ผู้จัดการายวัน360- กัลฟ์-มิตซุย เซ็นสัญญาเงินกู้วงเงิน4.1หมื่นล้านบาทกับ16สถาบันการเงินไทยและต่างประเทศ เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าไอพีพี “กัลฟ์ ปลวกแดง” คาดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ได้ในปี66-67 พร้อมทุ่มเงินลงทุนปี63 กว่า 2หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าปีหน้าโกยรายได้แตะ 3.6หมื่นล้านบาทโตจากปีนี้รายได้อยู่ที่3.3หมื่นล้านบาท
วานนี้ (18พ.ย.)บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF โดย นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นายโยชิโอะ โคเมตานิ กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจ บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด ได้ลงนามสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ปลวกแดง (GPD) ในวงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 41,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสกุลเงินบาทร้อยละ 50 และสกุลเงินเหรียญสหรัฐร้อยละ 50 กับกลุ่มสถาบันการเงินทั้งในไทยและต่างประเทศ 16 แห่ง คาดว่าเริ่มก่อสร้างในปีหน้าและจะแล้วเสร็จในปี2566-2567
นายสารัชถ์ กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปีหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่คาดอยู่ระดับ 3.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงไฟฟ้าไบโอแมส 20 เมกะวัตต์ใน อ.จะนะ จ.สงขลา, โรงไฟฟ้าพลังงานลม 30-80 เมกะวัตต์ในเวียดนาม และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในโอมาน เฟสแรก 40 เมกะวัตต์ จากที่มีอยู่ทั้งหมด 5 เฟส กำลังการผลิตรวม 326 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทยอยเข้าระบบทั้งหมดภายในปี 2565
ขณะที่งบลงทุนในปี2563 บริษัทคาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาทเพื่อใช้ในโครงโรงไฟฟ้าไอพีพีทั้ง 2 โครงการ โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และโครงการที่ร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ (BGSR) เข้าร่วมประมูลโครงการติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ3 อยู่ในกระบวนการศาล
นายสารัชถ์ กล่าวว่า บริษัทยังมองหาโอกาสการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม โดยเฉพาะโครงการที่ต้องการหาพันธมิตรร่วมลงทุน อาทิโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ของ บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) แต่ยังไม่ได้มีการเจรจา เพราะว่าปัจจุบันบริษัทมีการลงทุนในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งโครงการโครงสร้างสาธารณูปโภค แต่ก็สนใจโรงไฟฟ้าหินกองเช่นกัน
ส่วนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จ.ระยองนั้น แม้จะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (Superstructure) ตามแผน แต่ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือผู้ให้บริการ (Shipper) ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยยังต้องรอข้อกฎระเบียบให้ชัดเจนก่อน เพราะปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้เปิดให้นำเข้า LNG อย่างเสรี
สำหรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ บริษัทให้ความสนใจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในหลายประเทศ อาทิ โครงการพลังงานพลังน้ำในลาว 3โครงการ ๆละ 600-700 เมกะวัตต์/โครงการ ได้แก่ โครงการ Pak beng โครงการ Pak ley และโครงการ Sanakham ซึ่งยังต้องรอข้อสรุปการเจรจาเพื่อขายไฟฟ้ากลับเข้ามาในไทยก่อน
ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 6,000 เมกะวัตต์ ในเวียดนามนั้น คาดว่าจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อใช้ในโครงการราว 5 ล้านตัน/ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดของโครงการ และความต้องการใช้ไฟฟ้าในเวียดนาม คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีหน้า
ดังนั้นภาพรวมของกัลฟ์ฯในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้ส่วนใหญ่ก็ยังมาจากธุรกิจไฟฟ้าเป็นหลัก ส่วนโครงสร้างสาธารณูปโภคน่าจะเข้ามาในระดับ 5-10%
ทั้งนี้ IPD เป็นบริษัทย่อยที่กัลฟ์ฯและกลุ่ม Mitsui & Co., Ltd. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70.0 และร้อยละ 30.0 ตามลำดับ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าไอพีพี 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 5,300 เมกะวัตต์ ได้แก่โครงการ GPD ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น และโครงการ GSRC ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 2,650 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
วานนี้ (18พ.ย.)บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF โดย นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นายโยชิโอะ โคเมตานิ กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจ บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด ได้ลงนามสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ปลวกแดง (GPD) ในวงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 41,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสกุลเงินบาทร้อยละ 50 และสกุลเงินเหรียญสหรัฐร้อยละ 50 กับกลุ่มสถาบันการเงินทั้งในไทยและต่างประเทศ 16 แห่ง คาดว่าเริ่มก่อสร้างในปีหน้าและจะแล้วเสร็จในปี2566-2567
นายสารัชถ์ กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปีหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่คาดอยู่ระดับ 3.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงไฟฟ้าไบโอแมส 20 เมกะวัตต์ใน อ.จะนะ จ.สงขลา, โรงไฟฟ้าพลังงานลม 30-80 เมกะวัตต์ในเวียดนาม และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในโอมาน เฟสแรก 40 เมกะวัตต์ จากที่มีอยู่ทั้งหมด 5 เฟส กำลังการผลิตรวม 326 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทยอยเข้าระบบทั้งหมดภายในปี 2565
ขณะที่งบลงทุนในปี2563 บริษัทคาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาทเพื่อใช้ในโครงโรงไฟฟ้าไอพีพีทั้ง 2 โครงการ โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และโครงการที่ร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ (BGSR) เข้าร่วมประมูลโครงการติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ3 อยู่ในกระบวนการศาล
นายสารัชถ์ กล่าวว่า บริษัทยังมองหาโอกาสการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม โดยเฉพาะโครงการที่ต้องการหาพันธมิตรร่วมลงทุน อาทิโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ของ บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) แต่ยังไม่ได้มีการเจรจา เพราะว่าปัจจุบันบริษัทมีการลงทุนในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งโครงการโครงสร้างสาธารณูปโภค แต่ก็สนใจโรงไฟฟ้าหินกองเช่นกัน
ส่วนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จ.ระยองนั้น แม้จะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (Superstructure) ตามแผน แต่ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือผู้ให้บริการ (Shipper) ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยยังต้องรอข้อกฎระเบียบให้ชัดเจนก่อน เพราะปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้เปิดให้นำเข้า LNG อย่างเสรี
สำหรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ บริษัทให้ความสนใจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในหลายประเทศ อาทิ โครงการพลังงานพลังน้ำในลาว 3โครงการ ๆละ 600-700 เมกะวัตต์/โครงการ ได้แก่ โครงการ Pak beng โครงการ Pak ley และโครงการ Sanakham ซึ่งยังต้องรอข้อสรุปการเจรจาเพื่อขายไฟฟ้ากลับเข้ามาในไทยก่อน
ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 6,000 เมกะวัตต์ ในเวียดนามนั้น คาดว่าจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อใช้ในโครงการราว 5 ล้านตัน/ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดของโครงการ และความต้องการใช้ไฟฟ้าในเวียดนาม คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีหน้า
ดังนั้นภาพรวมของกัลฟ์ฯในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้ส่วนใหญ่ก็ยังมาจากธุรกิจไฟฟ้าเป็นหลัก ส่วนโครงสร้างสาธารณูปโภคน่าจะเข้ามาในระดับ 5-10%
ทั้งนี้ IPD เป็นบริษัทย่อยที่กัลฟ์ฯและกลุ่ม Mitsui & Co., Ltd. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70.0 และร้อยละ 30.0 ตามลำดับ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าไอพีพี 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 5,300 เมกะวัตต์ ได้แก่โครงการ GPD ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น และโครงการ GSRC ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 2,650 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี