รัฐบาลรอลุ้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยงบปี 63 วันนี้ "วิษณุ" ตื่นเต้นศาล รธน.นัดชี้ชะตาเร็วกว่าที่คาด เผยเตรียมแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว แย้มประชุม ครม. 11 ก.พ.ชงเสนอร่างใหม่เข้าสภาฯ “ศักดิ์สยาม” เผยถ้าล่ม นายกฯเปิดทางกู้ลงทุนไปก่อน “สมคิด” ลั่นพร้อมอัดเงินสู่ระบบ สั่ง “คลัง” ศึกษาออกกองทุน TFF ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน “อุตตม” อนุมัติรายได้จากการส่งออก นำกลับประเทศ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดแรงกดดันบาทแข็งค่า
จากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ ในคดีที่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคหนึ่ง(1) ว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (ร่าง พ.ร.บ.งบฯ) ตราขึ้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจาก ส.ส.ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติทั้งที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมในระหว่างการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันนี้ (7 ก.พ.) เวลา 13.30 น.
วานนี้ (6 ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมการรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลได้เตรียมการและนัดแนะกับสำนักงบประมาณไว้ก่อนแล้ว มีหลายทางเลือก ซึ่งในวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อาจจำเป็นต้องเปิดสมัยประชุมสภาฯสมัยวิสามัญในช่วงปิดสมัยประชุม หากไม่ถึงขั้นนั้น ก็ว่าตามคำวินิจฉัยของศาลฯ แต่ยังไม่ทราบว่าศาลฯ จะว่าอย่างไร
“ผมก็ตื่นเต้น ที่รู้ว่าศาลฯนัดวินิจฉัย ในวันที่ 7 ก.พ. ถือว่าเร็วเกินกว่าที่คาด แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรรัฐบาลก็จะดำเนินการไม่ให้เกิดความล่าช้าเสียหาย และไม่ว่าศาลฯ จะวินิจฉัยอย่างไร เราเตรียมแนวทางปฏิบัติตามไว้ทุกทาง” นายวิษณุ ระบุ
เมื่อถามว่า หากจำเป็นต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ จะพิจารณา 3 วาระรวด เลยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปคิดถึงขั้นนั้น เมื่อศาลฯกรุณาพิจารณาให้โดยเร็วแล้ว ทุกฝ่ายก็ไม่ควรล่าช้าอีกในการปฏิบัติตาม ข้อสำคัญเมื่อศาลฯ วินิจฉัยมาแล้ว ขอให้เข้าใจว่าศาลฯให้ปฏิบัติอย่างไร เพราะศาลฯ คงไม่กำหนดเป็นขั้นตอนให้ปฏิบัติตาม เราต้องอ่านคำวินิจฉัย เพื่อถอดรหัสให้ได้ว่า ต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อเราเตรียมการไว้ทุกทางก็น่าจะปฏิบัติได้
“ศาลฯ วินิจฉัยวันที่ 7 ก.พ. ส่วน วันที่ 8-10 ก.พ. เป็นวันหยุดราชการ ก็มีเวลาที่ทุกฝ่ายจะได้เตรียมการไปสู่ วันที่ 11 ก.พ. ที่มีการประชุม ครม. จะทำอย่างไรก็ทำกัน เช่น ศาลฯ บอกว่าใช้ไม่ได้หมดทั้งฉบับ วันประชุม ครม.ก็เสนอใหม่ ถ้าศาลฯวินิจฉัยว่า ใช้ได้เรียบร้อยทุกอย่างก็จบ แต่ก็ไม่คิดว่าศาลฯ จะวินิจฉัยเช่นนั้น หรือศาลฯ บอกให้แก้ไขด้วยวิธีการอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น” รองนายกฯกล่าว
นายกฯเปิดทางกู้ลงทุนโครงการก่อน
