชัย โภชนกิจ อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน กับพวก ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยได้มอบเอกสารหนังสืออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหน้ากากอนามัย
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ที่ตนมาร้องทุกข์ เนื่องจากพบความผิดปกติในการพิจารณาอนุญาตส่งออกหน้ากากอนามัย ตามหลักฐานเอกสารหนังสืออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะช่วงเวลาการส่งออกที่ปรากฏในหนังสืออนุญาตดังกล่าว ที่มีการลงนามตั้งแต่ วันที่ 28 ก.พ. แต่กลับมีการส่งสินค้าในช่วงวันที่ 17 มี.ค. วันเดียวกับที่หนังสืออนุญาตจะหมดอายุ จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นวิธีเร่งระบายสินค้า หรือเลี่ยงการตรวจสอบหรือไม่
"ผมได้ทำหนังสือสอบถามข้อเท็จไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ วันนี้จึงจะเดินทางไปสอบถามขอข้อมูลการส่งออกหน้ากากกับอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผมมีว่าตรงกันหรือไม่" นายอัจฉริยะ กล่าว