ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันมากในสังคมออนไลน์ คือข่าวที่หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าได้เสนอแนวคิดว่าจะเรียกเก็บเงินประมาณ 100-200 บาทต่อเดือนจากผู้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเป็นธรรมกับผู้ที่ไม่ได้ผลิตเองเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องลงทุนเพื่อเก็บสำรองไฟฟ้าเอาไว้ใช้ในตอนกลางคืน ซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองไม่สามารถผลิตได้ ข่าวนี้ยังได้ระบุอีกว่า ในสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวด้วยเท่าที่ผมอ่านจากข่าวนี้ยังไม่มีการเก็บ มีแต่การถกเถียงอภิปรายกันและทราบว่าผู้เสนอเรื่องนี้คือพวกบริษัทไฟฟ้า
ต่อมา เว็บไซต์ “ศูนย์ข่าวพลังงาน” ซึ่งเป็นผู้เสนอข่าวนี้ได้ลงคำชี้แจงของโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า “กฟผ. ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่ดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ ยืนยันสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เช่น การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่มีความเสถียร หรือไฮบริด โดยจัดทำแผนระยะยาว 20 ปี นอกจากนี้ จะมีการเตรียมระบบไฟฟ้ารองรับในการที่ประชาชนจะผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใช้เอง เช่น การมีแบตเตอรี่สำรอง โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ การสร้างระบบส่งไฟฟ้ารองรับในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดมาช่วยการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้ระบบไฟฟ้ายังมีความมั่นคง และมีค่าไฟฟ้าเหมาะสมเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และประชาชนทั่วไป”
เว็บไซต์เดียวกัน ได้เสนอข่าวจากโฆษกของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า
“กกพ. ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า (Backup Rate) จากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า “โซลาร์รูฟท็อป” ประเภทใช้เองในบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ติดตั้งผลิตไฟฟ้าใช้ในปริมาณไม่มาก แต่ประเภทกลุ่มโรงงาน มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาดใหญ่ ได้มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในปริมาณมาก เฉพาะบางช่วงเวลาซึ่งจะผลิตใช้ในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ก็จะต้องมาขอใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืน ซึ่งในกลุ่มนี้หากในอนาคตเกิดการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น อาจมีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้ารวมและต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศได้”
ผมมี 3 ประเด็นที่จะแสดงความเห็นและนำเสนอข้อมูลที่ถูกอ้างถึง
ประเด็นแรก การที่โฆษก กฟผ.อ้างว่า “ยืนยันสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ” นั้น ผมรู้สึกดีใจและขอขอบคุณที่ทาง กฟผ.มีความรับผิดชอบต่อการลดปัญหาร่วมที่สำคัญของโลก แต่การสนับสนุนดังกล่าวจะไม่มีทางเป็นไปได้จริงเลย หากไม่นำระบบที่เรียกว่า Net Energy Metering (NEM) มาใช้
