**ในที่สุดพรรคร่วมฝ่ายค้าน ก็ได้ฤกษ์ยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจำนวน 6 คน อันประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติดังกล่าวต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา แม้ว่าพิจารณาจากเนื้อหาที่เป็นข้อกล่าวหาทั้งนายกรัฐมนตรี และบรรดารัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติ “ซักฟอก”ครั้งนี้ จะทำให้ใหญ่โตให้ดูน่ากลัวอลังการเพียงใดก็ตาม แต่ก็ต้องรอฟังกันในวันที่มีการอภิปรายจริงกันดีกว่า ว่าเป็นแค่ “ราคาคุย”หรือว่ามี “ของจริง”แบบมีหมัดน็อกหรือไม่
เพราะหากพิจารณาจากคำบรรยายที่เป็นข้อกล่าวหาของพรรคฝ่ายค้านที่มีต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพวก ที่เปรียบเหมือนคำฟ้องก็ต้องบอกว่า“หนักหนา” ส่วนจะหนักหนาแบบไหน ในแบบที่ว่าเขียนให้ดู “ดุดัน”ดุเดือดไว้ก่อน เหมือนกับการทำศึกก็ต้องโหมโรงตีปี๊บให้ดูเร้าใจเอาไว้ก่อนหรือเปล่า
ขณะเดียวกัน เมื่อมองอีกมุมหนึ่งจากการยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาลในครั้งนี้ทำให้มองเห็นสภาพความ “รวน”ของพรรคร่วมฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน เริ่มจากความ “ไม่เป็นเอกภาพ”ที่ปิดบังไม่มิด เริ่มจากการยื้อยุดฉุกกระชากกันเองกันภายในพรรคเพื่อไทย ที่เป็นพรรคแกนนำของฝ่ายค้าน ที่ตอนแรกไม่มีชื่อของ “ลุงป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดย “กุนซือ”หลักที่ทำหน้าที่คุมเกมในการติวเข้ม รวบรวมประเด็นในการอภิปรายของส.ส.ในพรรคครั้งนี้ ที่เป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ไม่เห็นด้วยในการใส่ชื่อ“ลุงป้อม” ลงไป โดยอ้างว่าไม่มีประเด็นสำหรับการอภิปราย เนื่องจากเห็นว่าหากเป็นเรื่อง “นาฬิกาเพื่อน”ก็ถือว่าเรื่องจบไปแล้ว หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้ยุติเรื่องไปแล้ว
**ขณะที่อีกฝ่ายเห็นต่างไปโดยยืนยันถึงอย่างไรก็ต้องมีชื่อ “ลุงป้อม”ในรายชื่อรัฐมนตรีถูกซักฟอกในครั้งนี้ โดยเฉพาะเป็นเป้าหมายในการถล่ม “3 ป.”ซึ่งถือเป็น “เสาหลัก”ในการค้ำยันรัฐบาล มาตั้งแต่ยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่โค่นครอบครัวของ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ให้ตกจากอำนาจรัฐมาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้น ตามสายตาจากคนภายนอกแล้ว แม้ว่าภายในจะมีความขัดแย้งกันอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อมีรายชื่อออกมาอย่างที่เห็นที่มีแต่ “3ป.” ที่เป็นแกนหลักแล้ว ยังมีบรรดารัฐมนตรีที่หอบหิ้วกันมาตั้งแต่ยุคคสช. เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น นายวิษณุ เครืองาม นายดอน ปรมัตถ์วินัย รวมไปถึง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า แกนนำของพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งก็หวังให้สะเทือนไปถึงรัฐบาล และยุทธศาสตร์การเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจาก ร.อ.ธรรมนัส เป็น ส.ส.พะเยา และยังเป็นมือทำงานของ “3ป.” อีกด้วย
แม้ว่าในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะยืมมือ พรรคเสรีรวมไทย ของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นคนเปิดแผลเก่า ในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลียในอดีต อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักก็ยังเป็น “3ป.”อยู่ดี
