ผู้จัดการรายวัน360-สภาองค์การนายจ้างฯ เตือนทุกฝ่ายรับมือโควิด-19 ซ้ำเติมแรงงาน หลังนายจ้างรัดเข็มขัด ไม่รับเพิ่ม แถมบางธุรกิจเริ่มปรับแผนลดคนแล้ว หวั่นนักศึกษาจบใหม่ 5 แสนคนช่วงพ.ค.นี้ ส่อเคว้ง หางานยาก แถมภาคเกษตร ก็ไม่รองรับ เหตุเจอภัยแล้ง ชี้ยืดเยื้อหนักกว่าปี 40
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมการจ้างงานของไทยในปี 2563 ให้ชะลอตัวลงไปกว่าเดิม โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่จะทะยอยเข้ามาในระบบแรงงานเพิ่มเติมช่วงเดือนพ.ค.2563 ประมาณ 5 แสนคน จะมีโอกาสได้งานทำค่อนข้างต่ำ ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการหรือแผนรองรับไว้ เช่น การทำโครงการต่างๆ โดยใช้งบประมาณจ้างเด็กจบใหม่เหมือนในอดีตที่เคยดำเนินการไว้
"รัฐคงต้องหาวิธีไม่ให้เด็กจบใหม่เกิดปัญหาว่างงาน เพราะต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมา คนว่างงาน หรือเด็กจบใหม่ พอไม่มีงานทำ ก็กลับบ้านไปทำภาคเกษตรได้บางส่วน แต่ปีนี้ภาคเกษตรของไทย ก็เจอผลกระทบกับภัยแล้ง ทำให้ไม่มีที่รองรับแรงงาน"นายธนิตกล่าว
นายธนิตกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการปรับตัวรองรับผลกระทบจากโควิด-19 ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยให้ถดถอย และยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อใด ด้วยการรัดเข็มขัดทุกด้าน ทำให้ธุรกิจภาพรวมทั้งหมด มีการชะลอรับแรงงานใหม่ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทันทีที่เป็นคลัสเตอร์ท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านค้า สปา ร้านอาหาร ที่นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่า 60% โดยบางส่วนเริ่มปรับแผนลดคน ให้สมัครใจลาออก สมัครใจหยุดงานไม่รับเงินเดือน และเลิกจ้าง ซึ่งหากยืดเยื้อสถานการณ์การเลิกจ้างก็จะมีสูงขึ้น
ทั้งนี้ แรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระบบ 3.2 ล้านคน นอกระบบอีก 7 ล้านคน จะกระทบก่อน แต่จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะจบเร็วหรือช้าด้วย หากภาคท่องเที่ยวกระทบ จะลามไปยังอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง เช่น การผลิตผ้าเช็ดตัว สบู่ สมุนไพร ค้าปลีก ค้าส่ง ที่นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะเศรษฐกิจไทยจะเปราะบางมาก
นอกจากนี้ โควิด-19ยังถือเป็นปัจจัยซ้ำเติมการจ้างงานให้ชะลอตัวเพิ่มขึ้น จากปีที่ผ่านมา การจ้างงานได้ชะลอตัวอยู่แล้ว จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Disruptive Technology) ทำให้หลายอุตสาหกรรมชะลอการรับคนเพิ่ม เพื่อหันไปลงทุนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาทดแทนแรงานคน รวมถึงผลกระทบการส่งออกที่ชะลอตัวจากภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
นายธนิตกล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกและหากยืดเยื้อ จะมีผลกระทบที่รุนแรงกว่าวิกฤติปี 2540 แน่นอน เนื่องจากวิกฤติปี 2540 เศรษฐกิจโลกยังดี การส่งออก การท่องเที่ยวของไทยเติบโต ปัญหาแรงงานกระจุกอยู่เพียงสถาบันการเงินและเพียงไม่ถึงปีก็ฟื้นตัวได้ แต่โควิด-19 ไม่มีปัจจัยเอื้อ เพราะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลก ส่งออก ท่องเที่ยว รวมถึงภาคเกษตรที่ประสบภัยแล้งดับเกือบทั้งหมด
