วานนี้ (20ก.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้รับทราบรายงานของคณะรัฐมนตรี ที่ลงมติเห็นชอบโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา)ระยะทาง 253 กม.วงเงิน 179,412 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ชี้แจงที่ประชุมสนช.ว่า โครงการดังกล่าวคาดว่า จะเปิดดำเนินการได้ ปี 2564 ใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพ-โคราช 1 ชั่วโมง 17นาที ความเร็ว 250 กม.ต่อชั่วโมง ขนส่งผู้โดยสารได้ 5,310 คนต่อวัน ค่าโดยสารราคา 535 บาท เริ่มต้นที่ 80 บาท มีจำนวนรถไฟให้บริการ 11 ขบวนต่อวัน
ผลประโยชน์ทางตรงที่เกิดขึ้นจากโครงการ คือ ประหยัดเวลาการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถยนต์ ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อม คือ ช่วยให้เกิดการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปยังภูมิภาคอย่างก้าวกระโดด เมื่อโครงข่ายสมบูรณ์ทั้งระบบ จะเกิดการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน กับจีน ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ ของภูมิภาคนี้
ขณะที่สมาชิกสนช. ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุน และชื่นชมรัฐบาล ที่กล้าตัดสินใจดำเนินโครงการดังกล่าว อาทิ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร พล.ท.จเรศักดิ์ อานุภาพ นายยุทธนา ทัพเจริญ โดยเห็นว่าเป็นโครงการเหมาะสม ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจระยะยาวมหาศาล และเกิดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค แต่ยังแสดงความเป็นห่วง เรื่องการเวนคืนพื้นที่ก่อสร้าง 2,800 ไร่ ที่ยังไม่มีความชัดเจน ว่าจะเป็นพื้นที่ใดบ้าง จะมีการประเมินราคาเวนคืนอย่างไร เรื่องการบำรุงรักษาอนาคตระยะยาว 30 ปี ที่มีตัวเลขการบำรุงรักษาสูงถึง 150,000 ล้านบาท ที่ใครจะเป็นผู้จ่ายค่าบำรุงรักษา และรัฐบาลชุดนี้ ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าค่าบำรุงรักษา หรือไม่ รวมถึงเรื่องงบประมาณที่จะนำมาก่อสร้าง จะกู้มาจากแหล่งใด เรื่องแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องการเชื่อมเส้นทางไปยังประเทศจีน ซึ่งนายอาคม รับจะนำข้อห่วงใยต่างๆไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ชี้แจงที่ประชุมสนช.ว่า โครงการดังกล่าวคาดว่า จะเปิดดำเนินการได้ ปี 2564 ใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพ-โคราช 1 ชั่วโมง 17นาที ความเร็ว 250 กม.ต่อชั่วโมง ขนส่งผู้โดยสารได้ 5,310 คนต่อวัน ค่าโดยสารราคา 535 บาท เริ่มต้นที่ 80 บาท มีจำนวนรถไฟให้บริการ 11 ขบวนต่อวัน
ผลประโยชน์ทางตรงที่เกิดขึ้นจากโครงการ คือ ประหยัดเวลาการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถยนต์ ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อม คือ ช่วยให้เกิดการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปยังภูมิภาคอย่างก้าวกระโดด เมื่อโครงข่ายสมบูรณ์ทั้งระบบ จะเกิดการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน กับจีน ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ ของภูมิภาคนี้
ขณะที่สมาชิกสนช. ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุน และชื่นชมรัฐบาล ที่กล้าตัดสินใจดำเนินโครงการดังกล่าว อาทิ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร พล.ท.จเรศักดิ์ อานุภาพ นายยุทธนา ทัพเจริญ โดยเห็นว่าเป็นโครงการเหมาะสม ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจระยะยาวมหาศาล และเกิดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค แต่ยังแสดงความเป็นห่วง เรื่องการเวนคืนพื้นที่ก่อสร้าง 2,800 ไร่ ที่ยังไม่มีความชัดเจน ว่าจะเป็นพื้นที่ใดบ้าง จะมีการประเมินราคาเวนคืนอย่างไร เรื่องการบำรุงรักษาอนาคตระยะยาว 30 ปี ที่มีตัวเลขการบำรุงรักษาสูงถึง 150,000 ล้านบาท ที่ใครจะเป็นผู้จ่ายค่าบำรุงรักษา และรัฐบาลชุดนี้ ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าค่าบำรุงรักษา หรือไม่ รวมถึงเรื่องงบประมาณที่จะนำมาก่อสร้าง จะกู้มาจากแหล่งใด เรื่องแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องการเชื่อมเส้นทางไปยังประเทศจีน ซึ่งนายอาคม รับจะนำข้อห่วงใยต่างๆไปพิจารณาดำเนินการต่อไป