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาและข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านอย่างจริงจัง นาทีนี้ก็ยังมองไม่เห็นถึง “หมัดเด็ด”ที่คาดว่าจะถึงขั้นทำให้บรรดารัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกในครั้งนี้ล้มคว่ำลงไปได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรัฐบางเพิ่งเข้ามาบริหารได้เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น และที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นเรื่องทุจริตที่เห็นกันจะจะ แต่อย่างใด แต่หากใช้เหตุผลที่บอกว่า“บริหารไร้ประสิทธิภาพ”และเปิดช่องให้มีการทุจริต ใช้ตำแหน่งหน้าที่มิชอบ ก็ว่ากันไป
ขณะเดียวกัน หากมองกันตามยุทธศาสตร์ของฝ่ายค้านแล้วน่าจะเป็นแบบ“นวดให้น่วม”เพื่อรอการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริงในราวปลายปีนี้ ครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการ “ซ้อมใหญ่”หรือ “เปิดแผล”หรือ หยั่งเชิงเอาไว้ก่อน เพราะจะว่าไปแล้วการยื่นญัตติซักฟอกคราวนี้ ทางหนึ่งก็เพื่อต้องการรักษา “โควตา”เอาไว้ โดยหากไม่ยื่นญัตติ ก็ถือว่าต้องทิ้งไป ดังนั้นจึงเป็นการักษาสิทธิ์เอาไว้แบบต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ทำให้ปีนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ถึง 2 ครั้ง
**อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าพิจารณามากกว่าก็คือ ความไร้เอกภาพของพรรคฝ่ายค้าน และที่สำคัญก็คือ ต้องจับตา"พรรคเศรษฐกิจใหม่" ที่คราวนี้ได้ถอนตัวจากการทำงานร่วมกับฝ่ายไปแล้ว หลังจากที่ผ่านมาก็เคยยกมือสวน และประกาศพร้อมร่วมกับฝ่ายรัฐบาลมาแล้วจำนวน 5 เสียงจาก ส.ส.จำนวน 6 เสียง แต่คราวนี้ยังไม่มีท่าทีจาก นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ออกมาแต่อย่างใด ถือว่า“เงียบ”ผิดปกติไม่เหมือนเมื่อก่อน ทำให้มองกันว่า พรรคเศรษฐกิจใหม่ยกออกมาทั้งพรรคแล้ว และด้วยจำนวนเสียง ส.ส.รวมกันถึง 6 คน มันก็ทำให้มีเสียงมาสนับสนุนรัฐบาลเพิ่มแบบเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งนี่ว่ากันเฉพาะพรรคเดียว ยังไม่นับพวก “งูเห่า”จากฝ่ายค้านอีกบางพรรค
แต่ก็อย่างว่าแหละทุกอย่างมันก็ต้องมีที่มาที่ไป เมื่อยกขบวนมาสนับสนุนกันแบบนี้มันก็น่าจะมีข้อแลกเปลี่ยนที่สมน้ำสมเนื้อ ถึงได้ให้จับตาการปรับคณะรัฐมนตรี หลังศึกซักฟอกนี้ผ่านไปก่อนว่าจะมีการ “ปรับคณะรัฐมนตรี”หรือไม่ ที่อาจจะออกมาในลักษณะการพิจารณาจากเสียงสนับสนุนของแต่ละพรรคว่ายังเต็มร้อยอยู่หรือไม่ หากไม่เต็มร้อย หรือมาไม่ครบก็ต้องเอาออกไปเฉพาะบางส่วนหรือเปล่า ซึ่งก็ต้องจับตาไปที่พรรคประชาธิปัตย์ “บางปีก”ที่กำลังเขย่ารัฐบาลในคราวนี้
**ขณะเดียวกัน สำหรับพรรคเศรษฐกิจใหม่ ก็ต้องจับตาดูว่าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรีที่อาจเกิดขึ้นหลังศึกซักฟอกแล้ว จะถูกดึงเข้ามาร่วมเพื่อเติมเสียงให้พ้นปริ่มน้ำหรือไม่ รวมไปถึงการเพ่งมองว่า นายมิ่งขวัญ จะได้คั่วเก้าอี้รัฐมนตรี หรือไม่ เพราะเงียบเสียงผิดปกติ !!
โดยพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติดังกล่าวต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา แม้ว่าพิจารณาจากเนื้อหาที่เป็นข้อกล่าวหาทั้งนายกรัฐมนตรี และบรรดารัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติ “ซักฟอก”ครั้งนี้ จะทำให้ใหญ่โตให้ดูน่ากลัวอลังการเพียงใดก็ตาม แต่ก็ต้องรอฟังกันในวันที่มีการอภิปรายจริงกันดีกว่า ว่าเป็นแค่ “ราคาคุย”หรือว่ามี “ของจริง”แบบมีหมัดน็อกหรือไม่
เพราะหากพิจารณาจากคำบรรยายที่เป็นข้อกล่าวหาของพรรคฝ่ายค้านที่มีต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพวก ที่เปรียบเหมือนคำฟ้องก็ต้องบอกว่า“หนักหนา” ส่วนจะหนักหนาแบบไหน ในแบบที่ว่าเขียนให้ดู “ดุดัน”ดุเดือดไว้ก่อน เหมือนกับการทำศึกก็ต้องโหมโรงตีปี๊บให้ดูเร้าใจเอาไว้ก่อนหรือเปล่า
ขณะเดียวกัน เมื่อมองอีกมุมหนึ่งจากการยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาลในครั้งนี้ทำให้มองเห็นสภาพความ “รวน”ของพรรคร่วมฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน เริ่มจากความ “ไม่เป็นเอกภาพ”ที่ปิดบังไม่มิด เริ่มจากการยื้อยุดฉุกกระชากกันเองกันภายในพรรคเพื่อไทย ที่เป็นพรรคแกนนำของฝ่ายค้าน ที่ตอนแรกไม่มีชื่อของ “ลุงป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดย “กุนซือ”หลักที่ทำหน้าที่คุมเกมในการติวเข้ม รวบรวมประเด็นในการอภิปรายของส.ส.ในพรรคครั้งนี้ ที่เป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ไม่เห็นด้วยในการใส่ชื่อ“ลุงป้อม” ลงไป โดยอ้างว่าไม่มีประเด็นสำหรับการอภิปราย เนื่องจากเห็นว่าหากเป็นเรื่อง “นาฬิกาเพื่อน”ก็ถือว่าเรื่องจบไปแล้ว หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้ยุติเรื่องไปแล้ว
**ขณะที่อีกฝ่ายเห็นต่างไปโดยยืนยันถึงอย่างไรก็ต้องมีชื่อ “ลุงป้อม”ในรายชื่อรัฐมนตรีถูกซักฟอกในครั้งนี้ โดยเฉพาะเป็นเป้าหมายในการถล่ม “3 ป.”ซึ่งถือเป็น “เสาหลัก”ในการค้ำยันรัฐบาล มาตั้งแต่ยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่โค่นครอบครัวของ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ให้ตกจากอำนาจรัฐมาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้น ตามสายตาจากคนภายนอกแล้ว แม้ว่าภายในจะมีความขัดแย้งกันอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อมีรายชื่อออกมาอย่างที่เห็นที่มีแต่ “3ป.” ที่เป็นแกนหลักแล้ว ยังมีบรรดารัฐมนตรีที่หอบหิ้วกันมาตั้งแต่ยุคคสช. เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น นายวิษณุ เครืองาม นายดอน ปรมัตถ์วินัย รวมไปถึง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า แกนนำของพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งก็หวังให้สะเทือนไปถึงรัฐบาล และยุทธศาสตร์การเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจาก ร.อ.ธรรมนัส เป็น ส.ส.พะเยา และยังเป็นมือทำงานของ “3ป.” อีกด้วย
แม้ว่าในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะยืมมือ พรรคเสรีรวมไทย ของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นคนเปิดแผลเก่า ในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลียในอดีต อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักก็ยังเป็น “3ป.”อยู่ดี