"ภาคเกษตรของไทย ปีนี้ก็อ่อนแอจากภัยแล้ง แต่ก่อนคนว่างงาน โดยเฉพาะในปี 2540 ก็ยังกลับบ้าน ไปอยู่ภาคนี้ได้ แต่ปีนี้ ทุกอย่างเป็นปัญหาไปหมด ถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน หากยืดเยื้อต้องเตรียมพร้อมรับมือ"นายธนิตกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมการจ้างงานของไทยในปี 2563 ให้ชะลอตัวลงไปกว่าเดิม โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่จะทะยอยเข้ามาในระบบแรงงานเพิ่มเติมช่วงเดือนพ.ค.2563 ประมาณ 5 แสนคน จะมีโอกาสได้งานทำค่อนข้างต่ำ ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการหรือแผนรองรับไว้ เช่น การทำโครงการต่างๆ โดยใช้งบประมาณจ้างเด็กจบใหม่เหมือนในอดีตที่เคยดำเนินการไว้
"รัฐคงต้องหาวิธีไม่ให้เด็กจบใหม่เกิดปัญหาว่างงาน เพราะต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมา คนว่างงาน หรือเด็กจบใหม่ พอไม่มีงานทำ ก็กลับบ้านไปทำภาคเกษตรได้บางส่วน แต่ปีนี้ภาคเกษตรของไทย ก็เจอผลกระทบกับภัยแล้ง ทำให้ไม่มีที่รองรับแรงงาน"นายธนิตกล่าว
นายธนิตกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการปรับตัวรองรับผลกระทบจากโควิด-19 ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยให้ถดถอย และยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อใด ด้วยการรัดเข็มขัดทุกด้าน ทำให้ธุรกิจภาพรวมทั้งหมด มีการชะลอรับแรงงานใหม่ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทันทีที่เป็นคลัสเตอร์ท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านค้า สปา ร้านอาหาร ที่นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่า 60% โดยบางส่วนเริ่มปรับแผนลดคน ให้สมัครใจลาออก สมัครใจหยุดงานไม่รับเงินเดือน และเลิกจ้าง ซึ่งหากยืดเยื้อสถานการณ์การเลิกจ้างก็จะมีสูงขึ้น
ทั้งนี้ แรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระบบ 3.2 ล้านคน นอกระบบอีก 7 ล้านคน จะกระทบก่อน แต่จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะจบเร็วหรือช้าด้วย หากภาคท่องเที่ยวกระทบ จะลามไปยังอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง เช่น การผลิตผ้าเช็ดตัว สบู่ สมุนไพร ค้าปลีก ค้าส่ง ที่นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะเศรษฐกิจไทยจะเปราะบางมาก
นอกจากนี้ โควิด-19ยังถือเป็นปัจจัยซ้ำเติมการจ้างงานให้ชะลอตัวเพิ่มขึ้น จากปีที่ผ่านมา การจ้างงานได้ชะลอตัวอยู่แล้ว จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Disruptive Technology) ทำให้หลายอุตสาหกรรมชะลอการรับคนเพิ่ม เพื่อหันไปลงทุนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาทดแทนแรงานคน รวมถึงผลกระทบการส่งออกที่ชะลอตัวจากภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
นายธนิตกล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกและหากยืดเยื้อ จะมีผลกระทบที่รุนแรงกว่าวิกฤติปี 2540 แน่นอน เนื่องจากวิกฤติปี 2540 เศรษฐกิจโลกยังดี การส่งออก การท่องเที่ยวของไทยเติบโต ปัญหาแรงงานกระจุกอยู่เพียงสถาบันการเงินและเพียงไม่ถึงปีก็ฟื้นตัวได้ แต่โควิด-19 ไม่มีปัจจัยเอื้อ เพราะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลก ส่งออก ท่องเที่ยว รวมถึงภาคเกษตรที่ประสบภัยแล้งดับเกือบทั้งหมด
"ภาคเกษตรของไทย ปีนี้ก็อ่อนแอจากภัยแล้ง แต่ก่อนคนว่างงาน โดยเฉพาะในปี 2540 ก็ยังกลับบ้าน ไปอยู่ภาคนี้ได้ แต่ปีนี้ ทุกอย่างเป็นปัญหาไปหมด ถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน หากยืดเยื้อต้องเตรียมพร้อมรับมือ"นายธนิตกล่าว