ผู้จัดการรายวัน 360 - “พนักงาน กทพ.” ล่า 500 รายชื่อ ยื่นขอ “ศักดิ์สยาม” เร่งเคลียร์พิพาททางด่วน พ่วงดูแลสวัสดิการ พนง.-ลูกจ้างให้เหมาะสม “อดีตประธาน สร.กทพ.” ซัด “ผู้ไม่หวังดี” ในฝ่ายบริหาร กทพ.-สร.กทพ. ยื้อเจรจาเอกชน-ลากสู้คดีให้ยาวที่สุด หวั่นความผิดเข้าตัว แถมยังหวังฮุบทางด่วนมาบริหารเอง จ้องฟันงบฯจัดซื้อจัดจ้าง
วันนี้ (14 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม นายชาญชัย โพธิ์ทองคำ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.) พร้อมตัวแทนพนักงานและลูกจ้าง กทพ. ได้เดินทางเพื่อยื่นหนังสือที่มีการลงชื่อกว่า 500 คน ถึง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อเสนอข้อห่วงใยเกี่ยวกับการยุติข้อพิพาทสัญญาสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 และทางด่วนบางประอิน-ปากเกร็ด หลังมีการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนเป็นเวลา 15 ปี 8 เดือน เพื่อยุติข้อพิพาททางด่วนระหว่างกทพ. กับ BEM มูลค่าความเสียหายจากการฟ้องร้องประมาณ 58,873 ล้านบาท และต้องการให้รมว.พิจารณานำข้อห่วงใยจากกลุ่มพนักงานและลูกจ้าง กทพ.ประกอบการพิจารณาข้อยุติระหว่าง กทพ.กับเอกชน ที่จะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้
โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับมอบหนังสือ พร้อมระบุว่า จะนำเรียน รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณาในระดับนโยบายต่อไป
นายชาญชัย กล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่าง กทพ.กับ BEM เกิดจากการบริหารที่ผิดพลาดของผู้บริหารกทพ. ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้น จนยืดเยื้อมากว่า 30 ปี มูลค่าความเสียหายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และหากยังไม่แก้ไขก็จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อองค์กร เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐและประชาชน ทำลายความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศ อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสวัสดิการและรายได้ของพนักงาน กทพ.ได้
"การเจรจายุติข้อพิพาทมีความล่าช้า เนื่องจากมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีในฝ่ายบริหาร กทพ.และใน สร.กทพ. จงใจให้ข้อมูลแก่สังคมในทางที่ผิดว่า ควรสู้ทุกคดีโดยไม่คำนึงว่า หากแพ้คดีแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาพิพาทกับเอกชนมา จึงไม่ต้องการรับผิดชอบ หากมีการสอบสวนความผิดทางละเมิดจากการแพ้คดี จึงต้องการให้ กทพ.สู้คดีนานที่สุด ที่สำคัญยังต้องการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารทางด่วนเอง โดยไม่ให้สัมปทานแก่เอกชน และเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์จำนวนมากในการจัดซื้อจัดจ้าง” นายชาญชัย ระบุ
แหล่งข่าว กทพ. กล่าวว่า ตอนนี้สหภาพเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มผลประโยชน์ ที่อ้างให้สู้ต่อเพื่อประโยชน์รัฐโดยไม่สนใจความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยแกนนำหลักคือพวกผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่ที่กุมอำนาจด้านจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการเงิน และกฎหมาย ซึ่งพวกนี้เคลื่อนไหวง่าย และบีบบังคับพนักงานระดับล่าง สายปฎิบัติการจัดเก็บ กู้ภัย จราจรให้ออกมาคัดค้าน ใครไม่มาร่วมจะถูกเพ่งเล็งมีผลกับการประเมินปรับขั้นและโบนัส จนตอนนี้พนักงานรับไม่ได้ทยอยลาออกจากสหภาพ และร้องเรียนให้รัฐบาลลงมาดูแล
วันนี้ (14 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม นายชาญชัย โพธิ์ทองคำ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.) พร้อมตัวแทนพนักงานและลูกจ้าง กทพ. ได้เดินทางเพื่อยื่นหนังสือที่มีการลงชื่อกว่า 500 คน ถึง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อเสนอข้อห่วงใยเกี่ยวกับการยุติข้อพิพาทสัญญาสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 และทางด่วนบางประอิน-ปากเกร็ด หลังมีการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนเป็นเวลา 15 ปี 8 เดือน เพื่อยุติข้อพิพาททางด่วนระหว่างกทพ. กับ BEM มูลค่าความเสียหายจากการฟ้องร้องประมาณ 58,873 ล้านบาท และต้องการให้รมว.พิจารณานำข้อห่วงใยจากกลุ่มพนักงานและลูกจ้าง กทพ.ประกอบการพิจารณาข้อยุติระหว่าง กทพ.กับเอกชน ที่จะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้
โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับมอบหนังสือ พร้อมระบุว่า จะนำเรียน รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณาในระดับนโยบายต่อไป
นายชาญชัย กล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่าง กทพ.กับ BEM เกิดจากการบริหารที่ผิดพลาดของผู้บริหารกทพ. ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้น จนยืดเยื้อมากว่า 30 ปี มูลค่าความเสียหายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และหากยังไม่แก้ไขก็จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อองค์กร เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐและประชาชน ทำลายความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศ อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสวัสดิการและรายได้ของพนักงาน กทพ.ได้
"การเจรจายุติข้อพิพาทมีความล่าช้า เนื่องจากมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีในฝ่ายบริหาร กทพ.และใน สร.กทพ. จงใจให้ข้อมูลแก่สังคมในทางที่ผิดว่า ควรสู้ทุกคดีโดยไม่คำนึงว่า หากแพ้คดีแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาพิพาทกับเอกชนมา จึงไม่ต้องการรับผิดชอบ หากมีการสอบสวนความผิดทางละเมิดจากการแพ้คดี จึงต้องการให้ กทพ.สู้คดีนานที่สุด ที่สำคัญยังต้องการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารทางด่วนเอง โดยไม่ให้สัมปทานแก่เอกชน และเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์จำนวนมากในการจัดซื้อจัดจ้าง” นายชาญชัย ระบุ
แหล่งข่าว กทพ. กล่าวว่า ตอนนี้สหภาพเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มผลประโยชน์ ที่อ้างให้สู้ต่อเพื่อประโยชน์รัฐโดยไม่สนใจความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยแกนนำหลักคือพวกผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่ที่กุมอำนาจด้านจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการเงิน และกฎหมาย ซึ่งพวกนี้เคลื่อนไหวง่าย และบีบบังคับพนักงานระดับล่าง สายปฎิบัติการจัดเก็บ กู้ภัย จราจรให้ออกมาคัดค้าน ใครไม่มาร่วมจะถูกเพ่งเล็งมีผลกับการประเมินปรับขั้นและโบนัส จนตอนนี้พนักงานรับไม่ได้ทยอยลาออกจากสหภาพ และร้องเรียนให้รัฐบาลลงมาดูแล