ผ่านไปแบบสะดวกโยธิน สำหรับร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จำนวนราว 3.2 ล้านล้านบาท แต่ที่น่าสังเกตก็คือในจำนวนส.ส.ที่โหวตหนุนร่างกฎหมายสำคัญฉบับนี้ นอกเหนือจากส.ส.ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลที่ออกเสียงเป็นเอกภาพในทางเดียวกันแล้ว ยังมีส.ส.จากฝ่ายค้านมาเพิ่มให้อีกจำนวน 8 เสียง ซึ่งมีทั้งจากพรรคเพื่อไทย 1 คน ขณะที่อีก 1 คนไม่ลงคะแนนเสียง พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่อีก 5 คน
ทั้งนี้ มติสนับสนุนของสภาผู้แทนต่อร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณดังกล่าว จำนวน 253 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 196 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
หากแยกเป็นรายละเอียดเป็นรายบุคคล อาจจะได้ภาพได้ชัดเจนขึ้น นั่นคือ มีส.ส.ฝ่ายค้านร่วมลงคะแนนเห็นด้วยให้กับฝ่ายรัฐบาล จำนวน 7 คน เป็นของพรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 คน ได้แก่ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทย 1 คน ได้แก่ นางพรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชาติ 1 คน ได้แก่ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี ในขณะที่นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ไม่ลงคะแนนเสียง
ซึ่งส.ส.เหล่านี้เป็นบุคคลที่เคยลงมติสวนทางมติพรรคฝ่ายค้าน ด้วยการลงมติร่วมเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบคำสั่งจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ยกเว้น นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ เพียงคนเดียวที่เป็นงูเห่าหน้าใหม่ เพิ่งมาลงมติสวนมติฝ่ายค้านในครั้งนี้
ในขณะที่อดีตส.ส.อนาคตใหม่ 4 คน ที่ถูกขับออกจากพรรค ได้แก่ นางศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา และน.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี ที่ย้ายไปอยู่พรรคร่วมรัฐบาลเรียบร้อย ต่างลงมติไปในทางเดียวกัน คือ เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
เมื่อเป็นแบบนี้ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นกว่าการโหวตครั้งก่อน เมื่อตอนโหวตร่วมเป็นองค์ประชุมให้กับฝ่ายรัฐบาล เมื่อตอนโหวตล้มการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และการใช้ มาตรา 44
ที่ว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ คราวนี้เป็นการโหวตที่ต้องแสดงท่าทีชัดเจน ไม่เหมือนคราวก่อนที่สามารถอ้างได้ว่า เป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสภาฯ และเพื่อให้การประชุมเดินหน้าไม่ต้องการให้มีการเล่นเกมการเมืองจนสร้างความเสียหายอะไรประมาณนี้ แต่การโหวตหนุน ร่าง งบประมาณกับฝ่ายรัฐบาลคราวนี้ ถือว่าชัดเจนว่า“ย้ายข้ามฟาก”ไปเรียบร้อยแล้ว หรือแม้กระทั่งกรณีของ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ที่ไม่ลงคะแนน ก็ถือเป็นการหาทางออกให้กับตัวเอง แต่การที่ไม่ลงคะแนนก็ถือว่าการสวนมติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน และมติของพรรคเพื่อไทย อย่างชัดเจน ไม่ได้ต่างจากกรณีของนางพรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี ที่โหวตหนุนแต่อย่างใด
**ขณะที่ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ เมื่อเช็กยอดจำนวนแล้วก็ถือว่านาทีนี้ “มาเกือบยกพรรค”เหลือเพียง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่เป็นหัวเดียวกระเทียมลีบในเวลานี้ อย่างไรก็ดี จะว่าไปแล้วสำหรับพรรคนี้การลงมติหนุนฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ได้ถือว่าน่าแปลกใจอะไร เพราะที่ผ่านมาก็ได้ประกาศท่าทีชัดเจนว่าเปลี่ยนมายืนข้างรัฐบาลแล้ว เพียงแต่ว่าที่น่าสนใจก็คือ มีการแสดงท่าทีชัดเจนเพิ่มเข้ามาอีก1 คน เท่านั้นเอง
ดังนั้น หากพิจารณากันทีละช็อต ก็จะมองได้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผลจากการลงมติใน ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณคราวนี้เหมือนกับการทดสอบครั้งสำคัญ เหมือนกับการ “เช็กเสียง”สนับสนุนว่ามีจำนวนเท่าไรกันแน่ ก่อนที่จะถึงศึกใหญ่อีกศึกหนึ่งนั่นคือ “ศึกซักฟอก”ของฝ่ายค้านที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่อีกกี่สัปดาห์ถัดไปจากนี้
ส่วนอีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นว่า ฝ่ายค้านกำลัง “รวนหนัก”ท่ามกลางข่าวคราวว่ากำลังเกิดความแตกแยกกันภายใน โดยเฉพาะการเมืองฝ่ายค้านหลักอย่างพรรคเพื่อไทย ระหว่างแกนนำสำคัญสองขั้ว คือกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค กับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจกรรมพิเศษ รวมไปถึงการผละออกมาของพรรคเศรษฐกิจใหม่เกือบทั้งพรรค รวมไปถึงเสียงของพรรคประชาชาติ ที่เข้ามาเติมฝ่ายรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง
นี่ยังไม่นับกรณีของพรรคอนาคตใหม่ ที่อาจมีข่าวร้ายเรื่องการถูกยุบพรรคจากคดีสำคัญในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มันก็ยิ่งซ้ำเติมความระส่ำระสาย แต่ขณะเดียวกัน ก็กลายมาเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กำลังจะเจอศึกซักฟอกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
