ผู้จัดการรายวัน360-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ หอการค้าไทย ปรับลดจีดีพีปี 63 เหลือ 2.8% จากเดิม 3.1% เหตุถูก 3 ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ทั้งเงินบาทแข็งค่า ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน และภัยแล้ง ฉุดเงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหายวับ 1.2 แสนล้านบาท แต่ยังดีได้โครงการประกันรายได้ มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีหนุนไม่ให้ตกลงกว่านี้ ชี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง หากประท้วงหนัก จนเปลี่ยนแปลงการเมือง จะกระทบต่อการลงทุน ท่องเที่ยว และนโยบายรัฐ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ใหม่ จากเดิมขยายตัว 3.1% เหลือ 2.8% เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทที่จะทำให้มูลค่าส่งออกของไทยลดลง 70,000-80,000 ล้านบาท ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และคนไทยต้องจ่ายเงินเพิ่ม 25,000-30,000 ล้านบาท และภัยแล้งที่จะกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
"ผลกระทบจาก 3 ปัจจัยสำคัญ ทำให้เงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หายไป 105,000-120,000 ล้านบาท ทำให้กระทบต่อจีดีพีลดลง 0.5% แต่ยังดีที่นโยบายจากประกันรายได้เกษตรกรในพืช 5 ประเภท รวมถึงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีของรัฐบาลและมาตรการอื่นๆ จะเป็นกลไกสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้ตกลงมากจากสารพัดปัจจัยเสี่ยง"นายธนวรรธน์กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง ที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็จะมีผลต่อนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลชุดนี้ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นต้น โดยหากเกิดความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องการประท้วง ก็จะถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่ง แต่ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยยังมีมุมมองที่ดีอยู่
ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องของหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ , หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการพิจารณางบประมาณปี 2563 ที่เป็นไปด้วยความล่าช้า
สำหรับรายละเอียดของการปรับประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว 2.8% เช่น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4% , การบริโภคภาครัฐขยายตัว 2.7% , การลงทุนรวม ขยายตัว 4.7% , การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.8% ลดลงจากเดิมที่ขยายตัว 1.8% , การนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 0.1% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ขยายตัว 0.4% , อัตราเงินเฟ้อ ขยายตัว 0.9% จากเดิมคาดการณ์ 1% โดยคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่ 29.50-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเศรษฐกิจโลกขยายตัว 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ขยายตัว 2.7% เป็นต้น
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทางด้านความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในเดือนธ.ค.2562 อยู่ที่ 45.7 ต่ำสุดในรอบ 24 เดือน และลดลง 10 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนธ.ค.2562 ถือเป็นเดือนแรกที่ดัชนีของทุกภูมิภาคลดลงต่ำกว่าระดับ 50 หลังจากก่อนหน้านี้ ภาคตะวันออกภาคเดียวที่มีดัชนีเกิน 50 แต่เดือนธ.ค.2562 ลดลงอยู่ระดับ49.9 ส่วนใหญ่มาจากปัญหาการส่งออกที่ลดลง , สงครามการค้าสหรัฐ-จีน , ภัยแล้งที่ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำ , การบริโภคชะลอตัว และสหรัฐฯ ตัดสิทธิ์จีเอสพีสินค้าไทย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ใหม่ จากเดิมขยายตัว 3.1% เหลือ 2.8% เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทที่จะทำให้มูลค่าส่งออกของไทยลดลง 70,000-80,000 ล้านบาท ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และคนไทยต้องจ่ายเงินเพิ่ม 25,000-30,000 ล้านบาท และภัยแล้งที่จะกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
"ผลกระทบจาก 3 ปัจจัยสำคัญ ทำให้เงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หายไป 105,000-120,000 ล้านบาท ทำให้กระทบต่อจีดีพีลดลง 0.5% แต่ยังดีที่นโยบายจากประกันรายได้เกษตรกรในพืช 5 ประเภท รวมถึงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีของรัฐบาลและมาตรการอื่นๆ จะเป็นกลไกสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้ตกลงมากจากสารพัดปัจจัยเสี่ยง"นายธนวรรธน์กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง ที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็จะมีผลต่อนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลชุดนี้ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นต้น โดยหากเกิดความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องการประท้วง ก็จะถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่ง แต่ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยยังมีมุมมองที่ดีอยู่
ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องของหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ , หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการพิจารณางบประมาณปี 2563 ที่เป็นไปด้วยความล่าช้า
สำหรับรายละเอียดของการปรับประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว 2.8% เช่น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4% , การบริโภคภาครัฐขยายตัว 2.7% , การลงทุนรวม ขยายตัว 4.7% , การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.8% ลดลงจากเดิมที่ขยายตัว 1.8% , การนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 0.1% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ขยายตัว 0.4% , อัตราเงินเฟ้อ ขยายตัว 0.9% จากเดิมคาดการณ์ 1% โดยคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่ 29.50-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเศรษฐกิจโลกขยายตัว 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ขยายตัว 2.7% เป็นต้น
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทางด้านความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในเดือนธ.ค.2562 อยู่ที่ 45.7 ต่ำสุดในรอบ 24 เดือน และลดลง 10 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนธ.ค.2562 ถือเป็นเดือนแรกที่ดัชนีของทุกภูมิภาคลดลงต่ำกว่าระดับ 50 หลังจากก่อนหน้านี้ ภาคตะวันออกภาคเดียวที่มีดัชนีเกิน 50 แต่เดือนธ.ค.2562 ลดลงอยู่ระดับ49.9 ส่วนใหญ่มาจากปัญหาการส่งออกที่ลดลง , สงครามการค้าสหรัฐ-จีน , ภัยแล้งที่ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำ , การบริโภคชะลอตัว และสหรัฐฯ ตัดสิทธิ์จีเอสพีสินค้าไทย