** แม้ว่าจะไม่เหนือความคาดหมายจนเกินไป กับการเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีกำหนดเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามกำหนดการที่หลุดออกมา เป็นเอกสารของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ก่อน
โดยกำหนดการเยือนสหรัฐอเมริกาดังกล่าว ระบุคร่าวๆ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเดินทางไปในราวเดือนกันยายน ซึ่งก็ถือว่าอีกไม่นานนัก
สำหรับความเคลื่อนไหวที่คาดว่านำไปสู่การเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจากเมื่อราวเดือนที่แล้ว ที่ตอนนั้น ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังแสวงหาพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรับมือกับประเทศเกาหลีเหนือ โดยตอนนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯได้โทรศัพท์สายตรงมาถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และมีการหว่านล้อมให้ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการต่อต้านภัยคุกคามกับเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากโทรศัพท์สายตรงไปถึงนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ผู้นำจีน และผู้นำ ญี่ปุ่นมาแล้ว
ตามการเปิดเผยของทีมโฆษกรัฐบาลไทยในตอนนั้น ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความมั่นคงในภูมิภาค และที่สำคัญประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปเยือนทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อีกด้วย ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ก็ตอบรับคำเชิญ
และนั่นอาจเป็นที่มาของกำหนดการที่หลุดออกมาก่อนหรือไม่ เพราะตามเอกสารที่ออกมาจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีการส่งหนังสือเวียนไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังถูกทางการสหรัฐฯ กดดันให้ชี้แจงเรื่องการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในสินค้าบางรายการ การละเมิดสินค้าลิขสิทธิ์ เรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นต้น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมเป็นข้อมูลให้กับนายกรัฐมนตรี สำหรับการเจรจากันแบบทวิภาคี
การเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่กำหนดออกมา หากพิจารณากันในมุมทางการเมือง ถือว่าฝ่ายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ชัยชนะ เพราะในความเป็นจริง พวกเขาเป็น "รัฐบาลทหาร" ถือว่าเป็น "เผด็จการ" เต็มรูปแบบ ที่ตามกฎหมายของสหรัฐฯ จะไม่คบค้าสมาคมกันอย่างเป็นทางการ ประเภทที่ว่า ระดับผู้นำจะไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือน การเจรจากันโดยตรง รวมไปถึงจะไม่มีการเชิญไปเยือนทำเนียบขาว อย่างเด็ดขาด
ซึ่งในยุคของ อดีตประธานาธิบดี สหรัฐฯ บารัค โอบามา เคยปฏิบัติต่อผู้นำรัฐบาลไทยมาตลอด ไม่เคยเชิญไปเยือนสำหรัฐฯ และที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ นอกเหนือจากการเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ ในที่ประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ได้เท่านั้น
ดังนั้น การได้รับโทรศัพท์สายตรงจาก ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และการเชิญไปเยือนทำเนียบขาวครั้งนี้ ถือว่า"หักมุม" ครั้งสำคัญ และเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของคณะปกครองอย่างคสช. กลุ่มนี้ เพราะถือว่านี่คือ การสลัดพันธนาการที่เป็นข้อจำกัด ในเรื่องการเปิดเจรจาการค้า และเศรษฐกิจ ทั้งในแบบทวิภาคีและพหุภาคี อีกทั้งยังอาจทลายกำแพงจากฝ่ายยุโรป ที่เคยตั้งข้อรังเกียจไทย หลังจากเกิดการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา
ขณะเดียวกัน สำหรับการเมืองภายในยังเป็นการหักหน้าพวก "ระบอบทักษิณ" ที่พยายามดิสเครดิตรัฐบาลคสช. มาตลอดในเรื่องการถูกขึ้นแบล็กลิสต์ของพวกผู้นำคสช. จากสหรัฐฯ แต่การเปลี่ยนท่าทีมาเป็นตรงกันข้ามแบบนี้ มันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เปิดเกมรุกกับเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับพวกที่หลบหนีไปสหรัฐฯ ให้จำกัดบทบาทในการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาล
การเปลี่ยนท่าทีของสหรัฐฯ ยังทำให้พิสูจน์ให้เห็นว่า ข้อกำหนดที่สร้างเป็นกำแพงในการบอยคอตประเทศหนึ่งนั้น แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับ"ผลประโยชน์" เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะหากบอกว่ารังเกียจประเทศเผด็จการ ก็ต้องตั้งคำถามว่า การไปเยือนประเทศซาอุดิอาระเบีย และมีการลงนามขายอาวุธล็อตใหญ่นับแสนล้านดอลล่าร์ ถามว่า ประเทศนี้มีการเลือกตั้งระดับใดบ้าง หรือการเชิญผู้ยำเวียดนามไปเยือนสหรัฐในช่วงนี้ ก็เช่นเดียวกันว่านี่คือผู้นำประเทศคอมมิวนิสต์ปกครองโดยพรรคเดียว แต่กลับได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง
**ดังนั้นที่ผ่านมาถือว่าเป็นเพียงข้ออ้างด้วยเหตุผลบางอย่างในบางสถานการณ์เท่านั้น ไม่ใช่เหตุผลแท้จริง คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯแบบในอดีตกำลังจะผ่านไป ยุทธศาสตร์เก่ากำลังผ่านไป ยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคงหน้าใหม่ กำลังเข้ามาแทนที่ และคนที่หน้าบานก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะถือ ว่า นี่คือชัยชนะทางการเมืองแบบ "เฉพาะหน้า" เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอื่นค่อยมาว่ากันทีหลัง !!