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาและข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านอย่างจริงจัง นาทีนี้ก็ยังมองไม่เห็นถึง “หมัดเด็ด”ที่คาดว่าจะถึงขั้นทำให้บรรดารัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกในครั้งนี้ล้มคว่ำลงไปได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรัฐบางเพิ่งเข้ามาบริหารได้เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น และที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นเรื่องทุจริตที่เห็นกันจะจะ แต่อย่างใด แต่หากใช้เหตุผลที่บอกว่า“บริหารไร้ประสิทธิภาพ”และเปิดช่องให้มีการทุจริต ใช้ตำแหน่งหน้าที่มิชอบ ก็ว่ากันไป
ขณะเดียวกัน หากมองกันตามยุทธศาสตร์ของฝ่ายค้านแล้วน่าจะเป็นแบบ“นวดให้น่วม”เพื่อรอการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริงในราวปลายปีนี้ ครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการ “ซ้อมใหญ่”หรือ “เปิดแผล”หรือ หยั่งเชิงเอาไว้ก่อน เพราะจะว่าไปแล้วการยื่นญัตติซักฟอกคราวนี้ ทางหนึ่งก็เพื่อต้องการรักษา “โควตา”เอาไว้ โดยหากไม่ยื่นญัตติ ก็ถือว่าต้องทิ้งไป ดังนั้นจึงเป็นการักษาสิทธิ์เอาไว้แบบต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ทำให้ปีนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ถึง 2 ครั้ง
**อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าพิจารณามากกว่าก็คือ ความไร้เอกภาพของพรรคฝ่ายค้าน และที่สำคัญก็คือ ต้องจับตา"พรรคเศรษฐกิจใหม่" ที่คราวนี้ได้ถอนตัวจากการทำงานร่วมกับฝ่ายไปแล้ว หลังจากที่ผ่านมาก็เคยยกมือสวน และประกาศพร้อมร่วมกับฝ่ายรัฐบาลมาแล้วจำนวน 5 เสียงจาก ส.ส.จำนวน 6 เสียง แต่คราวนี้ยังไม่มีท่าทีจาก นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ออกมาแต่อย่างใด ถือว่า“เงียบ”ผิดปกติไม่เหมือนเมื่อก่อน ทำให้มองกันว่า พรรคเศรษฐกิจใหม่ยกออกมาทั้งพรรคแล้ว และด้วยจำนวนเสียง ส.ส.รวมกันถึง 6 คน มันก็ทำให้มีเสียงมาสนับสนุนรัฐบาลเพิ่มแบบเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งนี่ว่ากันเฉพาะพรรคเดียว ยังไม่นับพวก “งูเห่า”จากฝ่ายค้านอีกบางพรรค
แต่ก็อย่างว่าแหละทุกอย่างมันก็ต้องมีที่มาที่ไป เมื่อยกขบวนมาสนับสนุนกันแบบนี้มันก็น่าจะมีข้อแลกเปลี่ยนที่สมน้ำสมเนื้อ ถึงได้ให้จับตาการปรับคณะรัฐมนตรี หลังศึกซักฟอกนี้ผ่านไปก่อนว่าจะมีการ “ปรับคณะรัฐมนตรี”หรือไม่ ที่อาจจะออกมาในลักษณะการพิจารณาจากเสียงสนับสนุนของแต่ละพรรคว่ายังเต็มร้อยอยู่หรือไม่ หากไม่เต็มร้อย หรือมาไม่ครบก็ต้องเอาออกไปเฉพาะบางส่วนหรือเปล่า ซึ่งก็ต้องจับตาไปที่พรรคประชาธิปัตย์ “บางปีก”ที่กำลังเขย่ารัฐบาลในคราวนี้
**ขณะเดียวกัน สำหรับพรรคเศรษฐกิจใหม่ ก็ต้องจับตาดูว่าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรีที่อาจเกิดขึ้นหลังศึกซักฟอกแล้ว จะถูกดึงเข้ามาร่วมเพื่อเติมเสียงให้พ้นปริ่มน้ำหรือไม่ รวมไปถึงการเพ่งมองว่า นายมิ่งขวัญ จะได้คั่วเก้าอี้รัฐมนตรี หรือไม่ เพราะเงียบเสียงผิดปกติ !!