นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็น ประธานในการชี้แจงถึงมาตรฐานใหม่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในยุคปฏิรูปประเทศ ต่อผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานด้านการปฏิรูปการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กมธ.ได้พิจารณากลไกในการป้องกันการทุจริตในด้านต่างๆ ให้เกิดความครบครอบถ้วนและชัดเจนในทุกมิติ เช่น การยกร่างพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... ที่จากเดิมเป็นเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสาระสำคัญ จะเป็นการตั้งมาตรฐานในการจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดความโปร่งใสและชัดเจน
ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อนุกรรมาธิการ ได้กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... ว่า พ.ร.บ.นี้ มีความสอดคล้องตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน อาทิ หน่วยงานภาครัฐจะต้องประกาศล่วงหน้า ถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสิน และวินิจฉัยในการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างเปิดเผย และเป็นธรรม โดยพ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ทั้งภาคส่วนของรัฐและเอกชน เพื่อให้มีทิศทางเดียวกันในการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส
ด้าน พล.อ.อ. วีรวิท คงศักดิ์ อนุกรรมาธิการ กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.ด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ... ว่า กฎหมายนี้จะเน้นบังคับใช้กับข้าราชการและหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากมีการบัญญัติข้อปฏิบัติในการทำงานของข้าราชการ ทั้งระเบียบอนุญาต และไม่อนุญาตการใช้ทรัพย์สินของราชการ ซึ่งหาก ป.ป.ช.พบการกระทำผิดของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมีการสอบข้อเท็จจริงภายใน 90 วัน และให้ศาลปกครองสูงสุด เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยโดยเร็วตามหลักความเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิรูปประเทศ ประเทศไทยจะมีกลไกในการป้องกันการทุจริตในด้านต่างๆ ตามหลักความเหมาะสมและความสอดคล้องกับต่างประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐในทุกภาคส่วนจะต้องปฏิบัติอย่าเคร่งครัด และมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลรวมถึง การปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุใหม่ ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ตามมาตรการของ ป.ป.ช.
วันเดียวกันนี้ นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา โฆษกกมธ.วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ( สปท.) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ แถลงว่า กมธ.ได้ชี้แจงถึง มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมสัมมนา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร รวมถึง พ.ร.บ.การขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยที่ประชุมได้แสดงความเห็นตั้งข้อสังเกตถึงการรับงานของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ตั้งเป็นศูนย์บริการทางวิชาการ และที่ปรึกษาควบคุมงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งรับงานจากหน่วยงานของรัฐ ที่อาจเป็นการเลี่ยงขั้นตอนตามกฎหมาย เนื่องจากไม่ต้องประมูล ไม่ต้องชี้แจง หรือถูกตรวจสอบจากป.ป.ช. และที่สำคัญ มีการล็อกสเปกให้กับพรรคพวกตัวเอง โดยบางโครงการมีการหักค่าหัวคิว 30 เปอร์เซ็นต์ และมีการตีโป่งงบประมาณ โดยในแต่ละปีจะมีโครงการที่มหาวิทยาลัยของรัฐ รับงานในลักษณะนี้เป็นหมื่นล้าน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ไม่ชอบ สมควรจะยกเลิก เพราะมหาวิทยาลัย มีหน้าที่สอนหนังสือ เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ทางวิชาการ
ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อนุกรรมาธิการ ได้กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... ว่า พ.ร.บ.นี้ มีความสอดคล้องตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน อาทิ หน่วยงานภาครัฐจะต้องประกาศล่วงหน้า ถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสิน และวินิจฉัยในการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างเปิดเผย และเป็นธรรม โดยพ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ทั้งภาคส่วนของรัฐและเอกชน เพื่อให้มีทิศทางเดียวกันในการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส
ด้าน พล.อ.อ. วีรวิท คงศักดิ์ อนุกรรมาธิการ กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.ด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ... ว่า กฎหมายนี้จะเน้นบังคับใช้กับข้าราชการและหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากมีการบัญญัติข้อปฏิบัติในการทำงานของข้าราชการ ทั้งระเบียบอนุญาต และไม่อนุญาตการใช้ทรัพย์สินของราชการ ซึ่งหาก ป.ป.ช.พบการกระทำผิดของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมีการสอบข้อเท็จจริงภายใน 90 วัน และให้ศาลปกครองสูงสุด เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยโดยเร็วตามหลักความเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิรูปประเทศ ประเทศไทยจะมีกลไกในการป้องกันการทุจริตในด้านต่างๆ ตามหลักความเหมาะสมและความสอดคล้องกับต่างประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐในทุกภาคส่วนจะต้องปฏิบัติอย่าเคร่งครัด และมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลรวมถึง การปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุใหม่ ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ตามมาตรการของ ป.ป.ช.
วันเดียวกันนี้ นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา โฆษกกมธ.วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ( สปท.) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ แถลงว่า กมธ.ได้ชี้แจงถึง มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมสัมมนา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร รวมถึง พ.ร.บ.การขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยที่ประชุมได้แสดงความเห็นตั้งข้อสังเกตถึงการรับงานของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ตั้งเป็นศูนย์บริการทางวิชาการ และที่ปรึกษาควบคุมงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งรับงานจากหน่วยงานของรัฐ ที่อาจเป็นการเลี่ยงขั้นตอนตามกฎหมาย เนื่องจากไม่ต้องประมูล ไม่ต้องชี้แจง หรือถูกตรวจสอบจากป.ป.ช. และที่สำคัญ มีการล็อกสเปกให้กับพรรคพวกตัวเอง โดยบางโครงการมีการหักค่าหัวคิว 30 เปอร์เซ็นต์ และมีการตีโป่งงบประมาณ โดยในแต่ละปีจะมีโครงการที่มหาวิทยาลัยของรัฐ รับงานในลักษณะนี้เป็นหมื่นล้าน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ไม่ชอบ สมควรจะยกเลิก เพราะมหาวิทยาลัย มีหน้าที่สอนหนังสือ เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ทางวิชาการ