ผู้จัดการรายวัน360- "วิษณุ"มั่นใจ"ชวน"คุมเกมซักฟอกอยู่ ชี้สมาชิกมีอำนาจขอปิดอภิปรายได้ หากอภิปรายย้อนถึงยุค คสช. อยู่ที่โหวตกัน "บิ๊กตู่" เตรียมข้อมูลไว้สู้ศึกแล้ว "บิ๊กป้อม" ยันพูดแต่เรื่องจริง โวไม่ต้องจัดองครักษ์ มั่นใจพรรคร่วมรัฐบาลร่วมมือลงคะแนนทิศทางเดียวกัน วิปรัฐบาลสบช่องยื่น "ชวน" วินิจฉัยญัตติอภิปรายไม้ไว้วางใจเป็นเท็จ หลังพบข้อความนายกฯ ฉีกรัฐธรรมนูญ พร้อมนัดถก 3 ฝ่ายเคาะวันอภิปราย 5 ก.พ.นี้ ชง 25-27 ก.พ. ลงมติ 28 ก.พ. เพื่อไทยย้ำซักฟอกโยงยุค คสช. แน่ "มิ่งขวัญ" แยกทางพรรคเศรษฐกิจใหม่ ย้ำจุดยืนอยู่ร่วมพรรคฝ่ายค้านเหมือนเดิม
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกำหนดวันและกรอบเวลาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่า เรื่องวัน ยังไม่ทราบ เพราะขณะนี้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อของญัตติ และตามวิธีปฏิบัติแล้ว ทางสภาฯ จะมีหนังสือถามมายังรัฐบาลว่าสะดวกในวันใด หากมาทันวันที่ 3ก.พ. คงได้หารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (4 ก.พ.) แต่ถ้าไม่ทันก็นำเข้าที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้า โดยรัฐบาลจะเป็นคนบอกไปว่าสะดวกวันไหน และต้องมีการหารือกันกับวิปฝ่ายค้าน และประธานสภาฯ จะต้องดูความเหมาะสม ความสะดวก และความจำเป็นของทางสภาฯ ด้วย
ส่วนที่ฝ่ายค้านระบุอยากอภิปรายในวันที่ 19 ก.พ.นั้น ตนได้ยินแล้ว แต่ต้องอยู่ที่ประธานสภาฯ และ 6 คน ที่ถูกอภิปรายจะต้องมีส่วนในการบอกว่าพร้อมเมื่อไร และคนใน ครม. แม้จะไม่ถูกอภิปราย ก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาด้วยว่ามีวันไหนที่งานคั่งค้างอยู่ หรือไม่ ทั้งนี้ วันจันทร์ อังคาร เป็นวันประชุมวุฒิสภา และวันอังคาร ยังเป็นวันประชุม ครม. ด้วย ถ้าจำเป็น ครม. เลื่อนประชุมได้ ก็จะได้วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ จะต่อ เสาร์ อาทิตย์ ก็ไม่เป็นไร ถ้าสมาชิกสะดวก ส่วนจำนวนวันอภิปรายนั้น ตอบไม่ถูก ต้องหารือใน ครม.ก่อน และต้องดูว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายมากขนาดไหน วิปสองฝ่ายคงต้องหารือกันว่าผู้อภิปรายมีกี่คน จะใช้เวลาประมาณเท่าไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านจะอภิปรายไปถึงช่วงรัฐบาลคสช.ทำได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ประธานสภาฯ ถ้าประธานสภาฯ อนุญาตให้ถาม ก็ต้องมีคำตอบ แต่ถ้าอภิปรายไปถึงช่วง คสช. การเสนอปิดประชุม เป็นอำนาจของสมาชิกเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองญัตติ แล้วจึงโหวตกัน เป็นไปตามข้อบังคับ ตนไม่ได้ชี้นำ ทุกอย่างขอให้ว่ากันตามข้อบังคับ และเชื่อมั่นในตัวประธานสภาฯ ว่าสามารถคุมเกมได้
เมื่อถามถึงการเตรียมพร้อมในการชี้แจง นายวิษณุ กล่าวว่า ดูตามญัตติที่เขายื่น ที่ว่าเล่นพวก เอื้อประโยชน์ จะเล่นที่ไหน เอื้อประโยชน์ใคร ทุกคนต้องไปคิดดูเอง ถ้าไม่มี แสดงว่าอีกฝ่ายหนึ่งแต่งขึ้นมา แต่ถ้ามีทางให้แปลเช่นนั้นได้ก็เตรียมตอบ การอภิปราย คือ การกล่าวหา อีกฝ่ายมีหน้าที่แก้ข้อกล่าวหา มีหลักฐานก็นำมาแสดง ในอดีต เคยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งเคยถูกอภิปรายเรื่องความเคลื่อนไหวทางเงิน ทำเอาท่านงงเพราะไม่รู้เรื่อง เมื่อลงมติผ่านไปมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบย้อนหลัง สุดท้ายจบ ไม่มีอะไร เพราะเป็นของปลอม ดังนั้นหลักคือ ต้องชี้แจง
