ผู้จัดการรายวัน360- “สมคิด”–“สุริยะ” เรียกหารือบิ๊กผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภครายใหญ่ วันนี้(18 มี.ค.) ระดมสมองหามาตรการรองรับการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้าสู่ระยะ 3 หรือการต้องปิดเมือง “พาณิชย์”เผย “แพนิกชอปปิ้ง” ทำให้สินค้าขาดช่วงบ้าง เหตุคนซื้อพร้อมกัน ยันสินค้ามีเพียงพอ ไทยผลิตได้เอง
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้( 18 มี.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเรียกผู้ประกอบการสินค้าอุปโภค – บริโภครายใหญ่ อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ,เครือสหพัฒน์,กลุ่มบีเจซี ,ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ผู้ประกอบการผู้ผลิตหน้ากาก เจลแอลกอฮอล์,กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อสอบถามปริมาณกำลังการผลิต การกระจายสินค้าในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทุกระดับที่อาจเกิดขึ้นซึ่งจะรวมถึงกรณีหากต้องมีการปิดเมือง
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยแม้ยังไม่สู่ระยะที่ 3 แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมและไทยเองถือเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกที่สำคัญมีการผลิตสินค้าอุปโภคและการบริโภคได้อย่างเพียงพอแต่ก็เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะรับมือกับทุกสถานการณ์ได้”แหล่งข่าวกล่าว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 18 มี.ค.นี้ เตรียมประชุมกรรมการบริหารส.อ.ท.นัดพิเศษ เพื่อหารือผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขณะนี้พบยอดผู้ติดเชื้อในประเทศมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ก็รุนแรง จึงต้องการหามาตรการเพื่อเตรียมความพร้อม
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานและประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รายงานผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไวรัส-โควิด19 สรุปออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการจะหยุดกิจการชั่วคราว ให้พนักงานพักยาว 2-3 เดือน โดยไม่จ่ายเงินเดือน แต่ยังไม่เลิกจ้างเพราะไม่มีออเดอร์
2.กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมาก ให้พนักงานหยุดงานระยะสั้น 2 สัปดาห์ ต้องหารือว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนหรือไม่ เพราะยังมีออเดอร์แต่ไม่สามารถผลิตได้ และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงมีออเดอร์สูง เช่น กลุ่มอาหาร หน้ากากอนามัย เจล และแอลกอฮอล์ล้างมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสินค้าอุปโภค-บริโภค
“ ถ้ายกระดับโควิด-19 ระยะ3 การขนส่งการเดินทาง การออกมาจับจ่ายสินค้าของประชาชนจะเป็นอย่างไร ก็ต้องวางแนวทางไว้” นายเกรียงไกรกล่าว
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนเริ่มสำรองสินค้าอาหารและของใช้ ว่า สินค้าหลายรายการมีการขาดช่วงบ้าง เนื่องจากความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมากพร้อมๆ กัน ไม่สามารถจัดเรียงสินค้าได้ทัน แต่สต๊อกสินค้ายังคงมีอยู่ และราคายังปกติ ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนกและกังวลเรื่องอาหารและของใช้จำเป็นขาดแคลน โดยในช่วงนี้อาจไม่มีวางขายบ้างหรือหมดเร็ว แต่ก็จะเป็นเพียงในระยะสั้น
“ประชาชนตื่นตระหนกต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด และมีความกังวล รวมทั้งเริ่มปรับพฤติกรรมลดการออกนอกบ้าน ส่งผลให้มีการสต็อกอาหารและสินค้าจำเป็นต่างๆ เรียกว่าเกิด “แพนิคชอปปิ้ง” เกิดขึ้น เหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ และจากการสอบถามผู้ผลิต ทราบว่ามีวัตถุดิบในการผลิตเพียงพอ ยังเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกจากปัจจุบันที่เฉลี่ยอยู่ที่ 50-68% ของกำลังการผลิตรวม”
สำหรับสินค้าที่ประชาชนมีความต้องการเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติแยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารสดและเครื่องปรุง, อาหารสำเร็จรูป และของใช้จำเป็น
ส่วนเจลล้างมือและแอลกอฮอล์ที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการนั้น สนค. เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ไทยผลิตได้เอง อีกทั้งภาครัฐก็ได้ผ่อนปรนระเบียบต่างๆ ในการผลิต
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้( 18 มี.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเรียกผู้ประกอบการสินค้าอุปโภค – บริโภครายใหญ่ อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ,เครือสหพัฒน์,กลุ่มบีเจซี ,ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ผู้ประกอบการผู้ผลิตหน้ากาก เจลแอลกอฮอล์,กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อสอบถามปริมาณกำลังการผลิต การกระจายสินค้าในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทุกระดับที่อาจเกิดขึ้นซึ่งจะรวมถึงกรณีหากต้องมีการปิดเมือง
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยแม้ยังไม่สู่ระยะที่ 3 แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมและไทยเองถือเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกที่สำคัญมีการผลิตสินค้าอุปโภคและการบริโภคได้อย่างเพียงพอแต่ก็เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะรับมือกับทุกสถานการณ์ได้”แหล่งข่าวกล่าว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 18 มี.ค.นี้ เตรียมประชุมกรรมการบริหารส.อ.ท.นัดพิเศษ เพื่อหารือผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขณะนี้พบยอดผู้ติดเชื้อในประเทศมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ก็รุนแรง จึงต้องการหามาตรการเพื่อเตรียมความพร้อม
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานและประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รายงานผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไวรัส-โควิด19 สรุปออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการจะหยุดกิจการชั่วคราว ให้พนักงานพักยาว 2-3 เดือน โดยไม่จ่ายเงินเดือน แต่ยังไม่เลิกจ้างเพราะไม่มีออเดอร์
2.กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมาก ให้พนักงานหยุดงานระยะสั้น 2 สัปดาห์ ต้องหารือว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนหรือไม่ เพราะยังมีออเดอร์แต่ไม่สามารถผลิตได้ และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงมีออเดอร์สูง เช่น กลุ่มอาหาร หน้ากากอนามัย เจล และแอลกอฮอล์ล้างมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสินค้าอุปโภค-บริโภค
“ ถ้ายกระดับโควิด-19 ระยะ3 การขนส่งการเดินทาง การออกมาจับจ่ายสินค้าของประชาชนจะเป็นอย่างไร ก็ต้องวางแนวทางไว้” นายเกรียงไกรกล่าว
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนเริ่มสำรองสินค้าอาหารและของใช้ ว่า สินค้าหลายรายการมีการขาดช่วงบ้าง เนื่องจากความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมากพร้อมๆ กัน ไม่สามารถจัดเรียงสินค้าได้ทัน แต่สต๊อกสินค้ายังคงมีอยู่ และราคายังปกติ ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนกและกังวลเรื่องอาหารและของใช้จำเป็นขาดแคลน โดยในช่วงนี้อาจไม่มีวางขายบ้างหรือหมดเร็ว แต่ก็จะเป็นเพียงในระยะสั้น
“ประชาชนตื่นตระหนกต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด และมีความกังวล รวมทั้งเริ่มปรับพฤติกรรมลดการออกนอกบ้าน ส่งผลให้มีการสต็อกอาหารและสินค้าจำเป็นต่างๆ เรียกว่าเกิด “แพนิคชอปปิ้ง” เกิดขึ้น เหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ และจากการสอบถามผู้ผลิต ทราบว่ามีวัตถุดิบในการผลิตเพียงพอ ยังเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกจากปัจจุบันที่เฉลี่ยอยู่ที่ 50-68% ของกำลังการผลิตรวม”
สำหรับสินค้าที่ประชาชนมีความต้องการเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติแยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารสดและเครื่องปรุง, อาหารสำเร็จรูป และของใช้จำเป็น
ส่วนเจลล้างมือและแอลกอฮอล์ที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการนั้น สนค. เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ไทยผลิตได้เอง อีกทั้งภาครัฐก็ได้ผ่อนปรนระเบียบต่างๆ ในการผลิต