ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เคยอยากรู้ ระบบเงินกู้ ในสวัสดิการของข้าราชการไทยไหม! หลังจากมีมูลเกี่ยวข้อง โยงไปถึงเหตุการณ์ระทึก ใน จ.นครราชสีมาโดยเฉพาะ สวัสดิการ “เงินกู้” ของทหาร ที่ปัจจุบัน มีทหารทุกชั้นยศ ตามข้อมูลของ วิกิพีเดียอ้าง ยอดกำลังประจำการ จำนวน 305,860 นายเฉพาะ"กองทัพบก" มี กำลังรบ หรือ ทหารพร้อมรบ ประมาณ 210,000 นาย
"กองทัพบก" ให้สวัสดิการ กับนายทหาร โดยผ่าน "กรมสวัสดิการทหารบก"
หนึ่งในนั้น มีโครงการเงินกู้ หรือ ที่ทหารเรียกชื่อย่อว่า "เงิน อทบ." หรือชื่อเต็ม ๆ คือ "กิจการออมทรัพย์ข้าราชการทหารบก"
เงินกู้ อทบ.“ เดิมที ตั้งแต่สงครามโลก ครั้งที่ 2 จอมพล.ป.พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งให้มี “แผนกออมสิน” เพื่อให้ข้าราชการ มีการออมเงินไว้หลังเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการฝาก อทบ. เรื่อยมา จนมีเงินฝากจำนวนมาก ผู้บังคับบัญชาจึงมีแนวคิดช่วยเหลือสมาชิก อทบ. โดยให้ กู้เงินฯ ได้ไม่เกินวงเงินที่ตนฝาก เรียกว่า “ เงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์”
ต่อมา ทบ. ได้กู้เงิน จาก “ธนาคารออมสิน” จำนวน 20 ล้านบาท เมื่อ 8 ธ.ค.96 โดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกัน ดอกเบี้ยร้อยละ 6ต่อปี ผ่อนชำระ 6เดือนต่อ 1ครั้ง สัญญากำหนด 15 ปี และมีการต่อสัญญาฯ อีก 5 ปี รวม 20 ปี
สก.ทบ. เริ่มให้บริการ “เงินกู้ เพื่อสงเคราะห์ข้าราชการ ทบ.” เมื่อพ.ศ.2498 ถึง พ.ศ.2509มีข้าราชการกู้ทั้งสิ้น 1,002นาย และนำส่งเงินคืน “ธนาคารออมสิน” เมื่อ 7 ธ.ค.16 ทั้งต้นและดอก รวมกำไร สุทธิ 2,500,000บาท ( หลังจากนั้นยังคงให้บริการเช่นเดิม โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน ของ อทบ. เอง สืบจนถึงทุกวันนี้
โดยจะมี "ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการดำเนินเงินกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกว่าด้วยการดำเนินการกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก" กำกับ มี "เจ้ากรมสวัสดิการมหารบก" หรือ สก.ทบ. เป็นผู้รักษาการระเบียบ ล่าสุด มีถึง 7 ฉบับ
เฉพาะโครงการเพื่อกู้เงิน มีอะไรบ้าง ?