เมื่อถามว่า กลัวฝ่ายค้านจะนำเรื่องการเสียบบัตรมาอภิปราย หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาหรอก รัฐบาลผิดอะไรที่ต้องไปกลัว แต่เกรงไว้ก่อนนั้นดีทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นมันจะประมาท เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
"บิ๊กป้อม"บอกไม่ต้องมีองครักษ์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า การอภิปรายก็คงต้องเตรียมการไว้แหละนะ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องเตรียมตัวจะพูดแต่เรื่องจริง จบละ ก็ชี้แจงเรื่องจริง ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
เมื่อถามถามต่อว่ามีบรรดา ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ เตรียมจะมาทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์ในการอภิปราย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ต้องทีมหรอก ไม่ต้องจัด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล ต้องร่วมกัน ทุกพรรคต้องร่วมกันทำงาน ไม่เช่นนั้นจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้อย่างไร ส่วนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ยังไม่เกิด ให้เกิดเสียก่อน
ถก 3 ฝ่ายเคาะวันอภิปราย 5 ก.พ.นี้
ที่รัฐสภา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า วันพุธที่ 5 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมร่วม 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล วิปรัฐบาล และวิฝ่ายค้าน เพื่อกำหนดวันและเวลาการอภิปรายที่ชัดเจนว่าจะเป็นวันใด โดยวิปรัฐบาลเห็นว่าวันที่เหมาะสมควรเป็นวันที่ 20 ก.พ. เป็นต้นไป โดยใช้เวลาอภิปราย 3 วัน และลงมติ 1 วัน รวมเป็น 4 วัน
ยื่น "ชวน" ตรวจสอบญัตติเท็จ
นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ตรวจสอบญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะประเด็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่าเป็นญัตติเท็จ เพราะวิปรัฐบาลเห็นว่ามีข้อความอันเป็นเท็จ ขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาฯ หรือเป็นญัตติที่ต้องแก้ไขปรับปรุง โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีพฤติการณ์ไม่ยึดมั่น และศรัทธาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยมีพฤติการณ์ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ เป็นข้อความอันเป็นเท็จอย่างชัดเจน เพราะตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ยังไม่เคยมีการฉีกรัฐธรรมนูญเลย ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ก็ยังใช้อยู่ และพล.อ.ประยุทธ์ ก็มาจากการเลือกตั้ง ตามขั้นตอนทุกประการ จึงชัดแจ้งว่า เป็นญัตติที่เป็นเท็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ ที่จะเป็นผู้พิจารณา
ชงเคาะซักฟอก 3 วัน 25-27 ก.พ.
นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี ประธาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และวิปรัฐบาล กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมวิปรัฐบาล ให้อภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นเวลา 3 วัน คือ วันที่ 25 -27 ก.พ.นี้ แล้วลงมติในวันที่ 28 ก.พ. เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 151 การลงมติ มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง ซึ่งการอภิปรายวันสุดท้าย คือ วันที่ 27 ก.พ. จะต้องเสร็จก่อนเวลา 24.00 น. ซึ่งวิปจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเห็นด้วย ทั้งนี้ จะได้ส่งให้ทางท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้รับทราบต่อไป
ยันซักฟอกโยงยุค คสช.
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านจะประชุมในวันนี้ (4 ก.พ.) เพื่อกำหนดตัวผู้อภิปรายเป็นรายประเด็น เบื้องต้นจะให้มีผู้อภิปรายทั้งหมด 20-25 คน โดยหนึ่งในนั้น คือ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่เคยหารือกับฝ่ายค้านในเบื้องต้นว่าจะขอเวลาในการอภิปราย 2 ชม. เพื่อซักฟอกในประเด็นเรื่องของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีแนวโน้มเป็นไปได้สูง ที่เนื้อหาการอภิปราย จะต้องย้อนหลังไปถึงการทำงานตั้งแต่สมัยรัฐบาล คสช. เพราะเป็นสารตั้งต้นในการกระทำความผิด ซึ่งรัฐบาลจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าวไม่ได้ และประชาชนก็อยากที่จะให้ฝ่ายค้านอภิปราย เพราะตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีการตรวจสอบใดๆ เลย
"มิ่งขวัญ"แยกทางเศรษฐกิจใหม่
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ กล่าวถึงจุดยืนของตนหลังจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ ออกแถลงการณ์ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า แม้พรรคเศรษฐกิจใหม่ มี ส.ส. 6 คน แต่วันนี้ต้องมีความชัดเจนออกมา 1.ในเมื่อพรรคเศรษฐกิจใหม่ บอกว่า มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค และมีมติไม่ร่วมพรรคร่วมฝ่ายค้าน รัฐธรรมนูญระบุว่า ส.ส.ไม่จำเป็นต้องทำตามมติพรรค ผมขอยึดมั่นเอาคำพูดที่ผมได้หาเสียงตั้งแต่ต้นว่าไม่เคยเปลี่ยนแปลง โดยจะยังอยู่กับพรรคร่วมฝ่ายค้าน และ 2.ในเมื่ออุดมการณ์ไปด้วยกันไม่ได้ ผมจะไม่ร่วมอุดมการณ์กับพรรคเศรษฐกิจใหม่ต่อไป ขอประกาศแยกทางจากพรรคเศรษฐกิจใหม่อย่างเด็ดขาด ส่วนพรรคเศรษฐกิจใหม่ จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของพรรคเศรษฐกิจใหม่
"อุดมการณ์ไปกันไม่ได้ ก็อยู่กันไม่ได้ ผมหวังว่าการแถลงครั้งนี้จะชัดเจนและเด็ดขาด และไม่ต้องถามผมอีกว่าจุดยืนผมอยู่ตรงไหน ผมจะรักษาคำมั่นและคำพูดของผม ส่วนคนอื่นผมไปบังคับไม่ได้ ให้ไปใช้วิจารณญาณพิจารณากันเอง" นายมิ่งขวัญ กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวยังจะดำเนินกิจกรรมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านต่อไป โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งได้ขอเวลาอภิปรายไว้ 4 ชม. เพราะเห็นว่าประเทศไทย มีเรื่องที่ต้องอภิปรายจำนวนมาก แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้เวลาอภิปรายขนาดนั้นหรือไม่ และกรณีที่ไม่ลาออก หากลาออก ก็ไม่มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือถ้าอยากให้ออก ก็ให้พรรคเศรษฐกิจใหม่ขับออกได้ และคงไปอยู่กับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน ทั้งนี้ หากพรรคเศรษฐกิจใหม่ มาแถลงชี้แจงและมีข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่วนตัวจะไม่ทนนิ่งอีกต่อไป แต่จะโต้ตอบ เพราะก็สงสัยว่าอะไรที่ทำให้คนเราเปลี่ยนจากหน้าเป็นหลังมือ แต่ไม่รู้เขาเหมือนกัน ถ้าเขามาแถลงข่าว ก็รบกวนสื่อมวลชนถามให้ชัดๆ ด้วย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกำหนดวันและกรอบเวลาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่า เรื่องวัน ยังไม่ทราบ เพราะขณะนี้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อของญัตติ และตามวิธีปฏิบัติแล้ว ทางสภาฯ จะมีหนังสือถามมายังรัฐบาลว่าสะดวกในวันใด หากมาทันวันที่ 3ก.พ. คงได้หารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (4 ก.พ.) แต่ถ้าไม่ทันก็นำเข้าที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้า โดยรัฐบาลจะเป็นคนบอกไปว่าสะดวกวันไหน และต้องมีการหารือกันกับวิปฝ่ายค้าน และประธานสภาฯ จะต้องดูความเหมาะสม ความสะดวก และความจำเป็นของทางสภาฯ ด้วย