ระบบ NEM เป็นระบบที่ให้ไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้เอง (แต่ยังไม่ถึงเวลาต้องใช้) สามารถไหลเข้าสู่ระบบสายส่งหรือ “ฝากธนาคาร” ไว้ก่อนในตอนกลางวันแล้วจึงค่อย “ถอนกลับคืนมา” เพื่อใช้ในเวลากลางคืนเมื่อถึงเวลาคิดค่าไฟฟ้าในรอบเดือนก็คิดกันตามตัวเลขในมิเตอร์ที่เหลือสุทธิ
ผมมีภาพประกอบด้วยครับ ซึ่งผมนำมาจากรายงานการประเมินผลของประเทศเคนยา ประเทศกำลังพัฒนารายได้ต่ำในทวีปแอฟริกา (Assessment of a net metering program inKenya, Volume 1: Main report, 2014-จัดทำโดยสหภาพยุโรป)
ขอเริ่มต้นด้วยภาพ (ก) ครับ
พลังงานไฟฟ้าที่ระบายด้วยสีเหลือง คือไฟฟ้าที่ผลิตได้ในตอนกลางวัน (คือหมายเลข 1 และ 2 รวมกัน) แต่มีการใช้โดยตรงในบ้านเพียงบางส่วน (หมายเลข 1) ที่เหลือ (ตามหมายเลข 2) คือจำนวนที่ต้องจัดการหรือต้องหาที่อยู่ให้มัน ไฟฟ้าก็เหมือนกับสสารทั่วไปคือต้องการที่อยู่หรือไม่ก็ต้องนำไปใช้งานเท่านั้น
ในบ้านเราเวลานี้ ทางการไฟฟ้าฯ ยอมให้ไฟฟ้าที่เหลือนี้ไหลเข้าสู่สายส่งได้ แต่ไม่ยอมจ่ายเงินตอบแทนให้กับผู้ผลิต ทั้งๆ ที่ทางการไฟฟ้าฯ นำไปขายให้กับผู้ใช้ที่อยู่ใกล้ที่สุด ส่งผลให้ผู้ผลิตเองไม่สามารถคุ้มทุนทางการเงินได้ ดังนั้นใครก็ตามที่อ้างว่าจะสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริงเลยเพราะในครัวเรือนจะไม่มีใครกล้าลงทุน ส่วนรายใหญ่เช่นมหาวิทยาลัย ก็จะลงทุนในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ทั้งหมด
นอกจากทางการไฟฟ้าฯ ไทยจะไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนจากสิ่งที่ตนได้มา “ฟรีๆ” แล้ว ยังคิดจะเก็บเงินเขาเพิ่มเติมอีก นี่หรือที่ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบอ้างว่าเพื่อความเป็นธรรม ทางการไฟฟ้ามีสิทธิจะเก็บเงินจำนวนนี้ได้ ก็ต่อเมื่อทางการไฟฟ้าฯ ยอมจ่ายค่าไฟฟ้าที่รับไปฟรีๆ ก่อนแล้วเท่านั้นแต่จะเก็บสักเท่าใดค่อยมาว่ากัน
ประเด็นที่สอง ความจริงสหรัฐอเมริการับ
สำหรับประเด็นนี้ กรุณาดูภาพ (ข) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาพ ซ้ายมือเป็นระบบ NEM ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายกว่า 40 ประเทศ ทั้งประเทศรายได้สูง รายได้ปานกลาง รวมทั้งประเทศเคนยาด้วย
นับถึงปี 2013ในสหรัฐอเมริกามี 43 รัฐที่ใช้ระบบ NEM นับถึงสิ้นปี 2016 มีการติดตั้งแล้วจำนวน 40,300 เมกะวัตต์ (อันดับ 4 ของโลก รองจากจีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี -วิกิพีเดีย) อย่างไรก็ตาม วิธีการ “แลก” ไฟฟ้ากันแบบนี้ได้ถูกจัดเป็นประเภทแบบเก่าไปแล้วโดยมีของใหม่ที่ดีกว่านี้ในบางรัฐ
ระบบใหม่อยู่ในทางขวามือของภาพ (ข) ครับ เราจะเห็นว่ามี 2 มิเตอร์แยกกันระหว่างไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่บ้านกับไฟฟ้าที่ส่งออกจากบ้าน ทั้งนี้เพื่อจะได้คิดให้อัตราค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากบ้านสูงกว่าอัตราที่รับเข้าสู่บ้าน เขาเรียกระบบนี้ว่า “คุณค่าของโซลาร์ (Value-of-Solar)” โดยมีการใช้แล้วใน 2 รัฐคือมินนิโซตา และเมือง Austin ในรัฐเท็กซัส (ข้อมูลจาก Minnesota’s Value of Solar, Institute For Local Self-Reliance, John Farrell, April 2014)