"โครงการฝากเงิน อทบ.ฝาก - สุขใจ อทบ.สมทบพิเศษ(โครงการ2) อทบ.บำบัดทุกข์ อทบ.เคหสงเคราะห์ อทบ.บำบัดทุกข์ ภัยธรรมชาติ อทบ.เคหสงเคราะห์ ผู้กู้รายเดียว อทบ.เคหสงเคราะห์ กู้ร่วมข้าราชการทหารบก อทบ.เคหสงเคราะห์ กู้ร่วมข้าราชการพลเรือน อทบ.เคหสงเคราะห์ กู้ร่วมพนักงานบริษัท และรัฐวิสาหกิจ และ อทบ.เคหสงเคราะห์ กู้ร่วมอาชีพอิสระ"
นอกจากนั้น ยังมีโครงการซื้อบ้านผ่านราชพัสดุ "หรือบ้านธนารักษ์"ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย บ้านธนารักษ์ กู้เดี่ยว บ้านธนารักษ์ กู้ร่วมข้าราชการ ทบ บ้านธนารักษ์ กู้ร่วมข้าราชการทั่วไป บ้านธนารักษ์ กู้ร่วมพนักงานบริษัท และ บ้านธนารักษ์ กู้ร่วมอาชีพอิสระ สำหรับโครงการที่ ข้าราชการทหาร ผ่อนกู้ แบ่งเป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1. เงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์ หมายถึง เงินกู้ ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เป็น หลักประกันเงินกู้
ประเภทที่ 2. เงินกู้ อทบ.พิเศษ หมายถึง เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อซื้อที่ดินเป็นของตนเอง , เพื่อการไถ่ถอนจำนอง เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นหลักประกันเงินกู้
แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. อทบ.พิเศษ ประเภทที่ 1 นำ “ที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกันเงินกู้ ”
ข. อทบ.พิเศษ ประเภทที่ 2 นำ “ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกันเงินกู้ ”
ประเภทที่ 3. การกู้เงิน อทบ.เคหสงเคราะห์ หมายถึง เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อ “ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน / ห้องชุด ”, “ปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัย ”ในที่ดินของตนเอง / คู่สมรส หรือ กู้ไปเพื่อ "การไถ่ถอนจำนอง/ ไถ่ถอนจากการขายฝาก " โดยมี “ที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด ” เป็นหลักประกันเงินกู้
มีหลักเกณฑ์การกู้เงิน อทบ. อย่างไร?
การผ่อนกู้ มีหลักเกณฑ์ ทั้ง3 ส่วน "โครงการเงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์" "โครงการกู้เงิน อทบ.พิเศษ" และ "โครงการ เงินกู้ อทบ.เพื่อการเคหสงเคราะห์" ของ กองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก (กอท.สก.ทบ.) มีดังนี้
"โครงการเงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์" มีขั้นตอนดังนี้
1. ต้องเป็นข้าราชการทหารประจำ และมี อทบ.ฝาก
2. ยื่นคำขอกู้เงินผ่านหน่วยงานต้นสังกัด
3. วงเงินกู้ ให้กู้ได้โดยถือจำนวนเงิน อทบ.ฝาก เป็นเกณฑ์
- กู้ในวงเงินเกินกว่าเงิน อทบ.ฝาก ที่มีอยู่ได้ไม่เกิน 30,000 บาท โดยให้ข้าราชการสังกัดเดียวกันกับผู้กู้ 1 นาย เป็นผู้ค้ำประกัน
- กู้ในวงเงินเกินกว่าเงิน อทบ.ฝาก ที่มีอยู่ได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยให้ข้าราชการสังกัดเดียวกันกับผู้กู้ 2 นาย เป็นผู้ค้ำประกัน
4. ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ต้องมีเงินได้คงเหลือ ไม่น้อยกว่า 3,000 บาท
5. ผู้กู้ผ่อนชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 10 งวด สามารถขอกู้ใหม่ได้ โดยวงเงินกู้ใหม่ที่จะได้รับ จะหักชำระหนี้คงค้างเดิม
6. กำหนดการผ่อนชำระ 48 เดือน กรณีวงเงินกู้ 100,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระ 48 เดือน หรือ 60 เดือน
7. เมื่ออนุมัติเงินกู้แล้ว จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีหน่วยต้นสังกัดโดยตรง
"โครงการกู้เงิน อทบ.พิเศษ" มีขั้นตอนดังนี้
1. นำโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เป็นหลักประดับเงินกู้ (ประเภทที่ 1)
2. นำโฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นหลักประกันเงินกู้ (ประเภทที่ 2)
3. เป็นข้าราชการประจำ และมีเงิน อบท.ฝาก
4. ยื่นคำขอกู้เงินผ่านหน่วยต้นสังกัด
5. ต้องทำประกันอัคคีภัยไว้ตลอดระยะเวลาจำนอง(ประเภทที่ 2)
6. ผ่อนชำระเงินกู้ 10-20 ปี
7. จ่ายเงินกู้ เมื่อจดทะเบียนจำนอง และหลักฐานถูกต้อง รับเงินที่ สก.ทบ.เท่านั้น
8. ผู้กู้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยว่า 1 ใน 3 สามารถกู้ใหม่ได้ โดยไม่ต้องชำระหนี้เดิม
โดยจำแนก ชั้นยศ วงเงินกู้ ผ่อนระยะปี ทั้งประเภทที่ 1 และ 2 ดังนี้
ชั้นยศ "พลอาสาสมัคร - ส.อ." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 200,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 2,171 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 700,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 7,797 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 4,816/เดือน ชั้นยศ "จ.ส.ต.-จ.ส.อ." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 250,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 2,714 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 700,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 7,797 บาท ผ่อน 20 ปี ส่ง 4,816 บาท
ชั้นยศ "ร.ต.-ร.อ." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 250,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 2,714 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 700,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 10,853 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 6,879/เดือน
ชั้นยศ "พ.ต." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 550,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 5,969 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 1,200,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 13,024 บาท ผ่อน 20 ปี ส่ง 8,255 บาท
ชั้นยศ "พ.ท." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 700,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 7,597 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 1,500,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 16,279 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง10,319 บาท/เดือน
ชั้นยศ "พ.อ." ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 900,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 9,768 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 1,800,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 19,535 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 12,382 บาท/เดือน
ชั้นยศ "พ.อ.(พิเศษ)" ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 1,200,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 13,024 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 1,800,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 19,535 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 12,382 บาท/เดือน
ชั้นยศ "พล.ต.ขึ้นไป" ประเภทที่ 1 วงเงินกู้ 1,500,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 16,279 บาท/เดือน ประเภทที่ 2 วงเงินกู้ 2,000,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 21,706 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 13,758 บาท/เดือน
"โครงการ เงินกู้ อทบ.เพื่อการเคหสงเคราะห์"** มีขั้นตอนดังนี้
1. รับราชการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีเงิน อทบ.ฝาก
