"เจบิก" ยันสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ลุยรถไฟความเร็ว EEC เชื่อม 3 สนามบิน “สมคิด” เผยนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจรับนโยบายอินโด-แปซิฟิก พร้อมเชิญญี่ปุ่นร่วมประชุมความร่วมมือแม่โขง หรือ ACMECS เดือน มิ.ย.นี้ เสนอแนวทางการพัฒนา CLMVT
วานนี้ (3 พ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังหารือกับนายทะดะชิ มะเอะดะ (Mr.Tadashi Maeda) กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า นายทะดะชิเป็นผู้รับผิดชอบด้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับโครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นทั่วโลก โดยการเดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้เจบิกได้แจ้งให้ทราบว่าสิ่งที่พยายามทำมาตลอดคือพยายามเชื่อมโยงจีน ญี่ปุ่นและไทย ในโครงการต่างๆ โดยก่อนหน้านี้นายทาดาชิได้เดินทางไปพบผู้นำของจีนและญี่ปุ่น และได้มีการหารือถึงโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา มูลค่าการลงทุนประมาณ 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งโครงการนี้นักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะลงทุนเช่นเดียวกับนักลงทุนจากประเทศอื่นๆ และเจบิกพร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆในโครงการนี้ โดยเจบิกพยายามเป็นตัวกลางและพร้อมสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับโครงการนี้
“เจบิกสามารถที่จะร่วมมือและสนับสนุนทุกฝ่ายทั้งจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มที่เชียวชาญเรื่องรถไฟจากยุโรป อย่างไรก็ตามไม่ได้ระบุว่าใครเป็นใคร หรือจะร่วมมือกับกลุ่มไหนของฝ่ายไทย แต่เขาสามารถสนับสนุนเงินทุนสำหรับกลุ่มที่จะมารับงานรถไฟความเร็วสูงแน่ เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยง พูดง่ายๆคือเอาจริง โดยเจบิกเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่อยู่แล้ว ผมได้บอกเขาไปว่างานแบบนี้ไม่ใช่ไปดูเรื่องการลงทุนเรื่องรถไฟความเร็วสูงเพียงอย่างเดียว การเข้าประมูลต้องคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว ไม่ใช่แค่ผลตอบแทนทางการเงินในระยะสั้น ถ้ามัวแต่มาดูว่ากำไรเท่าไร แต่ใจไม่สู้ คิดอย่างนั้นไม่ได้”นายสมคิดกล่าว
นายสมคิด กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้หารือกับเจบิกว่านโยบายที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญซึ่งก็คือการพัฒนาเส้นทางอินโด -แปซิฟิก ที่เชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคมนาคม อินโด-แปซิฟิก รัหว่าง อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่น ไป ออสเตรเลีย ซึ่งได้เสนอไปว่า เส้นทางเส้นนี้เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นริเริ่มขึ้นมาและสำคัญมากด้วย แต่โครงการที่จะอยู่ระหว่างกลางอินโด-แปซิฟิก คือบริเวณ ประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม (CLMVT) ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค : ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ระหว่างวันที่ 15 - 16 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ โดยได้เชิญญี่ปุ่นจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้มาก.
วานนี้ (3 พ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังหารือกับนายทะดะชิ มะเอะดะ (Mr.Tadashi Maeda) กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า นายทะดะชิเป็นผู้รับผิดชอบด้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับโครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นทั่วโลก โดยการเดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้เจบิกได้แจ้งให้ทราบว่าสิ่งที่พยายามทำมาตลอดคือพยายามเชื่อมโยงจีน ญี่ปุ่นและไทย ในโครงการต่างๆ โดยก่อนหน้านี้นายทาดาชิได้เดินทางไปพบผู้นำของจีนและญี่ปุ่น และได้มีการหารือถึงโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา มูลค่าการลงทุนประมาณ 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งโครงการนี้นักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะลงทุนเช่นเดียวกับนักลงทุนจากประเทศอื่นๆ และเจบิกพร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆในโครงการนี้ โดยเจบิกพยายามเป็นตัวกลางและพร้อมสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับโครงการนี้
“เจบิกสามารถที่จะร่วมมือและสนับสนุนทุกฝ่ายทั้งจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มที่เชียวชาญเรื่องรถไฟจากยุโรป อย่างไรก็ตามไม่ได้ระบุว่าใครเป็นใคร หรือจะร่วมมือกับกลุ่มไหนของฝ่ายไทย แต่เขาสามารถสนับสนุนเงินทุนสำหรับกลุ่มที่จะมารับงานรถไฟความเร็วสูงแน่ เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยง พูดง่ายๆคือเอาจริง โดยเจบิกเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่อยู่แล้ว ผมได้บอกเขาไปว่างานแบบนี้ไม่ใช่ไปดูเรื่องการลงทุนเรื่องรถไฟความเร็วสูงเพียงอย่างเดียว การเข้าประมูลต้องคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว ไม่ใช่แค่ผลตอบแทนทางการเงินในระยะสั้น ถ้ามัวแต่มาดูว่ากำไรเท่าไร แต่ใจไม่สู้ คิดอย่างนั้นไม่ได้”นายสมคิดกล่าว
นายสมคิด กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้หารือกับเจบิกว่านโยบายที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญซึ่งก็คือการพัฒนาเส้นทางอินโด -แปซิฟิก ที่เชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคมนาคม อินโด-แปซิฟิก รัหว่าง อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่น ไป ออสเตรเลีย ซึ่งได้เสนอไปว่า เส้นทางเส้นนี้เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นริเริ่มขึ้นมาและสำคัญมากด้วย แต่โครงการที่จะอยู่ระหว่างกลางอินโด-แปซิฟิก คือบริเวณ ประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม (CLMVT) ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค : ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ระหว่างวันที่ 15 - 16 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ โดยได้เชิญญี่ปุ่นจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้มาก.