อีกด้าน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า นายกฯได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการในปี 2563 ซึ่งกรณีที่ การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา ต้องพร้อมดำเนินการได้ทันที เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถ้าร่าง พ.ร.บ.งบฯ มีปัญหา ให้ประสานสำนักงบประมาณเพื่อกู้เงินมาดำเนินการโครงการไปก่อน เมื่อร่าง พ.ร.บ.งบฯผ่าน ก็นำงบฯ มาใช้คืนเงินกู้ ซึ่งขณะนี้เพดานหนี้สาธารณะ มีอยู่อีกประมาณ 20% โดยปี 2563 คมนาคม มีวงเงินงบประมาณ 2.08 แสนล้านบาทเศษ แบ่งเป็นงบลงทุน 1.7 แสนล้านบาทเศษ
วันเดียวกัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างร่วมงาน Posttoday Forum 2020 “ถอดรหัสเศรษฐกิจปี 2020” โดยระบุว่า ยังคงยืนยันการทำงานเจตนาเดิม 2 ด้าน คือ ด้วยพยุงไม่ให้เศรษฐกิจไม่ถดถอย และสร้างความสมดุลเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ เมื่อไทยยังเจอมรสุมงบประมาณล่าช้า ปัญหาสงครามเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ แต่เชื่อมั่นว่า สหรัฐฯเลือกตั้งเมื่อไร เศรษฐกิจสหรัฐฯจะดีขึ้น สำหรับมรสุมจากปัญหาไวรัสโคโรนาแพร่ระบาด ขอให้มั่นใจกระทรวงสาธารณสุขจะดูแลป้องกันการแพร่เชื้อโรคได้ แม้ว่าช่วงนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่เข้ามา จึงอยากผลักดันไทยเที่ยวไทย ท่องเที่ยวกันเอง เพื่อรักษาเศรษฐกิจในประเทศ โดยคลังเตรียมออกมาตรการมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเร็วๆนี้ ทั้งชิมช้อปใช้เฟส 4 และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
“ยอมรับว่า ปัญหาอีกด้านคือ งบประมาณปี 63 คาดว่าอาจทำให้งบประมาณออกสู่ระบบได้ในเดือนพ.ค. โดยต้องรอลุ้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในวันศุกร์นี้ จึงเป็นภาระหนักของคลังเพราะเหลือเวลาเงินงบประมาณเพียง 4 - 5 เดือน ในปีนี้ จึงเตรียมแผนสำรองผลักโครงการที่ต้องใช้งบประมาณภายใน 1 ปี ด้วยการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน TFF เพื่อขายหน่วยลงทุนให้ประชาชน หรือการให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรให้ขายกับประชาชน โดยจ่ายผลตอนแทนดอกเบี้ยสูงกว่าตลาด โดยไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณ หากคลังออกพันธบัตรดอกเบี้ยร้อยละ 3 น่าจะดึงดูดใจ คาดว่าจะระดมทุนได้ไม่มีปัญหา และเมื่อ กนง.ประกาศลดดอกเบี้ย ต้องให้ธนาคารช่วยกันลดดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศช่วงนี้” นายสมคิด กล่าว
มั่นใจ “EEC-5G” พาเศรษฐกิจบูม
นายสมคิด กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณได้กำลังหารือกัน เพื่อผ่ามรสุม จากวันนี้ไปถึงครึ่งปี แม้งบประมาณใช้จ่ายไม่เต็มที่ ต้องประคองร่วมกัน ไม่ใช่โทษใครถูกใครผิด ทุกฝ่ายต้องเป็นหลักให้คนไทยไม่ตื่นกลัว หากจีดีพีขยายตัวได้น้อยเพียงร้อยละ 2 - 3 ถือว่าดีแล้ว ขณะที่หลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เยอรมัน คาดการณ์ขยายไม่ถึงร้อยละ 1 ยกเว้น เวียดนาม อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ เพราะกำลังขยายตัวเหมือนกับไทยหลายปีก่อน เมื่อเขต EEC ชัดเจน ประกาศให้ชัดว่าศูนย์กลางในภูมิภาคคือ ไทย จึงต้องผลักดันโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน รองรับอุตสาหกรรมเข้ามาขยายการลงทุนเมื่อตั้งเขตอุตสาหกรรมในเขต EEC แล้ว ต้องสร้างแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เพื่อดึงคนเข้าไปท่องเที่ยวกรีนปาร์ค ผ่านเรือครูส เรือสำราญขนาดใหญ่ ด้วยการสร้างสตอรี่ต้อนรับการท่องเที่ยว
