ผู้จัดการรายวัน360-"กทพ. ร้าว ปมบอร์ดเคาะต่อสัมปทาน BEM แลกยุติข้อพิพาท ฝ่ายหนุนล่าชื่อเตรียมยื่น "ศักดิ์สยาม" เร่งรัดดำเนินการให้จบโดยเร็ว พ่วงต้องดูแลสวัสดิการพนักงาน-ลูกจ้าง แต่ถูกสหภาพฯ ไล่ล็อบบี้พนักงานห้ามร่วมลงชื่อ ก่อนร่อนแถลงการณ์เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย "อดีตประธาน สร." ห่วงเข้าข่ายละเมิดสิทธิ ชี้ สร.กทพ.ควรเปิดใจกว้าง รับฟังเสียงข้างน้อยด้วย หวั่นทำองค์กรแตกแยกหนัก
จากกรณีที่คณะกรรมการบริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (บอร์ด กทพ.) ได้เจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ก่อนมีมติให้มีการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนเป็นเวลา 15 ปี 8 เดือน ภายใต้เงื่อนไขสัมปทานเดิม เพื่อยุติข้อพิพาททางด่วนระหว่าง กทพ. กับ BEM ในนาม บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (BECL) ที่มีมูลค่าความเสียหายจากการฟ้องร้องประมาณ 58,873 ล้านบาท รวมถึงข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (13 ม.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้มีความเคลื่อนไหวในกลุ่มพนักงาน กทพ. บางส่วนที่ได้ล่ารายชื่อพนักงานและลูกจ้าง กทพ. ในการสนับสนุนแนงทางการแก้ไขการขยายสัมปทานกับ BEM ให้ยุติโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสวัสดิการและรายได้ของพนักงาน กทพ. พร้อมกันนี้ ได้ขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมดูแลความเป็นอยู่ สวัสดิการ เงินเดือนและผลตอบแทนต่างๆ ที่พนักงานเคยได้รับอย่างมั่นคงตลอดไป รวมไปถึงการขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงาน กทพ. เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการระดมทุนกองทุน Thailand Future Fund (TFF) จนประสบความสำเร็จตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มีการล่ารายชื่อพนักงานและลูกจ้าง กทพ.ได้ราว 400-500 รายชื่อ และเตรียมยื่นต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการล่ารายชื่อของกลุ่มพนักงาน กทพ.ดังกล่าว ได้มีความพยายามจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.) ขอความร่วมมือและสั่งห้ามไม่ให้สมาชิกหรือพนักงาน กทพ. ไปร่วมลงชื่อ พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สร.กทพ. แต่อย่างใด ก่อนจะมีการออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 13 ม.ค.2563 อ้างถึงมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ สร.กทพ.เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2562 ที่ได้มีมติคัดค้านการต่อขยายสัญญาสัมปทานเพื่อแลกกับการยุติข้อพิพาทและคดีที่ยังมิได้มีกฎหมายใดรองรับอย่างถึงที่สุด
"สร.กทพ.ขอแจ้งให้ทราบว่า สร.กทพ.ยังคงคัดค้านการต่อระยะเวลาของสัญญาสัมปทาน เพื่อแลกกับการยุติข้อพิพาทและคดีที่ยังมิได้มีกฎหมายให้รองรับอย่างถึงที่สุด ซึ่ง สร.กทพ.มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการกล่าวอ้างการดำเนินการใดๆ โดย สร.กทพ.ที่การดำเนินการนั้นขัดซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว หรือการดำเนินการนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อมติที่ประชุมใหญ่ สร.กทพ. ขอสงวนสิทธิดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายกับบุคคลหรือกลุ่มคนนั้นๆ อย่างถึงที่สุด” แถลงการณ์ สร.กทพ.ระบุ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนายชาญชัย โพธิ์ทองคำ อดีตประธาน สร.กทพ. ซึ่งปัจจุบันยังเป็นกรรมการ สร.กทพ.อยู่ โดยนายชาญชัยให้ข้อมูลว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกทางความเห็นของพนักงาน กทพ.ที่สามารถเห็นต่างได้ และใช้สิทธิในนามพนักงาน กทพ. ไม่ได้นำชื่อ สร.กทพ.ไปใช้แต่อย่างใด ดังนั้น สร.กทพ.ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขึ้นเพื่อเป็นผู้นำแรงงาน และเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับพนักงาน กทพ. ก็ควรเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เคารพสิทธิความเห็นของผู้อื่น สร.กทพ.ต้องไม่เอาแต่อ้างมติที่ประชุมใหญ่ ที่มาจากเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น สร.กทพ.ยังมีหน้าที่ในการดูแลสมาชิก หรือพนักงานที่เป็นเสียงส่วนน้อยที่อาจจะเห็นแตกต่างด้วยเช่นกัน
"เรื่องนี้เราไม่ขอตำหนิ สร.กทพ. เพียงแต่เป็นห่วงว่า สร.กทพ.จะถูกตำหนิในเรื่องความไม่เหมาะสม ที่ไม่ควรก้าวก่าย หรือไปห้ามพนักงานที่พยายามเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในสวัสดิการที่เหมาะสมของคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแถลงการณ์คุกคามข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด ที่อาจทำให้ สร.กทพ.ที่ควรมีบทบาทรักษาสิทธิให้กับสมาชิกจะถูกมองว่าเป็นผู้ไปละเมิดสิทธิเสียเอง และจะนำไปสู่ความแตกแยกภายในองค์กรได้” นายชาญชัยกล่าว