เหตุผลสำคัญ 4 ประการที่ต้องรับซื้อสูงกว่าที่ขายเพราะว่า (1) ไม่ต้องซื้อไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงสกปรก (2) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อมารองรับ Peak เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อปี (3) ประกันค่าไฟฟ้าคงที่ตลอดหลายสิบปี (4) ลดความสูญเสียพลังงานในสายส่ง
สำหรับภาพ (ค) หากไม่สามารถทำตาม 2 วิธีการที่ว่าแล้ว ทางเลือกที่ถูกบังคับให้เลือกก็คือ การนำไฟฟ้าที่เหลือไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งทางโฆษก กฟผ. มีแผนการระยะยาว 20 ปีเพื่อลงทุนไว้แก้ปัญหานี้
สำหรับบ้านอยู่อาศัยธรรมดาๆ ในบ้านเราก็มีการติดตั้งแบตเตอรี่กันบ้างแล้ว รวมถึงที่โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี แม้ยังมีปัญหาความไม่คุ้มทุนทางการเงิน แต่อาจจะคุ้มในแง่ของการเรียนการสอนและการสร้างจิตสำนึก
อย่างไรก็ตาม ในรัฐฮาวายสหรัฐอเมริกา ได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 13 เมกะวัตต์ และแบตเตอรี่ขนาด 52 เมกะวัตต์ สามารถเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยผู้ติดตั้งขายไฟฟ้าให้กับริษัทในราคา 13.9 เซนต์ต่อหน่วย (4.80 บาท) ตลอดไป (แต่ถูกกว่าการผลิตจากน้ำมัน 10%) โดยที่บริษัทนำไปขายให้ประชาชนในราคา 27.68 เซนต์ (9.55 บาท) (https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-03-08/tesla-completes-hawaii-storage-project-that-sells-solar-at-night) หมายเหตุ รัฐนี้ค่าไฟฟ้าแพงที่สุดในสหัฐฯ
นี่คือสิ่งที่แต่ละรัฐในสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งประเทศเขาปฏิบัติกันมานานแล้ว แต่ทางการไฟฟ้าฯ ไทยยังไม่ยอมเริ่มต้น มีหลายรายที่ถูกถอดมิเตอร์แบบจานหมุนออกไป แล้วนำมิเตอร์ใหม่มาแทน โดยให้ไฟฟ้าไหลออกได้แต่มิเตอร์ไม่หมุนย้อนกลับ
ผมไม่ทราบว่า ผลการถกเถียงเรื่องบริษัทไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาจะเก็บเงินจากผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปถึงขั้นไหนแล้ว แต่ในรัฐมินนิโซตาและเมือง Austin กลับมีการพัฒนานโยบายไปสู่ขั้นสูงอีกขั้นหนึ่ง แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่นำมาเล่าให้คนไทยฟังบ้าง
ประเด็นที่สาม ตัวอย่างดีๆ จากประเทศเคนยา
ประเทศเคนยาเป็นประเทศยากจน มีจีดีพีต่อหัวประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศไทย แต่เขาใช้นโยบาย NEM ครับ จากรายงานที่ผมอ้างแล้ว พบว่า หน่วยงานด้านเด็กแห่งหนึ่งสามารถป้อนไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้โดยตรงเข้าสู่สายส่งได้ถึง 35% ของที่ผลิตได้ ดูรายละเอียดในภาพครับ
สิ่งที่ผมรู้สึกตกใจมากก็คือ ค่าไฟฟ้าที่หน่วยงานนี้ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าฯ ของเขาคิดเป็นเงินไทยหน่วยละ 7.65 บาทต่อหน่วย หรือเกือบ 2 เท่าของประเทศไทย แต่ต้นทุนเฉลี่ยของค่าไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ตลอด 25 ปีเท่ากับ 3.96 บาทต่อหน่วย (คิดราคาติดตั้งในปี 2011) ส่วนต่างที่ลดลงสามารถเป็นค่าอาหารสำหรับเด็กๆ ได้มากทีเดียว