“เมื่อเขตEEC สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ต้องเร่งรัดประมูล 5G เพราะเปลี่ยนแปลงการผลิต อุตสาหกรรมที่เข้ามายังเขตEECต้องใช้ 5G ทั้งหมด ทำให้หลายค่ายมือถือต่างลงทุนระบบ 5G จึงต้องร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้น” นายสมคิด ระบุ
ดึงเงินส่งออกกลับ-แก้บาทแข็ง
ขณะที่ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเสริมว่า ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยเจอมรสุมหลายลูก แม้งบประมาณรายจ่ายปี 63 เบิกจ่ายล่าช้า ขอย้ำว่าเงินเดือนราชการ ค่าใช้จ่ายไม่เป็นปัญหา เพราะ ครม. เห็นชอบให้เบิกจ่ายรายได้ประจำสัดส่วนร้อยละ 75 ของวงเงินทั้งหมด จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่เงินลงทุนยังทำไม่ได้ จึงเตรียมพร้อมเพื่อให้มีเงินลงทุนใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะล่าช้านานแล้ว ขณะที่การลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวต้องขับเคลื่อน กรณี กนง.ลดดอกเบี้ย นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุน ต่างชาติมองว่าทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง จึงมีความเชื่อมั่น
“ขณะนี้รัฐบาลเดินหน้าผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการอนุมัติผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้ผู้ส่งออก ขยายวงเงินรายได้จากการส่งออกนำกลับเข้าประเทศ 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ ปรับเพิ่มเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดต้นทุนให้กับผู้ส่งออก และลดแรงกดดันต่อเงินบาทแข็งค่า ไม่ต้องรีบเร่งนำเงินกลับเขาประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลเงินไหลเข้าออกในระยะยาว” รมว.คลัง กล่าว
จากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ ในคดีที่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคหนึ่ง(1) ว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (ร่าง พ.ร.บ.งบฯ) ตราขึ้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจาก ส.ส.ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติทั้งที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมในระหว่างการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันนี้ (7 ก.พ.) เวลา 13.30 น.
วานนี้ (6 ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมการรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลได้เตรียมการและนัดแนะกับสำนักงบประมาณไว้ก่อนแล้ว มีหลายทางเลือก ซึ่งในวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อาจจำเป็นต้องเปิดสมัยประชุมสภาฯสมัยวิสามัญในช่วงปิดสมัยประชุม หากไม่ถึงขั้นนั้น ก็ว่าตามคำวินิจฉัยของศาลฯ แต่ยังไม่ทราบว่าศาลฯ จะว่าอย่างไร
“ผมก็ตื่นเต้น ที่รู้ว่าศาลฯนัดวินิจฉัย ในวันที่ 7 ก.พ. ถือว่าเร็วเกินกว่าที่คาด แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรรัฐบาลก็จะดำเนินการไม่ให้เกิดความล่าช้าเสียหาย และไม่ว่าศาลฯ จะวินิจฉัยอย่างไร เราเตรียมแนวทางปฏิบัติตามไว้ทุกทาง” นายวิษณุ ระบุ
