วานนี้ (31ก.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เปิดเผยว่าตนได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แสดงความผิดหวังต่อการทำหน้าที่ของสนช. ที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินชุดปัจจุบัน อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ แต่กลับให้ เซตซีโร กกต. ซึ่งเป็นการใช้เหตุผลที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงมิอาจเป็นแบบอย่างการออกกฎหมายที่ดีให้กับสังคมไทยได้ เพราะเป็นการพิจารณาหลายมาตรฐาน
นายสมชัย ระบุด้วยว่า ในการเซตซีโร กกต.มีการอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของการปฏิรูปการเมือง ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติสูงมาทำหน้าที่สำคัญ และเกรงว่าจะเกิดปัญหาปลาสองน้ำในการทำหน้าที่ ระหว่างคนที่มีคุณสมบัติต่างกันมาทำหน้าที่ในคณะกรรมการชุดเดียวกัน แต่ในวันที่ลงมติให้ผู้ตรวจการฯ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ อ้างว่าบุคคลเหล่านี้มาตามรธน.ปี 50 หากให้ออกหรือเซตซีโร จะเป็นการลิดรอนสิทธิคนเหล่านี้ กลายเป็นว่าองค์กรหนึ่งมีกรรมการที่มีคุณสมบัติครบ 3-4 คนใน 5 คน ถูกให้ออกจากตำแหน่ง แต่อีกองค์กรหนึ่งที่คาดว่าผู้ดำรงตำแหน่งทั้งหมด น่าจะคุณสมบัติไม่ครบ กลับได้รับการลงมติให้อยู่ต่อไปจนครบวาระ
นายสมชัย ยังระบุในจดหมายเปิดผนึก ในเชิงน้อยใจว่า เป็นคนที่ให้ความเห็นต่อสาธารณะมาก จนเป็นที่รำคาญของหลายคน แต่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ออกกฎหมาย จะหยิบมาเป็นประเด็นเขียนกฎหมายเพื่อเอาคนออกจากตำแหน่ง เพราะกฎหมายต้องไม่ออกเพื่อจัดการกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ และตามหลักการเห็นด้วยที่จะให้ผู้ตรวจการฯ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ และอยากให้เป็นแนวทางปฏิบัติกับทุกองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้สิ่งที่ปรารถนาไม่ได้ต้องการชัยชนะ แต่ต้องการสังคมที่ยึดหลักนิติรัฐ
นายสมชัย กล่าวว่า จะใช้สิทธิส่วนบุคคลยื่นต่อศาลรธน. ให้วินิจฉัย ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ประเด็นเซตซีโร่กกต. ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้ร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยเอกสารที่จะยื่น มีความสมบูรณ์แล้ว 80% คาดว่าน่าจะยื่นได้ภายในสองสัปดาห์นี้ ส่วนศาลรธน.จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรธน. ทั้งนี้การตัดสินใจของตนไม่ได้มีการหารือกับ กกต.อีก 4 คน แต่อย่างใด
**กรธ.ยังไม่สรุปปัญหาผู้ตรวจการฯ
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. ยอมรับว่า การที่ สนช.คุัมครองให้ผู้ตรวจการฯ อยู่ต่อจนครบวาระ เป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการที่ กรธ.วางไว้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีการเสนอความเห็นแย้งไปยัง สนช.ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดรธน.หรือไม่ เพราะหากตั้งกมธ. 3 ฝ่าย ตัวแทนของ กรธ. 5 คน จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่ถ้าไม่เสนอความเห็นแย้ง ก็จะถูกมองว่าร่วมมือกับสนช. คุ้มครองผู้ตรวจการฯ ชุดปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องให้ที่ประชุมกรธ. พิจารณา หลังจากที่ได้รับร่างกฎหมายจาก สนช.แล้ว
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง แนวทางการทบทวนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติปรับแก้ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ ว่า ต้องรอดูตัวร่าง ที่มีการปรับแก้มาแล้วก่อนจึงค่อยตัดสินใจอีกครั้ง ว่าจะส่งข้อโต้แย้งให้จัดตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนหรือไม่
ส่วนกรณีที่ กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น นายมีชัย กล่าวว่า คาดว่าจะมีการประชุมให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกันนี้ โดยย้ำกับกมธ. ในสัดส่วนของกรธ. ทั้ง 5 คน ให้คุยกันด้วยเหตุและผล แต่ยืนยันว่า จะไม่มีโทษยุบพรรคการเมือง หากมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการทำไพรมารีโหวต
**เดินหน้าแก้ปมไพรมารีโหวต
รายงานข่าวแจ้งว่าในการประชุมกมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณาแก้ไข ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองหลังจากที่ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. ซึ่งเป็น 1 ในกมธ. 3 ฝ่ายที่มีทั้งหมด 11 คน ยืนยันมาตลอดว่า ไม่สามารถปรับแก้ ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง ตามที่สนช. เสนอผ่านร่างที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธานกมธ. พิจารณาปรับแก้มาเบื้องต้น
ดังนั้น ที่ประชุม กมธ.3ฝ่าย ตัดสินใจหาข้อยุติด้วยการลงมติ เพราะพูดคุยกันมา2-3นัดแล้ว แต่นายศุภชัย ยังคงยืนยันว่า กมธ. 3 ฝ่าย ไม่สามารถปรับแก้รายละเอียดของไพรมารีโหวต ในร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวได้ เพราะเป็นลักษณะของการปรับเพื่อให้การปฏิบัติรัดกุมขึ้น ไม่ใช่ปรับเพราะเป็นส่วนที่ขัดแย้งกับรธน. ตามที่บทเฉพาะกาลให้อำนาจไว้ โดยผลการลงมติออกมาเป็น 8 ต่อ 1 ซึ่งเสียงของนายศุภชัย เป็นเสียงข้างน้อยเพียงเสียงเดียว
ทั้งนี้ ผลของการลงมติดังกล่าวทำให้ กมธ.3 ฝ่าย สามารถเดินหน้าปรับแก้ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ตามข้อเสนอของพล.อ.สมเจตน์ ซึ่งได้แก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์จุดต่างๆ ตามที่ กรธ.ได้ทักท้วงมา ในการประชุมที่เหลืออีกสองนัด อาทิ การมีบทลงโทษสำหรับผู้บริหารพรรคที่ทุจริตในการจัดการลงคะแนนไพรมารีโหวต ปัญหาเรื่องผู้แทนพรรคประจำจังหวัด ที่อาจจะขาดไป หากมีการประกาศเพิ่มเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การแพ้โหวตดังกล่าว ก็อาจเป็นเหตุผลให้ กกต. ตัดสินใจ ยื่นศาลรธน. เพื่อยืนยันความคิดของตนเอง และไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางกฎหมาย ในการปฏิบัติ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอีกฉบับ ที่อาจต้องชะลอนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อรอศาลรธน.วินิจฉัย นอกเหนือจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ที่ศาลรธน. จะวินิจฉัยว่า จะรับคำร้องหรือไม่ ในสัปดาห์นี้
นายสมชัย ระบุด้วยว่า ในการเซตซีโร กกต.มีการอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของการปฏิรูปการเมือง ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติสูงมาทำหน้าที่สำคัญ และเกรงว่าจะเกิดปัญหาปลาสองน้ำในการทำหน้าที่ ระหว่างคนที่มีคุณสมบัติต่างกันมาทำหน้าที่ในคณะกรรมการชุดเดียวกัน แต่ในวันที่ลงมติให้ผู้ตรวจการฯ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ อ้างว่าบุคคลเหล่านี้มาตามรธน.ปี 50 หากให้ออกหรือเซตซีโร จะเป็นการลิดรอนสิทธิคนเหล่านี้ กลายเป็นว่าองค์กรหนึ่งมีกรรมการที่มีคุณสมบัติครบ 3-4 คนใน 5 คน ถูกให้ออกจากตำแหน่ง แต่อีกองค์กรหนึ่งที่คาดว่าผู้ดำรงตำแหน่งทั้งหมด น่าจะคุณสมบัติไม่ครบ กลับได้รับการลงมติให้อยู่ต่อไปจนครบวาระ
นายสมชัย ยังระบุในจดหมายเปิดผนึก ในเชิงน้อยใจว่า เป็นคนที่ให้ความเห็นต่อสาธารณะมาก จนเป็นที่รำคาญของหลายคน แต่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ออกกฎหมาย จะหยิบมาเป็นประเด็นเขียนกฎหมายเพื่อเอาคนออกจากตำแหน่ง เพราะกฎหมายต้องไม่ออกเพื่อจัดการกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ และตามหลักการเห็นด้วยที่จะให้ผู้ตรวจการฯ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ และอยากให้เป็นแนวทางปฏิบัติกับทุกองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้สิ่งที่ปรารถนาไม่ได้ต้องการชัยชนะ แต่ต้องการสังคมที่ยึดหลักนิติรัฐ
นายสมชัย กล่าวว่า จะใช้สิทธิส่วนบุคคลยื่นต่อศาลรธน. ให้วินิจฉัย ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ประเด็นเซตซีโร่กกต. ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้ร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยเอกสารที่จะยื่น มีความสมบูรณ์แล้ว 80% คาดว่าน่าจะยื่นได้ภายในสองสัปดาห์นี้ ส่วนศาลรธน.จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรธน. ทั้งนี้การตัดสินใจของตนไม่ได้มีการหารือกับ กกต.อีก 4 คน แต่อย่างใด
**กรธ.ยังไม่สรุปปัญหาผู้ตรวจการฯ
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. ยอมรับว่า การที่ สนช.คุัมครองให้ผู้ตรวจการฯ อยู่ต่อจนครบวาระ เป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการที่ กรธ.วางไว้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีการเสนอความเห็นแย้งไปยัง สนช.ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดรธน.หรือไม่ เพราะหากตั้งกมธ. 3 ฝ่าย ตัวแทนของ กรธ. 5 คน จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่ถ้าไม่เสนอความเห็นแย้ง ก็จะถูกมองว่าร่วมมือกับสนช. คุ้มครองผู้ตรวจการฯ ชุดปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องให้ที่ประชุมกรธ. พิจารณา หลังจากที่ได้รับร่างกฎหมายจาก สนช.แล้ว
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง แนวทางการทบทวนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติปรับแก้ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ ว่า ต้องรอดูตัวร่าง ที่มีการปรับแก้มาแล้วก่อนจึงค่อยตัดสินใจอีกครั้ง ว่าจะส่งข้อโต้แย้งให้จัดตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนหรือไม่
ส่วนกรณีที่ กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น นายมีชัย กล่าวว่า คาดว่าจะมีการประชุมให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกันนี้ โดยย้ำกับกมธ. ในสัดส่วนของกรธ. ทั้ง 5 คน ให้คุยกันด้วยเหตุและผล แต่ยืนยันว่า จะไม่มีโทษยุบพรรคการเมือง หากมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการทำไพรมารีโหวต
**เดินหน้าแก้ปมไพรมารีโหวต
รายงานข่าวแจ้งว่าในการประชุมกมธ.ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณาแก้ไข ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองหลังจากที่ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. ซึ่งเป็น 1 ในกมธ. 3 ฝ่ายที่มีทั้งหมด 11 คน ยืนยันมาตลอดว่า ไม่สามารถปรับแก้ ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง ตามที่สนช. เสนอผ่านร่างที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธานกมธ. พิจารณาปรับแก้มาเบื้องต้น
ดังนั้น ที่ประชุม กมธ.3ฝ่าย ตัดสินใจหาข้อยุติด้วยการลงมติ เพราะพูดคุยกันมา2-3นัดแล้ว แต่นายศุภชัย ยังคงยืนยันว่า กมธ. 3 ฝ่าย ไม่สามารถปรับแก้รายละเอียดของไพรมารีโหวต ในร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวได้ เพราะเป็นลักษณะของการปรับเพื่อให้การปฏิบัติรัดกุมขึ้น ไม่ใช่ปรับเพราะเป็นส่วนที่ขัดแย้งกับรธน. ตามที่บทเฉพาะกาลให้อำนาจไว้ โดยผลการลงมติออกมาเป็น 8 ต่อ 1 ซึ่งเสียงของนายศุภชัย เป็นเสียงข้างน้อยเพียงเสียงเดียว
ทั้งนี้ ผลของการลงมติดังกล่าวทำให้ กมธ.3 ฝ่าย สามารถเดินหน้าปรับแก้ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ตามข้อเสนอของพล.อ.สมเจตน์ ซึ่งได้แก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์จุดต่างๆ ตามที่ กรธ.ได้ทักท้วงมา ในการประชุมที่เหลืออีกสองนัด อาทิ การมีบทลงโทษสำหรับผู้บริหารพรรคที่ทุจริตในการจัดการลงคะแนนไพรมารีโหวต ปัญหาเรื่องผู้แทนพรรคประจำจังหวัด ที่อาจจะขาดไป หากมีการประกาศเพิ่มเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การแพ้โหวตดังกล่าว ก็อาจเป็นเหตุผลให้ กกต. ตัดสินใจ ยื่นศาลรธน. เพื่อยืนยันความคิดของตนเอง และไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางกฎหมาย ในการปฏิบัติ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอีกฉบับ ที่อาจต้องชะลอนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อรอศาลรธน.วินิจฉัย นอกเหนือจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ที่ศาลรธน. จะวินิจฉัยว่า จะรับคำร้องหรือไม่ ในสัปดาห์นี้