อนึ่ง ผมมีข้อมูลการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (กทม.) พบว่าติดตั้งในปีเดียวกัน จำนวน 11 กิโลวัตต์ เงินลงทุนต่อกิโลวัตต์ก็ใกล้เคียงกัน (มูลนิธิฯ 122,700 บาท/กิโลวัตต์, เคนยา 135,000 บาท/กิโลวัตต์) แต่ของมูลนิธิผลิตไฟฟ้าได้ในเวลา 68 เดือน ได้ 75,735 หน่วย เฉลี่ยปีละ 1,215หน่วย ในขณะที่ในปี 2012 ของเคนยาได้ 1,365 หน่วยซึ่งดูจากแผนที่แดดแล้วก็ควรจะเป็นเช่นนั้น
เท่าที่ผมติดตามต้นทุนในการติดตั้งใหม่ในปี 2560 พบว่าประมาณ 4 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ ลดลงมาเหลือเพียง 1 ใน 3 จากปี 2554 และถ้าใช้ข้อมูลของมูลนิธิฯ ที่ 1,215 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี ดังนั้นต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ผลิตได้ในช่วง 25 ปี จะประมาณ 1.32 บาทต่อหน่วยเท่านั้น แต่ทาง กกพ.รับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในปัจจุบันด้วยราคา 4.12 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ค่าไฟฟ้าที่ผมจ่ายเดือนล่าสุดเฉลี่ย 3.87 บาทต่อหน่วย (รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเอฟทีที่ขึ้นแล้ว)
หมายเหตุ เมื่อปลายปี 2016 ผู้ชนะการประมูลโซลาร์ฟาร์มขนาด 130 เมกะวัตต์ในประเทศเยอรมนีด้วยราคาไฟฟ้า 0.081 USD/kwh หรือ 2.84 บาทต่อหน่วยเท่านั้น (จาก Rethinking Energy 2017, International Renewable Energy Agency, IRENAหน้า 35 Download ได้)
ที่เป็นเช่นนี้เพราะทาง กกพ.ตามโลกไม่ทันหรือเปล่า ทำให้เจ้าของฟาร์มที่บางคนกลายเป็นมหาเศรษฐีในพริบตา
อ้อ เกือบลืม ของมูลนิธิฯ ก็สามารถขายไฟฟ้าได้ครับ แต่นั่นมันนานมาแล้วแต่เป็นเรื่องยากมากในปัจจุบัน
ผมตั้งชื่อบทความนี้ว่า “เก็บภาษีแดด” เพราะผมเชื่อว่าประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศเพื่อความสุขของประชาชนจะเก็บภาษีแดดก็จะเป็นไรไป แต่ต้องให้ประชาชนมีรายได้จากการผลิตและขายไฟฟ้าก่อน ซึ่งเทคโนโลยียุค 4.0 ได้เปิดโอกาสให้กับทุกคนแล้ว แต่ถูกนโยบายของรัฐบีบบังคับให้เป็นผู้ซื้อจากพ่อค้าพลังงานผูกขาดที่ตกยุคไปแล้ว
ต่อมา เว็บไซต์ “ศูนย์ข่าวพลังงาน” ซึ่งเป็นผู้เสนอข่าวนี้ได้ลงคำชี้แจงของโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า “กฟผ. ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่ดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ ยืนยันสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เช่น การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่มีความเสถียร หรือไฮบริด โดยจัดทำแผนระยะยาว 20 ปี นอกจากนี้ จะมีการเตรียมระบบไฟฟ้ารองรับในการที่ประชาชนจะผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใช้เอง เช่น การมีแบตเตอรี่สำรอง โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ การสร้างระบบส่งไฟฟ้ารองรับในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดมาช่วยการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้ระบบไฟฟ้ายังมีความมั่นคง และมีค่าไฟฟ้าเหมาะสมเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และประชาชนทั่วไป”
เว็บไซต์เดียวกัน ได้เสนอข่าวจากโฆษกของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า
“กกพ. ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า (Backup Rate) จากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า “โซลาร์รูฟท็อป” ประเภทใช้เองในบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ติดตั้งผลิตไฟฟ้าใช้ในปริมาณไม่มาก แต่ประเภทกลุ่มโรงงาน มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาดใหญ่ ได้มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในปริมาณมาก เฉพาะบางช่วงเวลาซึ่งจะผลิตใช้ในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ก็จะต้องมาขอใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืน ซึ่งในกลุ่มนี้หากในอนาคตเกิดการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น อาจมีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้ารวมและต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศได้”
ผมมี 3 ประเด็นที่จะแสดงความเห็นและนำเสนอข้อมูลที่ถูกอ้างถึง
ประเด็นแรก การที่โฆษก กฟผ.อ้างว่า “ยืนยันสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ” นั้น ผมรู้สึกดีใจและขอขอบคุณที่ทาง กฟผ.มีความรับผิดชอบต่อการลดปัญหาร่วมที่สำคัญของโลก แต่การสนับสนุนดังกล่าวจะไม่มีทางเป็นไปได้จริงเลย หากไม่นำระบบที่เรียกว่า Net Energy Metering (NEM) มาใช้
ระบบ NEM เป็นระบบที่ให้ไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้เอง (แต่ยังไม่ถึงเวลาต้องใช้) สามารถไหลเข้าสู่ระบบสายส่งหรือ “ฝากธนาคาร” ไว้ก่อนในตอนกลางวันแล้วจึงค่อย “ถอนกลับคืนมา” เพื่อใช้ในเวลากลางคืนเมื่อถึงเวลาคิดค่าไฟฟ้าในรอบเดือนก็คิดกันตามตัวเลขในมิเตอร์ที่เหลือสุทธิ
ผมมีภาพประกอบด้วยครับ ซึ่งผมนำมาจากรายงานการประเมินผลของประเทศเคนยา ประเทศกำลังพัฒนารายได้ต่ำในทวีปแอฟริกา (Assessment of a net metering program inKenya, Volume 1: Main report, 2014-จัดทำโดยสหภาพยุโรป)
ขอเริ่มต้นด้วยภาพ (ก) ครับ
พลังงานไฟฟ้าที่ระบายด้วยสีเหลือง คือไฟฟ้าที่ผลิตได้ในตอนกลางวัน (คือหมายเลข 1 และ 2 รวมกัน) แต่มีการใช้โดยตรงในบ้านเพียงบางส่วน (หมายเลข 1) ที่เหลือ (ตามหมายเลข 2) คือจำนวนที่ต้องจัดการหรือต้องหาที่อยู่ให้มัน ไฟฟ้าก็เหมือนกับสสารทั่วไปคือต้องการที่อยู่หรือไม่ก็ต้องนำไปใช้งานเท่านั้น
ในบ้านเราเวลานี้ ทางการไฟฟ้าฯ ยอมให้ไฟฟ้าที่เหลือนี้ไหลเข้าสู่สายส่งได้ แต่ไม่ยอมจ่ายเงินตอบแทนให้กับผู้ผลิต ทั้งๆ ที่ทางการไฟฟ้าฯ นำไปขายให้กับผู้ใช้ที่อยู่ใกล้ที่สุด ส่งผลให้ผู้ผลิตเองไม่สามารถคุ้มทุนทางการเงินได้ ดังนั้นใครก็ตามที่อ้างว่าจะสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริงเลยเพราะในครัวเรือนจะไม่มีใครกล้าลงทุน ส่วนรายใหญ่เช่นมหาวิทยาลัย ก็จะลงทุนในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ทั้งหมด
นอกจากทางการไฟฟ้าฯ ไทยจะไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนจากสิ่งที่ตนได้มา “ฟรีๆ” แล้ว ยังคิดจะเก็บเงินเขาเพิ่มเติมอีก นี่หรือที่ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบอ้างว่าเพื่อความเป็นธรรม ทางการไฟฟ้ามีสิทธิจะเก็บเงินจำนวนนี้ได้ ก็ต่อเมื่อทางการไฟฟ้าฯ ยอมจ่ายค่าไฟฟ้าที่รับไปฟรีๆ ก่อนแล้วเท่านั้นแต่จะเก็บสักเท่าใดค่อยมาว่ากัน
ประเด็นที่สอง ความจริงสหรัฐอเมริการับ
สำหรับประเด็นนี้ กรุณาดูภาพ (ข) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาพ ซ้ายมือเป็นระบบ NEM ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายกว่า 40 ประเทศ ทั้งประเทศรายได้สูง รายได้ปานกลาง รวมทั้งประเทศเคนยาด้วย
นับถึงปี 2013ในสหรัฐอเมริกามี 43 รัฐที่ใช้ระบบ NEM นับถึงสิ้นปี 2016 มีการติดตั้งแล้วจำนวน 40,300 เมกะวัตต์ (อันดับ 4 ของโลก รองจากจีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี -วิกิพีเดีย) อย่างไรก็ตาม วิธีการ “แลก” ไฟฟ้ากันแบบนี้ได้ถูกจัดเป็นประเภทแบบเก่าไปแล้วโดยมีของใหม่ที่ดีกว่านี้ในบางรัฐ
ระบบใหม่อยู่ในทางขวามือของภาพ (ข) ครับ เราจะเห็นว่ามี 2 มิเตอร์แยกกันระหว่างไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่บ้านกับไฟฟ้าที่ส่งออกจากบ้าน ทั้งนี้เพื่อจะได้คิดให้อัตราค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากบ้านสูงกว่าอัตราที่รับเข้าสู่บ้าน เขาเรียกระบบนี้ว่า “คุณค่าของโซลาร์ (Value-of-Solar)” โดยมีการใช้แล้วใน 2 รัฐคือมินนิโซตา และเมือง Austin ในรัฐเท็กซัส (ข้อมูลจาก Minnesota’s Value of Solar, Institute For Local Self-Reliance, John Farrell, April 2014)
เหตุผลสำคัญ 4 ประการที่ต้องรับซื้อสูงกว่าที่ขายเพราะว่า (1) ไม่ต้องซื้อไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงสกปรก (2) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อมารองรับ Peak เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อปี (3) ประกันค่าไฟฟ้าคงที่ตลอดหลายสิบปี (4) ลดความสูญเสียพลังงานในสายส่ง
สำหรับภาพ (ค) หากไม่สามารถทำตาม 2 วิธีการที่ว่าแล้ว ทางเลือกที่ถูกบังคับให้เลือกก็คือ การนำไฟฟ้าที่เหลือไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งทางโฆษก กฟผ. มีแผนการระยะยาว 20 ปีเพื่อลงทุนไว้แก้ปัญหานี้
สำหรับบ้านอยู่อาศัยธรรมดาๆ ในบ้านเราก็มีการติดตั้งแบตเตอรี่กันบ้างแล้ว รวมถึงที่โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี แม้ยังมีปัญหาความไม่คุ้มทุนทางการเงิน แต่อาจจะคุ้มในแง่ของการเรียนการสอนและการสร้างจิตสำนึก
อย่างไรก็ตาม ในรัฐฮาวายสหรัฐอเมริกา ได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 13 เมกะวัตต์ และแบตเตอรี่ขนาด 52 เมกะวัตต์ สามารถเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยผู้ติดตั้งขายไฟฟ้าให้กับริษัทในราคา 13.9 เซนต์ต่อหน่วย (4.80 บาท) ตลอดไป (แต่ถูกกว่าการผลิตจากน้ำมัน 10%) โดยที่บริษัทนำไปขายให้ประชาชนในราคา 27.68 เซนต์ (9.55 บาท) (https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-03-08/tesla-completes-hawaii-storage-project-that-sells-solar-at-night) หมายเหตุ รัฐนี้ค่าไฟฟ้าแพงที่สุดในสหัฐฯ
นี่คือสิ่งที่แต่ละรัฐในสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งประเทศเขาปฏิบัติกันมานานแล้ว แต่ทางการไฟฟ้าฯ ไทยยังไม่ยอมเริ่มต้น มีหลายรายที่ถูกถอดมิเตอร์แบบจานหมุนออกไป แล้วนำมิเตอร์ใหม่มาแทน โดยให้ไฟฟ้าไหลออกได้แต่มิเตอร์ไม่หมุนย้อนกลับ
ผมไม่ทราบว่า ผลการถกเถียงเรื่องบริษัทไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาจะเก็บเงินจากผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปถึงขั้นไหนแล้ว แต่ในรัฐมินนิโซตาและเมือง Austin กลับมีการพัฒนานโยบายไปสู่ขั้นสูงอีกขั้นหนึ่ง แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่นำมาเล่าให้คนไทยฟังบ้าง
ประเด็นที่สาม ตัวอย่างดีๆ จากประเทศเคนยา
ประเทศเคนยาเป็นประเทศยากจน มีจีดีพีต่อหัวประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศไทย แต่เขาใช้นโยบาย NEM ครับ จากรายงานที่ผมอ้างแล้ว พบว่า หน่วยงานด้านเด็กแห่งหนึ่งสามารถป้อนไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้โดยตรงเข้าสู่สายส่งได้ถึง 35% ของที่ผลิตได้ ดูรายละเอียดในภาพครับ
สิ่งที่ผมรู้สึกตกใจมากก็คือ ค่าไฟฟ้าที่หน่วยงานนี้ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าฯ ของเขาคิดเป็นเงินไทยหน่วยละ 7.65 บาทต่อหน่วย หรือเกือบ 2 เท่าของประเทศไทย แต่ต้นทุนเฉลี่ยของค่าไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ตลอด 25 ปีเท่ากับ 3.96 บาทต่อหน่วย (คิดราคาติดตั้งในปี 2011) ส่วนต่างที่ลดลงสามารถเป็นค่าอาหารสำหรับเด็กๆ ได้มากทีเดียว
อนึ่ง ผมมีข้อมูลการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (กทม.) พบว่าติดตั้งในปีเดียวกัน จำนวน 11 กิโลวัตต์ เงินลงทุนต่อกิโลวัตต์ก็ใกล้เคียงกัน (มูลนิธิฯ 122,700 บาท/กิโลวัตต์, เคนยา 135,000 บาท/กิโลวัตต์) แต่ของมูลนิธิผลิตไฟฟ้าได้ในเวลา 68 เดือน ได้ 75,735 หน่วย เฉลี่ยปีละ 1,215หน่วย ในขณะที่ในปี 2012 ของเคนยาได้ 1,365 หน่วยซึ่งดูจากแผนที่แดดแล้วก็ควรจะเป็นเช่นนั้น
เท่าที่ผมติดตามต้นทุนในการติดตั้งใหม่ในปี 2560 พบว่าประมาณ 4 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ ลดลงมาเหลือเพียง 1 ใน 3 จากปี 2554 และถ้าใช้ข้อมูลของมูลนิธิฯ ที่ 1,215 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี ดังนั้นต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ผลิตได้ในช่วง 25 ปี จะประมาณ 1.32 บาทต่อหน่วยเท่านั้น แต่ทาง กกพ.รับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในปัจจุบันด้วยราคา 4.12 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ค่าไฟฟ้าที่ผมจ่ายเดือนล่าสุดเฉลี่ย 3.87 บาทต่อหน่วย (รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเอฟทีที่ขึ้นแล้ว)
หมายเหตุ เมื่อปลายปี 2016 ผู้ชนะการประมูลโซลาร์ฟาร์มขนาด 130 เมกะวัตต์ในประเทศเยอรมนีด้วยราคาไฟฟ้า 0.081 USD/kwh หรือ 2.84 บาทต่อหน่วยเท่านั้น (จาก Rethinking Energy 2017, International Renewable Energy Agency, IRENAหน้า 35 Download ได้)
ที่เป็นเช่นนี้เพราะทาง กกพ.ตามโลกไม่ทันหรือเปล่า ทำให้เจ้าของฟาร์มที่บางคนกลายเป็นมหาเศรษฐีในพริบตา
อ้อ เกือบลืม ของมูลนิธิฯ ก็สามารถขายไฟฟ้าได้ครับ แต่นั่นมันนานมาแล้วแต่เป็นเรื่องยากมากในปัจจุบัน
ผมตั้งชื่อบทความนี้ว่า “เก็บภาษีแดด” เพราะผมเชื่อว่าประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศเพื่อความสุขของประชาชนจะเก็บภาษีแดดก็จะเป็นไรไป แต่ต้องให้ประชาชนมีรายได้จากการผลิตและขายไฟฟ้าก่อน ซึ่งเทคโนโลยียุค 4.0 ได้เปิดโอกาสให้กับทุกคนแล้ว แต่ถูกนโยบายของรัฐบีบบังคับให้เป็นผู้ซื้อจากพ่อค้าพลังงานผูกขาดที่ตกยุคไปแล้ว