จากกรณีที่คณะกรรมการบริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (บอร์ด กทพ.) ได้เจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ก่อนมีมติให้มีการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนเป็นเวลา 15 ปี 8 เดือน ภายใต้เงื่อนไขสัมปทานเดิม เพื่อยุติข้อพิพาททางด่วนระหว่าง กทพ. กับ BEM ในนาม บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (BECL) ที่มีมูลค่าความเสียหายจากการฟ้องร้องประมาณ 58,873 ล้านบาท รวมถึงข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (13 ม.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้มีความเคลื่อนไหวในกลุ่มพนักงาน กทพ. บางส่วนที่ได้ล่ารายชื่อพนักงานและลูกจ้าง กทพ. ในการสนับสนุนแนงทางการแก้ไขการขยายสัมปทานกับ BEM ให้ยุติโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสวัสดิการและรายได้ของพนักงาน กทพ. พร้อมกันนี้ ได้ขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมดูแลความเป็นอยู่ สวัสดิการ เงินเดือนและผลตอบแทนต่างๆ ที่พนักงานเคยได้รับอย่างมั่นคงตลอดไป รวมไปถึงการขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงาน กทพ. เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการระดมทุนกองทุน Thailand Future Fund (TFF) จนประสบความสำเร็จตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มีการล่ารายชื่อพนักงานและลูกจ้าง กทพ.ได้ราว 400-500 รายชื่อ และเตรียมยื่นต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการล่ารายชื่อของกลุ่มพนักงาน กทพ.ดังกล่าว ได้มีความพยายามจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.) ขอความร่วมมือและสั่งห้ามไม่ให้สมาชิกหรือพนักงาน กทพ. ไปร่วมลงชื่อ พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สร.กทพ. แต่อย่างใด ก่อนจะมีการออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 13 ม.ค.2563 อ้างถึงมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ สร.กทพ.เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2562 ที่ได้มีมติคัดค้านการต่อขยายสัญญาสัมปทานเพื่อแลกกับการยุติข้อพิพาทและคดีที่ยังมิได้มีกฎหมายใดรองรับอย่างถึงที่สุด
"สร.กทพ.ขอแจ้งให้ทราบว่า สร.กทพ.ยังคงคัดค้านการต่อระยะเวลาของสัญญาสัมปทาน เพื่อแลกกับการยุติข้อพิพาทและคดีที่ยังมิได้มีกฎหมายให้รองรับอย่างถึงที่สุด ซึ่ง สร.กทพ.มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการกล่าวอ้างการดำเนินการใดๆ โดย สร.กทพ.ที่การดำเนินการนั้นขัดซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว หรือการดำเนินการนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อมติที่ประชุมใหญ่ สร.กทพ. ขอสงวนสิทธิดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายกับบุคคลหรือกลุ่มคนนั้นๆ อย่างถึงที่สุด” แถลงการณ์ สร.กทพ.ระบุ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนายชาญชัย โพธิ์ทองคำ อดีตประธาน สร.กทพ. ซึ่งปัจจุบันยังเป็นกรรมการ สร.กทพ.อยู่ โดยนายชาญชัยให้ข้อมูลว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกทางความเห็นของพนักงาน กทพ.ที่สามารถเห็นต่างได้ และใช้สิทธิในนามพนักงาน กทพ. ไม่ได้นำชื่อ สร.กทพ.ไปใช้แต่อย่างใด ดังนั้น สร.กทพ.ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขึ้นเพื่อเป็นผู้นำแรงงาน และเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับพนักงาน กทพ. ก็ควรเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เคารพสิทธิความเห็นของผู้อื่น สร.กทพ.ต้องไม่เอาแต่อ้างมติที่ประชุมใหญ่ ที่มาจากเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น สร.กทพ.ยังมีหน้าที่ในการดูแลสมาชิก หรือพนักงานที่เป็นเสียงส่วนน้อยที่อาจจะเห็นแตกต่างด้วยเช่นกัน
"เรื่องนี้เราไม่ขอตำหนิ สร.กทพ. เพียงแต่เป็นห่วงว่า สร.กทพ.จะถูกตำหนิในเรื่องความไม่เหมาะสม ที่ไม่ควรก้าวก่าย หรือไปห้ามพนักงานที่พยายามเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในสวัสดิการที่เหมาะสมของคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแถลงการณ์คุกคามข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด ที่อาจทำให้ สร.กทพ.ที่ควรมีบทบาทรักษาสิทธิให้กับสมาชิกจะถูกมองว่าเป็นผู้ไปละเมิดสิทธิเสียเอง และจะนำไปสู่ความแตกแยกภายในองค์กรได้” นายชาญชัยกล่าว