เมื่อถามว่า หากจำเป็นต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ จะพิจารณา 3 วาระรวด เลยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปคิดถึงขั้นนั้น เมื่อศาลฯกรุณาพิจารณาให้โดยเร็วแล้ว ทุกฝ่ายก็ไม่ควรล่าช้าอีกในการปฏิบัติตาม ข้อสำคัญเมื่อศาลฯ วินิจฉัยมาแล้ว ขอให้เข้าใจว่าศาลฯให้ปฏิบัติอย่างไร เพราะศาลฯ คงไม่กำหนดเป็นขั้นตอนให้ปฏิบัติตาม เราต้องอ่านคำวินิจฉัย เพื่อถอดรหัสให้ได้ว่า ต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อเราเตรียมการไว้ทุกทางก็น่าจะปฏิบัติได้
“ศาลฯ วินิจฉัยวันที่ 7 ก.พ. ส่วน วันที่ 8-10 ก.พ. เป็นวันหยุดราชการ ก็มีเวลาที่ทุกฝ่ายจะได้เตรียมการไปสู่ วันที่ 11 ก.พ. ที่มีการประชุม ครม. จะทำอย่างไรก็ทำกัน เช่น ศาลฯ บอกว่าใช้ไม่ได้หมดทั้งฉบับ วันประชุม ครม.ก็เสนอใหม่ ถ้าศาลฯวินิจฉัยว่า ใช้ได้เรียบร้อยทุกอย่างก็จบ แต่ก็ไม่คิดว่าศาลฯ จะวินิจฉัยเช่นนั้น หรือศาลฯ บอกให้แก้ไขด้วยวิธีการอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น” รองนายกฯกล่าว
นายกฯเปิดทางกู้ลงทุนโครงการก่อน
อีกด้าน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า นายกฯได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการในปี 2563 ซึ่งกรณีที่ การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา ต้องพร้อมดำเนินการได้ทันที เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถ้าร่าง พ.ร.บ.งบฯ มีปัญหา ให้ประสานสำนักงบประมาณเพื่อกู้เงินมาดำเนินการโครงการไปก่อน เมื่อร่าง พ.ร.บ.งบฯผ่าน ก็นำงบฯ มาใช้คืนเงินกู้ ซึ่งขณะนี้เพดานหนี้สาธารณะ มีอยู่อีกประมาณ 20% โดยปี 2563 คมนาคม มีวงเงินงบประมาณ 2.08 แสนล้านบาทเศษ แบ่งเป็นงบลงทุน 1.7 แสนล้านบาทเศษ
วันเดียวกัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างร่วมงาน Posttoday Forum 2020 “ถอดรหัสเศรษฐกิจปี 2020” โดยระบุว่า ยังคงยืนยันการทำงานเจตนาเดิม 2 ด้าน คือ ด้วยพยุงไม่ให้เศรษฐกิจไม่ถดถอย และสร้างความสมดุลเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ เมื่อไทยยังเจอมรสุมงบประมาณล่าช้า ปัญหาสงครามเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ แต่เชื่อมั่นว่า สหรัฐฯเลือกตั้งเมื่อไร เศรษฐกิจสหรัฐฯจะดีขึ้น สำหรับมรสุมจากปัญหาไวรัสโคโรนาแพร่ระบาด ขอให้มั่นใจกระทรวงสาธารณสุขจะดูแลป้องกันการแพร่เชื้อโรคได้ แม้ว่าช่วงนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่เข้ามา จึงอยากผลักดันไทยเที่ยวไทย ท่องเที่ยวกันเอง เพื่อรักษาเศรษฐกิจในประเทศ โดยคลังเตรียมออกมาตรการมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเร็วๆนี้ ทั้งชิมช้อปใช้เฟส 4 และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
“ยอมรับว่า ปัญหาอีกด้านคือ งบประมาณปี 63 คาดว่าอาจทำให้งบประมาณออกสู่ระบบได้ในเดือนพ.ค. โดยต้องรอลุ้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในวันศุกร์นี้ จึงเป็นภาระหนักของคลังเพราะเหลือเวลาเงินงบประมาณเพียง 4 - 5 เดือน ในปีนี้ จึงเตรียมแผนสำรองผลักโครงการที่ต้องใช้งบประมาณภายใน 1 ปี ด้วยการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน TFF เพื่อขายหน่วยลงทุนให้ประชาชน หรือการให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรให้ขายกับประชาชน โดยจ่ายผลตอนแทนดอกเบี้ยสูงกว่าตลาด โดยไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณ หากคลังออกพันธบัตรดอกเบี้ยร้อยละ 3 น่าจะดึงดูดใจ คาดว่าจะระดมทุนได้ไม่มีปัญหา และเมื่อ กนง.ประกาศลดดอกเบี้ย ต้องให้ธนาคารช่วยกันลดดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศช่วงนี้” นายสมคิด กล่าว
มั่นใจ “EEC-5G” พาเศรษฐกิจบูม
นายสมคิด กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณได้กำลังหารือกัน เพื่อผ่ามรสุม จากวันนี้ไปถึงครึ่งปี แม้งบประมาณใช้จ่ายไม่เต็มที่ ต้องประคองร่วมกัน ไม่ใช่โทษใครถูกใครผิด ทุกฝ่ายต้องเป็นหลักให้คนไทยไม่ตื่นกลัว หากจีดีพีขยายตัวได้น้อยเพียงร้อยละ 2 - 3 ถือว่าดีแล้ว ขณะที่หลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เยอรมัน คาดการณ์ขยายไม่ถึงร้อยละ 1 ยกเว้น เวียดนาม อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ เพราะกำลังขยายตัวเหมือนกับไทยหลายปีก่อน เมื่อเขต EEC ชัดเจน ประกาศให้ชัดว่าศูนย์กลางในภูมิภาคคือ ไทย จึงต้องผลักดันโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน รองรับอุตสาหกรรมเข้ามาขยายการลงทุนเมื่อตั้งเขตอุตสาหกรรมในเขต EEC แล้ว ต้องสร้างแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เพื่อดึงคนเข้าไปท่องเที่ยวกรีนปาร์ค ผ่านเรือครูส เรือสำราญขนาดใหญ่ ด้วยการสร้างสตอรี่ต้อนรับการท่องเที่ยว
“เมื่อเขตEEC สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ต้องเร่งรัดประมูล 5G เพราะเปลี่ยนแปลงการผลิต อุตสาหกรรมที่เข้ามายังเขตEECต้องใช้ 5G ทั้งหมด ทำให้หลายค่ายมือถือต่างลงทุนระบบ 5G จึงต้องร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้น” นายสมคิด ระบุ
ดึงเงินส่งออกกลับ-แก้บาทแข็ง
ขณะที่ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวเสริมว่า ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยเจอมรสุมหลายลูก แม้งบประมาณรายจ่ายปี 63 เบิกจ่ายล่าช้า ขอย้ำว่าเงินเดือนราชการ ค่าใช้จ่ายไม่เป็นปัญหา เพราะ ครม. เห็นชอบให้เบิกจ่ายรายได้ประจำสัดส่วนร้อยละ 75 ของวงเงินทั้งหมด จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่เงินลงทุนยังทำไม่ได้ จึงเตรียมพร้อมเพื่อให้มีเงินลงทุนใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะล่าช้านานแล้ว ขณะที่การลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวต้องขับเคลื่อน กรณี กนง.ลดดอกเบี้ย นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุน ต่างชาติมองว่าทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง จึงมีความเชื่อมั่น
“ขณะนี้รัฐบาลเดินหน้าผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการอนุมัติผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้ผู้ส่งออก ขยายวงเงินรายได้จากการส่งออกนำกลับเข้าประเทศ 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ ปรับเพิ่มเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดต้นทุนให้กับผู้ส่งออก และลดแรงกดดันต่อเงินบาทแข็งค่า ไม่ต้องรีบเร่งนำเงินกลับเขาประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลเงินไหลเข้าออกในระยะยาว” รมว.คลัง กล่าว