2. นำโฉนดที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด มาเป็นหลักประกันเงินกู้
3. ใช้ผู้กู้ร่วมได้ โดยผู้กู้ร่วมต้องเป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้กู้ร่วมเป็นข้าราชการ ทบ. กู้ได้จำนวนเงินตามชั้นยศ
- ผู้กู้ร่วมเป็นข้าราชการทั่วไป กู้ได้ไม่เกิน 65 เท่า
- ผู้กู้ร่วมเป้นพนักงานรัฐวิสาหกิจ/เอกชน/อาชีพส่วน กู้ไม่เกิน 40 เท่า
4. ยื่นคำขอกู้ผ่านหน่วยงานต้นสังกัด
5. ต้องทำประกันอัคคีภัยตลอดอายุสัญญาการกู้เงิน
6. การจ่ายเงินกู้
- การปลูกสร้างอาคารจ่ายเงินเป็น 3 งวด อัตรา 2:1:1 รับเงินที่ กอท.สก.ทบ. เท่านั้น
- การซื้อบ้านพร้อมที่ดินหรือห้องชุด จ่ายเงินเมื่อจดทะเบียนจำนอง ณ ที่สำนักงานที่ดิน
7. ผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน 40 ปี นับอายุผู้กู้เป็นเกณฑ์ โดยชำระคืนให้เสร็จสิ้นก่อน อายุ 65 ปี
โดยจำแนก ชั้นยศ วงเงินกู้ ผ่อนระยะปี ดังนี้
ชั้นยศ "พล.อาสาฯ-จ.ส.อ." วงเงินกู้ 1,500,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 16,279 บาท/เดือน ผ่อน 15 ปี ส่ง 12,257 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 10,319 บาท/เดือน ผ่อน 25 ปี ส่ง 9,212 บาท/เดือน ผ่อน 30 ปี ส่ง 8,517 บาท/เดือน ผ่อน 35 ปี ส่ง 8,056 บาท/เดือน และส่ง 40 ปี ส่ง 7,738 บาท/เดือน
ชั้นยศ "ร.ต.- ร.อ." วงเงินกู้ 2,000,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 21,706 บาท/เดือน ผ่อน 15 ปี ส่ง 16,342 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 13,758 บาท/เดือน ผ่อน 25 ปี ส่ง 12,282 บาท/เดือน ผ่อน 30 ปี ส่ง 11,356 บาท/เดือน ผ่อน 35 ปี ส่ง 10,741 บาท/เดือน และส่ง 40 ปี ส่ง 10,316 บาท/เดือน
ชั้นยศ "พ.ต.-พ.ท." วงเงินกู้ 3,000,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 32,558 บาท/เดือน ผ่อน 15 ปี ส่ง 24,513 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 20,637 บาท/เดือน ผ่อน 25 ปี ส่ง 18,423 บาท/เดือน
ชั้นยศ "พ.อ. ขึ้นไป" วงเงินกู้ 5,000,000 บาท ผ่อน 10 ปี ส่ง 54,264 บาท/เดือน ผ่อน 15 ปี ส่ง 40,855 บาท/เดือน ผ่อน 20 ปี ส่ง 34,395 บาท/เดือน
นอกจากนี้ สก.ทบ. ยังจะมีหน้าที่ตรวจสอบการโอนเงิน อทบ.ทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ถึงขั้น จะมีการแสดงรายการโอนเงิน อบท.ทุกประเภท ลงรายละเอียด เป็นรายบุคคล ทั้งการโอนเงิน หรือการหักเงิน อทบ.ทุกประเภทไปด้วย
สำหรับการกู้เงิน อทบ.พิเศษ และ อทบ.เคหฯ
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้น ผู้บังคับกองร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไป ลงนามรับรองลายมือชื่อ ผู้ขอ กู้เงิน (อ.4) ด้านหน้า ให้ผู้กู้เงิน ส่งหลักฐานผ่าน ผบ.หน่วย และผู้มีหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน คำขอกู้ฯ โดยให้คู่สมรสลงนามเป็นพยาน ยังมิต้องลงนามในหนังสือสัญญากู้เงินฯ ทั้ง 3ฉบับ การลงนามใน คำขอกู้ รายละเอียดดังนี้
ให้ผู้บังคับหน่วยตั้งแต่ระดับกองพัน หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ ทำการแทน พิจารณาอนุมัติ และลงนามใน คำขอกู้ฯ ด้านหลัง และจัดทำหนังสือ นำหน่วย มายัง สก.ทบ. โดยเรียน จก.สก.ทบ. (ผ่าน กอท.สก.ทบ.) ส่งเรื่องมายัง สก.ทบ. เพื่อตรวจสอบเอกสาร , แต่งตั้ง คณะกรรมการ สก.ทบ. เพื่อไปตรวจสอบ และ ประเมินราคา หลักทรัพย์ ร่วมกับผู้กู้ คณะกรรมการ สก.ทบ. รายงานขออนุมัติวงเงินกู้ จาก จก.สก.ทบ.เมื่อได้รับอนุมัติแล้วกรรมการจะ ไปทำนิติกรรมจำนอง ร่วมกับ ผู้กู้ ต่อไป
ส่วนในรายละเอียดเชิงลึกว่า มีบุคคลภายนอก ที่ไม่ใช่ทหาร ใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับการโอนเงิน ฝากเงิน รับเงิน หรือไม่ ไม่มีใครรู้.