นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)เปิดเผยว่า หลังจาก กสม.ร่วมกันพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกสม.แล้ว เห็นว่ามี 6 ประเด็นโต้แย้ง ต่อร่างกฎหมายซึ่งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. กรณีเกี่ยวกับกรรมการสรรหากสม. ที่ร่างกฎหมายกำหนดว่า หากพ้นกำหนดเวลาเลือกกรรมการสรรหาที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่มีกรรมการสรรหาที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสรรหา ไม่ต้องมีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ถือว่าไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 246 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้มีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย
2. ประเด็นเกี่ยวกับผู้สมัครเป็น กสม. ร่างกฎหมายกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของกสม. เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่หลักการปารีส มิได้กำหนดระยะเวลาเกี่ยวกับความรู้หรือประสบการณ์ การกำหนดในร่างกฎหมายไว้เช่นนี้ ย่อมเป็นการจำกัดสิทธิบุคคลที่เสนอตัวมาทำหน้าที่ เกินสมควรแก่เหตุ และยากแก่การสรรหา ขัดต่อหลักนิติธรรม ร่างกฎหมายจึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 246 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง และ 26 วรรคหนึ่ง
3. ประเด็นการเซตซีโรกสม. มิได้เป็นไปอย่างสุจริต ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นการตรากฎหมายกำจัดสิทธิ เสรีภาพของบุคคลไม่เป็นตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
4. เรื่องอำนาจและหน้าที่ของ กสม.โดยเสนอให้แก้ไขร่าง มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้กสม. แต่งตั้งอนุกรรมการได้เฉพาะกรณีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มาเป็น ให้แต่งตั้งได้ในกรณีจำเป็น
5. ให้แก้ไขร่าง มาตรา 34 ที่ไม่ได้กำหนดให้กสม. สามารถไกล่เกลี่ยได้ มาเป็นว่าในกรณีที่สมควร จำเป็น และได้รับความยินยอมจากคู่กรณี กสม.อาจดำเนินไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้
6. แก้ไข ร่าง มาตรา 44 ที่บังคับให้กสม. ชี้แจงรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง กรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมทุกกรณี มาเป็นว่า กสม.อาจพิจารณาตรวจสอบเพื่อที่จะชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ หากกสม.เห็นว่ากระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน
ทั้งนี้ ตนได้ลงนามความเห็นดังกล่าว และส่งให้ประธาน สนช. ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค. เพื่อให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ชี้แจงประเด็นที่ทาง กสม. ทำความเห็นแย้งมายัง สนช. โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมากรธ.ไม่เคยพาดพิง หรือลดความน่าเชื่อถือของกสม.ชุดปัจจุบัน เราอยากทำให้ กสม. มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น จึงได้มีการปรับแก้ไขสถานะของกสม. เพื่อให้ได้รับการยอมรับ มีหลักเกณฑ์ ที่ต้องปรับแก้ด้วย จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการแก้ไขข้อบกพร่องที่ยังมีอยู่ของกสม. อย่างรอบด้าน โดยแยกการปฏิบัติหน้าที่ กับสถานะการได้มาของกสม. ยังมีกระบวนการได้มาที่ยังไม่ได้มาตรฐานยังอยู่ในสถานะเดิม
ส่วนการจะกำหนดให้ กสม.ชุดปัจจุบัน อยู่ในวาระ หรืออยู่ครึ่งวาระต่อไป จนกว่าจะมีการสรรหา กสม.ชุดใหม่นั้น ตรงนี้ไม่ใช่ทางออกในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แม้ทาง กสม. จะระบุว่าหลักการปารีสไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่ก็เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาความน่าเชื่อถือที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย ส่วนเรื่องการเซตซีโร กสม.นั้น เป็นไปเพื่อยกระดับองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ ตามเกณฑ์ของสากล และเพื่อประโยชน์ของสูงสุดของสังคมโดยรวม
1. กรณีเกี่ยวกับกรรมการสรรหากสม. ที่ร่างกฎหมายกำหนดว่า หากพ้นกำหนดเวลาเลือกกรรมการสรรหาที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่มีกรรมการสรรหาที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสรรหา ไม่ต้องมีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ถือว่าไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 246 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้มีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย
2. ประเด็นเกี่ยวกับผู้สมัครเป็น กสม. ร่างกฎหมายกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของกสม. เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่หลักการปารีส มิได้กำหนดระยะเวลาเกี่ยวกับความรู้หรือประสบการณ์ การกำหนดในร่างกฎหมายไว้เช่นนี้ ย่อมเป็นการจำกัดสิทธิบุคคลที่เสนอตัวมาทำหน้าที่ เกินสมควรแก่เหตุ และยากแก่การสรรหา ขัดต่อหลักนิติธรรม ร่างกฎหมายจึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 246 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง และ 26 วรรคหนึ่ง
3. ประเด็นการเซตซีโรกสม. มิได้เป็นไปอย่างสุจริต ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นการตรากฎหมายกำจัดสิทธิ เสรีภาพของบุคคลไม่เป็นตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
4. เรื่องอำนาจและหน้าที่ของ กสม.โดยเสนอให้แก้ไขร่าง มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้กสม. แต่งตั้งอนุกรรมการได้เฉพาะกรณีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มาเป็น ให้แต่งตั้งได้ในกรณีจำเป็น
5. ให้แก้ไขร่าง มาตรา 34 ที่ไม่ได้กำหนดให้กสม. สามารถไกล่เกลี่ยได้ มาเป็นว่าในกรณีที่สมควร จำเป็น และได้รับความยินยอมจากคู่กรณี กสม.อาจดำเนินไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้
6. แก้ไข ร่าง มาตรา 44 ที่บังคับให้กสม. ชี้แจงรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง กรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมทุกกรณี มาเป็นว่า กสม.อาจพิจารณาตรวจสอบเพื่อที่จะชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ หากกสม.เห็นว่ากระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน
ทั้งนี้ ตนได้ลงนามความเห็นดังกล่าว และส่งให้ประธาน สนช. ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค. เพื่อให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ชี้แจงประเด็นที่ทาง กสม. ทำความเห็นแย้งมายัง สนช. โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมากรธ.ไม่เคยพาดพิง หรือลดความน่าเชื่อถือของกสม.ชุดปัจจุบัน เราอยากทำให้ กสม. มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น จึงได้มีการปรับแก้ไขสถานะของกสม. เพื่อให้ได้รับการยอมรับ มีหลักเกณฑ์ ที่ต้องปรับแก้ด้วย จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการแก้ไขข้อบกพร่องที่ยังมีอยู่ของกสม. อย่างรอบด้าน โดยแยกการปฏิบัติหน้าที่ กับสถานะการได้มาของกสม. ยังมีกระบวนการได้มาที่ยังไม่ได้มาตรฐานยังอยู่ในสถานะเดิม
ส่วนการจะกำหนดให้ กสม.ชุดปัจจุบัน อยู่ในวาระ หรืออยู่ครึ่งวาระต่อไป จนกว่าจะมีการสรรหา กสม.ชุดใหม่นั้น ตรงนี้ไม่ใช่ทางออกในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แม้ทาง กสม. จะระบุว่าหลักการปารีสไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่ก็เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาความน่าเชื่อถือที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย ส่วนเรื่องการเซตซีโร กสม.นั้น เป็นไปเพื่อยกระดับองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ ตามเกณฑ์ของสากล และเพื่อประโยชน์ของสูงสุดของสังคมโดยรวม