“ญี่ปุ่น” จ่อชงผลศึกษา “อุโมงค์ทางด่วน” ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อม ถ.นราธิวาส–สำโรง (บางนา) ยาว 9 กม. แก้รถติดกลางเมืองสรุป มี.ค.นี้ เสนอ คจร.พร้อมแผนแม่บทแก้จราจร “ผอ.สนข.” เผยมีทางด่วนใต้ดินผ่าเมืองทั้งหมด 9 แนว
วานนี้ (6 ก.พ.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยเผยหลังประชุมร่วมกับ Mr.Hirai Hideki ผู้ช่วย รมว.กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT)และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยว่า ทาง MLIT ได้รายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสม การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด ถ.นราธิวาสราชนครินทร์–สำโรง เป็นระบบทางด่วน ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และบางกระเจ้า เพื่อเป็นทางบายพาสรับรถที่มาจากภาคใต้ ไปทางด้านตะวันออกได้โดยไม่ต้องวิ่งผ่าน กทม. ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าวจะบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณ สาทร สีลม บางรัก พระราม 4 และบริเวณใกล้เคียงด้วย
“การศึกษาเบื้องต้น รูปแบบโครงสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทางรวม 8.7 กม. (เป็นส่วนของอุโมงค์ 7.5 กม.) ขนาด 4 ช่องจราจร ไป–กลับ เริ่มต้นเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) กับ ถ.นราธิวาสฯ และเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร กับสี่แยกบางนา” นายศักดิ์สยาม ระบุ
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า MLIT มีการศึกษา 4 ส่วน คือ 1.สำรวจกายภาพของถนน ได้แก่ การศึกษาภาพตัดขวางของถนน เส้นทางในแนวราบและแนวดิ่ง และจุดเชื่อมต่อ, 2.การประมาณการต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง, 3.การดำเนินการตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อการจราจร ทั้งปริมาณจราจรปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และ 4.แนวทางการนำโครงการไปดำเนินการ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โดยจะสรุปลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ ทั้งรูปแบบการก่อสร้าง มูลค่าการลงทุนเบื้องต้น รายงานให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในเดือน มี.ค.63 จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาต่อไป
"ได้ขอให้ศึกษาว่า เมื่อมีการก่อสร้างจริงจะกระทบต่อจราจรอย่างไร และให้ สนข.หาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งพิจารณากรณีที่ต้องมีการต่อเชื่อมกับระบบทางด่วนอื่นที่มีเอกชนเป็นผู้รับสัมปทาน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบ เชื่อว่ามีผลตอบแทนในการลงทุนทางเศรษฐกิจ เพราะดูจากปริมาณจราจรที่ค่อนข้างมาก ซึ่งจะขึ้นกับรูปแบบก่อสร้างซึ่งมี ทั้งแบบอุโมงค์เดี่ยว กับ 2 อุโมงค์ซ้อนกัน" รมว.คมนาคม กล่าว
นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันรถจากภาคใต้เข้ากทม. เพื่อผ่านไปยังภาคตะวันออกมีปริมาณสูง ซึ่งโครงข่ายทางด่วนบริเวณต่างระดับท่าเรือมีความหนาแน่นมาก ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางใหม่จะติดบริเวณ บางกระเจ้า ที่ห้ามมีการก่อสร้าง ดังนั้นเส้นทางนี้จะทำเป็นอุโมงค์ เส้นบายพาส เพื่อระบายรถ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปโผล่บริเวณไบเทค บางนา ซึ่งสามารถเชื่อมกับ ทางด่วนบางนา-ชลบุรี เพื่อระบายรถได้ ซึ่งการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ จะทำให้มีการเวนคืนน้อยที่สุด โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกทม. และปริมณฑล ที่ MLITศึกษา ซึ่งยังมีอุโมงค์ทางด่วน อีกประมาณ 9 แนว และการแก้ปัญหาจราจรรูปแบบอื่นๆ และการสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาจราจรอย่างยั่งยืนโดย สนข. จะสรุปแผนแม่บทเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) ต่อไป
วานนี้ (6 ก.พ.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยเผยหลังประชุมร่วมกับ Mr.Hirai Hideki ผู้ช่วย รมว.กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT)และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยว่า ทาง MLIT ได้รายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสม การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด ถ.นราธิวาสราชนครินทร์–สำโรง เป็นระบบทางด่วน ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และบางกระเจ้า เพื่อเป็นทางบายพาสรับรถที่มาจากภาคใต้ ไปทางด้านตะวันออกได้โดยไม่ต้องวิ่งผ่าน กทม. ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าวจะบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณ สาทร สีลม บางรัก พระราม 4 และบริเวณใกล้เคียงด้วย
“การศึกษาเบื้องต้น รูปแบบโครงสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทางรวม 8.7 กม. (เป็นส่วนของอุโมงค์ 7.5 กม.) ขนาด 4 ช่องจราจร ไป–กลับ เริ่มต้นเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) กับ ถ.นราธิวาสฯ และเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร กับสี่แยกบางนา” นายศักดิ์สยาม ระบุ
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า MLIT มีการศึกษา 4 ส่วน คือ 1.สำรวจกายภาพของถนน ได้แก่ การศึกษาภาพตัดขวางของถนน เส้นทางในแนวราบและแนวดิ่ง และจุดเชื่อมต่อ, 2.การประมาณการต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง, 3.การดำเนินการตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อการจราจร ทั้งปริมาณจราจรปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และ 4.แนวทางการนำโครงการไปดำเนินการ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โดยจะสรุปลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ ทั้งรูปแบบการก่อสร้าง มูลค่าการลงทุนเบื้องต้น รายงานให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในเดือน มี.ค.63 จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาต่อไป
"ได้ขอให้ศึกษาว่า เมื่อมีการก่อสร้างจริงจะกระทบต่อจราจรอย่างไร และให้ สนข.หาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งพิจารณากรณีที่ต้องมีการต่อเชื่อมกับระบบทางด่วนอื่นที่มีเอกชนเป็นผู้รับสัมปทาน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบ เชื่อว่ามีผลตอบแทนในการลงทุนทางเศรษฐกิจ เพราะดูจากปริมาณจราจรที่ค่อนข้างมาก ซึ่งจะขึ้นกับรูปแบบก่อสร้างซึ่งมี ทั้งแบบอุโมงค์เดี่ยว กับ 2 อุโมงค์ซ้อนกัน" รมว.คมนาคม กล่าว
นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันรถจากภาคใต้เข้ากทม. เพื่อผ่านไปยังภาคตะวันออกมีปริมาณสูง ซึ่งโครงข่ายทางด่วนบริเวณต่างระดับท่าเรือมีความหนาแน่นมาก ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางใหม่จะติดบริเวณ บางกระเจ้า ที่ห้ามมีการก่อสร้าง ดังนั้นเส้นทางนี้จะทำเป็นอุโมงค์ เส้นบายพาส เพื่อระบายรถ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปโผล่บริเวณไบเทค บางนา ซึ่งสามารถเชื่อมกับ ทางด่วนบางนา-ชลบุรี เพื่อระบายรถได้ ซึ่งการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ จะทำให้มีการเวนคืนน้อยที่สุด โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกทม. และปริมณฑล ที่ MLITศึกษา ซึ่งยังมีอุโมงค์ทางด่วน อีกประมาณ 9 แนว และการแก้ปัญหาจราจรรูปแบบอื่นๆ และการสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาจราจรอย่างยั่งยืนโดย สนข. จะสรุปแผนแม่บทเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) ต่อไป