“ก.คลัง” ชงมาตรการชุดแรกสู้วิกฤตโควิด-19 เข้า ครม.เศรษฐกิจศุกร์นี้ คาดใช้เงินกว่า 1 แสนล้านบาท แจกเงิน “รายได้น้อย-มนุษย์เงินเดือน” ผ่านพร้อมเพย์ หัวละ 1-2 พันบาท ปล่อยกู้ซอฟต์โลนให้แก่ผู้ประกอบการ ลุ้น ธปท.ใช้นโยบายดอกเบี้ยประคองเศรษฐกิจ ในการประชุม กนง. 25 มี.ค.นี้ "อุตตม" พร้อมคลอดชุด 2-3 หากไวรัสมรณะยังไม่จบ “กกร.” หั่นเป้า ศก.ปีนี้รอบที่ 3 โตแค่ 1.5-2% ยื้อถึงสิ้นปีติดลบ
วานนี้ (4 มี.ค.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันที่ 6 มี.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและและเยียวยาผลกระทบไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ชุดที่ 1 ซึ่งคาดจะมีวงเงินมากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การแจกเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ให้ประชนผู้มีรายได้น้อย มนุษย์เงินเดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกร โดยอยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินที่เหมาะสมระหว่าง 1,000-2,000 บาท และต้องการให้มีผลทันทีและต่อเนื่องในช่วง 3-4 เดือนนี้
"ผู้ที่ร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียน เมื่อได้รับโอนเงินก็สามารถกดเป็นเงินสดไปใช้ได้ทันที เพื่อให้เกิดความง่ายในการใช้จ่าย คาดว่าการแจกเงินรอบนี้จะมีผู้รับประโยชน์มากกว่า 14 ล้านคน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการชิมช้อปใช้ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นคนละมาตรการกัน แต่ผู้ถือบัตรบางส่วนที่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการแจกเงินด้วย ส่วนมาตรการชิมช้อปใช้เฟส 4 ต้องชะลอไปก่อน" นายอุตตม กล่าว
ปล่อยกู้ซอฟต์โลนผู้ประกอบการ
สำหรับมาตรการที่จะช่วยเหลือตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น นายอุตตม กล่าวว่า คลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กรมสรรพากร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หารือกันเพื่อปรับเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ให้ใช้เหมือนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือตลาดทุนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ร่วงลงไปอย่างมาก และอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดว่าจะเพิ่มวงเงินลงทุนได้ 5 แสน และระยะเวลาการถือครองรอบ 7 บัญชีเหมือนเดิมหรือไม่
นอกจากนี้ จะมีมาตรการภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้สามารถจ้างงานลูกจ้างต่อไป โดยให้นำค่าใช้จ่ายจากการจ้างงานมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และกรมสรรพากรจะออกประกาศให้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายลดลง เพื่อให้รมีสภาพคล่องมากขึ้น รวมทั้งจะมีการตั้งกองทุนเพื่อให้เงินสนับสนุนให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวด้วย
ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งผู้ประกอบการภาคธุรกิจทั่วไป และภาคท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาก (ซอฟท์โลน) เพื่อไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการผ่อนปรนการสำรองหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น
ลุ้น ธปท.ปรับดอกเบี้ยพยุง ศก.
นายอุตตม กล่าวถึงกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมฉุกเฉินและปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ในส่วนของประเทศไทยนั้น ธปท. ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นอำนาจของ ธปท.จะตัดสินใจว่าจะปรับลดดอกเบี้ยเร่งด่วนเช่นเดียวกันหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งธปท.และกระทรวงการคลังก็ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด
สำหรับการคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เชิญ ธปท. เข้ามาหารือด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมชุดมาตรการทั้งหมด เพื่อให้ ธปท. นำกลับไปพิจารณาจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรต่อไป ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 มี.ค.นี้
"ผมได้เน้นกับปลัดกระทรวงการคลังแล้ว มาตรการทั้งหมดเมื่อผ่าน ครม.เศรษฐกิจ และ ครม.ในสัปดาห์หน้า จะต้องมีผลในทางปฏิบัติทันที ซึ่งมาตรการนี้จะมีผล 3-4 เดือนไปจนถึงเดือน มิ.ย.-ก.ค. ส่วนผลกระทบมาตรการไวรัสโคโรนาจะไปจบเมื่อไหร่ เราไม่สามารถตอบได้ เราจึงออกมาตรการดูแลชุดที่ 1 ซึ่งหมายความว่ามีความพร้อมจะออกมาตรการชุดที่ 2 และ 3 ทันทีหากเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น"นายอุตตม กล่าว
ก.ล.ต.ไฟเขียวตั้ง SSF 17 กองทุน
ด้านนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 63 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนเพื่อการออม (SSF) แบบอัตโนมัติ (auto-approval) แล้ว 17 กองทุน โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนใน SSF ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญและกองทุนเกษียณอื่น ๆ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หุ้นไทยเด้งรับมาตรการ ก.คลัง
ขณะที่บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนปรับตัวในแดนบวกสลับแดนลบ โดยมีปัจจัยบวกจากธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉิน 0.50% ทำให้คาดการณ์ธนาคารกลางหลายประเทศจะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยดัชนีตลาดหุ้นแตะระดับสูงสุดที่ 1,380.82 จุด ต่ำสุดที่ 1,358.24 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,378.61 จุด เพิ่มขึ้น 3.59 จุด หรือ 0.26% มูลค่าการซื้อขายรวม 58,586.96 ล้านบาท
กกร.หั่นเป้า ศก.ปีนี้โตแค่ 1.5-2%
อีกด้าน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท., สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า กกร.มีมติปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปี 2563 ลงอยู่ที่ 1.5-2% จากเดิมคาดการณ์ไว้โต 2-2.5% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่กระจายลุกลามไปในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแต่ยังคงอัตราการส่งออก -2 ถึง 0% และคงเงินเฟ้อ 0.8-1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยตัวเลขทั้งหมดอยู่บนสมมติฐานที่โควิด-19 จะจบภายใน มิ.ย. 63 อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากยืดเยื้อไปถึงสิ้นปีเศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบ
วานนี้ (4 มี.ค.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันที่ 6 มี.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและและเยียวยาผลกระทบไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ชุดที่ 1 ซึ่งคาดจะมีวงเงินมากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การแจกเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ให้ประชนผู้มีรายได้น้อย มนุษย์เงินเดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกร โดยอยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินที่เหมาะสมระหว่าง 1,000-2,000 บาท และต้องการให้มีผลทันทีและต่อเนื่องในช่วง 3-4 เดือนนี้
"ผู้ที่ร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียน เมื่อได้รับโอนเงินก็สามารถกดเป็นเงินสดไปใช้ได้ทันที เพื่อให้เกิดความง่ายในการใช้จ่าย คาดว่าการแจกเงินรอบนี้จะมีผู้รับประโยชน์มากกว่า 14 ล้านคน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการชิมช้อปใช้ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นคนละมาตรการกัน แต่ผู้ถือบัตรบางส่วนที่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการแจกเงินด้วย ส่วนมาตรการชิมช้อปใช้เฟส 4 ต้องชะลอไปก่อน" นายอุตตม กล่าว
ปล่อยกู้ซอฟต์โลนผู้ประกอบการ
สำหรับมาตรการที่จะช่วยเหลือตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น นายอุตตม กล่าวว่า คลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กรมสรรพากร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หารือกันเพื่อปรับเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ให้ใช้เหมือนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือตลาดทุนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ร่วงลงไปอย่างมาก และอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดว่าจะเพิ่มวงเงินลงทุนได้ 5 แสน และระยะเวลาการถือครองรอบ 7 บัญชีเหมือนเดิมหรือไม่
นอกจากนี้ จะมีมาตรการภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้สามารถจ้างงานลูกจ้างต่อไป โดยให้นำค่าใช้จ่ายจากการจ้างงานมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และกรมสรรพากรจะออกประกาศให้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายลดลง เพื่อให้รมีสภาพคล่องมากขึ้น รวมทั้งจะมีการตั้งกองทุนเพื่อให้เงินสนับสนุนให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวด้วย
ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งผู้ประกอบการภาคธุรกิจทั่วไป และภาคท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาก (ซอฟท์โลน) เพื่อไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการผ่อนปรนการสำรองหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น
ลุ้น ธปท.ปรับดอกเบี้ยพยุง ศก.
นายอุตตม กล่าวถึงกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมฉุกเฉินและปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ในส่วนของประเทศไทยนั้น ธปท. ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นอำนาจของ ธปท.จะตัดสินใจว่าจะปรับลดดอกเบี้ยเร่งด่วนเช่นเดียวกันหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งธปท.และกระทรวงการคลังก็ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด
สำหรับการคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เชิญ ธปท. เข้ามาหารือด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมชุดมาตรการทั้งหมด เพื่อให้ ธปท. นำกลับไปพิจารณาจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรต่อไป ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 มี.ค.นี้
"ผมได้เน้นกับปลัดกระทรวงการคลังแล้ว มาตรการทั้งหมดเมื่อผ่าน ครม.เศรษฐกิจ และ ครม.ในสัปดาห์หน้า จะต้องมีผลในทางปฏิบัติทันที ซึ่งมาตรการนี้จะมีผล 3-4 เดือนไปจนถึงเดือน มิ.ย.-ก.ค. ส่วนผลกระทบมาตรการไวรัสโคโรนาจะไปจบเมื่อไหร่ เราไม่สามารถตอบได้ เราจึงออกมาตรการดูแลชุดที่ 1 ซึ่งหมายความว่ามีความพร้อมจะออกมาตรการชุดที่ 2 และ 3 ทันทีหากเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น"นายอุตตม กล่าว
ก.ล.ต.ไฟเขียวตั้ง SSF 17 กองทุน
ด้านนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 63 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนเพื่อการออม (SSF) แบบอัตโนมัติ (auto-approval) แล้ว 17 กองทุน โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนใน SSF ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญและกองทุนเกษียณอื่น ๆ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หุ้นไทยเด้งรับมาตรการ ก.คลัง
ขณะที่บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนปรับตัวในแดนบวกสลับแดนลบ โดยมีปัจจัยบวกจากธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉิน 0.50% ทำให้คาดการณ์ธนาคารกลางหลายประเทศจะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยดัชนีตลาดหุ้นแตะระดับสูงสุดที่ 1,380.82 จุด ต่ำสุดที่ 1,358.24 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,378.61 จุด เพิ่มขึ้น 3.59 จุด หรือ 0.26% มูลค่าการซื้อขายรวม 58,586.96 ล้านบาท
กกร.หั่นเป้า ศก.ปีนี้โตแค่ 1.5-2%
อีกด้าน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท., สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า กกร.มีมติปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปี 2563 ลงอยู่ที่ 1.5-2% จากเดิมคาดการณ์ไว้โต 2-2.5% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่กระจายลุกลามไปในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแต่ยังคงอัตราการส่งออก -2 ถึง 0% และคงเงินเฟ้อ 0.8-1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยตัวเลขทั้งหมดอยู่บนสมมติฐานที่โควิด-19 จะจบภายใน มิ.ย. 63 อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากยืดเยื้อไปถึงสิ้นปีเศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบ