“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์คฤหบดีที่อุปัฏฐากท่านทั้งหลาย ด้วยจีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก แม้ท่านทั้งหลายที่แสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมทั้งอรรถะ และพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์ คฤหบดีเหล่านั้นก็นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก นี่แหละภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่ประพฤติอาศัยกันและกัน เพื่อถอนกิเลสเหมือนห้วงน้ำเพื่อทำให้ทุกข์สิ้นไปโดยชอบ” นี่คือพุทธพจน์ ซึ่งปรากฏที่มาในอิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 หน้า 314
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า วัดกับบ้านหรือภิกษุกับคฤหัสถ์จะต้องอาศัยกันโดยการเป็นผู้ให้ และเป็นผู้รับแก่กันและกันในลักษณะที่คฤหัสถ์ให้ทานภิกษุให้ธรรม
ดังนั้น ทุกพื้นที่ในประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ มีชุมชนในระดับหมู่บ้านอยู่ ณ ที่ใด จะมีวัด ณ ที่นั้น และวัดแต่ละวัดก็จะมีพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอยู่ประจำ ทำหน้าที่เทศนาสั่งสอนชาวบ้านเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวทางของพุทธ และในขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็อุปถัมภ์บำรุงวัด และอุปัฏฐากภิกษุด้วยปัจจัย 4 เท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และสมควรแก่สมณภาวะ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่ได้ และผู้คนในสังคมก็อยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อีกประการหนึ่ง ในระดับประเทศชนชาติต่อเนื่องกันมา และเมื่อใดพระพุทธศาสนาประสบปัญหาวิกฤต เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้อาราธนาพระภิกษุจากลังกามาสืบสานต่อที่เรียกว่า ลังกาวงศ์ เมื่อคำสอนเกิดความบกพร่องหรือมีการบิดเบือน ก็มีการทำสังคายนาเพื่อชำระพระธรรมวินัย โดยอาราธนาพระเถระผู้ทรงพระธรรมวินัยแตกฉานในพระไตรปิฎกมาช่วยกันชำระซึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศไทยถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2020 สมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎก ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 8 ต่อจากการทำสังคายนาในประเทศลังกา และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก นับเป็นการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 9 ต่อจากเชียงใหม่
จากการทำสังคายนาตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 9 จะเห็นได้ว่า ทางศาสนจักรกับทางราชอาณาจักรจะต้องร่วมกันจัดทำโดยมุ่งชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง
ในขณะนี้ วงการสงฆ์นิกายเถรวาทในประเทศไทย เกิดปัญหามากมายหลายประการ ทั้งในด้านการปกครอง และในด้านการเผยแพร่คำสอนอันเนื่องมาจากเหตุปัจจัย 2 ประการคือ
1. เหตุปัจจัยภายในวงการสงฆ์เอง ซึ่งมีเหตุแยกย่อยเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
1.1 มีการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม โดยมีการนำเอาคำสอนมาบิดเบือน และตีความให้ผิดไปจากเดิมเพื่อเป็นจุดขายแก่ลูกค้าประเภทศรัทธาจริต เสพติดสิ่งใหม่ๆ
1.2 ประพฤติตนย่อหย่อนในทางพระวินัย และไม่ใส่ใจปฏิบัติธรรม ตามแนวทางที่ถูกต้อง แต่ทำตนเป็นนักปฏิบัติธรรมเอกเทศ เช่น ออกเดินธุดงค์ปักกลดในเมือง หรือใกล้ชุมชนแล้วใบ้หวยบอกเบอร์แจกวัตถุมงคล
1.3 ร่วมกับคฤหัสถ์แสวงหาประโยชน์ อันเกิดจากทรัพย์สินของวัด เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าที่จอดรถ เป็นต้น รวมไปถึงการโกงเงินอุดหนุนซึ่งทางรัฐจัดให้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้
2. ปัจจัยภายนอกซึ่งแบ่งออกเป็นประเด็นย่อยๆ ดังต่อไปนี้
2.1 การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง และใช้วัดเป็นเครื่องมือโดยมีพระสงฆ์ที่ฝักใฝ่การเมืองให้ความร่วมมือ จะเห็นได้จากการที่พระภิกษุกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องให้ทางอาณาจักรทำโน่น และไม่มีท่าทีซึ่งล้วนแต่มิใช่กิจของสงฆ์ทำให้ศาสนาเสื่อม
2.2 ร่วมมือกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ จะเห็นได้ในกรณีของพระธัมมชโย ที่ร่วมกับคนภายนอกซึ่งเข้าข่ายฟอกเงิน เป็นต้น
จากการที่สงฆ์ไทยมีพฤติกรรมไม่เหมาะแก่เพศและภาวะของนักบวชดังกล่าวแล้ว จึงเข้าข่ายต้องปฏิรูปการปกครองสงฆ์ และทำสังคายนาพระธรรมวินัยควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยมีศาสนาพุทธเป็นที่พึ่งทางใจต่อไป ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในประเทศไทย มีลักษณะคล้ายกับวงการสงฆ์เมื่อ 100 ปีหลังจากที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพวกภิกษุ วัชชีบุตรได้ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย เนื่องจากการตีความ
2. องค์กรปกครองของสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท ในขณะที่ประสบปัญหาร้ายแรงกว่าที่สงฆ์จะแก้ไขได้เอง เช่นเดียวกันกับการทำสังคายนาครั้งที่ 3 ที่เดียรถีย์เข้ามาบวช และเผยแพร่คำสอนของตนโดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ และเป็นเหตุให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ต้องการอุปถัมถ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ให้ช่วยกำจัดเดียรถีย์ให้หมดไปก่อนแล้ว จึงทำสังคายนาพระธรรมวินัย
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าบัดนี้จนถึงเวลานี้แล้วที่ทางฝ่ายบ้านเมืองจะได้ทำการปฏิรูปการปกครองสงฆ์ เพื่อกำจัดพวกนอกคอกให้หมดไป แล้วให้สงฆ์ทำสังคายนาเพื่อชำระพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับประเทศไทยไปนานๆ
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า วัดกับบ้านหรือภิกษุกับคฤหัสถ์จะต้องอาศัยกันโดยการเป็นผู้ให้ และเป็นผู้รับแก่กันและกันในลักษณะที่คฤหัสถ์ให้ทานภิกษุให้ธรรม
ดังนั้น ทุกพื้นที่ในประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ มีชุมชนในระดับหมู่บ้านอยู่ ณ ที่ใด จะมีวัด ณ ที่นั้น และวัดแต่ละวัดก็จะมีพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอยู่ประจำ ทำหน้าที่เทศนาสั่งสอนชาวบ้านเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวทางของพุทธ และในขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็อุปถัมภ์บำรุงวัด และอุปัฏฐากภิกษุด้วยปัจจัย 4 เท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และสมควรแก่สมณภาวะ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่ได้ และผู้คนในสังคมก็อยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อีกประการหนึ่ง ในระดับประเทศชนชาติต่อเนื่องกันมา และเมื่อใดพระพุทธศาสนาประสบปัญหาวิกฤต เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้อาราธนาพระภิกษุจากลังกามาสืบสานต่อที่เรียกว่า ลังกาวงศ์ เมื่อคำสอนเกิดความบกพร่องหรือมีการบิดเบือน ก็มีการทำสังคายนาเพื่อชำระพระธรรมวินัย โดยอาราธนาพระเถระผู้ทรงพระธรรมวินัยแตกฉานในพระไตรปิฎกมาช่วยกันชำระซึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศไทยถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2020 สมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎก ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 8 ต่อจากการทำสังคายนาในประเทศลังกา และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก นับเป็นการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 9 ต่อจากเชียงใหม่
จากการทำสังคายนาตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 9 จะเห็นได้ว่า ทางศาสนจักรกับทางราชอาณาจักรจะต้องร่วมกันจัดทำโดยมุ่งชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง
ในขณะนี้ วงการสงฆ์นิกายเถรวาทในประเทศไทย เกิดปัญหามากมายหลายประการ ทั้งในด้านการปกครอง และในด้านการเผยแพร่คำสอนอันเนื่องมาจากเหตุปัจจัย 2 ประการคือ
1. เหตุปัจจัยภายในวงการสงฆ์เอง ซึ่งมีเหตุแยกย่อยเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
1.1 มีการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม โดยมีการนำเอาคำสอนมาบิดเบือน และตีความให้ผิดไปจากเดิมเพื่อเป็นจุดขายแก่ลูกค้าประเภทศรัทธาจริต เสพติดสิ่งใหม่ๆ
1.2 ประพฤติตนย่อหย่อนในทางพระวินัย และไม่ใส่ใจปฏิบัติธรรม ตามแนวทางที่ถูกต้อง แต่ทำตนเป็นนักปฏิบัติธรรมเอกเทศ เช่น ออกเดินธุดงค์ปักกลดในเมือง หรือใกล้ชุมชนแล้วใบ้หวยบอกเบอร์แจกวัตถุมงคล
1.3 ร่วมกับคฤหัสถ์แสวงหาประโยชน์ อันเกิดจากทรัพย์สินของวัด เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าที่จอดรถ เป็นต้น รวมไปถึงการโกงเงินอุดหนุนซึ่งทางรัฐจัดให้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้
2. ปัจจัยภายนอกซึ่งแบ่งออกเป็นประเด็นย่อยๆ ดังต่อไปนี้
2.1 การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง และใช้วัดเป็นเครื่องมือโดยมีพระสงฆ์ที่ฝักใฝ่การเมืองให้ความร่วมมือ จะเห็นได้จากการที่พระภิกษุกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องให้ทางอาณาจักรทำโน่น และไม่มีท่าทีซึ่งล้วนแต่มิใช่กิจของสงฆ์ทำให้ศาสนาเสื่อม
2.2 ร่วมมือกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ จะเห็นได้ในกรณีของพระธัมมชโย ที่ร่วมกับคนภายนอกซึ่งเข้าข่ายฟอกเงิน เป็นต้น
จากการที่สงฆ์ไทยมีพฤติกรรมไม่เหมาะแก่เพศและภาวะของนักบวชดังกล่าวแล้ว จึงเข้าข่ายต้องปฏิรูปการปกครองสงฆ์ และทำสังคายนาพระธรรมวินัยควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยมีศาสนาพุทธเป็นที่พึ่งทางใจต่อไป ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในประเทศไทย มีลักษณะคล้ายกับวงการสงฆ์เมื่อ 100 ปีหลังจากที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพวกภิกษุ วัชชีบุตรได้ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย เนื่องจากการตีความ
2. องค์กรปกครองของสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท ในขณะที่ประสบปัญหาร้ายแรงกว่าที่สงฆ์จะแก้ไขได้เอง เช่นเดียวกันกับการทำสังคายนาครั้งที่ 3 ที่เดียรถีย์เข้ามาบวช และเผยแพร่คำสอนของตนโดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ และเป็นเหตุให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ต้องการอุปถัมถ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ให้ช่วยกำจัดเดียรถีย์ให้หมดไปก่อนแล้ว จึงทำสังคายนาพระธรรมวินัย
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าบัดนี้จนถึงเวลานี้แล้วที่ทางฝ่ายบ้านเมืองจะได้ทำการปฏิรูปการปกครองสงฆ์ เพื่อกำจัดพวกนอกคอกให้หมดไป แล้วให้สงฆ์ทำสังคายนาเพื่อชำระพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับประเทศไทยไปนานๆ