ผู้จัดการรายวัน360 - ส่งท้ายปีเก่าดุ เกิดอุบัติเหตุ 542 ครั้ง ดับ 42 ราย ส่งผลสถิติ 5 วันช่วงปีใหม่ รวมตาย 256 ราย เชียงใหม่เกิดเหตุ-ผู้บาดเจ็บสูงสุด กทม.ยอดคนตายสูงสุด กำชับดูแลความปลอดภัยช่วงเดินทางกลับ ด้านกรมคุมประพฤติ เผยเมาแล้วขับถูกจับคุมประพฤติ 8,500 คดี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,500 คดี ขอนแก่นซิวแชมป์สูงสุด ขณะที่ประชาชนถูกดำเนินคดีเมาแล้วขับทั่วประเทศกว่า 18,314 ราย
วานนี้ (1 ม.ค.) นายวีระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าว สรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ว่า วันที่ 31 ธ.ค.62 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของช่วง 7 วันอันตราย และการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”เกิดอุบัติเหตุ 542 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 42 ราย ผู้บาดเจ็บ 567 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 32.29 ขับรถเร็ว ร้อยละ 29.52 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.97 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง 63.10 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.82 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 35.42 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01–20.00 น. ร้อยละ 27.49 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.96 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,043 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,072 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 1,030,105 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 236,341 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 65,105 ราย ไม่มีใบขับขี่ 55,230 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (18 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ระนอง ยโสธร และสกลนคร (จังหวัดละ 3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (21 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วัน ของการรณรงค์ (27-31 ธ.ค.62) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,529 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 256 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 2,588 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 11 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (76 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (12 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (77 คน)
นายวีระ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันหยุดสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ คาดว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเริ่มเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ และภูมิลำเนา ทำให้เส้นทางสายหลักและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด มีปริมาณรถหนาแน่น ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจึงได้ประสานพื้นที่ปรับแผนการตั้งจุดตรวจและจุดบริการประชาชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้เกิดความคล่องตัว โดยให้เพิ่มความถี่ในการเรียกตรวจเพื่อชะลอความเร็วรถและประเมินความพร้อมผู้ขับขี่ เน้นการเฝ้าระวัง ตักเตือน พูดคุย ซักถาม หากเห็นว่าผู้ขับขี่มีสภาพอ่อนล้าควรแนะนำให้หยุดพักให้ร่างกายพร้อมสำหรับเดินทาง เพื่อป้องกันการหลับใน
นอกจากนี้ ให้คุมเข้มความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะและพนักงานขับรถ กวดขันการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและการใช้ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของพนักงานขับรถก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงกำชับให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนจัดเตรียมรถโดยสารให้เพียงพอรองรับการเดินทางกลับของประชาชน ทั้งนี้ บางพื้นที่ยังคงมีการจัดงานรื่นเริง จึงขอให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังคงใช้กลไกด่านชุมชนและด่านครอบครัว เพื่อป้องปราม ตักเตือนผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
ขอนแก่นซิวแชป์เมาแล้วขับ
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติทั่วประเทศของวันที่ 31 ธ.ค.62 จำนวน 3,703 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,701 คดี คิดเป็นร้อยละ 99.95 และคดีขับรถประมาท 2 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.05 ขณะที่ยอดยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติ รวม 5 วัน ( 27-31 ธ.ค.) มีทั้งสิ้น 8,711 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,557 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.23 , คดีขับเสพ 139 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.60 , คดีขับซิ่ง แข่งรถ 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ คดีขับรถประมาท 14 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.16
ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ขอนแก่น 507 คดี กรุงเทพมหานคร 484 คดี และ มหาสารคาม 476 คดี เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ สะสม 5 วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 และ 2563 พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา ปี 62 มีจำนวน 6,004 คดี กับปี 63 มีจำนวน 8,557 คดี เพิ่มขึ้น 2,553 คดี คิดเป็นร้อยละ 42.52 นอกจากนี้ กรมคุมประพฤติ ยังดำเนินการตรวจสอบประวัติการกระทำผิดในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3,145 คดี พบมีผู้กระทำผิดซ้ำ จำนวน 124 คดี
"กรมคุมประพฤติ ได้กำชับให้สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ พร้อมด้วยอาสาสมัครคุมประพฤติ สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น ในคืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จำนวน 120 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 760 คน เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน พร้อมเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีการจัดงานรื่นเริงและ
เฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน" นายวิตถวัลย์ กล่าว
เมาแล้วขับถูกจับปรับแล้ว 18,314 ราย
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยปริมาณคดีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร ว่า สรุปรวมสถิติคดีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระหว่างวันที่ 27 – 31 ธ.ค. 2562
สถิติความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก ของกลุ่มศาลอาญา, กลุ่มศาลจังหวัด, กลุ่มศาลแขวง มีจำนวนที่เข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น 19,680 คดี พิพากษาแล้วเสร็จ 19,379 คดี (คิดเป็นร้อยละ 98.47) จังหวัดที่มีคดีขึ้นสู่พิจารณาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ 896 คดี นครราชสีมา 868 คดี และชลบุรี 851 คดี
ส่วนศาลที่มีปริมาณคดีขึ้นสู่การพิจารณาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ศาลแขวงเชียงใหม่ 731 คดี ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด 647 คดี ศาลแขวงนนทบุรี 498 คดี โดยข้อหาที่มีการประทำผิดสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ขับรถขณะเมาสุรา 18,314 คน ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต 2,947 คน และขับรถขณะเสพยาเสพติด 259 คน
วานนี้ (1 ม.ค.) นายวีระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าว สรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ว่า วันที่ 31 ธ.ค.62 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของช่วง 7 วันอันตราย และการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”เกิดอุบัติเหตุ 542 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 42 ราย ผู้บาดเจ็บ 567 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 32.29 ขับรถเร็ว ร้อยละ 29.52 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.97 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง 63.10 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.82 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 35.42 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01–20.00 น. ร้อยละ 27.49 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.96 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,043 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,072 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 1,030,105 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 236,341 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 65,105 ราย ไม่มีใบขับขี่ 55,230 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (18 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ระนอง ยโสธร และสกลนคร (จังหวัดละ 3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (21 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วัน ของการรณรงค์ (27-31 ธ.ค.62) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,529 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 256 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 2,588 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 11 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (76 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (12 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (77 คน)
นายวีระ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันหยุดสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ คาดว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเริ่มเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ และภูมิลำเนา ทำให้เส้นทางสายหลักและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด มีปริมาณรถหนาแน่น ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจึงได้ประสานพื้นที่ปรับแผนการตั้งจุดตรวจและจุดบริการประชาชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้เกิดความคล่องตัว โดยให้เพิ่มความถี่ในการเรียกตรวจเพื่อชะลอความเร็วรถและประเมินความพร้อมผู้ขับขี่ เน้นการเฝ้าระวัง ตักเตือน พูดคุย ซักถาม หากเห็นว่าผู้ขับขี่มีสภาพอ่อนล้าควรแนะนำให้หยุดพักให้ร่างกายพร้อมสำหรับเดินทาง เพื่อป้องกันการหลับใน
นอกจากนี้ ให้คุมเข้มความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะและพนักงานขับรถ กวดขันการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและการใช้ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของพนักงานขับรถก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงกำชับให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนจัดเตรียมรถโดยสารให้เพียงพอรองรับการเดินทางกลับของประชาชน ทั้งนี้ บางพื้นที่ยังคงมีการจัดงานรื่นเริง จึงขอให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังคงใช้กลไกด่านชุมชนและด่านครอบครัว เพื่อป้องปราม ตักเตือนผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
ขอนแก่นซิวแชป์เมาแล้วขับ
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติทั่วประเทศของวันที่ 31 ธ.ค.62 จำนวน 3,703 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,701 คดี คิดเป็นร้อยละ 99.95 และคดีขับรถประมาท 2 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.05 ขณะที่ยอดยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติ รวม 5 วัน ( 27-31 ธ.ค.) มีทั้งสิ้น 8,711 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,557 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.23 , คดีขับเสพ 139 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.60 , คดีขับซิ่ง แข่งรถ 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ คดีขับรถประมาท 14 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.16
ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ขอนแก่น 507 คดี กรุงเทพมหานคร 484 คดี และ มหาสารคาม 476 คดี เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ สะสม 5 วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 และ 2563 พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา ปี 62 มีจำนวน 6,004 คดี กับปี 63 มีจำนวน 8,557 คดี เพิ่มขึ้น 2,553 คดี คิดเป็นร้อยละ 42.52 นอกจากนี้ กรมคุมประพฤติ ยังดำเนินการตรวจสอบประวัติการกระทำผิดในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3,145 คดี พบมีผู้กระทำผิดซ้ำ จำนวน 124 คดี
"กรมคุมประพฤติ ได้กำชับให้สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ พร้อมด้วยอาสาสมัครคุมประพฤติ สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น ในคืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จำนวน 120 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 760 คน เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน พร้อมเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีการจัดงานรื่นเริงและ
เฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน" นายวิตถวัลย์ กล่าว
เมาแล้วขับถูกจับปรับแล้ว 18,314 ราย
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยปริมาณคดีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร ว่า สรุปรวมสถิติคดีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระหว่างวันที่ 27 – 31 ธ.ค. 2562
สถิติความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก ของกลุ่มศาลอาญา, กลุ่มศาลจังหวัด, กลุ่มศาลแขวง มีจำนวนที่เข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น 19,680 คดี พิพากษาแล้วเสร็จ 19,379 คดี (คิดเป็นร้อยละ 98.47) จังหวัดที่มีคดีขึ้นสู่พิจารณาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ 896 คดี นครราชสีมา 868 คดี และชลบุรี 851 คดี
ส่วนศาลที่มีปริมาณคดีขึ้นสู่การพิจารณาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ศาลแขวงเชียงใหม่ 731 คดี ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด 647 คดี ศาลแขวงนนทบุรี 498 คดี โดยข้อหาที่มีการประทำผิดสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ขับรถขณะเมาสุรา 18,314 คน ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต 2,947 คน และขับรถขณะเสพยาเสพติด 259 คน