ส่วนที่ฝ่ายค้านระบุอยากอภิปรายในวันที่ 19 ก.พ.นั้น ตนได้ยินแล้ว แต่ต้องอยู่ที่ประธานสภาฯ และ 6 คน ที่ถูกอภิปรายจะต้องมีส่วนในการบอกว่าพร้อมเมื่อไร และคนใน ครม. แม้จะไม่ถูกอภิปราย ก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาด้วยว่ามีวันไหนที่งานคั่งค้างอยู่ หรือไม่ ทั้งนี้ วันจันทร์ อังคาร เป็นวันประชุมวุฒิสภา และวันอังคาร ยังเป็นวันประชุม ครม. ด้วย ถ้าจำเป็น ครม. เลื่อนประชุมได้ ก็จะได้วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ จะต่อ เสาร์ อาทิตย์ ก็ไม่เป็นไร ถ้าสมาชิกสะดวก ส่วนจำนวนวันอภิปรายนั้น ตอบไม่ถูก ต้องหารือใน ครม.ก่อน และต้องดูว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายมากขนาดไหน วิปสองฝ่ายคงต้องหารือกันว่าผู้อภิปรายมีกี่คน จะใช้เวลาประมาณเท่าไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านจะอภิปรายไปถึงช่วงรัฐบาลคสช.ทำได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ประธานสภาฯ ถ้าประธานสภาฯ อนุญาตให้ถาม ก็ต้องมีคำตอบ แต่ถ้าอภิปรายไปถึงช่วง คสช. การเสนอปิดประชุม เป็นอำนาจของสมาชิกเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองญัตติ แล้วจึงโหวตกัน เป็นไปตามข้อบังคับ ตนไม่ได้ชี้นำ ทุกอย่างขอให้ว่ากันตามข้อบังคับ และเชื่อมั่นในตัวประธานสภาฯ ว่าสามารถคุมเกมได้
เมื่อถามถึงการเตรียมพร้อมในการชี้แจง นายวิษณุ กล่าวว่า ดูตามญัตติที่เขายื่น ที่ว่าเล่นพวก เอื้อประโยชน์ จะเล่นที่ไหน เอื้อประโยชน์ใคร ทุกคนต้องไปคิดดูเอง ถ้าไม่มี แสดงว่าอีกฝ่ายหนึ่งแต่งขึ้นมา แต่ถ้ามีทางให้แปลเช่นนั้นได้ก็เตรียมตอบ การอภิปราย คือ การกล่าวหา อีกฝ่ายมีหน้าที่แก้ข้อกล่าวหา มีหลักฐานก็นำมาแสดง ในอดีต เคยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งเคยถูกอภิปรายเรื่องความเคลื่อนไหวทางเงิน ทำเอาท่านงงเพราะไม่รู้เรื่อง เมื่อลงมติผ่านไปมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบย้อนหลัง สุดท้ายจบ ไม่มีอะไร เพราะเป็นของปลอม ดังนั้นหลักคือ ต้องชี้แจง
เมื่อถามว่า กลัวฝ่ายค้านจะนำเรื่องการเสียบบัตรมาอภิปราย หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาหรอก รัฐบาลผิดอะไรที่ต้องไปกลัว แต่เกรงไว้ก่อนนั้นดีทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นมันจะประมาท เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
"บิ๊กป้อม"บอกไม่ต้องมีองครักษ์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า การอภิปรายก็คงต้องเตรียมการไว้แหละนะ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องเตรียมตัวจะพูดแต่เรื่องจริง จบละ ก็ชี้แจงเรื่องจริง ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
เมื่อถามถามต่อว่ามีบรรดา ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ เตรียมจะมาทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์ในการอภิปราย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ต้องทีมหรอก ไม่ต้องจัด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล ต้องร่วมกัน ทุกพรรคต้องร่วมกันทำงาน ไม่เช่นนั้นจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้อย่างไร ส่วนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ยังไม่เกิด ให้เกิดเสียก่อน
ถก 3 ฝ่ายเคาะวันอภิปราย 5 ก.พ.นี้
ที่รัฐสภา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า วันพุธที่ 5 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมร่วม 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล วิปรัฐบาล และวิฝ่ายค้าน เพื่อกำหนดวันและเวลาการอภิปรายที่ชัดเจนว่าจะเป็นวันใด โดยวิปรัฐบาลเห็นว่าวันที่เหมาะสมควรเป็นวันที่ 20 ก.พ. เป็นต้นไป โดยใช้เวลาอภิปราย 3 วัน และลงมติ 1 วัน รวมเป็น 4 วัน
ยื่น "ชวน" ตรวจสอบญัตติเท็จ
นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ตรวจสอบญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะประเด็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่าเป็นญัตติเท็จ เพราะวิปรัฐบาลเห็นว่ามีข้อความอันเป็นเท็จ ขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาฯ หรือเป็นญัตติที่ต้องแก้ไขปรับปรุง โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีพฤติการณ์ไม่ยึดมั่น และศรัทธาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยมีพฤติการณ์ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ เป็นข้อความอันเป็นเท็จอย่างชัดเจน เพราะตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ยังไม่เคยมีการฉีกรัฐธรรมนูญเลย ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ก็ยังใช้อยู่ และพล.อ.ประยุทธ์ ก็มาจากการเลือกตั้ง ตามขั้นตอนทุกประการ จึงชัดแจ้งว่า เป็นญัตติที่เป็นเท็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ ที่จะเป็นผู้พิจารณา
ชงเคาะซักฟอก 3 วัน 25-27 ก.พ.
นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี ประธาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และวิปรัฐบาล กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมวิปรัฐบาล ให้อภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นเวลา 3 วัน คือ วันที่ 25 -27 ก.พ.นี้ แล้วลงมติในวันที่ 28 ก.พ. เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 151 การลงมติ มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง ซึ่งการอภิปรายวันสุดท้าย คือ วันที่ 27 ก.พ. จะต้องเสร็จก่อนเวลา 24.00 น. ซึ่งวิปจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเห็นด้วย ทั้งนี้ จะได้ส่งให้ทางท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้รับทราบต่อไป
ยันซักฟอกโยงยุค คสช.
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านจะประชุมในวันนี้ (4 ก.พ.) เพื่อกำหนดตัวผู้อภิปรายเป็นรายประเด็น เบื้องต้นจะให้มีผู้อภิปรายทั้งหมด 20-25 คน โดยหนึ่งในนั้น คือ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่เคยหารือกับฝ่ายค้านในเบื้องต้นว่าจะขอเวลาในการอภิปราย 2 ชม. เพื่อซักฟอกในประเด็นเรื่องของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีแนวโน้มเป็นไปได้สูง ที่เนื้อหาการอภิปราย จะต้องย้อนหลังไปถึงการทำงานตั้งแต่สมัยรัฐบาล คสช. เพราะเป็นสารตั้งต้นในการกระทำความผิด ซึ่งรัฐบาลจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าวไม่ได้ และประชาชนก็อยากที่จะให้ฝ่ายค้านอภิปราย เพราะตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีการตรวจสอบใดๆ เลย
"มิ่งขวัญ"แยกทางเศรษฐกิจใหม่
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ กล่าวถึงจุดยืนของตนหลังจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ ออกแถลงการณ์ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า แม้พรรคเศรษฐกิจใหม่ มี ส.ส. 6 คน แต่วันนี้ต้องมีความชัดเจนออกมา 1.ในเมื่อพรรคเศรษฐกิจใหม่ บอกว่า มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค และมีมติไม่ร่วมพรรคร่วมฝ่ายค้าน รัฐธรรมนูญระบุว่า ส.ส.ไม่จำเป็นต้องทำตามมติพรรค ผมขอยึดมั่นเอาคำพูดที่ผมได้หาเสียงตั้งแต่ต้นว่าไม่เคยเปลี่ยนแปลง โดยจะยังอยู่กับพรรคร่วมฝ่ายค้าน และ 2.ในเมื่ออุดมการณ์ไปด้วยกันไม่ได้ ผมจะไม่ร่วมอุดมการณ์กับพรรคเศรษฐกิจใหม่ต่อไป ขอประกาศแยกทางจากพรรคเศรษฐกิจใหม่อย่างเด็ดขาด ส่วนพรรคเศรษฐกิจใหม่ จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของพรรคเศรษฐกิจใหม่
"อุดมการณ์ไปกันไม่ได้ ก็อยู่กันไม่ได้ ผมหวังว่าการแถลงครั้งนี้จะชัดเจนและเด็ดขาด และไม่ต้องถามผมอีกว่าจุดยืนผมอยู่ตรงไหน ผมจะรักษาคำมั่นและคำพูดของผม ส่วนคนอื่นผมไปบังคับไม่ได้ ให้ไปใช้วิจารณญาณพิจารณากันเอง" นายมิ่งขวัญ กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวยังจะดำเนินกิจกรรมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านต่อไป โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งได้ขอเวลาอภิปรายไว้ 4 ชม. เพราะเห็นว่าประเทศไทย มีเรื่องที่ต้องอภิปรายจำนวนมาก แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้เวลาอภิปรายขนาดนั้นหรือไม่ และกรณีที่ไม่ลาออก หากลาออก ก็ไม่มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือถ้าอยากให้ออก ก็ให้พรรคเศรษฐกิจใหม่ขับออกได้ และคงไปอยู่กับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน ทั้งนี้ หากพรรคเศรษฐกิจใหม่ มาแถลงชี้แจงและมีข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่วนตัวจะไม่ทนนิ่งอีกต่อไป แต่จะโต้ตอบ เพราะก็สงสัยว่าอะไรที่ทำให้คนเราเปลี่ยนจากหน้าเป็นหลังมือ แต่ไม่รู้เขาเหมือนกัน ถ้าเขามาแถลงข่าว ก็รบกวนสื่อมวลชนถามให้ชัดๆ ด้วย