ผู้จัดการรายวัน360-“ศักดิ์สยาม”เผยกทพ.ยังไม่ส่งเรื่องต่อสัญญาทางด่วน คาดชงครม.ไม่ทันหมดสัญญาปัจจุบัน 29 ก.พ.อาจต้องหาทางจ้างชั่วคราว ดัน”เทอร์มินอลทิศเหนือ”ของทอท.เข้าครม. ด้านรฟม.อ่วมรายได้หาย 12 ล./ด. จากการลดราคาสายสีม่วง
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ยังไม่เสนอเรื่องการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วน เป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน เพื่อระงับข้อพิพาทคดีทางด่วนที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาทมายังกระทรวงคมนาคม ซึ่งทำให้ยังไม่สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ ซึ่งเลยเวลาตามแผนงาน(ไทม์ไลน์) ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องเสนอครม.แล้ว ซึ่งตนเห็นว่า ไม่เป็นไรขอให้ทำอย่างรอบคอบและพยายามทำให้สมบูรณ์ที่สุด
ทั้งนี้กรณีการพิจารณาต่อขยายสัญญาเพื่อยุติข้อพิพาทเสร็จไม่ทันกับที่สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C ปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 29 ก .พ. 2563นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กทพ.กำลังพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม เช่น การจ้างบริหาร O&M แบบไหน หรือ กทพ.จะดำเนินการเอง
ขณะที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เสนอเรื่องโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มายังกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งหลังสรุปความเห็นได้ครบถ้วน ในส่วนของรมว.คมนาคม จะใช้เวลาพิจารณาข้อมูล ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเสนอเรื่องไปยังครม.ต่อไป
ส่วนการพัฒนาสนามบินดอนเมืองนั้น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)และทอท. อยู่ระหว่างหารือ ในการปรับแผนงานให้ถูกต้องมากที่สุด
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า จากมาตรการลดค่าครองชีพ ในส่วนของรถไฟฟ้า สายสีม่วง ที่ลดค่าโดยสาร เหลือ 14-20 บาท นาน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 62 นั้น ผลช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้โดยสารเพิ่ม 11,137 คนต่อวัน (เพิ่ม 24.27% ) มีรายได้ลดลงเฉลี่ย 410,000 บาทต่อวัน (ลดลง 43.62% ) หรือ 12 ล้านบาทต่อเดือน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า ยังรับภาระได้
ส่วนรถโดยสาร ขสมก. มีการจัดเก็บค่าโดยสารผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ของ ขสมก. ด้วยเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 11%และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสด ลงได้
นอกจากนี้ได้เร่งรัดการปรับเวลาเดินรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป และการกำหนดอัตราความเร็วถนน 4 ช่องจราจรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ซึ่งกรมทางหลวง(ทล.) ได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและกำหนดแผนการดำเนินงาน ภายในปี 63 โดยในวันที่ 13 ก.พ.นี้จะมีการประชุมรายละเอียดอีกครั้ง
ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งครม.สัญจร จ.นราธิวาส เมื่อ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติ 46 โครงการ วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท ให้เร่งประสานงาน สศช.และสำนักงบประมาณในการนำเสนอครม. ขออนุมัติเป็นรายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่มีความพร้อมดำเนินการ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ยังไม่เสนอเรื่องการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วน เป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน เพื่อระงับข้อพิพาทคดีทางด่วนที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาทมายังกระทรวงคมนาคม ซึ่งทำให้ยังไม่สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ ซึ่งเลยเวลาตามแผนงาน(ไทม์ไลน์) ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องเสนอครม.แล้ว ซึ่งตนเห็นว่า ไม่เป็นไรขอให้ทำอย่างรอบคอบและพยายามทำให้สมบูรณ์ที่สุด
ทั้งนี้กรณีการพิจารณาต่อขยายสัญญาเพื่อยุติข้อพิพาทเสร็จไม่ทันกับที่สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C ปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 29 ก .พ. 2563นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กทพ.กำลังพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม เช่น การจ้างบริหาร O&M แบบไหน หรือ กทพ.จะดำเนินการเอง
ขณะที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เสนอเรื่องโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มายังกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งหลังสรุปความเห็นได้ครบถ้วน ในส่วนของรมว.คมนาคม จะใช้เวลาพิจารณาข้อมูล ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเสนอเรื่องไปยังครม.ต่อไป
ส่วนการพัฒนาสนามบินดอนเมืองนั้น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)และทอท. อยู่ระหว่างหารือ ในการปรับแผนงานให้ถูกต้องมากที่สุด
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า จากมาตรการลดค่าครองชีพ ในส่วนของรถไฟฟ้า สายสีม่วง ที่ลดค่าโดยสาร เหลือ 14-20 บาท นาน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 62 นั้น ผลช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้โดยสารเพิ่ม 11,137 คนต่อวัน (เพิ่ม 24.27% ) มีรายได้ลดลงเฉลี่ย 410,000 บาทต่อวัน (ลดลง 43.62% ) หรือ 12 ล้านบาทต่อเดือน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า ยังรับภาระได้
ส่วนรถโดยสาร ขสมก. มีการจัดเก็บค่าโดยสารผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ของ ขสมก. ด้วยเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 11%และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสด ลงได้
นอกจากนี้ได้เร่งรัดการปรับเวลาเดินรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป และการกำหนดอัตราความเร็วถนน 4 ช่องจราจรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ซึ่งกรมทางหลวง(ทล.) ได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและกำหนดแผนการดำเนินงาน ภายในปี 63 โดยในวันที่ 13 ก.พ.นี้จะมีการประชุมรายละเอียดอีกครั้ง
ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งครม.สัญจร จ.นราธิวาส เมื่อ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติ 46 โครงการ วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท ให้เร่งประสานงาน สศช.และสำนักงบประมาณในการนำเสนอครม. ขออนุมัติเป็นรายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่มีความพร้อมดำเนินการ