xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

"GCIO"ดิจิทัลไทยแลนด์ ผู้บริหารรัฐที่ไม่ใช่แค่เล่น"ไอที"เป็น

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -สัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลเพิ่งเห็นชอบให้ปรับปรุงปรับเปลี่ยน "แนวทางการแต่งตั้งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำกระทรวง ทบวง กรม" ซึ่งเดิมตำแหน่งนี้ มีมาตั้งแต่ปี 2541 หรือ 20 กว่าปีที่แล้ว ที่ให้รองปลัดกระทรวง 1 คน หรือรองอธิบดี 1 คน" นั่งในตำแหน่งนี้แบบยาวๆ เป็น"CIOหน่วยงาน"

ตำแหน่งนี้หลายคนถูกปรามาสว่าเปิดคอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นไม่เคยเปิดอีเมลหน่วยงาน โยนภารกิจให้ลูกน้องที่ส่งไปเรียนหลักสูตร "ไอที" เป็นคนรับผิดชอบงานแทนบ้าง สารพัด!

อย่างปัญหาในระบบ เช่นกรณีของบทบาทในการขับเคลื่อนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือดิจิทัลเทคโนโลยี เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรนั้น แต่กลับไม่ได้ขึ้นกับCIOแต่กลับไปขึ้นกับ "หัวหน้าหน่วยงาน"

ดังจะเห็นได้ว่าหน่วยงานซึ่งหัวหน้าหน่วยงานมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้มีเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน จะเป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าทางไอทีมากกว่าหน่วยงานอื่นๆ บทบาทของ CIOจึงควรเป็นบทบาทของ "หัวหน้าหน่วยงาน" โดยตรง
ข้างต้นเป็นตัวอย่างที่"สำนักงาน ก.พ.ร" ตั้งข้อสังเกต

แนวทางนี้หวังเพื่อเข้ามาปรับปรุงและกำหนดความชัดเจน เปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตาม"แนวทางการบริหารจัดการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline)หรือ GCIO โดยมีสำนักงานก.พ.เป็นแม่งาน กำหนดคุณสมบัติและการจัดตั้ง

กำหนดกลไกให้มีรูปแบบ 4 ระดับ ประกอบด้วยคณะกรรมการ GCIO Committeeโดยตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 1 คณะ ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลไปสู่การปฏิบัติ

ให้มี ผู้บริหารระดับกระทรวง MCIOระดับกรม DCIOโดยตั้งรองหัวหน้าส่วนราชการ ทีมีความเข้าใจในบทบาทภารกิจ กระบวนงานและบริการของหน่วยงานและมีความเข้าใจดิจิทัลระดับหนึ่ง รวมถึงผ่านอบรมหลักสูตร GCIO สุดท้าย ระดับจังหวัด PCIOให้ทุกจังหวัดจัดตั้ง ทำหน้าที่ "ผู้เอื้ออำนวยการพัฒนาจังหวัดดิจิทัลและเมืองอัจฉริยะ" และสร้างบริการสาธารณะระดับจังหวัดที่ขับเคลื่อนโดยความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและผู้รับบริการ

นอกจากนี้ยังให้ตั้ง "ที่ปรึกษา ผู้ช่วย และผู้ปฎิบัติงาน" เพื่อสนับสนุนระยะแรก

คาดหวังให้เกิดการประสาน บูรณาการ และเชื่อมต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลไปในทิศทางเดียวกันทุกระดับ รวมทั้งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อนให้เป็นตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ

โดยเฉพะาตำแหน่ง PCIO จะเข้ามาสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและจังหวัดอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุน ระดับ GCIO

ตามเป้าหมาย GCIOกำหนดไว้ 2 ระยะ คือ "ระยะสั้น"ภายในปี 2565 ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสว่นใหญ่มีการพัฒนาตาม "โมเดลวุฒิภาวะ" การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามแนวคิด Digital Government Maturity Model ที่พัฒนา โดย Gartner ระดับที่ 2 ตามนโยบาย Open and Connected Government

"ระยะยาว"ภายในปี พ.ศ.2580 ภาครัฐบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูง เทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว อันมีระดับ Digital Government Maturity Model(Gartner)เป็นต้วชี้วัด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ก.พ.ไปทบทวนในหลายประเด็น เช่น "คุณสมบัติของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ แต่ละระดับ และทีมสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ

ความซ้ำซ้อนองค์ประกอบและหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่าง "กรรมการผู้?บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ"กับ"คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล"

การจัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจแต่ละหน่วยงาน และไม่ซ้ำซ้อนกับหลักสูตร "รัฐบาลอเล็กทรอนิกส์" สำหรับผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานและหน่วยงานของรัฐ

ขณะที่หลักสูตรดังกล่าว สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน)จะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกรอบของหลักสูตรฯ "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส" จะเป็นเจ้าภาพ ทั้งในส่วนของผู้บริหารฯ และผู้ช่วยผู้บริหารฯ ยังมีหน้าที่ติดตาม ประเมินผลแนะนำ ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร

โดย "กระทรวงดีอีเอส ให้ดำเนินการตามขั้นตอนตามแนวทางฯ ที่สำนักงานก.พ.ได้รับความห็นชอบจากรัฐบาลแนวทางข้างต้น หลายหน่ายงานเห็นด้วย แต่หลายหน่วยงานก็มีข้อสังเกต

"คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.)" ที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มอบหมายให้ก.พ.ในฐานะฝ่ายเลขานุการให้ความเห็น ในประเด็นการจัดทำแผนกรอบอัตรากำลัง โดยเฉพาะศักยภาพของ "ที่ปรึกษา"และ "ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน" ในระยะเริ่มแรก จัดสรรไปในส่วนราชการและจังหวัดต่างๆ ทำอย่างไรที่จะจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่มีศักยภาพสูงเพิ่มเติมให้ระดับพื้นที่

นอกจากนี้ยังรวมถึง คุณสมบัติที่ปรึกษา ความรู้ความชำนาญที่เหมาสม กรอบอัตราค่าจ้าง และระยะเวลาการปฏิบัติงาน

โดยประเด็น "อัตรากำลัง" สำนักงบประมาณ มีข้อสังเกตว่าการสนับสนุนกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้น

"จะทำให้เป็นภาระงบประมาณด้านบุคคลการภาครัฐ" จึงควรกำหนดแนวทางให้ได้อย่างยุติอย่างชัดเจน และต้องสอดคล้องตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.2562-2565) กับคพร. เพื่อนำไปพิจารณาปรับกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการดังกล่าว ก่อนตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความเหมาสมในแต่ละปีงบประมาณ

"สำนักงานก.พ.ร."ให้ข้อสังเกตว่า การตั้ง"คณะกรรมการและคณะผู้บริหารเทคโนโลยีฯ ทั้งในระดับ กระทรวง กรม และจังหวัด เป็นการเพิ่มภาระงานประจำ ให้แก่ทุกหน่วยงาน และทำให้ความรับผิดชอบ ต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการขับเคลื่อนนโยบายไม่มีความชัดเจน ทั้งยังอาจเปลืองงบประมาณ

แต่หากต้องการให้บรรลุสู่ "หน่วยงานดิจิทัล" ควรเริ่มต้นจากการปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการทำงานก่อน และปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับ เช่นเดียวกับการกำหนดเป้าหมายระยะสั้นภายในปี 2565 ควรมีความชัดเจนทุกระดับ เริ่มจากการประสานงานระหว่างกันในการให้บริการประชาชนในภารที่รับผิดชอบโดยผ่านระบบดิจิทัลให้ได้

"การพัฒนาระบบดิจิทัล มาใช้ในการปฏิบัติงานนั้นไม่วรมีลักษณะเป็น Rule based เพราะจะเป็นการจำกัดพัฒนาและควรใช้ Open Application Programming Interface เพื่อให้หน่วยงานอื่นหรือภาคเอกชนพัฒนา"แอปพลิเคชั่น"มาใช้ร่วมกันได้ด้วย อันจะทำให้นโยบาย Open and Connected Government ประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

ขณะที่ "สภาพัฒน์" เน้นไปที่การรวมกลุ่ม เร่งรัดให้เร่งสรรหาผู้บริหารระดับกระทรวง MCIOระดับกรม DCIOและระดับจังหวัด PCIOเพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง GCIO Committeeและกำหนดรูปแบบการจัดโครงสร้างการบริหาร ภายในส่วนราชการ ความสัมพันธ์และการประสานงานในระดับต่างๆ กำกับไว้ในแนวทางดังกล่าวด้วย

ยังมีข้อที่หลายหน่วยงานเสนอให้ทบทวนคุณสมบัติของผู้บริหารฯ เช่น ผู้บริหารระดับกรม ระบุถึง"ต้องมีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการด้านดิจิทัลขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับหลายภารกิจ/บริการทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า ตรงนี้เป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถมอบหมายผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ให้มานั่ง DCIOได้ เพราะงานด้านดิจิทัลในหลายหน่วยงาน เป็น"งานสนับสนุนภารกิจหลัก" จึงอาจไม่ได้รับงบประมาณ หรือไม่มีโครงการด้านดิจิทัลที่มีมูลค่ามากถึง 50 ล้านบาท

ขณะที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เบื้องต้นพร้อมจะเข้ามาเป็น "พี่เลี้ยง"รวมบูรณาการ เห็นว่า GCIO จะต้องให้ความสำคัญกับ "การสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจและการให้บริการภาครัฐ"

เช่น รับผิดชอบภารกิจบริหารจัดการและนำข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องทำงานในลักษณะเครือข่ายสนับสนุนกันและกัน เพื่อสนับสนุนมติ ครม. 7 พ.ค.62 ในการสร้างความพร้อมเชิงโครงสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ข้อมูลของประเทศ

เมื่อรัฐบาลรับหลักการเบื้องต้น "ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง"จะถูกกำหนดเป็นหัวหอก ทีมดิจิทัลไทยแลนด์ต่อไป.




กำลังโหลดความคิดเห็น