แฉทอท.ล็อกสัมปทานที่จอดรถสนามบินดอนเมือง 1,500 คัน สัญญา 15 ปี ประเคนงานให้บริษัทฯ มีประวัติถูกเมืองพัทยาบอกเลิกสัญญามาก่อน เหตุค้างค่าเช่า ไม่สนร้องเรียน แถมระหว่างประมูลมีหมกเม็ด ยัดไส้ราคา ให้ใส่ซองเสนอกันใหม่ ได้ราคาสูงเกินจริงอนาคตทำไม่ไหว ส่อขอลดค่าตอบแทน หรือเพิ่มสิทธิ์อื่นเพื่อเพิ่มรายได้ภายหลัง หวั่นซ้ำรอยสัญญาคิงเพาเวอร์ ที่ทำให้ทอท.เสียประโยชน์มหาศาล คนทอท.สุดช้ำ งานนี้พูดไม่ออก บิ๊กทอท. อ้างเป็นงานของประธานขอมา
รายงานข่าวจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า จากที่ทอท.ได้มีการเปิดประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการโครงการบริหารจัดการอาคารจอดรถยนต์ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 1,500 คัน ระยะเวลา 15 ปี ซึ่งเอกชนจะต้องลงทุนก่อสร้างอาคารจอดรถ พร้อมติดตั้งระบบจัดเก็บค่าจอดรถ และบริหารจัดการตลอดอายุสัมทปานโดยโครงการมีมูลค่าลงทุนประมาณ 680 ล้านบาทนั้น
ล่าสุดมีการร้องเรียนถึงความไม่ชอบมาพากลในการประมูล เนื่องจากบริษัทที่ได้รับคัดเลือก มีประวัติเคยถูกยกเลิกสัมปทานที่จอดรถบาลีฮาย เนื่องจากค้างชำระค่าเช่าให้ เมืองพัทยานาน 6 เดือน มีปัญหาโครงการอาคารจอดรถอัตโนมัติ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งคุณสมบัติขัดหลักธรรมาภิบาล รวมถึงวิธีการคัดเลือกที่ผลตอบแทนให้ทอท.สูงสุด ซึ่งอาจส่งผลในการบริหารสัญญาที่อาจมีปัญหาในอนาคตได้
แหล่งข่าวจากทอท. ระบุว่า ทอท.ได้กำหนด ใช้วิธีประมูลด้วยการเสนอค่าตอบแทน โดยจะให้คะแนนด้านเทคนิคก่อน จากนั้นจะเปิดข้อเสนอด้านผลตอบแทน โดยขายเอกสารประมูลเมื่อวันที่ 24 เม.ย.60-28 เม.ย. 60 ปรากฏว่า มีผู้ซื้อซองจำนวน 15 ราย กำหนดให้ยื่นซองในวันที่ 15 พ.ค. 60 มีผู้มายื่นประมูล 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เอ็มพีเม็ก จำกัด 2. บริษัท ปาร์ค 2 โก จำกัด ในนามกิจการร่วมลงทุน "NWR-P2G Consortium ประกอบด้วยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปาร์ค 2 โก จำกัด 3. บริษัท เป๋าตังค์ จำกัด 4. บริษัท สมบุญ พัฒนา จำกัด 5. บริษัท เจนก้องไกล จำกัด ในนามกิจการร่วมค้า "เจนก้องไกลฟอร์คอน" ประกอบด้วย บริษัท เจนก้องไกล จำกัด และ บริษัท ฟอร์คอน จำกัด
โดยได้ให้ทั้ง 5 บริษัท นำเสนอผลงาน (Presentation) ในวันที่ 18 พ.ค. สรุปผลด้านเทคนิค ในวันที่ 23 พ.ค. ปรากฏว่า มี 3 ราย ที่ได้คะแนนเท่ากันที่ 70 คะแนน คือ บ. เอ็มพีเม็ก ,NWR-P2G Consortium และ บ. สมบุญ พัฒนา เมื่อเปิดข้อเสนอผลตอบแทน และรวมคะแนนด้านเทคนิค และผลตอบแทน ปรากฏว่า เหลือ 2 รายที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันที่ 90 คะแนน คือ บ. เอ็มพีเม็ก และ บ. สมบุญ พัฒนา ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงให้ 2 ราย เสนอผลตอบแทนใหม่ ซึ่งปรากฏว่า บ. เอ็มพีเม็ก เสนอเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำให้ ทอท. สูงสุดที่ 2,233,669 บาทต่อเดือน ส่วน บ.สมบุญ พัฒนา เสนอราคา 1,567,000 บาท ต่อเดือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การประมูลครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่คุณสมบัติของผู้ได้รับคัดเลือกแล้ว เพราะมีประวัติถูกเลิกจ้างมาก่อน และยังมีขั้นตอนการประมูลที่ให้เขียนราคาเสนอกันใหม่ ทั้งที่มีซองราคาเดิมอยู่แล้วซึ่งมีกระแสข่าวแจ้งว่า งานนี้มีการล็อคกันไว้แล้ว แต่เพราะผู้ที่ถูกล็อคเสนอราคามาต่ำกว่าอีกรายจึงมีการให้เสนอราคากันใหม่ อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ บอร์ดมีมติให้ทำที่จอดรถอัตโนมัติ แต่กลับเปลี่ยนเป็นที่จอดรถธรรมดาภายหลัง อีกด้วย
ซึ่งนอกจากบริษัทฯต้องลงทุนก่อสร้างอาคารและระบบ วงเงิน 680 ล้านบาท ขณะที่เสนอจ่ายผลตอบแทนให้ทอท. ถึง 2.23 ล้านบาทต่อเดือน หากรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ การบริหารทั้งระบบซ่อมบำรุง ค่าบุคลากร ดอกเบี้ย ค่าประกัน เฉลี่ยประมาณ 10 ล้านบาทต่อเดือน
สิ่งที่น่าสังเกตุคือ เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารจอดรถ 7 ชั้น ดอนเมือง (1,240 คัน) ที่ปัจจุบันมีรายได้ประมาณ 6 ล้านบาทต่อเดือน อีกทั้งอาคารจอดรถรายได้หลักมาจากผู้ใช้บริการ และการหมุนเวียนเข้าออกมากๆ แต่จะมีรถส่วนหนึ่ง ที่เป็นของพนักงานสายการบิน ผู้ประกอบการในสนามบิน ลักษณะเป็นสมาชิก เดือนละ 1,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งที่จะเข้ามาใช้อาคารจอดรถ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สร้างรายได้มากนัก และทำให้เสียพื้นที่ด้วย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ยากที่จะมีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ซึ่งเมื่อรายได้น้อยกว่ารายจ่าย จะเกิดการขอลดค่าตอบแทน ขอเพิ่มกิจกรรม เช่นติดตั้งโฆษณาในอาคาร เป็นต้น เป็นสูตรเดิมๆ ที่จะมีการขอกันภายหลัง เมื่อได้สัญญาไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับ ทอท. และ ผู้ร่วมประมูลรายอื่น และเป็นรูปแบบคล้ายคลึงกับสัญญาคิงเพาเวอร์ ที่ทำให้ ทอท.เสียประโยชน์มหาศาล
"เมื่อพบความไม่ถูกต้อง และมีการทักท้วง แต่ปรากฏว่า ผู้บริหารทอท. ระบุว่า งานนี้เป็นของประธานบอร์ดทอท. ขอมา ก็เลยไม่มีใครกล้าทำอะไร ปล่อยเลยตามเลย ซึ่งคาดว่าจะมีการสรุปเสนอผลประมูลต่อบอร์ด ในเดือนมิ.ย.นี้แล้ว" แหล่งข่าว กล่าว
รายงานข่าวจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า จากที่ทอท.ได้มีการเปิดประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการโครงการบริหารจัดการอาคารจอดรถยนต์ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 1,500 คัน ระยะเวลา 15 ปี ซึ่งเอกชนจะต้องลงทุนก่อสร้างอาคารจอดรถ พร้อมติดตั้งระบบจัดเก็บค่าจอดรถ และบริหารจัดการตลอดอายุสัมทปานโดยโครงการมีมูลค่าลงทุนประมาณ 680 ล้านบาทนั้น
ล่าสุดมีการร้องเรียนถึงความไม่ชอบมาพากลในการประมูล เนื่องจากบริษัทที่ได้รับคัดเลือก มีประวัติเคยถูกยกเลิกสัมปทานที่จอดรถบาลีฮาย เนื่องจากค้างชำระค่าเช่าให้ เมืองพัทยานาน 6 เดือน มีปัญหาโครงการอาคารจอดรถอัตโนมัติ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งคุณสมบัติขัดหลักธรรมาภิบาล รวมถึงวิธีการคัดเลือกที่ผลตอบแทนให้ทอท.สูงสุด ซึ่งอาจส่งผลในการบริหารสัญญาที่อาจมีปัญหาในอนาคตได้
แหล่งข่าวจากทอท. ระบุว่า ทอท.ได้กำหนด ใช้วิธีประมูลด้วยการเสนอค่าตอบแทน โดยจะให้คะแนนด้านเทคนิคก่อน จากนั้นจะเปิดข้อเสนอด้านผลตอบแทน โดยขายเอกสารประมูลเมื่อวันที่ 24 เม.ย.60-28 เม.ย. 60 ปรากฏว่า มีผู้ซื้อซองจำนวน 15 ราย กำหนดให้ยื่นซองในวันที่ 15 พ.ค. 60 มีผู้มายื่นประมูล 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เอ็มพีเม็ก จำกัด 2. บริษัท ปาร์ค 2 โก จำกัด ในนามกิจการร่วมลงทุน "NWR-P2G Consortium ประกอบด้วยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปาร์ค 2 โก จำกัด 3. บริษัท เป๋าตังค์ จำกัด 4. บริษัท สมบุญ พัฒนา จำกัด 5. บริษัท เจนก้องไกล จำกัด ในนามกิจการร่วมค้า "เจนก้องไกลฟอร์คอน" ประกอบด้วย บริษัท เจนก้องไกล จำกัด และ บริษัท ฟอร์คอน จำกัด
โดยได้ให้ทั้ง 5 บริษัท นำเสนอผลงาน (Presentation) ในวันที่ 18 พ.ค. สรุปผลด้านเทคนิค ในวันที่ 23 พ.ค. ปรากฏว่า มี 3 ราย ที่ได้คะแนนเท่ากันที่ 70 คะแนน คือ บ. เอ็มพีเม็ก ,NWR-P2G Consortium และ บ. สมบุญ พัฒนา เมื่อเปิดข้อเสนอผลตอบแทน และรวมคะแนนด้านเทคนิค และผลตอบแทน ปรากฏว่า เหลือ 2 รายที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันที่ 90 คะแนน คือ บ. เอ็มพีเม็ก และ บ. สมบุญ พัฒนา ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงให้ 2 ราย เสนอผลตอบแทนใหม่ ซึ่งปรากฏว่า บ. เอ็มพีเม็ก เสนอเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำให้ ทอท. สูงสุดที่ 2,233,669 บาทต่อเดือน ส่วน บ.สมบุญ พัฒนา เสนอราคา 1,567,000 บาท ต่อเดือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การประมูลครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่คุณสมบัติของผู้ได้รับคัดเลือกแล้ว เพราะมีประวัติถูกเลิกจ้างมาก่อน และยังมีขั้นตอนการประมูลที่ให้เขียนราคาเสนอกันใหม่ ทั้งที่มีซองราคาเดิมอยู่แล้วซึ่งมีกระแสข่าวแจ้งว่า งานนี้มีการล็อคกันไว้แล้ว แต่เพราะผู้ที่ถูกล็อคเสนอราคามาต่ำกว่าอีกรายจึงมีการให้เสนอราคากันใหม่ อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ บอร์ดมีมติให้ทำที่จอดรถอัตโนมัติ แต่กลับเปลี่ยนเป็นที่จอดรถธรรมดาภายหลัง อีกด้วย
ซึ่งนอกจากบริษัทฯต้องลงทุนก่อสร้างอาคารและระบบ วงเงิน 680 ล้านบาท ขณะที่เสนอจ่ายผลตอบแทนให้ทอท. ถึง 2.23 ล้านบาทต่อเดือน หากรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ การบริหารทั้งระบบซ่อมบำรุง ค่าบุคลากร ดอกเบี้ย ค่าประกัน เฉลี่ยประมาณ 10 ล้านบาทต่อเดือน
สิ่งที่น่าสังเกตุคือ เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารจอดรถ 7 ชั้น ดอนเมือง (1,240 คัน) ที่ปัจจุบันมีรายได้ประมาณ 6 ล้านบาทต่อเดือน อีกทั้งอาคารจอดรถรายได้หลักมาจากผู้ใช้บริการ และการหมุนเวียนเข้าออกมากๆ แต่จะมีรถส่วนหนึ่ง ที่เป็นของพนักงานสายการบิน ผู้ประกอบการในสนามบิน ลักษณะเป็นสมาชิก เดือนละ 1,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งที่จะเข้ามาใช้อาคารจอดรถ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สร้างรายได้มากนัก และทำให้เสียพื้นที่ด้วย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ยากที่จะมีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ซึ่งเมื่อรายได้น้อยกว่ารายจ่าย จะเกิดการขอลดค่าตอบแทน ขอเพิ่มกิจกรรม เช่นติดตั้งโฆษณาในอาคาร เป็นต้น เป็นสูตรเดิมๆ ที่จะมีการขอกันภายหลัง เมื่อได้สัญญาไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับ ทอท. และ ผู้ร่วมประมูลรายอื่น และเป็นรูปแบบคล้ายคลึงกับสัญญาคิงเพาเวอร์ ที่ทำให้ ทอท.เสียประโยชน์มหาศาล
"เมื่อพบความไม่ถูกต้อง และมีการทักท้วง แต่ปรากฏว่า ผู้บริหารทอท. ระบุว่า งานนี้เป็นของประธานบอร์ดทอท. ขอมา ก็เลยไม่มีใครกล้าทำอะไร ปล่อยเลยตามเลย ซึ่งคาดว่าจะมีการสรุปเสนอผลประมูลต่อบอร์ด ในเดือนมิ.ย.นี้แล้ว" แหล่งข่าว กล่าว