ผู้จัดการรายวัน360- ฝ่ายค้านซักรัฐบาลทำงบฯ ขัดรธน. ขู่ยื่นป.ป.ช.สอบ ถล่มยับงบกลาง เสนอตัดงบฉุกเฉิน 9.6 หมื่นล้าน ย้ำตั้งเกินความจำเป็น งบชดเชยสิ่งก่อสร้างสูงเกินจริง กังวลนำไปซื้ออาวุธ จ่ายค่าเสียหายเหมืองทองอัครา ควรปรับลดเพราะเหลือเวลาในปีงบประมาณเพียง 6 เดือน "โรม"ซัด รัฐบาลทหาร เสพติดใช้งบกลางฉุกเฉิน จ่ายตามจินตนาการ ไม่สอดคล้องวัตถุประสงค์ "อุตตม" แจงปรับลด 16,231 ล้าน อ้างตามความจำเป็น และตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ
วานนี้ (8ม.ค.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยมีการอภิปรายใน มาตรา 4 เกี่ยวกับภาพรวมงบประมาณ 3.2 ล้านบาท โดยกมธ.เสียงข้างน้อยส่วนหนึ่ง แปรญัตติขอปรับลดงบฯ ตั้งแต่ 1-20% อาทิ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อยขอตัด 15% หรือ 480,000 ล้านบาท ว่า การจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณครั้งนี้ มีเงื่อนไขที่ต้องปรับตัวใหม่ เพราะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง และพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีเงื่อนไขบังคับหลายเรื่อง แต่งบฯบางกระทรวงกลับได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยกระทรวงอื่นๆ โดยเฉพาะงบฯกองทัพ และงบฯควรจะคำนวณให้สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ จีดีพี
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล กมธ.เสียงข้างน้อย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การพิจารณางบฯครั้งนี้ มีความผิดปกติหลายเรื่อง อาทิ ไม่ได้เขียนเรื่องเงินนอกงบประมาณ ไว้ในร่าง พ.ร.บ. แสดงให้เห็นว่ามีเงินส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้จ่ายโดยไม่ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถือว่าขัดต่อรธน. กังวลว่า หาก ส.ส.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นี้ อาจนำไปสู่การยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบได้
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย ขอตัดลดงบ15% หรือ 4.8แสนล้านบาท เนื่องจากเดิมคาดว่าอัตราเจริญเติบโต ศก.ปี 63 จะโต 3-4% แต่ปัจจุบันโตแค่ 2.6% ทำให้รายได้ประเทศลดลง ขณะที่งบฯ ด้านการลงทุนที่ตั้งไว้ 6.4 แสนล้านบาทนั้น มีระยะเวลาการใช้งบฯ เพียง 6 เดือน ตั้งแต่เดือนปลายเดือนก.พ. ที่คาดว่า พ.ร.บ. งบฯ จะมีผลบังคับใช้ ไปจนถึงปลายเดือนต.ค. ถือว่ามีเวลาใช้งบฯแค่ 6 เดือน จึงจำเป็นต้องปรับลดงบฯรายจ่ายลง
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การจัดสรรงบฯ ทั้งอำนาจ งบประมาณ และกำลังพลล้วนกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ฟุ้งซ่านกับการทำโครงการต่างๆ ที่สร้างภาระแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีแต่งานอีเวนต์ นิทรรศการ แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่น ที่การใช้จ่ายงบฯ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ได้ถูกนำไปสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เกิดการหมุนเวียนในท้องถิ่น เพราะถูกสูบมาไว้ที่นายทุนส่วนกลาง
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก กล่าวว่า ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมบัญชีกลางแล้ว ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63ไม่ขัดรธน.