โดยกำหนดการเยือนสหรัฐอเมริกาดังกล่าว ระบุคร่าวๆ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเดินทางไปในราวเดือนกันยายน ซึ่งก็ถือว่าอีกไม่นานนัก
สำหรับความเคลื่อนไหวที่คาดว่านำไปสู่การเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจากเมื่อราวเดือนที่แล้ว ที่ตอนนั้น ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังแสวงหาพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรับมือกับประเทศเกาหลีเหนือ โดยตอนนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯได้โทรศัพท์สายตรงมาถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และมีการหว่านล้อมให้ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการต่อต้านภัยคุกคามกับเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากโทรศัพท์สายตรงไปถึงนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ผู้นำจีน และผู้นำ ญี่ปุ่นมาแล้ว
ตามการเปิดเผยของทีมโฆษกรัฐบาลไทยในตอนนั้น ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความมั่นคงในภูมิภาค และที่สำคัญประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปเยือนทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อีกด้วย ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ก็ตอบรับคำเชิญ
และนั่นอาจเป็นที่มาของกำหนดการที่หลุดออกมาก่อนหรือไม่ เพราะตามเอกสารที่ออกมาจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีการส่งหนังสือเวียนไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังถูกทางการสหรัฐฯ กดดันให้ชี้แจงเรื่องการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในสินค้าบางรายการ การละเมิดสินค้าลิขสิทธิ์ เรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นต้น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมเป็นข้อมูลให้กับนายกรัฐมนตรี สำหรับการเจรจากันแบบทวิภาคี
การเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่กำหนดออกมา หากพิจารณากันในมุมทางการเมือง ถือว่าฝ่ายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ชัยชนะ เพราะในความเป็นจริง พวกเขาเป็น "รัฐบาลทหาร" ถือว่าเป็น "เผด็จการ" เต็มรูปแบบ ที่ตามกฎหมายของสหรัฐฯ จะไม่คบค้าสมาคมกันอย่างเป็นทางการ ประเภทที่ว่า ระดับผู้นำจะไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือน การเจรจากันโดยตรง รวมไปถึงจะไม่มีการเชิญไปเยือนทำเนียบขาว อย่างเด็ดขาด
ซึ่งในยุคของ อดีตประธานาธิบดี สหรัฐฯ บารัค โอบามา เคยปฏิบัติต่อผู้นำรัฐบาลไทยมาตลอด ไม่เคยเชิญไปเยือนสำหรัฐฯ และที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ นอกเหนือจากการเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ ในที่ประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ได้เท่านั้น
ดังนั้น การได้รับโทรศัพท์สายตรงจาก ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และการเชิญไปเยือนทำเนียบขาวครั้งนี้ ถือว่า"หักมุม" ครั้งสำคัญ และเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของคณะปกครองอย่างคสช. กลุ่มนี้ เพราะถือว่านี่คือ การสลัดพันธนาการที่เป็นข้อจำกัด ในเรื่องการเปิดเจรจาการค้า และเศรษฐกิจ ทั้งในแบบทวิภาคีและพหุภาคี อีกทั้งยังอาจทลายกำแพงจากฝ่ายยุโรป ที่เคยตั้งข้อรังเกียจไทย หลังจากเกิดการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา
ขณะเดียวกัน สำหรับการเมืองภายในยังเป็นการหักหน้าพวก "ระบอบทักษิณ" ที่พยายามดิสเครดิตรัฐบาลคสช. มาตลอดในเรื่องการถูกขึ้นแบล็กลิสต์ของพวกผู้นำคสช. จากสหรัฐฯ แต่การเปลี่ยนท่าทีมาเป็นตรงกันข้ามแบบนี้ มันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เปิดเกมรุกกับเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับพวกที่หลบหนีไปสหรัฐฯ ให้จำกัดบทบาทในการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาล
การเปลี่ยนท่าทีของสหรัฐฯ ยังทำให้พิสูจน์ให้เห็นว่า ข้อกำหนดที่สร้างเป็นกำแพงในการบอยคอตประเทศหนึ่งนั้น แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับ"ผลประโยชน์" เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะหากบอกว่ารังเกียจประเทศเผด็จการ ก็ต้องตั้งคำถามว่า การไปเยือนประเทศซาอุดิอาระเบีย และมีการลงนามขายอาวุธล็อตใหญ่นับแสนล้านดอลล่าร์ ถามว่า ประเทศนี้มีการเลือกตั้งระดับใดบ้าง หรือการเชิญผู้ยำเวียดนามไปเยือนสหรัฐในช่วงนี้ ก็เช่นเดียวกันว่านี่คือผู้นำประเทศคอมมิวนิสต์ปกครองโดยพรรคเดียว แต่กลับได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง
**ดังนั้นที่ผ่านมาถือว่าเป็นเพียงข้ออ้างด้วยเหตุผลบางอย่างในบางสถานการณ์เท่านั้น ไม่ใช่เหตุผลแท้จริง คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯแบบในอดีตกำลังจะผ่านไป ยุทธศาสตร์เก่ากำลังผ่านไป ยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคงหน้าใหม่ กำลังเข้ามาแทนที่ และคนที่หน้าบานก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะถือ ว่า นี่คือชัยชนะทางการเมืองแบบ "เฉพาะหน้า" เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอื่นค่อยมาว่ากันทีหลัง !!