xs
xsm
sm
md
lg

จ่อรื้อแผนฟื้นฟูฯรฟท. -รับภาระหนี้พุ่ง1.67แสนล้าน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการรายวัน 360 - รฟท.ยังอ่วม คาดการณ์ปีนี้ขาดทุนจากการดำเนินอีกกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วน Ebitda ติดลบกว่า 4.7 พันล้าน ดันหนี้สินสะสมทะลุ 1.67 แสนล้านบาท คณะกรรมการ รฟท. เตรียมเวิร์คช้อปผู้บริหาร เร่งทบทวนยุทธศาสตร์และฟื้นฟูแก้จุดอ่อนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมหาทางเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินและทำการตลาดกระตุ้นผู้โดยสาร

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ย. คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารรฟท. เพื่อรับฟังข้อมูลการดำเนินงาน ต่างๆ ของรฟท. ว่า ได้มีการดำเนินงานอย่างไร โครการสำคัญ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร โดยหลังจากนี้ บอร์ดรฟท. จะประชุมเวิร์คช้อป ร่วมกับ ฝ่ายบริหารรฟท.เพื่อวางยุทธศาสตร์ ในการ แก้ปัญหาและขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไปอย่างไร

ทั้งนี้ จากที่ได้รับฟังข้อมูลแผนยุทธศาสตร์และแผนฟื้นฟู รฟท. ซึงมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ดังนั้น ต้องมีการทบทวนปรับปรุง ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และทิศทางของรฟท.ในอนาคต และให้เกิดศักยภาพสูงสุด เช่น การเพิ่มรายได้ จากการเดินรถ การบริหารทรัพยสิน จะมีแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาอ่างไร ที่ไม่ขัดต่อระเบียบและกฎหมาย

“ตอนนี้คือต้องหาทางลดการขาดทุน จาก Ebitda หรือรายได้ลดรายจ่ายก่อน ซึ่งอาจต้องดูเป็นรายเส้นทาง ขาดทุนเพราะอะไร เอาการตลาดเข้าไปช่วยได้หรือไม่ ขณะที่รฟท.จะต้องมุ่งทำการตลาดมากขึ้นเพื่อเป็นหนทางในการเพิ่มรายได้ และอนาคตจะเดินรถด้วยไฟฟ้า ต้องวางยุทธศาสตร์ด้านคน ด้านระบบการทำงาน รองรับอย่างไร เป็นต้น”

อย่างไรก็ตาม บอร์ดรฟท.มีผู้ทรงคุณวุฒิ หลายด้าน ทั้ง ไฟแนนซ์ นักกฎหมาย และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่จะร่วมกันช่วยปรับปรุงแผนและยุทธศาสตร์ให้รฟท.

รายงานข่าวแจ้งว่า รฟท.ได้รายงานข้อมูลต่อบอร์ดในเรื่องโครงสร้างองค์กร และความก้าวหน้าการดำเนินงานต่างๆ เช่น แผนฟื้นฟูการรถไฟฯ โครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและแผนงานในอนาคต ,การบริหารทรัพย์สิน,การจัดการเดินรถไฟฟ ด้วยระบบไฟฟ้า (Signling Electrification Ridership) เป็นต้น

โดยปัจจุบัน ถึงเดือนต.ค. 2562 รฟท.มีหนี้สินสะสม ประมาณ 1.67 แสนล้านบาท โดยคาดว่า ผลประกอบการในปี 2562 จะมีรายได้ ประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท มีรายจ่าย 1.52 หมื่นล้านบาท มีผลขาดทุน (Ebitda) กว่า 4.7พันล้านบาท และขาดทุนจากการดำเนินงาน ประมาณ 1.83 หมื่นล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น