นายสันติ กีระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขาฯกมธ. ชี้แจงถึงปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้งบฯ อย่างการใช้งบกลางในการแก้ไขภัยแล้ง ขณะที่สมมติฐานการเจริญเติบโตทางศก. นั้น เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากถึงสภาพศก. ที่มีผลจากต่างประเทศ แต่หากปรับลดประมาณต่ำกว่า 3.2 ล้านบาท สิ่งที่ปรับลดไม่ได้แน่ๆ คือ รายจ่ายประจำที่มีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของงบฯ ทั้งหมด และหากมีการปรับลด ก็จะกระทบต่องบลงทุน จึงควรใช้วิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพแทนที่จะใช้วิธีการปรับลด
ส่วนภาระหนี้สาธารณะ จากการชดเชยรายจ่ายที่ขาดดุล ซึ่งตั้งไว้ 469,000 ล้านบาท แต่ยอดเงินกู้จริงจะอยู่ประมาณ 389,000 ล้านบาท เพราะหักลบงบที่จัดสรรใช้หนี้เงินกู้ไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบเคียงได้ว่า ไม่สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว พร้อมย้ำว่าช่วงแรกของปีงบประมาณ 63 เดือนต.ค.-ธ.ค. ยังสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ ที่ 6,349 ล้านบาท ที่มาจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดเก็บรายได้ โดยดึงกลุ่มที่ไม่ได้เสียภาษีกลับมาเสียภาษี พร้อมย้ำว่า ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวแล้ว แม้ค่าเงินบาทแข็งอยู่ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่ด้านดีก็ได้เปรียบเกี่ยวกับการนำเข้า
ส่วนความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ เป็นไปตามเงื่อนไขรธน. มาตรา 77 ว่า มีการรับฟังความคิดเห็น หรือไม่นั้น นายสันติ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ ที่ส่งมาจากสำนักงบฯ มีการชี้แจงรายละเอียดการรับฟังความคิดเห็น การกระทำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขรธน.ทุกประการ
ภายหลังจาก กมธ.และ ส.ส.อภิปราย มาตรา 4 ครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตราดังกล่าว ตามที่กมธ. เสนอมาด้วยคะแนน 244 ต่อ 88 งดออกเสียง 137 และ ไม่ลงคะแนน 3 เสียง
ฝ่ายค้านรุมถล่มงบกลาง-งบกองทัพ
จากนั้นเป็นการพิจารณา มาตรา 6 งบกลาง 518,770 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มีการสงวนคำแปรญัตติ เกี่ยวกับเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 96,000 ล้านบาท เริ่มที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อย อภิปรายขอให้ปรับลดเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จากที่ตั้งไว้ 96,000 ล้านบาท ปรับลด 56,000 ล้านบาท เนื่องจากควรใช้งบฯ ตามที่จำเป็น เพราะระยะเวลาปีงบฯ 63 เหลืออยู่อีกไม่กี่เดือน
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กมธ. เสียงข้างน้อย อภิปรายขอตัดงบกลาง 20,000 ล้านบาท โดยกังวลว่าจะมีการใช้งบฯ ผิดประเภทไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หรืออาจจะนำไปจ่ายค่าเสียหายกรณีปิดเหมืองทองอัครา อีกทั้งยังมีงบสำรองอีก 50,000 ล้านบาท ซึ่งสำรองไว้นอกงบประมาณ ตามพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณปี 2561ไว้อยู่แล้ว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กมธ.เสียงข้างน้อย เสนอปรับลดงบกลาง ในส่วนเงินค่าชดเชยสิ่งก่อสร้างจาก 500 ล้านบาท ปรับลดลง 200 ล้านบาท เนื่องจากปีที่ผ่านๆ มา ตั้งแต่ปี 61 ใช้งบส่วนนี้ไม่เกิน 300 ล้านบาทอยู่แล้ว และเสนอปรับลดเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 96,000 ล้านบาท ปรับลด 30,000 ล้านบาท ให้เหลือเพียง 66,000 ล้านบาท เนื่องจากเงินงบฯ ส่วนนี้ ใช้เฉพาะกรณีป้องกันหรือแก้ไขในสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐการ เยียวยาหรือชดเชยบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง และภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนของรัฐ และเหลือเวลาปีงบประมาณ 63 มีเพียง 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้งบฯถึง 96,000 ล้านบาท
นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่า ถ้าเรากลับไปดูถึงปัญหาของงบกลาง นอกจากการพูดถึงรถหุ้มเกราะ จำนวน 2,800 ล้านบาท โครงการ ชิมช้อปใช้ ซึ่งไม่รู้ว่าประชาชนที่เสียภาษีได้ประโยชน์อย่างไร ถ้าไปดูในเรื่องอื่นๆ ตามมติครม. เอาเฉพาะรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะพบว่าในเดือน พ.ย.58 ได้ยอมรับว่ามีการใช้งบกลาง 63.57 ล้านบาท ไปกับโครงการอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งทุกวันนี้โครงการนี้ ทุจริตคอร์รัปชัน โกงอย่างจง รัก หักหัวคิวอย่างภักดี
นายรังสิมันต์ กล่าวว่าในวันที่ 9 ก.ค. 62 วันเดียว ก่อนที่จะมีการโปรดเกล้าฯ ครม.ใหม่ ได้มีการอนุมัติงบกลาง 1,645 ล้านบาท ให้โครงการใช้ยางพารากับหน่วยงานภาครัฐ แต่รับผิดชอบโดยกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบก ทำไมให้กองทัพที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปกป้องเป็นรั้วของชาติ มาปฏิบัติเรื่องนี้และ วันที่ 19 มี.ค.62 ไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้ง มีการอนุมัติงบ 37,900 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนประชารัฐ อนุมัติงบแบบนี้ได้อย่างไร และหลังรัฐประหารปี 57 มีการอนุมัติงบ 567ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ในช่วงระหว่างวันที่ 1-19 พ.ค.57 ให้กับหน่วยงานหลายหน่วยงาน รวมกำลังพลทั้งสิ้น 39,000 คน ว่ากันว่า นี่คือการจ่ายโบนัส ให้กับพลทหาร พลตำรวจ ที่เข้ามาช่วยท่านรัฐประหาร นอกจากยังมีการวางบิลย้อนหลัง โดยอนุมัติเงินงบ 795 ล้านบาท ให้กับกองทัพบก เพื่อใช้จ่ายตอนที่ทหารออกไปช่วยเหลือน้ำท่วม เมื่อปี 54 เป็นการจ่ายย้อนหลังถึง 3 ปี
"ทั้งหมดนี้คือการใช้งบกลางมีปัญหา ผิดวัตถุประสงค์ เขาว่ากันว่างบกลางนี้ได้กลายเป็นยาสารพัดนึกที่รัฐบาลนำมาใช้จนถึงขั้นเสพติด ก่อนหน้านี้เรามีรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาว่าค้ายา แต่ครั้งนี้ผมเห็นว่า รัฐบาลอาจกำลังติดยา ติดยาสารพัดนึก ที่ใช้งบกลางกับเรื่องทุกเรื่องที่ท่านจะจินตนาการได้" นายรังสิมันต์ กล่าว และขอตัดงบในส่วนสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ลง 32,000 ล้านบาท
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน มาตรา 6 ตามที่กมธ.เสียงข้างมาก ไม่มีการแก้ไขด้วยมติ เห็นด้วย 239 ไม่เห็นด้วย 78 งดออกเสียง 148
"อุตตม" แจงหั่นงบ 1.6 หมื่นล้าน
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 63 แถลงชี้แจงสาระสำคัญ ในการพิจารณารายมาตรา วาระที่ 2 ว่า ได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงไปพิจารณาความจำเป็นในการใช้งบประมาณ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และส่งข้อมูลมาให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการ มีมติปรับลดงบประมาณจำนวน 16,231 ล้านบาท โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ตลอดจนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
วานนี้ (8ม.ค.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยมีการอภิปรายใน มาตรา 4 เกี่ยวกับภาพรวมงบประมาณ 3.2 ล้านบาท โดยกมธ.เสียงข้างน้อยส่วนหนึ่ง แปรญัตติขอปรับลดงบฯ ตั้งแต่ 1-20% อาทิ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อยขอตัด 15% หรือ 480,000 ล้านบาท ว่า การจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณครั้งนี้ มีเงื่อนไขที่ต้องปรับตัวใหม่ เพราะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง และพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีเงื่อนไขบังคับหลายเรื่อง แต่งบฯบางกระทรวงกลับได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยกระทรวงอื่นๆ โดยเฉพาะงบฯกองทัพ และงบฯควรจะคำนวณให้สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ จีดีพี
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล กมธ.เสียงข้างน้อย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การพิจารณางบฯครั้งนี้ มีความผิดปกติหลายเรื่อง อาทิ ไม่ได้เขียนเรื่องเงินนอกงบประมาณ ไว้ในร่าง พ.ร.บ. แสดงให้เห็นว่ามีเงินส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้จ่ายโดยไม่ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถือว่าขัดต่อรธน. กังวลว่า หาก ส.ส.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นี้ อาจนำไปสู่การยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบได้
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย ขอตัดลดงบ15% หรือ 4.8แสนล้านบาท เนื่องจากเดิมคาดว่าอัตราเจริญเติบโต ศก.ปี 63 จะโต 3-4% แต่ปัจจุบันโตแค่ 2.6% ทำให้รายได้ประเทศลดลง ขณะที่งบฯ ด้านการลงทุนที่ตั้งไว้ 6.4 แสนล้านบาทนั้น มีระยะเวลาการใช้งบฯ เพียง 6 เดือน ตั้งแต่เดือนปลายเดือนก.พ. ที่คาดว่า พ.ร.บ. งบฯ จะมีผลบังคับใช้ ไปจนถึงปลายเดือนต.ค. ถือว่ามีเวลาใช้งบฯแค่ 6 เดือน จึงจำเป็นต้องปรับลดงบฯรายจ่ายลง
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การจัดสรรงบฯ ทั้งอำนาจ งบประมาณ และกำลังพลล้วนกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ฟุ้งซ่านกับการทำโครงการต่างๆ ที่สร้างภาระแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีแต่งานอีเวนต์ นิทรรศการ แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่น ที่การใช้จ่ายงบฯ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ได้ถูกนำไปสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เกิดการหมุนเวียนในท้องถิ่น เพราะถูกสูบมาไว้ที่นายทุนส่วนกลาง
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก กล่าวว่า ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมบัญชีกลางแล้ว ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63ไม่ขัดรธน.
นายสันติ กีระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขาฯกมธ. ชี้แจงถึงปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้งบฯ อย่างการใช้งบกลางในการแก้ไขภัยแล้ง ขณะที่สมมติฐานการเจริญเติบโตทางศก. นั้น เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากถึงสภาพศก. ที่มีผลจากต่างประเทศ แต่หากปรับลดประมาณต่ำกว่า 3.2 ล้านบาท สิ่งที่ปรับลดไม่ได้แน่ๆ คือ รายจ่ายประจำที่มีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของงบฯ ทั้งหมด และหากมีการปรับลด ก็จะกระทบต่องบลงทุน จึงควรใช้วิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพแทนที่จะใช้วิธีการปรับลด
ส่วนภาระหนี้สาธารณะ จากการชดเชยรายจ่ายที่ขาดดุล ซึ่งตั้งไว้ 469,000 ล้านบาท แต่ยอดเงินกู้จริงจะอยู่ประมาณ 389,000 ล้านบาท เพราะหักลบงบที่จัดสรรใช้หนี้เงินกู้ไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบเคียงได้ว่า ไม่สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว พร้อมย้ำว่าช่วงแรกของปีงบประมาณ 63 เดือนต.ค.-ธ.ค. ยังสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ ที่ 6,349 ล้านบาท ที่มาจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดเก็บรายได้ โดยดึงกลุ่มที่ไม่ได้เสียภาษีกลับมาเสียภาษี พร้อมย้ำว่า ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวแล้ว แม้ค่าเงินบาทแข็งอยู่ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่ด้านดีก็ได้เปรียบเกี่ยวกับการนำเข้า
ส่วนความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ เป็นไปตามเงื่อนไขรธน. มาตรา 77 ว่า มีการรับฟังความคิดเห็น หรือไม่นั้น นายสันติ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ ที่ส่งมาจากสำนักงบฯ มีการชี้แจงรายละเอียดการรับฟังความคิดเห็น การกระทำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขรธน.ทุกประการ
ภายหลังจาก กมธ.และ ส.ส.อภิปราย มาตรา 4 ครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตราดังกล่าว ตามที่กมธ. เสนอมาด้วยคะแนน 244 ต่อ 88 งดออกเสียง 137 และ ไม่ลงคะแนน 3 เสียง
ฝ่ายค้านรุมถล่มงบกลาง-งบกองทัพ
จากนั้นเป็นการพิจารณา มาตรา 6 งบกลาง 518,770 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มีการสงวนคำแปรญัตติ เกี่ยวกับเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 96,000 ล้านบาท เริ่มที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อย อภิปรายขอให้ปรับลดเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จากที่ตั้งไว้ 96,000 ล้านบาท ปรับลด 56,000 ล้านบาท เนื่องจากควรใช้งบฯ ตามที่จำเป็น เพราะระยะเวลาปีงบฯ 63 เหลืออยู่อีกไม่กี่เดือน
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กมธ. เสียงข้างน้อย อภิปรายขอตัดงบกลาง 20,000 ล้านบาท โดยกังวลว่าจะมีการใช้งบฯ ผิดประเภทไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หรืออาจจะนำไปจ่ายค่าเสียหายกรณีปิดเหมืองทองอัครา อีกทั้งยังมีงบสำรองอีก 50,000 ล้านบาท ซึ่งสำรองไว้นอกงบประมาณ ตามพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณปี 2561ไว้อยู่แล้ว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กมธ.เสียงข้างน้อย เสนอปรับลดงบกลาง ในส่วนเงินค่าชดเชยสิ่งก่อสร้างจาก 500 ล้านบาท ปรับลดลง 200 ล้านบาท เนื่องจากปีที่ผ่านๆ มา ตั้งแต่ปี 61 ใช้งบส่วนนี้ไม่เกิน 300 ล้านบาทอยู่แล้ว และเสนอปรับลดเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 96,000 ล้านบาท ปรับลด 30,000 ล้านบาท ให้เหลือเพียง 66,000 ล้านบาท เนื่องจากเงินงบฯ ส่วนนี้ ใช้เฉพาะกรณีป้องกันหรือแก้ไขในสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐการ เยียวยาหรือชดเชยบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง และภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนของรัฐ และเหลือเวลาปีงบประมาณ 63 มีเพียง 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้งบฯถึง 96,000 ล้านบาท
นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่า ถ้าเรากลับไปดูถึงปัญหาของงบกลาง นอกจากการพูดถึงรถหุ้มเกราะ จำนวน 2,800 ล้านบาท โครงการ ชิมช้อปใช้ ซึ่งไม่รู้ว่าประชาชนที่เสียภาษีได้ประโยชน์อย่างไร ถ้าไปดูในเรื่องอื่นๆ ตามมติครม. เอาเฉพาะรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะพบว่าในเดือน พ.ย.58 ได้ยอมรับว่ามีการใช้งบกลาง 63.57 ล้านบาท ไปกับโครงการอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งทุกวันนี้โครงการนี้ ทุจริตคอร์รัปชัน โกงอย่างจง รัก หักหัวคิวอย่างภักดี
นายรังสิมันต์ กล่าวว่าในวันที่ 9 ก.ค. 62 วันเดียว ก่อนที่จะมีการโปรดเกล้าฯ ครม.ใหม่ ได้มีการอนุมัติงบกลาง 1,645 ล้านบาท ให้โครงการใช้ยางพารากับหน่วยงานภาครัฐ แต่รับผิดชอบโดยกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบก ทำไมให้กองทัพที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปกป้องเป็นรั้วของชาติ มาปฏิบัติเรื่องนี้และ วันที่ 19 มี.ค.62 ไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้ง มีการอนุมัติงบ 37,900 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนประชารัฐ อนุมัติงบแบบนี้ได้อย่างไร และหลังรัฐประหารปี 57 มีการอนุมัติงบ 567ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ในช่วงระหว่างวันที่ 1-19 พ.ค.57 ให้กับหน่วยงานหลายหน่วยงาน รวมกำลังพลทั้งสิ้น 39,000 คน ว่ากันว่า นี่คือการจ่ายโบนัส ให้กับพลทหาร พลตำรวจ ที่เข้ามาช่วยท่านรัฐประหาร นอกจากยังมีการวางบิลย้อนหลัง โดยอนุมัติเงินงบ 795 ล้านบาท ให้กับกองทัพบก เพื่อใช้จ่ายตอนที่ทหารออกไปช่วยเหลือน้ำท่วม เมื่อปี 54 เป็นการจ่ายย้อนหลังถึง 3 ปี
"ทั้งหมดนี้คือการใช้งบกลางมีปัญหา ผิดวัตถุประสงค์ เขาว่ากันว่างบกลางนี้ได้กลายเป็นยาสารพัดนึกที่รัฐบาลนำมาใช้จนถึงขั้นเสพติด ก่อนหน้านี้เรามีรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาว่าค้ายา แต่ครั้งนี้ผมเห็นว่า รัฐบาลอาจกำลังติดยา ติดยาสารพัดนึก ที่ใช้งบกลางกับเรื่องทุกเรื่องที่ท่านจะจินตนาการได้" นายรังสิมันต์ กล่าว และขอตัดงบในส่วนสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ลง 32,000 ล้านบาท
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน มาตรา 6 ตามที่กมธ.เสียงข้างมาก ไม่มีการแก้ไขด้วยมติ เห็นด้วย 239 ไม่เห็นด้วย 78 งดออกเสียง 148
"อุตตม" แจงหั่นงบ 1.6 หมื่นล้าน
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 63 แถลงชี้แจงสาระสำคัญ ในการพิจารณารายมาตรา วาระที่ 2 ว่า ได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงไปพิจารณาความจำเป็นในการใช้งบประมาณ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และส่งข้อมูลมาให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการ มีมติปรับลดงบประมาณจำนวน 16,231 ล้านบาท โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ตลอดจนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน