“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ปรับลดเป้า “จีพีดี” ปีนี้โตแค่ 0.5% ระบุตัวแปร “โควิด-19” ยังไม่นิ่ง หวังจบวิกฤตช่วงไตรมาส 2 แล้วครึ่งปีหลังกระเตื้องขึ้น "คลัง" เชื่อ "ศูนย์วิจัยกสิกรฯ" จะปรับตัวเลขประเมินเศรษฐกิจใหม่ หลังมาตรการดูแลเศรษฐกิจชุดใหม่ของรัฐบาลออกมา
จากกรณีที่ วานนี้ (5 มี.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน จะส่งผลถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปี 2563 เหลือเพียง 0.5% จากประมาณการเดิมที่ 2.7% เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว และหากการระบาดมีสัญญาณคลี่คลายลงภายในช่วงครึ่งปีแรกตามสมมติฐาน คงจะทำให้เห็นจีดีพีที่กลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 (รายละเอียดอ่านต่อหน้า 5)
วันเดียวกัน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่า เป็นเพียงการประเมินสถานการณ์ในเวลานี้เท่านั้น แต่ตนเชื่อว่าเมื่อรัฐบาลออกแพ็กเกจชุดมาตรการขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณระดับหลายแสนล้านบาท ที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในวันที่ 6 มี.ค. 63 ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการในวันที่ 10 มี.ค. 63 จะส่งผลให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการณ์จีดีพีใหม่อีกครั้ง
“เชื่อว่าถ้าศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะปรับประมาณการตัวเลขใหม่หลังได้เห็นมาตรการชุดใหม่ของรัฐบาล” นายลวรณ ระบุ
ผู้อำนวยการ สศค.ชี้แจงเพิ่มเติมถึงประเด็นการแจกเงินเพื่อดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า เป็นเพียง 1 ใน 10 ชุดมาตรการที่กระทรวงการคลังได้เตรียมผลักดันเพื่อใช้ดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 1 เท่านั้น ซึ่งชุดมาตรการที่เตรียมไว้เชื่อว่าครอบคลุมประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และประชาชนที่เจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย ทั้งนี้ ในต่างประเทศก็มีการแจกเงินประชาชน เพื่อนำไปจับจ่ายซื้อของในสิ่งที่จำเป็น อย่างเช่น ฮ่องกงแจกเงินสด 40,500 บาทต่อราย และสิงคโปร์ แจกเงินสด ประมาณ 3,000-7,000 บาทต่อราย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชุดมาตรการที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 6 มี.ค. 63 ยังจะมีทั้งมาตรการทางการเงิน เช่น การออกซอฟต์โลน คาดว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 3% เป็นต้น และมาตรการทางการคลัง เช่น การจูงใจด้วยภาษี ซึ่งเชื่อว่าจะบรรเทาผลกระทบประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างครอบคลุม และตอบโจทย์ โดยเฉพาะธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากกระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนแล้ว และชุดมาตรการส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน
“ยังไม่สามารถระบุวงเงินชัดเจนได้ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากกระทรวงการคลังเป็นเป็นเพียงผู้เสนอแนวทาง หลังจากนั้นจะต้องรอติดตามความเห็นจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจด้วย” ผู้อำนวยการ สศค.กล่าว
จากกรณีที่ วานนี้ (5 มี.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน จะส่งผลถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปี 2563 เหลือเพียง 0.5% จากประมาณการเดิมที่ 2.7% เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว และหากการระบาดมีสัญญาณคลี่คลายลงภายในช่วงครึ่งปีแรกตามสมมติฐาน คงจะทำให้เห็นจีดีพีที่กลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 (รายละเอียดอ่านต่อหน้า 5)
วันเดียวกัน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่า เป็นเพียงการประเมินสถานการณ์ในเวลานี้เท่านั้น แต่ตนเชื่อว่าเมื่อรัฐบาลออกแพ็กเกจชุดมาตรการขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณระดับหลายแสนล้านบาท ที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในวันที่ 6 มี.ค. 63 ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการในวันที่ 10 มี.ค. 63 จะส่งผลให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการณ์จีดีพีใหม่อีกครั้ง
“เชื่อว่าถ้าศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะปรับประมาณการตัวเลขใหม่หลังได้เห็นมาตรการชุดใหม่ของรัฐบาล” นายลวรณ ระบุ
ผู้อำนวยการ สศค.ชี้แจงเพิ่มเติมถึงประเด็นการแจกเงินเพื่อดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า เป็นเพียง 1 ใน 10 ชุดมาตรการที่กระทรวงการคลังได้เตรียมผลักดันเพื่อใช้ดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 1 เท่านั้น ซึ่งชุดมาตรการที่เตรียมไว้เชื่อว่าครอบคลุมประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และประชาชนที่เจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย ทั้งนี้ ในต่างประเทศก็มีการแจกเงินประชาชน เพื่อนำไปจับจ่ายซื้อของในสิ่งที่จำเป็น อย่างเช่น ฮ่องกงแจกเงินสด 40,500 บาทต่อราย และสิงคโปร์ แจกเงินสด ประมาณ 3,000-7,000 บาทต่อราย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชุดมาตรการที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 6 มี.ค. 63 ยังจะมีทั้งมาตรการทางการเงิน เช่น การออกซอฟต์โลน คาดว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 3% เป็นต้น และมาตรการทางการคลัง เช่น การจูงใจด้วยภาษี ซึ่งเชื่อว่าจะบรรเทาผลกระทบประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างครอบคลุม และตอบโจทย์ โดยเฉพาะธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากกระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนแล้ว และชุดมาตรการส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน
“ยังไม่สามารถระบุวงเงินชัดเจนได้ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากกระทรวงการคลังเป็นเป็นเพียงผู้เสนอแนวทาง หลังจากนั้นจะต้องรอติดตามความเห็นจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจด้วย” ผู้อำนวยการ สศค.กล่าว