**เมื่อประเมินสถานการณ์แล้วบรรยากาศทุกอย่างยังเข้าทางฝ่ายรัฐบาล เสียงยังแน่นปึ้ก ต่างกับฝ่ายค้านที่รวนไม่เป็นขบวน !!
ทั้งนี้ มติสนับสนุนของสภาผู้แทนต่อร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณดังกล่าว จำนวน 253 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 196 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
หากแยกเป็นรายละเอียดเป็นรายบุคคล อาจจะได้ภาพได้ชัดเจนขึ้น นั่นคือ มีส.ส.ฝ่ายค้านร่วมลงคะแนนเห็นด้วยให้กับฝ่ายรัฐบาล จำนวน 7 คน เป็นของพรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 คน ได้แก่ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทย 1 คน ได้แก่ นางพรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชาติ 1 คน ได้แก่ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี ในขณะที่นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ไม่ลงคะแนนเสียง
ซึ่งส.ส.เหล่านี้เป็นบุคคลที่เคยลงมติสวนทางมติพรรคฝ่ายค้าน ด้วยการลงมติร่วมเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบคำสั่งจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ยกเว้น นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ เพียงคนเดียวที่เป็นงูเห่าหน้าใหม่ เพิ่งมาลงมติสวนมติฝ่ายค้านในครั้งนี้
ในขณะที่อดีตส.ส.อนาคตใหม่ 4 คน ที่ถูกขับออกจากพรรค ได้แก่ นางศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา และน.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี ที่ย้ายไปอยู่พรรคร่วมรัฐบาลเรียบร้อย ต่างลงมติไปในทางเดียวกัน คือ เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
เมื่อเป็นแบบนี้ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นกว่าการโหวตครั้งก่อน เมื่อตอนโหวตร่วมเป็นองค์ประชุมให้กับฝ่ายรัฐบาล เมื่อตอนโหวตล้มการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และการใช้ มาตรา 44
ที่ว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ คราวนี้เป็นการโหวตที่ต้องแสดงท่าทีชัดเจน ไม่เหมือนคราวก่อนที่สามารถอ้างได้ว่า เป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสภาฯ และเพื่อให้การประชุมเดินหน้าไม่ต้องการให้มีการเล่นเกมการเมืองจนสร้างความเสียหายอะไรประมาณนี้ แต่การโหวตหนุน ร่าง งบประมาณกับฝ่ายรัฐบาลคราวนี้ ถือว่าชัดเจนว่า“ย้ายข้ามฟาก”ไปเรียบร้อยแล้ว หรือแม้กระทั่งกรณีของ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ที่ไม่ลงคะแนน ก็ถือเป็นการหาทางออกให้กับตัวเอง แต่การที่ไม่ลงคะแนนก็ถือว่าการสวนมติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน และมติของพรรคเพื่อไทย อย่างชัดเจน ไม่ได้ต่างจากกรณีของนางพรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี ที่โหวตหนุนแต่อย่างใด
**ขณะที่ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ เมื่อเช็กยอดจำนวนแล้วก็ถือว่านาทีนี้ “มาเกือบยกพรรค”เหลือเพียง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่เป็นหัวเดียวกระเทียมลีบในเวลานี้ อย่างไรก็ดี จะว่าไปแล้วสำหรับพรรคนี้การลงมติหนุนฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ได้ถือว่าน่าแปลกใจอะไร เพราะที่ผ่านมาก็ได้ประกาศท่าทีชัดเจนว่าเปลี่ยนมายืนข้างรัฐบาลแล้ว เพียงแต่ว่าที่น่าสนใจก็คือ มีการแสดงท่าทีชัดเจนเพิ่มเข้ามาอีก1 คน เท่านั้นเอง
ดังนั้น หากพิจารณากันทีละช็อต ก็จะมองได้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผลจากการลงมติใน ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณคราวนี้เหมือนกับการทดสอบครั้งสำคัญ เหมือนกับการ “เช็กเสียง”สนับสนุนว่ามีจำนวนเท่าไรกันแน่ ก่อนที่จะถึงศึกใหญ่อีกศึกหนึ่งนั่นคือ “ศึกซักฟอก”ของฝ่ายค้านที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่อีกกี่สัปดาห์ถัดไปจากนี้
ส่วนอีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นว่า ฝ่ายค้านกำลัง “รวนหนัก”ท่ามกลางข่าวคราวว่ากำลังเกิดความแตกแยกกันภายใน โดยเฉพาะการเมืองฝ่ายค้านหลักอย่างพรรคเพื่อไทย ระหว่างแกนนำสำคัญสองขั้ว คือกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค กับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจกรรมพิเศษ รวมไปถึงการผละออกมาของพรรคเศรษฐกิจใหม่เกือบทั้งพรรค รวมไปถึงเสียงของพรรคประชาชาติ ที่เข้ามาเติมฝ่ายรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง
นี่ยังไม่นับกรณีของพรรคอนาคตใหม่ ที่อาจมีข่าวร้ายเรื่องการถูกยุบพรรคจากคดีสำคัญในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มันก็ยิ่งซ้ำเติมความระส่ำระสาย แต่ขณะเดียวกัน ก็กลายมาเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กำลังจะเจอศึกซักฟอกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
**เมื่อประเมินสถานการณ์แล้วบรรยากาศทุกอย่างยังเข้าทางฝ่ายรัฐบาล เสียงยังแน่นปึ้ก ต่างกับฝ่ายค้านที่รวนไม่เป็นขบวน !!